Top


พจนานุกรมภาษาฮินดี-ไทย-อังกฤษ จากมุรลีที่ใช้ในภาษาไทยและเกี่ยวข้องกับภาษาไทย



สารจาก
ทาทีชานกี
ทีทีนิรมล
ทีทีศีลู


last update: May 07 2025 12:01
รับฟังย้อนหลัง คลิกที่นี่

ประเด็นตอนต้น
และท้ายของมุรลี



วรทาน

ศรีมัทภควัทคีตา
สัตวจนะ - ข้อคิดประจำวัน

"เสี่ยงพร" ได้ที่นี่

วีดีโอบทการทำสมาธิของราชโยคะ


วีดีโอเพลงประกอบความรู้ของราชโยคะ


รับชม "วีดีโอพร" ได้ที่นี่

อุทยานพระพรหม

ยาตราย้อนรอยประวัติศาสตร์
และภูมิศาตร์โลก


สารจากผู้จัดทำ

ติดต่อ

ตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาฮินดี

  คลิกเพื่อรับชมวีดีโอญาณ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด  

สารบัญ - ประเภทของคำศัพท์ (คลิกเพื่อดู)
  1. ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Brahma Kumaris World Spiritual University
  2. สี่วิชา – อลังการของวิษณุ Four Subjects - Decorations of Vishnu
  3. มุรลี และ ญาณ Murli and Gyan
  4. องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา Faculties, Abilities of Soul องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา
  5. นามของบรมบิดา บรมาตมา Names of the Supreme Father, Supreme Soul
  6. การยกย่องสรรเสริญของศิวพาพาในสังคมยุค Shiv Baba’s Praise at the Confluence Age
  7. มาลา – สายลูกประคำ Rosaries
  8. ตัวละครในมหาภารตะ รามายณะ และภาควัต พร้อมทั้งคำอธิบายนามของตัวละครตามญาณของพาพา Characters of Mahabharat, Ramayan, and Bhagawad including Explanation of their Names according to Baba's Gyan
  9. เรื่องเล่า ตัวละคร พิธีกรรม และนามต่างๆ ของหนทางภักดีและโดยทั่วไป ที่กล่าวไว้ในมุรลี General and Bhakti Path Stories, Characters, Rituals and Names mentioned in Murlis
  10. ธรรม ผู้สถาปนาธรรม คุรุ และคัมภีร์ต่างๆ ของหนทางภักดีที่กล่าวไว้ในมุรลี Religions, Religion Founders, Gurus and Scriptures of Bhakti Path mentioned in Murlis
  11. เทศกาลในหนทางภักดีที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Bhakti Festivals related to the Confluence Age
  12. สถานที่ เมือง รัฐ และพลเมืองต่างๆ ที่กล่าวไว้ในมุรลี Places, Towns, States and Citizens mentioned in Murlis
  13. วัดและอนุสรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Temples, Memorials related to the Confluence Age
  14. สมญาของยุคทองที่ใช้ในมุรลี Titles of the Golden age used in Murlis
  15. วรรณะ วงศ์ พงศ์ Dynasties
  16. ประชาบิดา พรหมา Prajapita Brahma
  17. การยกย่องสรรเสริญของศรีกฤษณะในหนทางภักดี Praise of the Deity Shri Krishna
  18. นักแสดงหลักในละครโลก Main Actors in the World Drama
  19. มรดกของบรมบิดา Inheritance of the Supreme Father
  20. สมญาของครอบครัว Family Titles
  21. สมญาเพื่อความเคารพในตนเอง Titles for Self-Respect
  22. ดอกไม้ Flowers
  23. ผู้บริหารและผู้อาวุโสของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Administrators and Seniors of Prajapita Brahma Kumaris World Spiritual University
  24. สภาพต่างๆ และ การฝึกฝน เพ่งเพียรปฎิบัติของอาตมา Spiritual Stages and Effort
  25. ละครโลก กัลป์ และยุคต่างๆ World Drama, Kalpa and Yugs
  26. ชัคทัมพา สรัสวดี Jagadamba Saraswati
  27. กรรมและผลของกรรม Karma Philosophy
  28. สามโลก และธาตุของธรรมชาติ The Three Worlds and Elements of Nature
  29. เบ็ดเตล็ด Miscellaneous
กลับสู่หน้าหลัก Main page
ประเภทที่แสดง --> 9. เรื่องเล่า ตัวละคร พิธีกรรม และนามต่างๆ ของหนทางภักดีและโดยทั่วไป ที่กล่าวไว้ในมุรลี General and Bhakti Path Stories, Characters, Rituals and Names mentioned in Murlis

ใส่คำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม
ปิด-เปิด Column ที่ต้องการ 12345
No.1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป 3. ภาษาฮินดี 4. อักษรโรมัน 5. ความหมายในภาษาไทย
2อัญชนะ/อัญชันอญฺชนअंजन
añjan
คุรุนานัก ผู้ก่อตั้งสิกข์ธรรมได้กล่าวว่า สัตคุรุเป็นผู้ให้ญาณ อัญชัน และทำให้อญาณ ความมืด ถูกขจัดออกไป นั่นหมายถึง พาพา ผู้เป็นสัตคุรุ มาให้ญาณและทำให้ลูกได้รับทิพยจักษุ ที่สามารถเข้าใจและรู้แจ้งในทุกสิ่ง

อัญชัน คือ สีที่ป้ายขนตา เปลือกตา หรือขอบรอบดวงตา มาจากรากศัพท์ซึ่งแปลว่า ป้าย ทา

ในสมัยก่อน อัญชัน ทำมาจากสมุนไพร ใช้บำรุงสายตา แต่ในปัจจุบันทำมาจากสารเคมี ใช้เพื่อความสวยงาม
10อชามิลอชามิลअजामिल
Ajāmil
ในตำนานของอินเดีย อชามิล เป็นพราหมณ์ที่เคร่งครัด ผู้ทำภักดีและบูชานารายณ์ทุกวัน ก่อนที่จะกลายเป็นคนบาป เพราะตกเข้าไปสู่ในกิเลสของกาม ต่อมาก่อนที่อชามิลจากร่างได้ร้องเรียกหานามของลูกชายคนเล็ก คือ นารายณ์ ทำให้หยั่งรู้ถึงความบริสุทธิ์ของเด็ก และสะท้อนเห็นบาปที่ตนเองทำไว้ จึงได้ร้องขอนารายณ์ ผู้เป็นภควานให้อภัยแก่ตน ในที่สุด ก็ได้รับการปลดปล่อยให้กลับมาบริสุทธิ์และหลุดพ้น

นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ หากเราทำผิดในสิ่งใด ก็ควรบอกพาพา และขอการให้อภัย โดยต้องไม่ทำผิดซ้ำอีก ถึงแม้จดจำพาพาได้ในวินาทีสุดท้ายก็สามารถหลุดพ้นได้
23อมาวสี/อมาวสุ/อมาวาสีอมาวสअमावस
amāvas
คืนที่ดวงจันทร์มืดสนิทของเดือน หรือเรียกว่าวันดับ วันที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ร่วมราศีและองศาเดียวกัน ตรงกับแรม 15 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำในเดือนขาด
27อัลลาห์ อวัลดีน (ไทยออกเสียง อัลลอฮ์/อัลเลาะห์)อลฺลาห อวลดีนअल्लाह अवलदीन Allāh Avaladīnเรื่องราวที่กล่าวถึง อวัลดีนและตะเกียงวิเศษ เมื่อ อัลลาห์ อวัลดีนตบมือและแล้วสมบัติที่มีค่าของสวรรค์ก็ปรากฏขึ้นมา

พาพากล่าวว่า ลูกสามารถเห็นสวรรค์ได้ในหนึ่งวินาทีด้วยทิพยทฤษฎี และได้รับทุกสิ่งที่ลูกต้องการในสังคมยุค

อัลลาห์ อวัลดีน มาจากคำว่า อัลลาห์ เป็นภาษาอารบิค หมายถึง สิ่งสูงสุดของศาสนาอับราฮัม กับ อวัล หมายถึง แรก และ ดีน หมายถึง ธรรม แท้จริงแล้ว อัลลาห์ ก็คือ ศิวพาพา ผู้ก่อตั้งธรรมแรก

ทิพยทฤษฎี คือ การเห็นสากษาตการ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นอาการหรือสภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อนอยู่ข้างหน้า โดยศิวพาพามีกุญแจที่ให้ทิพยทฤษฎีแก่ลูกและภักตะที่เต็มไปด้วยภาวนา ทั้งนี้ ลูกของพาพาก็สามารถได้รับทิพยทฤษฎีด้วยดวงตาที่สาม นั่นคือ ทิพยจักษุจากพุทธิที่มีญาณเป็นพื้นฐาน

ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น ทิพย์ หมายถึง สิ่งที่ได้รับจากศิวพาพา เป็นอาการ หรือ สภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อน

สากษาตการ มาจากคำว่า สากษาต หมายถึง ปรากฏอยู่ข้างหน้า กับ อาการ หมายถึง สภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อน
28อวตารอวตารअवतार
avatār
ศิวพาพา คือ ผู้ที่นิราการได้อวตารลงมายังโลกมนุษย์นี้ ท่านไม่มีทั้งอาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) และ สาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) ท่านไม่ได้มาเกิดผ่านครรภ์ใดๆ นั่นหมายถึง ไม่ได้เวียนว่ายตายเกิด จึงมีความบริสุทธิ์เสมอ แม้แต่ ผู้สถาปนาธรรมต่างๆ ลงมายังโลกวัตถุในชาติแรกด้วยสภาพที่บริสุทธิ์ สโตประธาน และใช้ร่างของผู้อื่นเพื่อสถาปนาธรรมของตนก็ตาม แต่หลังจากนั้นก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดด้วยกิเลสผ่านครรภ์ในทุกชาติถัดไป และกลับมาไม่บริสุทธิ์ ตโมประธาน
31อวยภิจารี (อ่านว่า อะ-วฺยะ-พิ-จา-รี)อวฺยภิจารีअव्यभिचारी
avyabhicārī
วยภิจารี หมายถึง การนอกใจ เป็นชู้ การมีหลายสิ่ง หลายอย่าง และ อวยภิจารี หมายถึง มีเพียงผู้เดียว ไม่มีผู้อื่นใด ซึ่งตรงข้ามกับวยภิจารี

ศิวพาพากล่าวว่า เมื่อลูกเริ่มทำอวยภิจารี ภักดี ในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) ลูกได้ทำให้กับศิวะเพียงผู้เดียว ด้วยความรักและศรัทธาและใช้ทรัพย์สมบัติที่ พาพาทำให้ลูกมั่งคั่งจากสังคมยุค เพราะว่าลูกมีญาณ การจดจำระลึกถึง เสวา ธารณา และทุกสิ่งเป็นอวยภิจารีกับพาพาเท่านั้น แต่ในเวลาต่อมาลูกก็ทำภักดีให้กับสิ่งอื่นนอกเหนือจากศิวะ เช่น ลักษมี นารายณ์ เหล่าเทพ จนกระทั่ง ทำให้กับมนุษย์และวัตถุธาตุ นั่นเรียกว่า วยภิจารี ภักดี ลูกจึงกลับมามีธรรมและกรรมที่ภรัษฏะ หมายถึง ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และยากจนข้นแค้น

ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา
33อัศวเมธอศฺวเมธअश्वमेध
Aśvamedh
ชื่อพิธีเพื่อประกาศอำนาจและความยิ่งใหญ่ของราชาในวรรณคดีอินเดีย โดยราชาจะปล่อยม้าอุปการ พร้อมทั้งกองทัพให้เข้าไปในประเทศต่างๆ หากดินแดนใดยอมให้ม้าเข้าไป โดยไม่ขัดขืนใด นั้นหมายถึง ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของราชา ถ้าประเทศใดไม่ยอมอ่อนน้อม กองทัพจะเข้าโจมตี เมื่อครบหนึ่งปีแล้ว กองทัพก็ยกกลับด้วยชัยชนะ แล้วราชานั้นก็จะกลายเป็นจักวรรดิราชา (ผู้ปกครองทั้งโลก) และจัดพิธีโดยฆ่าม้านั้นบูชายัญ เรียกว่า พิธีอัศวเมธ

แท้จริงแล้ว พาพาได้มาสร้างรุทระ ญาณ ยัญ ที่ให้ลูกสังเวยเทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย และจบสิ้นความสัมพันธ์ทางร่าง

