No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
6 | อกาสุระ/อกาสูร | อกาสุร | अकासुर ![]() | ![]() Akāsur | ตามคัมภีร์ของฮินดูธรรม อกาสูรเป็นอสูรที่ร้ายกาจมาก ซึ่งถูกฆ่าโดยกฤษณะ อกาสูรและพกาสูร เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีอสุรีคุณและสร้างอุปสรรคในการสถาปนาของบรมบิดา บรมอาตมา โดยกฤษณะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีทิพยคุณ พาพากล่าวว่า ผู้ที่มีอสุรีคุณพ่ายแพ้ต่อผู้ที่มีทิพยคุณ อกาสุระ/อกาสูร มาจากรากศัพท์คำว่า อสุร หรือ อสุระ แปลว่า ยักษ์ ปีศาจ ในภาษาไทยใช้คำว่า อสูร ทั้งนี้ สุร หรือ สุระ แปลว่า เทวดา ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา |
53 | กงส์ | กงฺส | कंस ![]() | ![]() kaṃs | กงส์ คือ ปีศาจ เป็นตัวละครจากภาควัต กงส์ เป็นชื่อพระยาแห่งกรุงมถุรา โอรสท้าวอุครเสน และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนางเทวกี มารดาของกฤษณะ (ท้าวอุครเสนเป็นพี่ของเทวกะ ผู้เป็นบิดานางเทวกี) ในที่สุดแล้ว กฤษณะเป็นผู้เอาชนะกงส์ นอกจากนี้ยังมีการเขียนกงส์ ว่า กังส หรือ กังสะ ก็มี |
80 | เการพ | เการว | कौरव ![]() | ![]() Kaurav | เการพเป็นตัวละครจาก "มหาภารตะ" ที่ได้แสดงไว้ว่ามีพี่น้อง 101 คน ซึ่งสืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ กับนางคานธารี ได้แก่ ทุรโยธน์ เป็นพี่คนโต ผู้ชักนำไปสู่สงครามทุ่งกุรุเกษตร และทุหศาสัน เป็นพี่คนที่สอง ผู้ดูหมิ่นเหยียดหยามนางเทราปที ชายาของเหล่าปาณฑพด้วยการเปลื้องผ้านาง เมื่อปาณฑพได้แพ้พนันให้กับทุรโยชน์ แต่เทราปที ร้องเรียกหากฤษณะเพื่อให้ปกป้องเกียรติของเธอจากการถูกเปลื้องผ้า และเป็นกฤษณะเท่านั้นสามารถปกป้องเธอได้ โดยทั้ง ทุรโยธน์และทุหศาสันมีบทบาทสำคัญในมหาภารตะ ในราชโยคะ เการพ หมายถึง ผู้ที่มีพุทธิผิดทาง หันเหออกไปจากศิวพาพา (วิปริตพุทธิ) และไม่มีความรัก โดยคำว่า เการพ ใช้กับชาวภารตะ ผู้ที่เข้าใจว่าตนเองเป็นร่างกายและมีความหลงทะนงตนทางร่าง ซึ่งมีการกระทำที่เป็นอธรรม วิปริต แปลว่า ผิดทาง ผันแปร ตรงกันข้าม |
128 | ชนก | ชนก | जनक ![]() | ![]() Janak | ชนก แปลว่า ผู้สร้าง บิดา พาปทาทา เรียก ทาทีชานกี ว่า "ชนก" ตามคัมภีร์แล้ว ชนก คือ ราชา ผู้เป็นบิดาของสีดา ที่ใช้ชีวิตอย่างเป็นกรรมโยคีและละวางด้วยอาตมอภิมานะ และได้รับชีวันมุกติในหนึ่งวินาที ในภักดีมรรค ได้กล่าวว่า ชานกี คือ นางสีดา ผู้เป็นลูกสาวของราชาชนก |
134 | ชราสันธะ | ชราสนธ | जरासन्ध ![]() | ![]() Jarāsandh | ชราสันธะ เป็นอาตมาบาป ที่ได้มีการแสดงไว้ว่าสู้รบกับกฤษณะ ทั้งนี้ พาพาทำให้เราได้คิดว่ากฤษณะเป็นเพียงเด็กเล็กๆ และก็ไม่มีอาตมาที่ไม่บริสุทธิ์ เช่น ชราสันธะในกฤษณาลัยด้วย แท้จริงแล้วเป็นอนุสรณ์ของสังคมยุคนี้ ที่พาพามาทำให้ผู้ที่ไม่บริสุทธิ์กลับมาบริสุทธิ์ แม้มีอาตมาบาปเข้ามาขัดขวางและสร้างอุปสรรคในหนทางนี้ |