อัศวเมธ มาจากคำว่า อัศว แปลว่า ม้า และ เมธ แปลว่า การเซ่นสรวง การบูชายัญ
34อัษฏาวกระอษฺฏาวกฺรअष्टावक्र
Aṣṭāvakra
อัษฏาวกระ เป็นตัวละครที่สนทนากับราชาชนก ผู้เป็นราชาของเมืองวิเทหะและเป็นชนกของสีดา ซึ่งได้บันทึกไว้ใน อัษฏาวกระ คีตา ว่าอัษฏาวกระเป็นสันนยาสี โยคี มีร่างกายที่พิการ บิดเบี้ยวแปดแห่ง ผู้ทำให้ราชาชนกได้รับ ชีวันมุกติ (การหลุดพ้นในชีวิต) ในหนึ่งวินาที

คำว่า อัษฏาวกระ แปลว่า ผู้ที่มีความผิดปกติแปดแห่งในร่างกาย โดย อัษฏา หมายถึง แปดอย่าง

นัยสำคัญเรื่องนี้ คือ การเอาชนะความผูกพันยึดมั่น ขณะที่อาศัยอยู่ในโลกนี้ แต่ไม่ได้เป็นของโลกนี้ นั่นคือ อาตมาอยู่อย่างละวางจากโลกนี้ รวมทั้ง อยู่เหนืออายุและร่างกายภายนอก ซึ่งไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงการมีญาณ หรือพุทธิของผู้นั้น

สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ
37โอ มางโอ มางअो माँ
O māṁ
โอ แม่ ที่รักของฉัน
49อุมาวสะ/อมาวสี/อมาวสุ/อมาวาสีอุมาวสउमावस
umāvas
คืนที่ดวงจันทร์มืดสนิทของเดือน หรือเรียกว่าวันดับ วันที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ร่วมราศีและองศาเดียวกัน ตรงกับแรม 15 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำในเดือนขาด
51เอกาครตาเอกาคฺรตาएकाग्रता
exāgratā
เอกาครตา มาจากคำว่า เอก หมายถึง หนึ่งเดียว สิ่งเดียว กับ อครตะ หมายถึง ข้างหน้า

ในราชโยคะ เอกาครตา คือ การมีพาพาเพียงผู้เดียว หรือ เป้าหมายที่พาพาต้องการให้ลูกเป็นเท่านั้นอยู่ข้างหน้า
52เอกานตะ/เอกานต์เอกานฺตएकान्त
ekānt
เอกานต์ มาจากคำว่า เอก หมายถึง หนึ่งเดียว สิ่งเดียว กับ อันต์ หมายถึง สุดท้าย จุดจบ เป้าหมาย

ในราชโยคะ เอกานต์ คือ การเข้าไปสู่ความลึกล้ำและหลอมรวมกับพาพาเพียงผู้เดียวที่เป็นเป้าหมาย ถึงแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนก็ตาม นั่นคือสภาพสันโดษของอาตมา
66กลังคีอวตารกลงฺคี อวตารकलंगी अवतार
kalaṅgī avatār
พาพาใช้คำว่า กลังคีอวตาร แต่ในหนทางภักดีเขียนว่า กัลกีอวตาร และเชื่อกันว่าวิษณุได้อวตาร 24 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเรียกว่า กัลกีอวตาร นั่นหมายถึง พาพาได้อวตารลงมาในร่างของพรหมาในสังคมยุค เป็นยุคที่มาบรรจบกันระหว่างกลียุคและสัตยุค
68กามเธนุกามเธนุकामधेनु
Kāmadhenu
ในฮินดูธรรม กามเธนุ คือ ชื่อของโคหรือวัวเพศเมียแห่งสวรรค์ ผู้เป็นมารดาแห่งโคทั้งหลายที่ได้รับการบูชา และมีเทวี เทวดา 330 ล้านองค์อยู่ในท้อง เข้าใจกันว่าเป็นโคแห่งความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรือง เพราะว่าทำให้สมปรารถนาในทุกสิ่ง โดยทั่วไปกามเธนุมักปรากฏในรูปโคตัวเมียที่มีใบหน้าเป็นมนุษย์เพศหญิง มีหน้าอกแบบมนุษย์ มีหางเป็นนกยูงอยู่เหนือหางโค มีปีก และมีนมของโคด้วย

ในฮินดูธรรม วัวเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ความแข็งแกร่ง ความอุดมสมบูรณ์ ให้โดยไม่เห็นแก่ตน และให้ทุกสิ่งแก่โลกนี้

พาพาใช้สมญานี้กับชคัตอัมพา (แม่ของโลก) และลูก ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่เห็นแก่ตนเอง และทำให้ผู้อื่นสมปรารถนาในทุกสิ่ง

กามเธนุ มาจากคำว่า กาม หรือ กามา แปลว่า ปรารถนา และ เธนู แปลว่า วัวเพศเมีย
71กาสีกาศีकाशी
Kāshī
กาสี เป็นเมืองตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำคงคาในรัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ปัจจุบันรู้จักกันในนามว่า พาราณสี หรือ พนารสะ

ในสมัยก่อน กาสีเป็นเมืองที่ภักตะไปสังเวยชีวิตให้กับศิวะที่วัดวิศวนาถ ที่เรียกว่า กาสี กรวัฏ เพื่อตัดศีรษะตนเองด้วยเลื่อยของกาสีที่เป็นที่โด่งดัง จากการกระโดดลงไปในบ่อที่มีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน โดยเข้าใจว่าจะได้รับมุกติ (การหลุดพ้น)

วิศวนาถ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้เป็นนาถของโลก โดย วิศว แปลว่า โลก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง
73กุมภ์ กุมฺภकुम्भ
kumbh
กุณโฑ คนโท หรือ หม้อน้ำที่ทำมาจากดินเหนียวหรือโลหะที่ใช้เก็บน้ำ

ในราชโยคะ กุมภ์ หมายถึง สังคมยุค ซึ่งเป็นการพบปะของอาตมาและ บรมาตมา ระหว่างวงจรเก่ากับวงจรใหม่ที่บรรจบกันระหว่างกลียุคกับสัตยุค
74กุมภเมลา กุมฺภ เมลา कुम्भ मेला
kumbh melā
กุมภเมลา เป็นเทศกาลริมฝั่งแม่น้ำของฮินดูธรรม

ในภาษาสันสกฤต คำว่า กุมภ์ หมายถึง หม้อน้ำที่ทำมาจากดินเหนียวหรือโลหะ และ เมลา หมายถึง ชุมนุม การพบปะ หรือ งานแสดงต่างๆ

กุมภเมลา มีการจัดขึ้นทุกๆ 12 ปี ที่เมืองประยาค (อัลลอฮาบาด) ของ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นจุดที่แม่น้ำทั้งสามสาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสรัสวดี (ซึ่งเชื่อกันว่าแม่น้ำสรัสวดีเป็นแม่น้ำที่มองไม่เห็นหรือแฝงตัว) มาบรรจบกัน หรือเรียกว่า "ตรีเวณี สังคม" หรือ "จุฬาตรีคูณ"

ตรีเวณี สังคม เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ที่หยดของน้ำทิพย์ได้หล่นลงมาจากกุมภ์ที่อยู่ในมือของเทวดา และเมื่อดำลงไปที่ตรีเวณี สังคม แล้วจะเป็นการชำระล้างบาปให้หมดไป ภักตะของฮินดูธรรมทั่วทั้งอินเดียได้มายังสถานที่จาริกแสวงบุญที่ศักดิ์สิทธิ์นี้

พาพา ได้กล่าวว่า ในทางโลกนั้นเป็น กุมภเมลา ที่มาบรรจบกันของแม่น้ำ แต่เมื่อ บรมบิดา บรมาตมา มาในปุรุโษตตมสังคมยุค คือ การบรรจบพบกันระหว่างอาตมา (นที) กับบรมาตมา (สาคร) เกิดขึ้น จึงเป็นกุมภเมลาแท้จริง

ในเวลาสังคมยุคนี้ บรมบิดา บรมาตมา ผู้ทำให้บริสุทธิ์ ได้มา และทำให้อาตมาที่ไม่บริสุทธิ์กลับมาบริสุทธิ์ พร้อมทั้งนำกลับไปยังบรมธามะ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัยที่สูงสุดของอาตมา

นที หมายถึง แม่น้ำ และ สาคร หมายถึง มหาสมุทร
77กฤษณจันทร์กฺฤษฺณ จนฺทฺระकृष्ण चन्द्र Kṛṣṇ Candraนามสำหรับผู้ชายของคนอินเดีย

พาพาได้กล่าวว่า กฤษณจันทร์ นั้นไม่ใช่นามที่ถูกต้อง เพราะว่ากฤษณะเป็นนามของสุริยวงศี หมายถึง ผู้ที่เป็นของสุริยวงศ์ และ จันทร์ เป็นนามต่อท้ายที่ใช้สำหรับจันทรวงศี หมายถึง ผู้ที่เป็นของจันทรวงศ์

วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล
90คเณศคเณศगणेश
Gaṇeś
คเณศ เป็นหนึ่งในเทพของฮินดูธรรมที่เป็นที่รู้จักและได้รับการบูชามากสุด

แม้ว่าคเณศ เป็นที่รู้จักกันด้วยคุณสมบัติมากมายก็ตาม แต่ด้วยที่ศีรษะเป็นช้างทำให้โดดเด่นกว่าผู้อื่น

คเณศเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นผู้ขจัดอุปสรรค และเป็นผู้ที่มีพุทธิและวิเวก คเณศจึงได้รับเกียรติในตอนเริ่มต้นของพิธีของหนทางภักดี รวมทั้งการเฉลิมฉลองงานพิธีต่างๆ

พาพาได้ให้สมญาแก่พรหมากุมารชัคทีศ ว่าเป็นคเณศ
95คานธี ชีคานฺธี ชีगांधी जी
Gāndhī Jī
ได้มีการกล่าวถึง มหาตมา/มหาตมะ คานธี ชี

ในมุรลี พาพากล่าวว่า คานธี ชี เป็นผู้ที่ปรารถนาให้มีอาณาจักรของรามเกิดขึ้น โดยเป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและฮินดูธรรม ที่ทำให้อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ

ชี เป็นคำประกอบหลังชื่อในการกล่าวหรือเขียน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติต่อผู้นั้น
98คีตาปาฐศาลา (อ่านว่า คี-ตา-ปา-ถะ-สา-ลา) คีตา ปาฐศาลาगीता पाठशाला
Gītā pāṭhaśālā
โรงเรียนที่มีการเรียน การสอนคีตา ดังนั้นสถานที่ของพาพา ที่มีการจัดชั้นเรียนเพื่ออ่านมุรลีและเรียนความรู้ โดย พรหมากุมารี ที่ใช้ชีวิต หรือ ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและทางโลกอยู่ นั่นคือ คีตาปาฐศาลา ที่แท้จริง

ปาฐ/ปาฐะ หมายถึง บทเรียน การบรรยาย และ ศาลา หมายถึง บ้าน ห้อง ห้องโถง ห้องใหญ่
102คุรุคุรุगुरु
guru
คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ

คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้)

พาพา คือ สัตคุรุ ผู้เป็นสัตย์ ที่นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ
107คุลพกาวลีคุล พกาวลีगुल बकावली
Gul bakāvalī
ในมุรลี พาพาได้กล่าวถึงนิยายพื้นบ้านเรื่อง คุลพกาวลี ว่ามายาเปรียบกับแมว ผู้เป็นเครื่องมือให้กับเจ้าหญิงที่แข่งโยนลูกเต๋าในการเลือกเจ้าชายที่สามารถเอาชนะตนได้ ก็จะแต่งงานด้วย โดยใช้แมวเป็นเครื่องมือดับแสงตะเกียงเมื่อตนโยนลูกเต๋า เพื่อเปลี่ยนหน้าลูกเต๋าของตนให้ได้แต้มสูงสุด ในที่สุดเจ้าชายองค์หนึ่งรู้ทัน จึงใช้หนูมาล่อแมวไปทางอื่น และเจ้าหญิงก็พ่ายแพ้ในที่สุด

คุลพกาวลี เป็นชื่อดอกไม้ที่เบ่งบานและส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน
112โคปีจันทราชาโคปีจนฺท ราชาगोपीचन्द राजा
Gopīcand Raja
ราชาผู้สละละทิ้งบัลลังก์ และกลายเป็นนาถโยคี
118จัณฑิกาจณฺฑิกาचण्डिका
Caṇḍikā
จัณฑิกา มาจากคำว่า จัณฑี หมายถึง ผู้หญิงปากร้าย ที่ชอบทะเลาะวิวาท และมีเสียงที่พ้องกับคำว่า จัณฑาล หมายถึง สัปเหร่อ

ในราชโยคะ จัณฑิกาเทวี เป็นอนุสรณ์ของจัณฑาล ผู้ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับศพ นั่นหมายถึง ลูกของพาพาที่ได้รับสถานภาพต่ำ เนื่องจากไม่ทำตามศรีมัตอย่างถูกต้องแม่นยำ จึงกลับไปข้องแวะในกิเลสหลังจากเป็นของพาพา และมีนิสัยของการซุบซิบนินทา ทะเลาะเบาะแว้ง ทั้งยังสอบตกในการเอาชนะสายตาที่ไม่บริสุทธิ์ของเทหอภิมานะ อย่างไรก็ตาม จัณฑาลได้สถานภาพของการเป็นผู้ปกครองในปลายเตรตายุค (ยุคเงิน) และ จัณฑิกาเทวี ก็ได้รับการกราบไหว้บูชาด้วย

ลูกที่วิ่งหนีจากพาพาไปจะกลายเป็นจัณฑาลให้กับประชา ส่วนลูกที่อาศัยอยู่กับพาพาที่มธุพนแต่ยังทำบาป ก็จะกลายเป็นจัณฑาลให้กับราชนิกุล

ในหนทางภักดี ทุรคา ได้รับการบูชาในรูปปีศาจที่น่ากลัวของจัณฑิกาด้วย

เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน
120จาตรกะจาตฺรกचात्रक
Cātrak
จาตรกะ คือ นกที่กล่าวกันว่ามีความกระหายต่อหยดแรกของน้ำฝน ที่เรียกว่า สวาตี พูนทะ หรือ น้ำทิพย์ จากสวาตี (สวาดิ หรือ สวัสติ) นักษัตร โดยที่นกจาตรกะไม่ได้สนใจต่อแหล่งน้ำอื่น ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำอันยิ่งใหญ่ ทะเลสาบที่สวยงาม หรือน้ำพุที่ไหลผ่านที่จะดับกระหายตนเอง แม้จะต้องตายก็ตาม

พาพาเรียกลูกที่มีความอยากปรารถนาที่จะรับฟังความรู้ ได้พบปะกับพาพาและกลับมาสมาน (ทัดเทียม) กับพาพา ว่าเป็นเช่นนกจาตรกะ
122ชคัตอัมพาชคต อมฺพาजगत अम्बा
Jagat ambā
ชคัตอัมพา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ อัมพา แปลว่า แม่ มารดา ดังนั้นชคัตอัมพา จึงหมายถึง มารดาของโลก

ชคัตอัมพา เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นมารดาของโลก
124ชคัตคุรุชคตคุรุजगतगुरु
Jagataguru
พาพา คือ ชคัตคุรุ ผู้นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ

คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ

คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้) และ ชคัต แปลว่า โลก
127ชคันนาถชคนฺนาถजगन्नाथ
Jagannāth
ชคันนาถ มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ดังนั้น ชคันนาถ จึงหมายถึง นายและผู้เป็นที่พึ่งของโลก

ในหนทางภักดี วัดชคันนาถ ได้สร้างให้กับกฤษณะ ตั้งอยู่ในรัฐโอริศา ติดกับอ่าวเบงกอล ด้านตะวันออกของประเทศอินเดีย และเป็นหนึ่งในสี่สถานที่จาริกแสวงบุญหลักของฮินดูธรรม

พาพาได้กล่าวถึงวัดชคันนาถว่า ผู้คนได้ถวายข้าวสวยเท่านั้นให้กับชคันนาถ เปรียบเทียบกับวัดศรีนาถ ที่ผู้คนได้ถวายอาหารทีมีคุณค่าและอุดมสมบูรณ์มากให้กับศรีนาถ

นั่นหมายถึง สภาพอาตมาของเทวี เทวดา ที่บริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ ไม่มีกิเลส ได้รับการทำภักดีและบูชาอย่างดียิ่ง ต่อมาเมื่อกลับมาสู่สภาพที่ไม่บริสุทธิ์ มีกิเลสอย่างสมบูรณ์ ก็ได้รับการทำภักดีและบูชาอย่างธรรมดา

นอกจากนี้ พาพายังกล่าวถึงวัดชคันนาถว่า ในวัดมีภาพและปฏิมาของเทวีและเทวดาที่ข้องแวะในกาม (ตัณหา ราคะ) อย่างสกปรกมากด้วย

ในหนทางภักดี วัดศรีนาถ ได้สร้างให้กับกฤษณะ ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย

ศรีนาถ มาจากสองคำ ได้แก่ ศรี แปลว่า ดีเลิศ ชั้นเลิศ ประเสริฐสุด และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ดังนั้น ศรีนาถ จึงหมายถึง นายและผู้เป็นที่พึ่งที่ดีเลิศ ชั้นเลิศ ประเสริฐสุด
146โฌลีโฌลีझोली
jholī
ผ้าสำหรับห่อเก็บรวบรวมสิ่งของ และยังหมายถึง ผ้าที่มีการเย็บเป็นกระเป๋า ในบางครั้งก็อาจใช้ปลายผ้าส่าหรี หรือ ชายผ้าที่ห่อเก็บของได้

พาพาได้กล่าวว่าในหนทางภักดี ภักตะจะมีการกล่าวร้องขอต่อศังกรเพื่อทำให้โฌลีของตนเต็มเปี่ยม แท้จริงแล้ว ในสังคมยุคนี้ ที่ศิวพาพามาทำให้พุทธิของลูกเต็มเปี่ยมไปด้วยญาณ
149ตปัสยาตปสฺยาतपस्या tapasyāตปัสยา หมายถึง การทำตบะ ฝึกฝนเพ่งเพียรของอาตมาด้วยความมุ่งมั่นและจริงจัง เพื่อขจัดกิเลสและเผาบาปออกไป

คำว่า ตปัสยา มีรากศัพท์มาจากคำว่า ตป นั่นคือ ตบะ
150ตปัสวีตปสฺวีतपस्वी
tapasvī
ตปัสวี หมายถึง ผู้ที่ทำตบะ ฝึกฝนเพ่งเพียรของอาตมาด้วยความมุ่งมั่นและจริงจัง

คำว่า ตปัสยา มีรากศัพท์มาจากคำว่า ตป นั่นคือ ตบะ
153ดิลกติลกतिलक
tilak
ในฮินดูธรรม ดิลกเป็นรอยแต้มหรือเจิมทำพิธิที่หน้าผากเพื่อเป็นมงคล

พาพาบอกลูกว่า แต้มดิลกให้กับตนเอง นั่นคือ การรู้ว่าตนเองเป็นอาตมา และกลับมามีอำนาจในการปกครองตนเอง ดังนั้นดิลกจึงเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ
154ตุลสีทาสะ/ตุลสีทาสตุลสีทาสतुलसीदास Tulasīdāsตุลสีทาส เป็นนักกวีที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย ที่ได้เขียน เรื่องรามจริตมานัส หรือ รามเกียรติ์ ซึ่งพาพาได้ยกคำกล่าวจากรามจริตมานัสว่า "ราม คโย ราพณ์ คโย" หมายถึง ในที่สุดแล้ว ราม ก็คือ พาพาได้กลับไปบรมธามะ และ ราพณ์ก็จากไป จบสิ้นไป ไม่มีพาพาและราพณ์ในสวรรค์

นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวถึง "ตุลสีทาส จันทน์ ฆิเส" ว่า ตุลสีทาสได้แต้มดิลกให้กับรามจากการถูไม้จันทน์ด้วยตนเอง เพื่อทำเป็นดิลก

แท้จริงแล้ว ราม หมายถึง พาพาได้แต้มราชดิลกให้กับลูก ทำให้กลายเป็นราชาผู้มีอำนาจในการปกครองตนเองและโลก

ลูกของพาพาที่เฝ้าแต่ไตร่ตรองความรู้และเพียรพยายามด้วยความรักและศรัทธาในหนทางของพาพาในสังคมยุค เปรียบกับการถูไม้จันทน์ด้วยตนเอง ก็จะได้รับผลรางวัลในสัตยุค (ยุคทอง) และ เตรตายุค (ยุคเงิน)

ราพณ์ หรือ ราวณะ เป็นชื่อเรียกทศกัณฐ์
156ตริเนตรี/ตรีเนตรีตริเนตรีत्रिनेत्री Trinetrīในสังคมยุค พาพาได้มาให้ญาณแก่ลูก ทำให้ดวงตาที่สาม นั่นคือ ญาณจักษุ หรือ ทิพยจักษุ เปิดขึ้นมา หมายถึง การได้รับดวงตาแห่งปัญญาที่ทำให้ลูก มีความเข้าใจและหยั่งรู้ในอาตมา ดังนั้นลูกจึงได้รับสมญาว่า ตรีเนตรี หมายถึง ผู้ที่มีสามตา โดยในหนทางภักดีได้แสดงดวงตาที่สาม (ตีสราเนตร) ไว้ที่กึ่งกลางหน้าผากระหว่างคิ้ว นอกเหนือจากดวงตาทั้งสองของร่างกายให้กับเหล่าเทพ

ตริ หรือ ตรี แปลว่า สาม เนตรี แปลว่า ผู้ที่มีเนตร (ดวงตา) และ ตีสรา แปลว่า ที่สาม
157ตริมูรติ/ตรีมูรติตฺริมูรฺติत्रिमूर्ति
Trimūrti
ตรีมูรติ เป็นบทบาททั้งสาม ที่เกิดขึ้นในสังคมยุค เมื่อศิวพาพาเป็นผู้สร้างได้อวตารลงมา ได้แก่ 1. พรหมา บทบาทของสถาปนา 2. วิษณุ บทบาทของปาลนา (บำรุงรักษา) และ 3. ศังกร บทบาทของวินาศ

ศิวพาพาเป็นผู้สร้าง ได้อวตารลงมาในร่างของพรหมาที่ทำให้เกิดการสถาปนาด้วยการมาให้ญาณแก่ลูก จึงทำให้เกิดวินาศของกิเลสและสิ่งที่ไม่ดีงามในอาตมา ทำให้ส่งผลถึงวินาศในระดับวัตถุด้วย จากการที่ลูกกลับมาอยู่อย่างปราศจากร่าง (อสรีรี) และทำตปัสยา (ตบะ) ที่แสดงในรูปของศังกร หลังจากนั้น ลูกจะกลายเป็นเทวีและเทวดา แสดงในรูปของวิษณุที่เต็มพร้อม (สัมปันน) ด้วยคุณบัติที่ดีงามทั้งหมด (สรรพคุณ) สมบูรณ์ 16 องศา ปราศจากกิเลส (นิรพิการ) อย่างสมบูรณ์ ปราศจากความก้าวร้าวรุนแรง (นิรหิงสา) ทั้งร่างกายและอาตมา ที่ให้ปาลนาของความบริสุทธิ์ถึงครึ่งหนึ่งของจักรในสัตยุคและเตรตายุค

ในหนทางภักดี ได้แสดงตรีมูรติในรูปเทวดาของพรหมา วิษณุ และ ศังกร โดยไม่ได้กล่าวถึงศิวะว่าเป็นผู้สร้าง แต่กล่าวว่าศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน

ปาลนา เป็นรากศัพท์ของคำว่า บาล หมายถึง หล่อเลี้ยง รักษา
159ตริเวณี/ตรีเวณีตฺริเวณีत्रिवेणी
triveṇī
ตรีเวณีสังคม อยู่ที่เมืองประยาค (อัลลอฮาบาด) ของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

ในหนทางภักดี มีความเชื่อว่า ตรีเวณีสังคม เป็นจุดที่แม่น้ำทั้งสามสาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสรัสวดี (ซึ่งเชื่อกันว่าแม่น้ำสรัสวดีเป็นแม่น้ำที่มองไม่เห็นหรือแฝงตัว) มาบรรจบกัน ที่เรียกว่า "ตรีเวณีสังคม" หรือ "จุฬาตรีคูณ" และเป็นสถานที่ที่หยดของน้ำทิพย์ได้หล่นลงมาจากกุมภ์ ซึ่งอยู่ในมือของเทวดา และเมื่อดำลงไปที่ตรีเวณีสังคม แล้วจะเป็นการชำระล้างบาปให้หมดไป และมีการจัดกุมภเมลา ทุกๆ 12 ปี โดยภักตะของฮินดูธรรมทั่วทั้งอินเดีย ได้มายังสถานที่จาริกแสวงบุญที่ศักดิ์สิทธิ์นี้