178 | ทุรโยธนะ/ทุรโยธน์ | ทุรฺโยธน | दुर्योधन ![]() | ![]() Duryodhan | ทุรโยธน์ คือ ตัวละครจาก "มหาภารตะ" ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตของพี่น้องเการพทั้งหมด 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์กับนางคานธารี โดย ทุรโยธน์เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยาปาณฑพอย่างยิ่ง จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา ในราชโยคะ พาพาได้กล่าวยกตัวอย่างทุรโยธน์กับเรื่องราวมฤคตัณหา ที่หมายถึง กวาง ผู้กระหายน้ำ และเข้าใจผิดเห็นภาพลวงตาว่าเป็นแหล่งน้ำอยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ ทุรโยธน์ไม่เข้าใจในความจริงแท้ จึงติดกับและถูกหลอกลวงด้วยกิเลส ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนเองต้องการ ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ต่อธรรมและสัตย์ เหมือนกับผู้คนที่เข้าใจว่าโลกทุกวันนี้เป็นสวรรค์ ที่มีทุกอย่างและทำทุกสิ่งภายใต้กิเลสเพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่รู้ว่าสวรรค์คืออะไร ใน "มหาภารตะ" ได้มีการแสดงเรื่องราวระหว่างนางเทราปทีชายาของเหล่าปาณฑพกับทุรโยธน์ไว้ เนื่องจากเการพและปาณฑพเป็นพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพระราชวังเดียวกัน ที่ได้ออกแบบสร้างสระน้ำไว้ในห้องโถงของพระราชวัง และวันหนึ่ง ทุรโยธน์ได้เดินตกลงไปในสระน้ำ ด้วยการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพื้นทางเดิน นั่นก็เปรียบเทียบกับมฤคตัณหา โดยนางเทราปทีได้เห็นเหตุการณ์และหัวเราะขบขัน พร้อมกับกล่าวว่า พ่อตาบอด ลูกก็ตาบอดด้วย เพราะว่าทุรโยธน์เป็นลูกของท้าวธฤตราษฏร์ ผู้ตาบอด นั่นหมายถึง ผู้ที่พุทธิไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่สามารถแยกแยะธรรมกับอธรรม ความจริงกับความหลอกลวงได้ จึงเป็นต้นเหตุของความโกรธแค้นทำให้ทุรโยธน์สั่งทุหศาสันเปลื้องผ้านางเทราปที เมื่อครั้งที่ปาณฑพได้แพ้การพนันต่อและต้องยกนางเทราปทีให้เการพ มฤค แปลว่า กวาง และ ตฤษณา คำไทยคือ ตัณหา ในความหมายนี้แปลว่า ความอยาก ความกระหายต่อน้ำ ในภาษาไทยใช้คำว่า พยับแดด หมายถึง เงาแดดที่ทำให้เกิดภาพลวงตา |