พาพาได้กล่าวว่า ในทางโลกเป็น กุมภเมลา ที่มาบรรจบกันของสองแม่น้ำเท่านั้น ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา โดยไม่ได้มีแม่น้ำสรัสวดีตามที่เชื่อกัน และในความเป็นจริงแล้ว บรมบิดา บรมาตมาได้ลงมาในปุรุโษตตมสังคมยุค นี่คือ การบรรจบพบกันระหว่างอาตมา (นที) กับบรมาตมา (สาคร) เกิดขึ้น จึงเป็นกุมภเมลาที่แท้จริง

ในเวลาของสังคมยุคนี้ บรมบิดา บรมาตมา ผู้ทำให้บริสุทธิ์ ได้มาและทำให้อาตมาที่ไม่บริสุทธิ์กลับมาบริสุทธิ์ พร้อมทั้งนำกลับไปยังบรมธามะ

นที หมายถึง แม่น้ำ และ สาคร หมายถึง มหาสมุทร
160ทักษะประชาปติ/ประชาบดีทกฺษ ปฺรชาปติदक्ष प्रजापति
Dakṣ Prajāpati
ทักษะประชาบดี ได้รับการกล่าวไว้ในคัมภีร์ว่าเป็นหัวหน้าของเหล่าเทพ ผู้สร้างยัญและนำอัศว (ม้า) มาสังเวยลงไปในยัญ แท้จริงแล้ว อัศว เปรียบกับร่างกาย นั่นคือ เราต้องสังเวยความรู้สึก นึกคิด และความหลงทะนงตนทางร่าง จากการเข้าใจว่าตนเองเป็นร่างกายและถือตัวว่าเป็นร่าง

ศิวพาพา ได้อวตารลงมาใช้ร่างของประชาบิดา พรหมา เพื่อสร้างยัญในสังคมยุค โดย ยัญ หมายถึง ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย
161ฤษี/ฤาษีทธีจิทธีจิ ฤษิदधीचि ऋषि
Dadhīci ṛṣi
ฤษีทธีจิ เป็นฤษีที่ได้รับการจดจำว่าเป็นผู้สังเวยทั้งชีวิตและกระดูก เพื่อรับใช้ผู้อื่น จึงได้เป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศตนและการสละละทิ้ง โดยมีเรื่องเล่าว่า ได้มีสงครามระหว่างเทวดากับอสูร และเทวดาได้ไปขอความช่วยเหลือจากฤษีทธีจิ ซึ่งท่านได้สังเวยชีวิตจนเหลือแค่กระดูก กระนั้นก็ตาม เทวดายังนำกระดูกของฤษีทธีจิมาใช้เป็นอาวุธสู้รบกับอสูร จนได้รับชัยชนะ

นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ ลูกของพาพาต้องทำงานหนักและอุทิศตนเองในงานรับใช้ของพาพา โดยเราจะได้รับผลอะไรก็ตามที่เราให้ เช่นเดียวกับฤษีทธีจิ ได้ชีวิตใหม่กลับคืนมา เป็นวรทานจากภควาน
163ทรรศนะ/ทัศนะทรฺศนदर्शन
darśan
ทรรศนะ/ทัศนะ เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การเห็น การมองเห็นในทางธรรม นั่นคือ การเห็นรูปเคารพหรือภาพของเทวี เทวดา เหล่าเทพ หรือผู้ที่อยูในหนทางธรรมที่บริสุทธิ์ และยึดเก็บสิ่งนั้นไว้ในจิตใจ
172ทีปกะทีปกदीपक
dīpak
ตะเกียง ประทีป แสง
177ทุรคาทุรฺคาदुर्गा
Durgā
ทุรคา เทวีแห่งศักดิ์และความแข็งแกร่ง และเป็นที่รู้จักกันในนามว่า เทวีนักรบ

ทุรคาได้รับการเรียกว่า แม่ที่เต็มพร้อมไปด้วยทิพยคุณ และให้การหล่อเลี้ยงทำให้ทุกอาตมาสมปรารถนาในทุกสิ่ง และให้การปกป้องมวลมนุษย์จากความชั่วร้ายและความทุกข์ยาก ด้วยการทำลายกำลังชั่วร้ายและให้โทษเช่น ความเห็นแก่ตัว ความอิจฉาริษยา ความอคติ ความเกลียดชัง ความโกรธ ความหลงทะนงตน เป็นต้น

ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา
179ทุรวาสาทุรวาสาदुर्वासा
Durvāsā
ทุรวาสา เป็นฤษีโบราณ ที่รู้จักกันว่ามีอารมณ์ร้อน โกรธง่าย

พาพาได้เตือนลูกว่า ต้องไม่มีความโกรธเช่นทุรวาสา ฤษี
188ธรรมราชธรฺมราชधर्मराज Dharmarājธรรมราช หมายถึง ราชาแห่งธรรม เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองที่มีความถูกต้อง ยุติธรรม นั่นคือ ผู้พิพากษาสูงสุด

แต่ละอาตมาได้มีบันทึกการกระทำของตนที่ซ่อนอยู่ในอาตมา โดยบันทึกที่ซ่อนอยู่นี้เองจะเป็นเหมือนธรรมราชที่ตัดสินผลของการกระทำเหล่านั้น และทำให้อาตมาชำระสะสางบัญชีกรรมทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง พาพาไม่ได้ลงโทษใครจากการกระทำใดๆ ของอาตมา แต่ท่านทำผ่านธรรมราช ดังนั้นพาพากล่าวว่า ธรรมราช คือ มือขวาของท่าน
189ธรรมศาลาธรฺมศาลาधर्मशाला
Dharmśālā
ธรรมศาลา เป็นสถานที่อันพึงเคารพและเป็นที่พักสำหรับผู้เดินทางไปจาริกแสวงบุญ สมัยก่อนธรรมศาลาสร้างขึ้นเพื่อผู้จาริกแสวงบุญ เหมือนกับบริจาคให้ทางธรรม
191ธารณาธารณาधारणा dhāraṇāธารณา เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การทรงไว้ การยึดไว้ในจิตใจ นั่นคือ การยึดมั่นคำสอนของพาพาไว้ เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต หรือนำไปฝึกฝนจนเป็นรูปในทางปฏิบัติ และกลายเป็นธรรมของตนเอง

ธารณา เป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ ที่แสดงด้วยเครื่องประดับ กมล หรือ ปัทม์ ในหัตถ์ซ้ายล่างของวิษณุในหนทางภักดี หมายถึง การใช้ชีวิตอยู่ในโลกอย่างบริสุทธิ์ ด้วยความรักและละวาง แม้ขณะอยู่ในโลกที่ตกต่ำและไม่บริสุทธิ์นี้

วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน นั่นหมายถึง รูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาของราชโยคะ

จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน

กมล หรือ ปัทม์ หมายถึง ดอกบัว
194ฌาน (บาลี)/ธยานะ/ธยาน (สันสกฤต, ฮินดี)ธฺยานध्यान dhyānในความหมายของพาพา คือ การตั้งใจ ใส่ใจ และ การเข้าฌาน แต่ในทางโลก หมายถึง การเพ่งรวม การจดจ่อ การทำสมาธิ
195นนทิคณะนนฺทีคณनंदीगण
Nandīgaṇ
ในหนทางภักดี วัดของศิวะ ในฮินดูธรรม มีรูปปฏิมาของโคนนทิ (นนทิเป็นนามของไพละ โดย ไพละ หมายถึง วัวเพศผู้) ที่วางไว้ด้านหน้าศิวลึงค์ โดยเชื่อว่าโคนนทิ เป็นพาหนะของศิวะ แท้จริงแล้ว ศิวพาพาได้อวตารลงมาในร่างชายของพรหมาในสังคมยุค

ทั้งนี้ ศิวพาพาใช้คำว่า 'นนทิคณะ' (กลุ่มของนนทิ)
196นารทะนารทनारद
Nārad
นารทะ คือ ฤษี นักบวช นักบุญ เป็นที่รู้จักกันอย่างยิ่ง และได้รับการกล่าวว่าเป็นบุตรชายที่เกิดจากหน้าผากของพรหมา ที่สามารถเดินทางได้ทั้งสามโลก ในเวลาใดก็ตาม พร้อมกับเล่นเครื่องดนตรีทัมปูรา ได้มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับนารทะในทางภักดี เช่น นารทะต้องการแต่งงานกับลักษมี จึงไปขอพรจากวิษณุ เพื่อให้มีรูปร่างที่สวยงามเช่นวิษณุ แต่วิษณุมีอีกชื่อหนึ่งว่า หริ ซึ่งแปลว่า สวยงาม และ ลิง จึงทำให้นารทะมีรูปร่างสวยงาม แต่ใบหน้าเป็นเช่นลิง เมื่อนารทะไปขอลักษมีแต่งงาน จึงได้รับการบอกให้ไปดูใบหน้าตนเองในกระจก หมายถึง พาพาต้องการให้ลูกตรวจสภาพภายในตนเองว่ายังมีกิเลสอยู่หรือไม่ นั่นคือ มีค่าต่อการได้รับสถานภาพในสวรรค์หรือไม่

นอกจากนี้ พาพาให้ลูกถามผู้คนทั้งหลายว่าต้องการไปไวกูณฐ์หรือไม่ และพาพาได้ยกตัวอย่างถึงเรื่องราวของนารทะ โดยภควานได้บอกนารทะว่ามีที่ว่างหนึ่งที่ในไวกูณฐ์ และให้นารทะลงมาถามผู้คนยังโลกมนุษย์ว่าใครต้องการไปไวกูณฐ์บ้าง โดยผู้คนบอกนารทะว่า ถ้าหากมีสิ่งใดในโลกนรกนี้ที่พวกเขายังต้องการอยู่ในไวกูณฐ์ แล้วพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะไป นั่นหมายถึง หากผู้ที่ยังผูกพันยึดมั่นกับโลกนรกนี้และไม่ต้องการกลับมาอยู่อย่างบริสุทธิ์ ก็ไม่สามารถไปไวกูณฐ์ได้

พาพากล่าวว่า นารทะเป็นภักตะชายอันดับหนึ่ง
206ปัณฑาปณฺฑาपण्डा Paṇḍāปัณฑา คือ พราหมณ์ของฮินดูธรรม ที่นำทางให้กับผู้ไปจาริกแสวงบุญ หรือ ทำพิธีภักดีให้ภักตะในสถานที่จาริกแสวงบุญ โดยเฉพาะกุมภเมลา ริมฝั่งแม่น้ำทั้งหลาย

พาพากล่าวว่า ลูก คือ ปาณฑพ ที่เป็นปัณฑา ผู้นำทางที่เป็นสัจเช่นเดียวกับพาพา โดยลูกเป็นผู้ช่วยพาพา ในการนำอาตมาไปจาริกแสวงบุญ นั่นคือ กลับไปยังมุกติธามะและชีวันมุกติธามะ

ในหนทางภักดี ปัณฑา คือ พราหมณ์ ผู้เป็นนำคนไปจาริกแสวงบุญและประกอบพิธีทางภักดี เพื่อให้ได้พบกับภควาน หรือ ให้ได้รับคติเพื่อกลับไปยังมุกติธามะ

"ปาณฑพ" มาจากคำว่า "ปัณฑา"
207ปัทมาปัทม์ปทมาปทมपदमापदम Padmāpadmปัทม์ เป็นมาตรานับในอินเดียโบราณ โดย 1 ปัทม์เท่ากับ 10 โกฎิโกฎิ (1 โกฎิเท่ากับ 10 ล้าน) หรือในทางสากลเรียกว่า พันล้านล้าน (1,000,000,000,000,000 หมายถึงเลข 1 ซึ่งเติม 0 อีก 15 ตัว)

ศิวพาพากล่าวว่า ทุกย่างก้าวของลูกในสังคมยุคนั้น มีค่าเป็นปัทม์ของปัทม นั่นคือ ปัทมาปัทม์ หมายถึง มากมายจนไม่สามารถนับได้

ปัทม์ ยังหมายถึง บัวหลวง ซึ่งเปรียบกับการใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์ ขณะที่อยู่อย่างมีความรักและละวาง โดยส่วนใหญ่แล้ว พาพาใช้คำว่า กมล หมายถึง ดอกบัว
208ปัทม์ปทฺมपद्म
padm
ปัทม์ เป็นมาตรานับในอินเดียโบราณ โดย 1 ปัทม์เท่ากับ 10 โกฎิโกฎิ (1 โกฎิเท่ากับ 10 ล้าน) หรือในทางสากลเรียกว่า พันล้านล้าน (1,000,000,000,000,000 หมายถึงเลข 1 ซึ่งเติม 0 อีก 15 ตัว)