185 | เทราปที (อ่านว่า ทะ-เรา-ปะ-ที)/หรือ เทราปตี (อ่านว่า ทะ-เรา-ปะ-ตี) | เทฺราปที | द्रौपदी ![]() | ![]() Draupadī | เทราปที เป็นชายาของปาณฑพทั้ง 5 และได้เข้าใจกันว่า เทราปทีเป็นเด็กบริสุทธิ์ที่กำเนิดมาจากยัญ และได้มีการแสดงว่าเทราปที ร้องเรียกหากฤษณะเพื่อให้ปกป้องเกียรติของเธอจากการถูกเปลื้องผ้าโดยทุหศาสัน ฝ่ายเการพ และเป็นกฤษณะเท่านั้นสามารถปกป้องเธอได้ พาพาได้กล่าวถึงลูกสาวของพาพาทั้งหมด ว่าเป็นเทราปทีที่ได้รับการปกป้องจากพาพาในสังคมยุคนี้ ในหนทางภักดีได้กล่าวว่า ภควานนวดเท้าให้กับเทราปที นั่นหมายถึง ในสังคมยุคที่พาพาให้การหล่อเลี้ยงดูแลลูก โดยเฉพาะผู้เป็นแม่และกุมารีที่อยู่ในพันธนะ |
186 | ทวาริกา | ทฺวาริกา | द्वारिका ![]() | ![]() Dvārikā | ทวาริกา เป็นเมืองโบราณในรัฐคุชราต ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ประเทศอินเดีย ที่ติดกับทะเลอาหรับ ซึ่งเป็นบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ในหนทางภักดีได้มีการกล่าวว่า ทวาริกาเป็นเมืองหลวงของกฤษณะ ผู้ที่ได้รับการเรียกว่า ทวาริกาธีศ (ราชาของทวาริกา) และเชื่อกันว่าทวาริกาได้จมไปอยู่ใต้ทะเลและจะปรากฏขึ้นมาอีก แต่พาพากล่าวว่า สิ่งที่ได้จมลงไปอยู่ข้างใต้ ก็จบสิ้นและถูกทำลายไปแล้ว |
188 | ธรรมราช | ธรฺมราช | धर्मराज ![]() | Dharmarāj | ธรรมราช หมายถึง ราชาแห่งธรรม เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองที่มีความถูกต้อง ยุติธรรม นั่นคือ ผู้พิพากษาสูงสุด แต่ละอาตมาได้มีบันทึกการกระทำของตนที่ซ่อนอยู่ในอาตมา โดยบันทึกที่ซ่อนอยู่นี้เองจะเป็นเหมือนธรรมราชที่ตัดสินผลของการกระทำเหล่านั้น และทำให้อาตมาชำระสะสางบัญชีกรรมทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง พาพาไม่ได้ลงโทษใครจากการกระทำใดๆ ของอาตมา แต่ท่านทำผ่านธรรมราช ดังนั้นพาพากล่าวว่า ธรรมราช คือ มือขวาของท่าน |
193 | ธฤตราษฏร์ | ธฺฤตราษฺฏฺระ | धृतराष्ट्र ![]() | ![]() Dhṛtarāṣṭra | ธฤตราษฏร์ คือ บิดาของเการพ และเป็นผู้ที่ตาบอดตั้งแต่เกิด ในมหากาพย์ "มหาภารตะ" ผู้ที่ตาบอด หมายถึง ผู้ที่พุทธิไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่สามารถแยกแยะธรรมกับอธรรม ความจริงกับความหลอกลวงได้ |
216 | ปรศุราม (อ่านว่า ปะ-ระ-สุ-ราม) | ปรศุราม | परशुराम ![]() | Paraśurām | ปรศุราม มาจาก 2 คำ คือ “ปรศุ” หมายถึง ขวาน และ “ราม” เมื่อรวมกัน หมายถึง รามผู้มีขวาน ปรศุราม เป็นการอวตารครั้งที่ 6 ของวิษณุในฮินดูธรรม และในรามเกียรติ์กล่าวว่าเป็นยักษ์เรียกว่า รามสูร |
218 | ปวนบุตร (อ่านว่า ปะ-วะ-นะ-บุด/บุด-ตฺระ) | ปวนปุตฺระ | पवनपुत्र ![]() | ![]() Pavanaputra | หนุมาน ได้รับการเรียกว่าปวนบุตร หมายถึง บุตรของปวน หนุมาน คือ ราชาของบรรดาลิงทั้งหลายในรามายณะ วรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย หนุมาน เป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีต่อรามเพียงผู้เดียว (มีรามเท่านั้นอยู่ในหัวใจ) และมีความเบาสบาย (เป็นลูกชายของปวนบุตร หรือ พระพาย และสามารถโบยบินได้) มีความกล้าหาญ และถ่อมตน ปวน หมายถึง ลม |