ศิวพาพากล่าวว่า ทุกย่างก้าวของลูกในสังคมยุคนั้น มีค่าเป็นปัทม์ นั่นคือมากมายจนไม่สามารถนับได้

ปัทม์ ยังหมายถึง บัวหลวง ซึ่งเปรียบกับการใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์ ขณะที่อยู่อย่างมีความรักและละวาง โดยส่วนใหญ่แล้ว พาพาใช้คำว่า กมล หมายถึง ดอกบัว
214ปรัมปรา (อ่านว่า ปะ-รํา-ปะ-รา)ปรมฺปราपरम्परा Paramparāในหนทางภักดีได้กล่าวกันไว้ว่า การทำภักดี เวทย์ คัมภีร์ ฯลฯ คงอยู่มาตั้งแต่ปรัมปรา ทั้งนี้ พาพาได้กล่าวว่า ทุกสิ่งของหนทางภักดีนั้น คงอยู่มาตั้งแต่ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) ของจักร (วงจร) และมนุษย์ไม่รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ได้แก่ สัตยุค (ยุคทอง) เตรตายุค (ยุคเงิน)

ปรัมปรา หมายถึง สืบๆ กันมา ก่อนเก่า โบราณนาน
217ปริสตาน/ปริสถาน (อ่านว่า ปฺริ-สฺถาน)ปริสฺตานपरिस्तान
Paristān
ปริสถาน มาจากคำว่า ปรี หมายถึง ปรี กับ สถาน หมายถึง สถานที่ นั่นหมายถึง สถานที่ของปรี ก็คือ สวรรค์

ในหนทางภักดี ได้มีการกล่าวถึง ชุมนุมของปรี ที่ท้องพระโรงของอินทรปรัสถ์ ซึ่งเป็นพระราชฐานแห่งพระอินทร์ และได้มีการให้นามของอัญมณีที่มีค่าแก่ปรีทั้งหลาย เช่น ปุขราช ปรี นีลมะ ปรี มาณิกะ ปรี เป็นต้น เพราะว่าลูกของพาพามีแต่ญาณในรูปของเพชร ไข่มุกที่ออกจากปากให้แก่ผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีการกล่าวว่า หากใครนำผู้ที่ไม่บริสุทธิ์มายังท้องพระโรงนี้ ก็จะถูกสาปให้กลายเป็นหิน นั่นคือ พุทธิที่กลายเป็นหิน ไม่สามารถเข้าใจญาณได้

แท้จริงแล้ว เป็นท้องพระโรงของพาพา ผู้เป็นสาครแห่งญาณในสังคมยุค และลูก คือ ผู้อยู่อย่างบริสุทธิ์ เป็นปรีที่ร่ายรำในญาณ

ปุขราช คือ บุษราคัม นีลมะ คือ ไพลิน มาณิกะ คือ ทับทิม

สาคร หมายถึง มหาสมุทร

ปรี (ภาษาฮินดี) เหมือนกับผริศตา (ภาษาอูรดู) หมายถึงสภาพแสงและเบาที่บริสุทธิ์
219ปาฐศาลา (อ่านว่า ปา-ถะ-สา-ลา)ปาฐศาลาपाठशाला pāṭhaśālāปาฐศาลา หมายถึง ศาลา สถานที่ หรือ โรงเรียนสำหรับศึกษาเล่าเรียน

ปาฐ หมายถึง บทเรียน ชั้นเรียน การบรรยาย (เหมือน ปาฐะ) และ ศาลา หมายถึง บ้าน ห้อง ห้องโถง ห้องใหญ่
221ปาณฑพภวนะปาณฺฑว ภวนपाण्डव भवन
Pāṇḍav bhavan
ปาณฑพภวนะ คือ สำนักงานใหญ่แห่งแรก และเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน สถานที่พักอาศัยด้วย ของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 โดยตั้งอยู่ที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย

ในราชโยคะ ปาณฑพ หมายถึง ลูกของพาพา ผู้เป็นพราหมณ์ของสังคมยุคที่พุทธิมีความรักเชื่อมต่อกับพาพา (ปรีตพุทธิ โดย ปรีตะ แปลว่า ความรัก)

ภวนะ หมายถึง อาคาร สถานที่
233ประสาทปฺรสาทप्रसाद
prasād
ในหนทางภักดี ประสาท หรือ ประภูประสาท โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงอาหาร ที่ถวายให้กับประภู แล้วเชื่อกันว่าอาหารนั้นเต็มไปด้วยกระแสศักดิ์จากประภู เหมือนเป็นของทิพย์ แท้จริงแล้ว ทุกสิ่งที่เราจดจำเสมอว่าเป็นของที่เราได้รับจากประภู นั่นคือ ประสาท

ประภู เป็นอีกนามหนึ่งของบรมบิดา บรมาตมา

ประสาท หมายถึง โปรดให้ ยินดีให้
249พิรลาพิรลาबिड़ला
Biṛlā
พิรลา เป็นตระกูลครอบครัวนักธุรกิจของอินเดียที่ได้สร้างวัดพิรลา อุทิศให้กับลักษมี นารายณ์ ในตามเมืองต่างๆ ทั่วอินเดีย เช่น เดลี ชัยปุระ ราชสถาน เป็นต้น ด้วยภาวนาที่ลึกล้ำ โดยที่ไม่รู้และเข้าใจถึงหน้าที่ บทบาทของลักษมี นารายณ์ อย่างแท้จริง
255พรหมจารีพฺรหฺมจารีब्रह्मचारी
Brahmacārī
ผู้ที่ถือพรหมจรรย์ หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ข้องแวะในกาม หรือ ละเว้นกาม โดยปรกติ จะหมายถึงการถือพรหมจรรย์ทางร่างกายตั้งแต่เกิด
268ภักดีภกฺติभक्ति bhaktiภักดี คือ ระบบและขนบธรรมเนียมที่อยู่บนพื้นฐานของพิธีกรรม การกราบไหว้บูชา ด้วยความรัก ศรัทธาที่งมงายต่อบรมบิดา บรมาตมา โดยไม่ได้มีญาณที่แท้จริงและถูกต้อง ทั้งนี้ ภักดี เป็นการกราบไหว้บูชา วัตถุธาตุ และ ผู้ที่มีร่างกาย เช่น เทวี เทวดา เป็นต้น ซึ่งได้มีการเริ่มทำภักดีตั้งแต่ทวาปรยุค ให้กับศิวะที่ในรูปของศิวลึงค์
269ภคตะ/ภักตะ (อ่านว่า พะ-คะ-ตะ/พัก-ตะ)ภคต/ภกฺตभगत/भक्त bhagat/bhaktภคตะ/ภักตะ คือ ผู้ทำภักดี ผู้กราบไหว้บูชา
273ภัณฑาราภณฺฑาราभण्डारा
bhaṇḍārā
ภัณฑารา หมายถึง ครัว หรือ คลังสมบัติ

พาพาให้ลูกเป็นผู้อุทิศตน ด้วยการเข้าใจว่าทุกสิ่งเป็นของพาพา ที่ได้ยกมอบให้ลูกด้วยความไว้วางใจ และลูกก็คือขอทานที่ไม่มีอะไรเป็นของตนเอง นั่นคือ เป็นดูแลผลประโยชน์ให้กับภัณฑาราของพาพา แม้กระทั่ง ลูกอาศัยอยู่ที่บ้านกับครอบครัวก็ตาม แล้วลูกจะได้รับการหล่อเลี้ยงตอบแทนจากพาพาถึง 21 ชาติเกิด

ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ เครื่องใช้ และ ภัณฑารา หมายถึง ครัว หรือ คลังที่เก็บ
277ภัสมาสุระ/ภัสมาสูรภสฺมาสุรभस्मासुर
Bhasmāsur
ในตำนานของฮินดูธรรม ภัสมาสูร เป็นอสูรผู้ได้รับวรทาน (พรสูงสุด) จากศิวะ เนื่องจากทำตปัสยา (ตบะ) อย่างแรงกล้า ที่ว่าเมื่อมือของเขาไปสัมผัสศีรษะของใครก็ตาม จะทำให้ผู้นั้นถูกเผาไหม้จนกลายเป็นเถ้าถ่าน และต่อมาภัสมาสูร ต้องการแต่งงานกับปารวตี ชายาของศิวะ ดังนั้น วิษณุจึงเข้ามาช่วยศิวะ ด้วยการอวตารเป็นผู้หญิงที่สวยงามและชักชวนให้ภัสมาสูรร่ายรำตาม จนมีท่าหนึ่งที่ต้องวางมือไว้บนศีรษะตนเอง ทำให้ภัสมาสูรถูกเผาไหม้กลายเป็นเถ้าถ่าน

นัยสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ วรทานที่ได้รับจากพาพา จะต้องนำไปใช้อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นจะเป็นการสาปแช่งตนเอง

ภัสมาสุระ/ภัสมาสูร มาจากคำว่า ภัสมะ แปลว่า เถ้า ธุลี กับคำว่า อสุร หรือ อสุระ แปลว่า ยักษ์ ปีศาจ ที่ภาษาไทยใช้คำว่า อสูร ทั้งนี้ สุร หรือ สุระ แปลว่า เทวดา
284โภคโภคभोग
bhog
โภค หมายถึง การถวายอาหาร สิ่งที่รับประทานหรือดื่มได้ให้กับบรมบิดา บรมาตมา

นอกจากนี้ โภค ยังใช้ประกอบกับคำอื่นที่ หมายถึง การได้รับความทุกข์ทรมานที่ได้รับ เช่น กรรมโภค คือ ความทุกข์ทรมานที่ได้รับจากกรรมที่ทำ
288มนตร์ (สันสกฤต)/มนต์ (บาลี) มนฺตฺระमंत्र mantraในหนทางภักดี มนตร์ คือ คําศักดิ์สิทธิ์ สําหรับท่องสวดเพื่อเป็นสิริมงคล และทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับคำนั้นๆ

พาพา ได้ให้มนตร์หลักแก่ลูก คือ มนมนาภวะ และ มัธยาชีภวะ ที่จดจำด้วยพุทธิ ไม่ต้องท่องสวดใดๆ
298มหาตมา/มหาตมะมหาตฺมาमहात्मा mahātmāมหาตมะ หมายถึง อาตมาที่ยิ่งใหญ่ โดยมาจากคำว่า มห แปลว่า ยิ่ง ใหญ่ กับ อาตมา

ในราชโยคะ มหาตมะ เป็นอาตมาที่รู้แจ้งและอยู่อย่างบริสุทธิ์
300มหารถีมหารถีमहारथी
mahārathī
มหารถี หมายถึง ผู้ขี่ช้าง นักรบที่ยิ่งใหญ่ และเป็นอาตมาที่กล้าหาญ และมีชัยชนะ

มหารถี มาจากคำว่า มหา แปลว่า ใหญ่ ยิ่งใหญ่ กับ รถี แปลว่า ผู้ขับขี่รถ หรือ พาหนะ
302มหาวีระมหาวีรमहावीर Mahāvīrวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นนักรบที่กล้าหาญ ไม่ไหวหวั่น สั่นคลอนใดๆ นั้นหมายถึง ลูกของพาพา แต่ในหนทางภักดี ส่วนใหญ่จะให้สมญานี้กับหนุมาน

มหาวีระ มาจากคำว่า มหา หมายถึง ยิ่งใหญ่ กับ วีระ หมายถึง กล้าหาญ
304มานสโรวระมานสโรวรमानसरोवर Mānsarovarมานสโรวระ ทะเลสาบน้ำจืด อยู่บนเขาไกรลาส เทือกเขาหิมาลัย ประเทศจีน

ในตำนานได้มีการกล่าวว่า ผู้ที่ดำลงไปในมานสโรวระจะได้รับการชำระล้างบาป ทำให้กลับมาบริสุทธิ์ นั่นคือ กลายเป็นปรี และผู้ที่ดื่มน้ำจากสระนี้ เมื่อตายแล้วจะได้ไปยังศิวาลัย

พาพากล่าวว่า แท้จริงแล้ว เมื่อลูกดำลงไปในญาณสโรวระ ทะเลสาบของญาณ แล้วจะกลายเป็นปรี นั่นหมายถึง ญาณของพาพา ไม่ใช่น้ำจากทะเลสาบ

นอกจากนี้ในตำนานฮินดู เชื่อกันว่า ทะเลสาบได้ถูกสร้างขึ้นมาในจิตใจของพรหมาเทวดาก่อน แล้วจึงปรากฏเป็นมานสโรวระ บนโลกนี้

มานสโรวระ เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต ประกอบด้วยคำว่า มาน หมายถึง มน แปลว่า ใจ จิตใจ กับ สโรวระ แปลว่า ทะเลสาบ

ปรี (ภาษาฮินดี) เหมือนกับผริศตา (ภาษาอูรดู) หมายถึงสภาพแสงและเบาที่บริสุทธิ์
309มีรามีราमीरा
Mīrā (Meerā)
เรื่องราวของมีรา มีชื่อเสียงในรัฐราชสถาน ว่าเป็นภักตะที่แท้จริงของกฤษณะ โดยมีราคิดว่าตนเองแต่งงานกับกฤษณะ ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จึงเฝ้าแต่ทำภักดี ร้องเพลงและร่ายรำกับกฤษณะ ด้วยความรักที่ลึกล้ำ ทั้งวันและคืน ถึงแม้ว่าพ่อแม่ให้แต่งงานไปอยู่กับสามีก็ตาม แต่ต้องการอยู่อย่างบริสุทธิ์ จึงก็ไม่สนใจขนบธรรมเนียม หรือ กฎเกณฑ์ในทางโลกที่ตนเองต้องปฏิบัติตาม จนกระทั่ง บ้านฝ่ายสามีบังคับให้เธอต้องดื่มยาพิษ แต่เมื่อดื่มแล้ว ยาพิษก็กลายเป็นน้ำทิพย์ อันเนื่องจากความรักที่มีต่อกฤษณะ

พาพากล่าวว่า เรื่องราวของมีราเกิดขึ้นเมื่อ 500-700 ปีที่แล้ว โดยมีราเป็นภักตะหญิงอันดับหนึ่ง แต่ไม่ได้ไปยังสวรรค์ในขณะนั้น เนื่องจากมีแต่ความภักดี แต่ไม่ได้รับความรู้ใดๆ ของพาพา
310มุรลี (อ่านว่า มุ-ระ-ลี)มุรลีमुरली
muralī
มุรลี แปลว่า ขลุ่ย

คำพูดของศิวพาพา ได้เปรียบกับเสียงขลุ่ยอันไพเราะ นั่นหมายถึง ความรู้ที่ศิวพาพา ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา มาให้ในสังคมยุค

ในหนทางภักดีได้เข้าใจกันว่า กฤษณะเป็นภควานของคีตา หมายถึง เป็นผู้พูดและสอนคีตา และได้แสดงรูปของกฤษณะเป่าขลุ่ย และมีขลุ่ยอยู่ในมือเสมอ
312มุฮัมมัด/โมฮัมมัด คัซนวี (ไทยออกเสียงเป็น มะหะหมัด)มุฮมฺมด/โมฮมฺมด คซนวีमुहम्मद/मोहम्मद ग़ज़नवी Muhammad/Mohammad Gazanavīมุฮัมมัด คัซนวี เป็นมุสลิมชาวตุรกี ผู้มีชัยชนะในการรุกรานอินเดียถึง 17 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ.1514-1543 โดยมารูดปล้นและขนทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายจากอินเดีย รวมทั้งจากวัดโสมนาถ ซึ่งเป็นวัดแรกที่สร้างเป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพาในหนทางภักดีด้วย

ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา
313มฤคตฤษณา/มฤคตัณหา (อ่านว่า มะ-รึก-คะ-ตฺริด-สะ-หฺนา/ มะ-รึก-คะ-ตัน-หา)มฺฤคตฺฤษณาमृगतृष्णा
mṛgatṛṣṇā
ในราชโยคะ พาพาได้กล่าวยกตัวอย่างทุรโยธน์กับเรื่องราวมฤคตัณหา ที่หมายถึง กวาง ผู้กระหายน้ำ และเข้าใจผิดเห็นภาพลวงตาว่าเป็นแหล่งน้ำอยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ ทุรโยธน์ไม่เข้าใจในความจริงแท้ จึงติดกับและถูกหลอกลวงด้วยกิเลส ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนเองต้องการ ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ต่อธรรมและสัตย์ เหมือนกับผู้คนที่เข้าใจว่าโลกทุกวันนี้เป็นสวรรค์ ที่มีทุกอย่างและทำทุกสิ่งภายใต้กิเลสเพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่รู้ว่าสวรรค์คืออะไร

นอกจากนี้ พาพายังกล่าวโยงถึงเรื่องราวใน "มหาภารตะ" ระหว่างนางเทราปทีชายาของเหล่าปาณฑพกับทุรโยธน์ไว้ เนื่องจากเการพและปาณฑพเป็นพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพระราชวังเดียวกัน ที่ได้ออกแบบสร้างสระน้ำไว้ในห้องโถงของพระราชวัง และวันหนึ่ง ทุรโยธน์ได้เดินตกลงไปในสระน้ำ ด้วยการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพื้นทางเดิน นั่นก็เปรียบเทียบกับมฤคตัณหา โดยนางเทราปทีได้เห็นเหตุการณ์และหัวเราะขบขัน พร้อมกับกล่าวว่า พ่อตาบอด ลูกก็ตาบอดด้วย เพราะว่าทุรโยธน์เป็นลูกของท้าวธฤตราษฏร์ ผู้ตาบอด นั่นหมายถึง ผู้ที่พุทธิไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่สามารถแยกแยะธรรมกับอธรรม ความจริงกับความหลอกลวงได้ จึงเป็นต้นเหตุของความโกรธแค้นทำให้ทุรโยธน์สั่งทุหศาสันเปลื้องผ้านางเทราปที เมื่อครั้งที่ปาณฑพได้แพ้การพนันต่อและต้องยกนางเทราปทีให้เการพ

มฤค แปลว่า กวาง และ ตฤษณา คำไทยคือ ตัณหา ในความหมายนี้แปลว่า ความอยาก ความกระหายต่อน้ำ ในภาษาไทยใช้คำว่า พยับแดด หมายถึง เงาแดดที่ทำให้เกิดภาพลวงตา
314เมลาเมลาमेला
melā
เทศกาล การชุมนุมที่มีกลุ่มคนเข้าร่วม
317โมกษะ (อ่านว่า โมก-สะ)โมกฺษमोक्ष
mokṣ
การหลุดพ้นตลอดไป โดยไม่ต้องกลับมาเล่นบทบาทในวงจรละครโลก ซึ่งเป็นความเชื่อในหนทางภักดี ที่เพ่งเพียรปฏิบัติเพื่อให้ได้รับโมกษะ

พาพากล่าวว่า ทุกอาตมามีบทบาทที่บันทึกอยู่ในอาตมา และต้องลงมาจากบรมธามะ เพื่อเล่นบทบาทตามเวลาของตนเองในวงจรละครโลกนี้
319ยัคญะ (ฮินดี)/ยัชญะ (สันสกฤต)/ยัญ (บาลี)ยคฺญ/ยชฺญ/ยญयज्ञ
yagña/yajña/yañ
คำว่า ยัญ หมายถึง ไฟบูชายัญ การเซ่น การบูชา โดยทั่วไปแล้ว มีการก่อยัญเพื่อป้องกันหรือให้ยุติลงในการเกิดภัยพิบัติ สงคราม หรือการขอฝน เป็นต้น

ในมุรลี คำว่า ยัญ หมายถึง ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ที่สร้างโดย ศิวพาพา (อิศวร) ในสังคมยุค ที่มีระบบของการให้ญาณและการหล่อเลี้ยงโดยอิศวร นอกจากนี้ ทุกสถานที่ทำเสวา (งานรับใช้) ของ อิศวร นั่นหมายถึง ยัญ ทั้งนี้ มธุพน ก็คือ มหายัญ (ยัญที่ยิ่งใหญ่)

พาพากล่าวว่า นี่คือ รุทระ ญาณ ยัญ ที่แท้จริง โดยพาพามาให้ญาณแก่ลูก ทำให้ลูกสังเวยกิเลสและสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด ส่งผลให้ทั้งโลกก็ถูกสังเวยตามมา นั่นคือทำให้ทั้งอาตมาและวัตถุธาตุกลับมาบริสุทธิ์

การเขียนตามภาษาบาลี คือ ยัญ ภาษาฮินดี คือ ยัคญะ และภาษาสันสกฤต คือ ยัชญะ

อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา
346รามจันทร์รามจนฺทฺระरामचन्द्र
Rāmacandra
ราชารามของเตรตายุค (ยุคเงิน)
376วิราฏรูปวิราฏ รูปविराट रूप
Viiāṭ rūp
ในราชโยคะ วิราฏรูป คือ การบรรยายถึงสภาพของความบริสุทธิ์และคุณสมบัติต่างๆ ของอาตมาทั้งจักร (วงจร) ผ่าน 5 วรรณะ นั่นคือ 5 ยุค ที่แสดงผ่านส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ใหญ่โตของของวิษณุ ได้แก่ 1. พราหมณ์ (สังคมยุค) คือ สภาพจรตีกลา ของการไต่ขึ้นสูง แสดงด้วยจุก สูงสุดของร่างกาย 2. เทวดา (สัตยุค) คือ สภาพสโตประธาน แสดงด้วยหน้าผาก ใบหน้าของร่างกาย 3. กษัตริย์ (เตรตายุค) คือ สภาพสโต แสดงด้วยไหล่ อกของร่างกาย 4. แพศย์ (ทวาปรยุค) คือ สภาพรโช แสดงด้วยท้องของร่างกาย 5. ศุูทร (กลียุค) คือ สภาพตโมประธาน แสดงด้วยเท้าของร่างกาย

พาพากล่าวว่า วิราฏรูป ของหนทางภักดี ไม่ได้แสดงจุก หมายถึง พราหมณ์ ของสังคมยุค และ ศิวพาพา ผู้เปลี่ยนพราหมณ์ให้เป็นเทวดาของสัตยุค

ใน "มหาภารตะ" ได้กล่าวว่า กฤษณะให้สากษาตการแก่อรชุน เห็นวิราฏรูป ของวิษณุที่ใหญ่โต เพื่อให้อรชุนได้รู้ถึงเรื่องราวทั้งจักรผ่านวิราฏรูป และยอมรับว่ากฤษณะ คือ ภควาน

จรตีกลา มีความหมายตรงข้ามกลับ อุตรตีกลา ที่หมายถึง สภาพของการตกต่ำลงมา

วิราฏะ แปลว่า ใหญ่โต
378นาภีของวิษณุนาภิของวิษณุविष्णु की नाभि
Viṣṇu kī nābhi
ในหนทางภักดี ได้แสดงว่า พรหมาออกมาจากนาภีของวิษณุ และวิษณุออกมาจากนาภีของพรหมา

พาพาได้อธิบายความหมายว่า ในสังคมยุค พรหมา รวมทั้ง พรหมากุมารและกุมารี จะกลายเป็นวิษณุในสัตยุค นั่นคือ เทวี เทวดา จากการที่พาพามาสอนญาณและราชโยคะทำให้ลูกกลับมาบริสุทธิ์ ต่อมาหลังจากที่ลูกได้ใช้ 84 ชาติเกิด ก็กลายเป็นพรหมา รวมทั้ง พรหมากุมารและกุมารี ที่กลับมาตกต่ำ ไม่บริสุทธิ์ และต้องกลายเป็นวิษณุอีก นั่นหมายถึง อาตมาเล่นบทบาทในจักรของ 84 ชาติเกิด ได้เปลี่ยนจากพรหมา กลายเป็นวิษณุ และวิษณุกลายเป็นพรหมา จึงได้แสดงไว้ถึงการเกี่ยวข้องกันระหว่างวิษณุกับพรหมาด้วยการออกมาจากนาภีในหนทางภักดึ

นาภี หมายถึง สะดือ
384ไวราคยะ (อ่านว่า ไว-รา-คฺยะ)ไวราคฺยवैराग्य vairāgyaไวราคยะ คือ สภาพของอาตมาที่เป็นอิสระจากความผูกพันยึดมั่นและความปรารถนาบนฐานของเทหอภิมานะ

ไวราคยะ มาจากรากศัพท์คำว่า ราคะ ที่แปลว่า ความยึดมั่นผูกพัน รู้สึกชอบใจ พอใจ ดังนั้น ไวราคยะ คือ การไม่มีราคะ ไม่มีความยึดมั่นผูกพัน

เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน
387วยภิจารี (อ่านว่า วฺยะ-พิ-จา-รี)วฺยภิจารีव्यभिचारी
vyabhicārī
วยภิจารี หมายถึง การนอกใจ เป็นชู้ การมีหลายสิ่ง หลายอย่าง และ อวยภิจารี หมายถึง มีเพียงผู้เดียว ไม่มีผู้อื่นใด ซึ่งตรงข้ามกับวยภิจารี

ศิวพาพากล่าวว่า เมื่อลูกเริ่มทำอวยภิจารี ภักดี ในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) ลูกทำให้กับศิวะเพียงผู้เดียว ด้วยความรักและศรัทธาและใช้ทรัพย์สมบัติที่ พาพาทำให้ลูกมั่งคั่ง จากสังคมยุค เพราะว่าลูกมีญาณ การจดจำระลึกถึง เสวา ธารณา และทุกสิ่งเป็นอวยภิจารีกับพาพาเท่านั้น แต่ในเวลาต่อมา ลูกก็ทำภักดีให้กับสิ่งอื่นนอกเหนือจากศิวะ เช่น ลักษมี นารายณ์ เหล่าเทพ จนกระทั่ง ทำให้กับมนุษย์และวัตถุธาตุ นั่นเรียกว่า วยภิจารี ภักดี ลูกจึงกลับมามีธรรมและกรรมที่ภรัษฏะ หมายถึง ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และยากจนข้นแค้น

ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา
389พรต (อ่านว่า พฺรด)วฺรตव्रत
vrat
พรต หมายถึง การละเว้น งด สาบาน คำมั่นสัญญา กิจวัตร การจำศีล เช่น การเว้นบริโภค และข้อกำหนดการปฏิบัติ

แท้จริงแล้ว พาพาให้ลูกถือพรต (คำมั่นสัญญา หรือ การยึดมั่นในศรีมัตหรือข้อปฏิบัติ) ว่าจะอยู่อย่างบริสุทธิ์ โดยละเว้นกิเลส และสิ่งที่ไม่ดีงามทั้งหลาย ไม่ใช่การอดอาหาร หรือ นัำ เช่นที่ทำกันในหนทางภักดี
390ศังกรศงฺกรशंकर
Śaṅkar
ศังกร เป็นหนึ่งในสามของเทวดาที่ละเอียดอ่อนที่แสดงไว้ในตรีมูรติ

ศังกร เป็นสัญลักษณ์แสดงสภาพที่สมบูรณ์ของพรหมาในการสละละทิ้ง (ตยาค) และตปัสยา (ตบะ) ด้วยเหตุนี้เองในหนทางภักดีได้แสดงว่าศังกรอยู่ในท่านั่งของการทำสมาธิที่มีโยคะอย่างมั่นคงกับศิวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้กิเลสทั้งห้า เกิดวินาศไป ดังนั้น จึงได้มีการแสดงว่า ศิวะ ตรีมูรติ ทำให้โลกที่มีกิเลสเกิดวินาศด้วยศังกร
392ศักดิ์ศกฺติशक्ति
Śakti
ศักดิ์ คือ พรหมากุมารี ผู้เป็น ลูกสาวของศิวพาพา นั่นคือ ศักดิ์ของผู้หญิง ที่ได้รับหล่อเลี้ยงจากศิวะ ทำให้เกิดศักดิ์ในตนเองและผู้อื่น จึงได้มีการจดจำถึง ศิวศักดิ์เสนา (กองทัพ) ในหนทางภักดี

ตามตำนานของอินเดีย ศักดิ์ ก็คือ เทวี เป็นผู้ให้ศักดิ์ทั้งแปดของอาตมา และได้รับการเรียกว่า แม่ เช่น ทุรคา กาลี อัมพา สรัสวดี

ศักดิ์ แปลว่า กำลัง พลัง อำนาจ ความสามารถ
395ศรณาคติ/สรณาคติศรณาคติशरणागति Śaraṇāgatiศรณะ แปลว่า ที่พึ่ง ที่อาศัย ที่ปกป้อง ในภาษาไทยใช้คำว่า สรณะ

ศรณาคติ/สรณาคติ หมายถึง การเข้าไปอาศัยหลบภัยจากอันตราย หรือ ปัญหา เพื่ออยู่ภายใต้การปกป้องจากพาพา
399ศานติกุณฑ์ (สันสกฤต)/สันติกุณฑ์ (บาลี)ศานฺติ กุณฺฑशान्ति कुण्ड
śānti kuṇḍ
กุณฑ์ คือ ถังบรรจุน้ำ แหล่งน้ำเล็กๆ หรือ สระ

หวนกุณฑ์ คือ แท่นรูปสี่เหลี่ยมที่ใช้สำหรับก่อไฟบูชายัญ

สันติกุณฑ์ หมายถึง แหล่ง หรือ ภาชนะของความสงบ

พาพากล่าวว่า จงทำให้ศูนย์ หรือ สถานที่ของพาพาเป็นสันติกุณฑ์ หมายถึง เป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดประสบการณ์ของสันติ

ศานติ และ สันติ แปลว่า ความสงบ ความนิ่ง เงียบ
400ศิวะศิวशिव
Śiv
นามดั้งเดิมและตลอดไปของบรมบิดา บรมอาตมา มีความหมายว่า จุด เมล็ด และผู้ให้กัลยาณ

กัลยาณ หมายถึง ดีงาม ประเสริฐ คุณประโยชน์
401ศิวกุมารศิว กุมารशिव कुमार Śiva Kumārกุมาร (ลูกชาย) ของศิวะ

พาพาทำให้เราจดจำว่า เราคือ พรหมากุมารและกุมารี ไม่ใช่ ศิวกุมาร หรือ ศิวกุมารี โดยที่ ศิวพาพา เป็นบิดาที่นิราการของอาตมาที่นิราการ แต่พรหมาเป็นประชาบิดาที่สาการในสาการีโลก
402ศิวกุมารีศิว กุมารีशिव कुमारी Śiva Kumārīกุมารี (ลูกสาว) ของศิวะ

พาพาทำให้เราจดจำว่า เราคือ พรหมากุมารและกุมารี ไม่ใช่ ศิวกุมาร หรือ ศิวกุมารี โดยที่ ศิวพาพา เป็นบิดาที่นิราการของอาตมาที่นิราการ แต่พรหมาเป็นประชาบิดาที่สาการในสาการีโลก
405ศิวศักดิ์ศิว ศกฺติशिव शक्ति
Śiva Śakti
ศักดิ์ หมายถึง ลูกสาวของศิวะ นั่นคือ ศักดิ์ของเพศหญิงที่ได้รับจากศิวะ และทำให้เกิดศักดิ์ในผู้อื่นด้วย จึงได้มีการจดจำถึง ศิวศักดิ์เสนา (กองทัพ) ในหนทางภักดี

ศิวศักดิ์ มาจากคำว่า ศิวะรวมกับศักดิ์ นั้นหมายถึง อาตมาคงอยู่ในรูปรวมและเชื่อมโยงกับศิวะด้วยโยคะที่สม่ำเสมอและได้รับศักดิ์จากศิวะ

ตามตำนานของอินเดีย ศักดิ์ ก็คือ เทวี เป็นผู้ให้ศักดิ์ทั้งแปดของอาตมา และได้รับการเรียกว่า แม่ เช่น ทุรคา กาลี อัมพา สรัสวดี

ศักดิ์ หมายถึง กำลัง พลัง อำนาจ ความสามารถ
406ศิวพาพาศิวพาพาशिवबाबा
Śivabābā
ศิวะ คือ นามของบรมบิดา บรมอาตมา และ พาพา เป็นคำที่แสนหวานที่เรียกหรือกล่าวถึงศิวะ ผู้เป็นพ่อ ด้วยความรักและใกล้ชิด ดังนั้น เราจึงเรียกท่านว่า ศิวพาพา

พาพา เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ
408ศิวลิงค์/ศิวลึงค์ศิวลิงฺคशिवलिंग
Śivaliṅg
ลิงค์/ลึงค์ ในภาษาฮินดี หมายถึง สัญลักษณ์ หรือ เพศ

ในหนทางภักดีได้แสดง ศิวะ ผู้ที่นิราการ เป็นชโยติพินทุ (จุดแห่งแสง) ในรูปของชโยติลึงค์ หรือเรียกว่า ศิวลึงค์ แต่เนื่องจากไม่สามารถทำภักดีให้กับจุดแห่งแสงได้ จึงทำเป็นรูปรัศมีแสงที่เป็นไข่วงรีที่ทำด้วยเพชร ทองคำ หรือ หิน แสดงเป็นสัญลักษณ์ของศิวะ

พินทุ หมายถึง จุด และ ชโยติ หมายถึง แสง
412ศิโวหมฺศิโวหมฺशिवोहम्
Śivohaṃ
เป็นการรวมกันของคำว่าศิวะ กับ อหมฺ ที่แปลว่า ฉัน

ศิโวหมฺ หมายถึง ฉัน คือ ศิวะ ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา

สันนยาสี กล่าวคำว่า ศิโวหมฺ สำหรับตนเองว่าเป็นศิวะ

สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ
413ศิศุปาลศิศุปาลशिशुपाल
Śiśupāl
ศิศุปาล เป็นลูกพี่ลูกน้องของกฤษณะ ที่แสดงไว้ใน"มหาภารตะ" โดยแม่ของศิศุปาลได้ให้กฤษณะสาบานว่า กฤษณะจะให้อภัยลูกของนาง 100 ครั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจฆ่า ต่อมาศิศุปาลได้กล่าวร้ายต่อกฤษณะ 100 ครั้ง ในที่สุดศิศุปาลก็ถูกฆ่าโดยกฤษณะด้วยสวทัศนจักร

แท้จริงแล้ว สวทัศนจักร เป็นสัญลักษณ์ของการฆ่าสิ่งที่ไม่ดีในอาตมา นั่นคือ เมื่ออาตมามีญาณทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ ทำให้มองเห็นและหยั่งรู้ถึงเรื่องราวของตนเองทั้งจักร จึงสามารถเอาชนะกิเลสได้

สวทัศน จักร มาจาก 3 คำ ได้แก่ 1. สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา 2. ทรรศนะ/ทัศนะ หมายถึง มองเห็น 3. จักร หมายถึง จักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ
414ศุภศุภशुभ
śubh
สิริมงคล ดีงาม
421สันนยาสีสนฺนฺยาสีसंन्यासी
sannyāsī
สันนยาสี หมายถึง ฤษี นักบวช นักบุญ ผู้อยู่ในหนทางการใช้ชีวิตสันโดษ ที่แยกตนเองออกไปอยู่โดยลำพังและสละละทิ้งทางโลก

พาพากล่าวว่า ลูก คือ สันนยาสี ที่แท้จริงและไม่มีขีดจำกัด ขณะที่อยู่ท่ามกลางโลกนี้ แต่อยู่อย่างบริสุทธิ์และละวางเช่นดอกบัว

สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ

คนมักนิยมเขียนว่า สันยาสี
426สัตคุรุ/สัทคุรุสตคุรุ/สทฺคุรุसतगुरु/सद्गुरु
Sataguru/Sadguru
พาพา คือ สัตคุรุ/สัทคุรุ ผู้เป็นสัตย์ที่นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ

คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ

คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้)
431สัตสงค์สตฺสงฺคसत्संग
satsaṅg
ในราชโยคะ สัตสงค์ หมายถึง การอยู่กับผู้ที่เป็นสัตย์

สัตสงค์ เป็นคำภาษาสันสกฤต มาจาก 2 คำ นั่นคือ สัตย์ และสงค์ โดย สงค์ แปลว่า การอยู่ด้วยกัน การเกี่ยวข้อง

สังคมยุค คือ สัตสงค์ที่แท้จริง ที่มีเราอยู่กับพาพาผู้เป็นสัตย์

นอกจากนี้ สัตสงค์ หมายถึง ชุมนุมของหนทางภักดีที่มีคุรุ พระ นักบวช เป็นผู้สอน
441สาลิคราม/ศาลิครามสาลิคฺราม/ศาลิคฺรามसालिग्राम/शालिग्राम
sāligrām/śāligrām
ได้มีความเชื่อกันว่า ศาลิคราม เป็นหินศักดิ์สิทธิ์ที่สุด โดยทั่วไปจะเป็นหินรูปไข่สีดำ

ในหนทางภักดี ศิวพาพาได้รับการบูชาในนิราการรูป คือ ศิวลึงค์ เท่านั้น ขณะที่ลูกได้รับการบูชาทั้งสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) คือ รูปเคารพเทวีและเทวดา และนิราการ (อาตมา) คือ ศาลิครามด้วย

แท้จริงแล้ว ศาลิครามเป็นอนุสรณ์ของพรหมากุมารและกุมารีที่เป็นผู้ช่วยพาพาในสังคมยุค

ที่วัดรฆุนาถ เมืองชัมมู ของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ในอินเดีย ได้มีศาลิคราม 330 ล้านรูป ที่เป็นอนุสรณ์ของอาตมาที่เป็นเทวีและเทวดา 330 ล้านองค์
446สุหาคะสุหาคसुहाग suhāgสุหาคะ หมายถึง สามี

สิ่งชี้บอกถึงภรรยาว่าเป็นผู้โชคดี คือ สามียังมีชีวิตอยู่และได้รับการดูแลจากสามี

พาพา คือ สุหาคะที่แท้จริง ดังนั้นลูกจึงเป็นผู้ที่มีโชคที่แต่งงานกับพาพา สามีที่อมร ไม่ตาย อวินาศ คงอยู่ตลอดไป ผู้ให้การดูแลและทำให้ลูกได้รับทุกสิ่งที่ไม่มีขึดจำกัด

ในทางโลก หนึ่งในสัญลักษณ์ของสุหาคะ คือ ดิลกหรือสินทูระที่หน้าผากของภรรยา
447สูรทาสะ/สูรทาสสูรทาสसूरदास
Sūradās
สูรทาส เป็นนักบุญช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 และเป็นภักตะของกฤษณะ โดย สูรทาสทำให้ตนเองตาบอด เพื่อจะได้ไม่ต้องมีทฤษฎีหรือสายตาที่ไม่บริสุทธิ์และตกภายใต้กิเลสจากภายนอก
458หฐโยคะ หฐโยคहठयोग
haṭhayog
โยคะด้วยการบังคับ บากบั่น พากเพียร ในทางร่างกายภายนอก ส่วนใหญ่ พาพาจะกล่าวถึงสันนยาสีว่าเป็นหฐโยคี ที่ละทิ้งครอบครัวไปเพ่งเพียรปฏิบัติ ด้วยวิธีของการมีโยคะกับพรหมธาตุ ที่เข้าใจว่าเป็นบรมบิดา บรมาตมา และต้องการหลอมรวมเข้าไปกับพรหมธาตุ หรือ การฝึกฝนท่าทางต่างๆ ของร่างกาย

หฐ หมายถึง การบังคับ บากบั่น พากเพียร และ โยคะ หมายถึง การเชื่อมโยง การติดต่อ

สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ
459หฐโยคีหฐโยคีहठयोगी
haṭhayogī
หฐโยคี คือ ผู้ฝึกฝนหฐโยคะ

หฐโยคะ หมายถึง โยคะด้วยการบังคับ บากบั่น พากเพียร ในทางร่างกายภายนอก ส่วนใหญ่ พาพาจะกล่าวถึงสันนยาสีว่าเป็นหฐโยคี ที่ละทิ้งครอบครัวไปเพ่งเพียรปฏิบัติ ด้วยวิธีของการมีโยคะกับพรหมธาตุ ที่เข้าใจว่าเป็นบรมบิดา บรมาตมา และต้องการหลอมรวมเข้าไปกับพรหมธาตุ หรือ การฝึกฝนท่าทางต่างๆ ของร่างกาย

หฐ หมายถึง การบังคับ บากบั่น พากเพียร และ โยคะ หมายถึง การเชื่อมโยง การติดต่อ

สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ
463หริศจันทร์หริศฺจนฺทฺรहरिश्चन्द्र
Hariścandra
ในเรื่องราวของหนทางภักดี หริศจันทร์ คือ ราชาที่รู้จักกันว่ามีความซื่อสัตย์ พูดสัจ ความจริงเสมอ ไม่เคยนำสิ่งที่ได้รับมาด้วยความไว้วางใจไปใช้ในทางที่ผิด และรักษาคำมั่นสัญญา ถึงแม้ตัวเองจะต้องตายก็ตาม แต่ในที่สุดแล้ว ภควานก็ให้ชีวิตและทุกสิ่งกลับคืนมา

แท้จริงแล้ว นั่นคือ อนุสรณ์ของคุณสมบัติของลูกของพาพา ที่อยู่อย่างซื่อสัตย์เสมอ และเมื่อให้สิ่งใดกับพาพาแล้ว ก็อย่าคิดจะเอากลับคืนมา
467หาตัมตาย/หาติมตาย หาตมตาย/หาติมตายहातमताई/हातिमताई Hātamatai/Hātimataiหาตัมตาย เป็นคุรุที่ได้แนะนำผู้อาศัยอยู่กับครอบครัวให้ใส่ลูกปัดไว้ในปาก เมื่อใครอยู่รอบตัวมีความโกรธ เพื่อทำให้เกิดความสงบในบ้าน

พาพาได้ยกตัวอย่างเรื่องนี้ เป็นอุบายทำให้ผู้มีลูกปัดอยู่ในปาก ก็ไม่สามารถที่จะมีปฏิกริยาโต้ตอบกับผู้อื่นได้ จึงป้องกันการทะเลาะเบาะแว้งที่จะเกิดขี้น หากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้โต้ตอบ

นอกจากนี้ ลูกปัดอยู่ในปาก ยังหมายถึง การจดจำพาพาเพียงผู้เดียว แล้วมายาจะไม่สามารถเข้ามาหาลูกได้
470หิรัณยกัศยปะหิรณฺยกศฺยปहिरण्यकश्यप
Hiraṇyakaśyap
จากคัมภีร์ปุราณะของฮินดูธรรม หิรัณยกัศยปะ คือ ราชาที่เป็นอสูร เป็นภักตะของศิวะ ที่เพ่งเพียรปฏิบัติและทำตปัสยา (ตบะ) จนศิวะตกลงให้พรตามที่หิรัณยกัศยปะขอว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน หลังจากได้รับพร หิรัณยกัศยปะ ก็เลิกทำภักดี และให้ทุกคนมากราบไหว้ตนเอง ทั้งนี้ ประหลาท ลูกชายของหิรัณยกัศยปะ เป็นภักตะของวิษณุ หิรัณยกัศยปะจึงให้โหลิกา พี่สาวของตนพยายามฆ่าประหลาท จนโหลิกาถูกเผาจนตายเอง จึงเป็นที่มาในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา)

หลังจากนั้น ประหลาทได้ตอบด้วยความมั่นใจต่อหิรัณยกัศยปะที่ได้ท้าทายประหลาทว่า ถ้าวิษณุมีอยู่จริงขอให้ปรากฏออกมาจากเสาตรงทางเข้าออกและไปเตะเสา ทันใดนั้น วิษณุก็ได้อวตารและปรากฏออกมาจากเสาในรูปของนรสิงห์ (ร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต) ที่ไม่ใช่ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ ได้สังหารหิรัณยกัศยปะ ในเวลาพลบค่ำ ที่ไม่ใช่ทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน

นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ กิเลสทั้งห้าในรูปของอสูรถูกทำลายในสังคมยุค ที่ไม่ใช่ทั้งสัตยุคและกลียุค

นรสิงห์ หมายถึง พาพา ผู้ขจัดความทุกข์และกิเลสในโลกนี้

ประหลาท หมายถึง ลูกที่มีศรัทธาต่อพาพา โดยไม่ถูกกระทบจากสิ่งที่ไม่ดีของญาติพี่น้องในครอบครัว และไม่ยอมจำนนต่อกิเลสใดๆ
472โหลิกาโหลิกาहोलिका
Holkā
จากคัมภีร์ปุราณะของฮินดูธรรม หิรัณยกัศยปะ คือ ราชาที่เป็นอสูร ผู้เป็นภักตะของศิวะ ที่เพ่งเพียรปฏิบัติและทำตปัสยา (ตบะ) จนศิวะตกลงให้พรตามที่หิรัณยกัศยปะขอว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน หลังจากได้รับพร หิรัณยกัศยปะ ก็เลิกทำภักดี และให้ทุกคนมากราบไหว้ตนเอง ทั้งนี้ ประหลาท ลูกชายของหิรัณยกัศยปะ เป็นภักตะของวิษณุ หิรัณยกัศยปะจึงให้โหลิกา พี่สาวของตนพยายามฆ่าประหลาท โหลิกานั้นเป็นอสุรีที่เป็นภักตะของศิวะ และได้รับพรจากศิวะ ว่าจะไม่ถูกทำลายด้วยไฟเมื่อสวมเชือกพิเศษ จึงได้นำประหลาทมานั่งบนตักของเธอ แล้วหิรัณยกัศยจุดไฟเผาทั้งสอง ทันใดนั้น เชือกก็หลุดออกจากตัวโหลิกา และมาพันตัว ประหลาทแทน ทำให้โหลิกาถูกเผาจนตายเอง

เรื่องราวของโหลิกา จึงเป็นที่มาในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) เกี่ยวข้องกับกองไฟที่จุดขึ้นมากลางแจ้งประจำปีในวันแรกของโหลีที่เป็น เทศกาลสาดสีของฮินดูธรรม เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า โหลิกา หมายถึง สิ่งที่ไม่ดี เลวร้าย ทั้งหมดของโลกเก่าต้องถูกทำลาย และ ประหลาท หมายถึง เชือก นั่นคือ อาตมา ที่จะคงอยู่ตลอดไป
473โหลีโหลีहोली
Holī
โหลี เป็นเทศกาลสาดสีของฮินดูธรรม

ในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) หรือ โฉฏีโหลี ที่ผู้คนมารวมกัน และทำพิธีของธรรมเบื้องหน้ากองไฟที่จุดขึ้นมากลางแจ้ง ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งพร่ำสวดเพื่อให้ความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีภายในถูกขจัดออกไป ขณะที่ก่อกองไฟเผาไหม้กลางแจ้ง โดยจะเฉลิมฉลองในวันพระจันทร์เต็มดวง นั่นคือ อนุสรณ์ของอาตมาที่เอาชนะกิเลส

ธุริยา เป็นวันที่สองของเทศกาลนี้ โดยผู้คนเล่นสาดสีใส่กันด้วยผงสีและน้ำสี ทั้งนี้ ธุริยา เป็นคำสินธี และในภาษาฮินดี เรียกว่า รงควาลีโหลี (รงค์ หมายถึง สี) ธุเลฏี ธุลัณทิ ธุลิวันทนะ นั่นคือ อนุสรณ์ของอาตมา ที่ได้รับการแต่งแต้มสีสันด้วยสีของการใช้ชีวิตร่วมกับบรมบิดา บรมาตมา ในสังคมยุค

โหลี จะเริ่มต้นเฉลิมฉลองในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) เรียกว่าวัน ‘โหลิกาทหนะ’ และวันถัดมา เรียกว่า วันธุริยา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) โดยทั้งสองวันนี้ จะอยู่ราวเดือนมีนาคมของทุกปี
474ฟกีระฟกีรफ़कीर
fakīr
ในภาษาอูรดู ฟกีระ หมายถึง นักบวช ผู้ที่ทำสาธนา ร้องหาและยกย่องสรรเสริญภควาน ใช้ชีวิตเร่ร่อนตามลำพัง โดยร้องขออาหารเป็นทานจากผู้อื่น ไม่มีสมบัติ วัตถุสิ่งของใด

ในภาษาสินธี ฟกีระ หมายถึง ขอทาน
475อมรกถาอมรกถาअमरकथा Amarkathāอมรกถา เป็นหนึ่งในสามเรื่องเล่าหลักของหนทางภักดี ได้แก่ อมรกถา ตีชรี กี กถา และสัตยนารายณ์ กี กถา

ในหนทางภักดีกล่าวว่า อมรนาถ คือ ศิวะ (โดยเชื่อกันว่า ศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน) ได้เล่าอมรกถาให้แก่ปารวตี ผู้เป็นชายา ที่เขาไกรลาส ซึ่งเป็นประทับของพระศิวะ เหนือขึ้นไปบนท้องฟ้า และผู้คนก็คิดว่าเป็นถ้ำอมรนาถที่หิมะละลายแล้วเกาะตัวเป็นน้ำแข็งรูปศิวลึงค์ ตั้งอยู่บนเขาหิมาลัยของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียด้วย จึงกลายเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญและมีชื่อเสียงของฮินดูธรรม

พาพากล่าวว่า "ลูกทั้งหมด คือ ปารวตี และ ฉัน ผู้เป็นอมรนาถ กำลังให้ญาณ (อมรกถา) แก่ลูก และจะนำลูกกลับไปยังอมรโลก (อมรบุรี)"

อมรนาถ เป็นสมญาที่ให้กับศิวพาพา

อมรนาถ มาจากคำว่า อมร หมายถึง ไม่ตาย กับคำว่า นาถ หมายถึง ผู้เป็นนาย ผู้เป็นที่พึ่ง และ กถา แปลว่า เรื่อง ถ้อยคํา





You are visitors No.12598 since 16th September 2024.

© 2025 Brahma Kumaris Thailand. All rights reserved.