220 | ปาณฑพ | ปาณฺฑว | पाण्डव ![]() | ![]() Pāṇḍav | ในราชโยคะ ปาณฑพ หมายถึง ลูกของพาพา ผู้เป็นพราหมณ์ของสังคมยุคที่พุทธิมีความรักเชื่อมต่อกับพาพา (ปรีตพุทธิ โดย ปรีตะ แปลว่า ความรัก) พาพา คือ ปัณฑา ผู้นำทางที่เป็นสัจ โดยคำว่าปาณฑพ มาจากคำว่า ปัณฑา หมายถึง ผู้นำทางให้อาตมากลับไปยังสันติธามะและสุขธามะ และลูกก็เป็นปัณฑาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ใน "มหาภารตะ" ได้แสดงไว้ว่า ปาณฑพ คือ พี่น้องชายทั้งห้า ได้แก่ ยุทธิษฐิระ อรชุน ภีมะ นกุล และ สหเทพ ตามลำดับ โดย ปาณฑพได้เลือกกฤษณะมาอยู่ฝ่ายตน และเป็นผู้มีชัยชนะสงครามอันยิ่งใหญ่เหนือเการพที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ยุทธิษฐิระ คือ พี่ชายคนโตของปาณฑพทั้งห้า เป็นผู้ดลใจให้อยู่อย่างไม่ไหวหวั่นในสนามรบ มีความซื่อสัตย์ มั่นคงในธรรม และได้รับการกล่าวว่าเป็นธรรมราช อรชุน คือ ผู้ที่ริเริ่ม เต็มไปด้วยมุ่งมั่นจดจ่อกับเป้าหมายของตน และมีความปรารถนาต้องการที่จะเรียนรู้ ภีมะ คือ ผู้เป็นสวรูปของพลัง มีความมุ่งมั่นและแน่วแน่ นกุล คือ นักการทูตที่มีความสามารถ ผู้มีสมดุลระหว่างความรักและกฏเกณฑ์ สหเทพ คือ ผู้ที่ให้ความร่วมมือโดยไม่คาดหวังสิ่งใดและมีทิพยพุทธิที่เข้าใจและรับสัญญาณล่วงหน้าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น |
226 | ปูตนา | ปูตนา | पूतना ![]() | ![]() Pūtanā | ในตำนานฮินดูธรรม ปูตนา เป็นอสูรหญิงที่กงส์ส่งมาฆ่ากฤษณะที่เป็นทารก ด้วยการปลอมตัวเป็นหญิงชาวบ้านมาหาและเลี้ยงดูกฤษณะที่เป็นทารก โดยปูตนา ได้ให้น้ำนมกฤษณะที่มียาพิษ แต่ไม่สามารถทำอะไรกฤษณะได้ และในที่สุดถูกฆ่าโดยกฤษณะ กงส์ คือ ปีศาจ ตัวละครจากภาควัต เป็นลูกพี่ลูกน้องกับนางเทวกี มารดาของกฤษณะ ปูตนา เป็นนามที่พาพา กล่าวถึงผู้หญิงที่มีกิเลสและอสุรีคุณ |
236 | พกาสุระ/พกาสูร | พกาสุร | बकासुर ![]() | ![]() Bakāsur | ตามคัมภึร์ พกาสูร เป็นอสูรที่ร้ายกาจมาก และถูกฆ่าโดยกฤษณะ อกาสูร และพกาสูร เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีอสุรีคุณและสร้างอุปสรรคในการสถาปนาของบรมบิดา บรมอาตมา โดยกฤษณะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีทิพยคุณ พาพากล่าวว่า ผู้ที่มีอสุรีคุณพ่ายแพ้ต่อผู้ที่มีทิพยคุณ พกาสุระ/พกาสูร มาจากรากศัพท์คำว่า อสุร หรือ อสุระ แปลว่า ยักษ์ ปีศาจ ที่ภาษาไทยใช้คำว่า อสูร ทั้งนี้ สุร หรือ สุระ แปลว่า เทวดา ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา |
279 | ภาควตะ/ภาควัต | ภาควต | भागवत ![]() | ![]() bhāgavat | ภาควัต เป็นคัมภีร์ฮินดูที่รวมเรื่องราวทิพยลีลา หรือ ทิพยจริต ต่างๆ ของกฤษณะ ผู้เป็นภควานของหนทางภักดี ลีลา หมายถึง การกระทำ ท่าทางอันงามสง่า และ จริต หมายถึง การดำเนิน การทำ การประพฤติ |
282 | ภีละ | ภีล | भील ![]() | Bhīl | เอกัลวยะ เป็นตัวละครจาก "มหาภารตะ" เอกัลวยะ เป็นภีละ หมายถึง เด็กชนเผ่าพื้นเมือง ได้แอบเรียนรู้การยิงธนูจากโทรณาจารย์ ครูสอนยิงธนู ขณะที่สอนให้แก่ปาณฑพและเการพ ถึงกระนั้นก็ตาม เอกัลวยะก็มีความเชี่ยวชาญในการยิงธนูได้ดีกว่าปาณฑพและเการพ พาพา ได้กล่าวว่าลูกบางคนไม่ได้อาศัยอยู่กับพาพา แต่สามารถก้าวหน้ากว่าผู้ที่อยู่กับพาพาเสียอีก |
283 | ภีษมะ ปิตามหะ (มีการเขียนว่า ปิตามะห์ ด้วย) | ภีษฺม ปิตามห | भीष्म पितामह ![]() | Bhīṣma pitāmah | ภีษมะ ปิตามหะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ โดยมีศักดิ์เป็นปู่ของเการพและปาณฑพใน "มหาภารตะ" ภีษมะ ปิตามหะ ได้สาบานเพื่อทำให้พ่อของตนเองผู้เป็นราชาได้มีความสุข ว่าจะถือพรหมจรรย์ตลอดชีวิต และให้การสนับสนุน หรือ อยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ที่ขึ้นครองบัลลังก์ ดังนั้นภีษมะจึงเป็นนักรบอยู่ฝ่ายเการพที่ไม่มีใครเทียบได้ในการรบ และไม่มีใครสามารถเอาชนะได้แม้แต่อรชุนก็ตาม แต่ให้คำสาบานว่าจะไม่รบกับเพศตรงข้าม และได้วางลูกศรและคันธนูลงเมื่อต้องรบกับสตรีที่อยู่ข้างหน้า จึงเป็นเหตุให้ภีษมะต้องพ่ายแพ้ในที่สุด นั่นหมายถึง ภีษมะ เป็นสัญลักษณ์ของนักบวช นักบุญ บัณฑิต หรือ ผู้รู้ทั้งหลาย ที่ในเวลาสุดท้ายก็ต้องมายอมรับความรู้จากพรหมากุมารี ที่หมายถึง แม่และกุมารี พาพาได้กล่าวถึงภีษมะในมุรลีเพื่อทำให้แม่ และ กุมารีทั้งหลายจดจำและนึกได้ว่าตนเองแข็งแกร่งพอที่จะมีชัยชนะเหนือผู้อื่นได้ ปิตามหะ หมายถึง ปู่ |
320 | ยโศทา/ชโศทา | ยโศทา/ชโศทา | यशोदा/जशोदा ![]() | ![]() Yśodā/Jśodā | ยโศทา เป็นนามของภรรยาทางโลกของทาทาเลขราช กฤปลานี ก่อนที่ท่านเล่นบทบาทเป็นพรหมาพาพา นอกจากนี้ ในภาควัต คัมภีร์ของฮินดูธรรม มารดาของกฤษณะ มีนามว่า ยโศทา ในภาษาสินธีเขียนว่า ชโศทา |
322 | ยาทพ | ยาทว | यादव ![]() | ![]() Yadav | ในราชโยคะ ยาทพเป็นการกล่าวถึงชาวยุโรป ผู้ที่มีเทหอภิมานะ และหลงทะนงตนในวิทยาศาสตร์ ที่พวกเขาได้หมกมุ่นในการสร้างอาวุธเพื่อทำให้เกิดการทำลายล้าง เช่น ระเบิดปรมาณู ขีปนาวุธ เป็นต้น ในคัมภีร์ได้มีการกล่าวว่า ยาทพถูกสาปแช่งจากฤษีให้ยาทพกำเนิดมูสละที่เป็นโลหะออกมาจากท้อง โดยมูสละนี้จะทำให้เกิดการสู้รบของยาทพกันเองและทำลายเผ่าพันธ์ของตนเอง ซึ่งมูสละก็ไม่สามารถจะถูกทำลายได้ด้วย พาพาได้กล่าวว่า มูสละไม่ได้ออกมาจากท้อง แต่ออกมาจากพุทธิของยาทพที่คิดค้นสร้างขีปนาวุธขึ้นมา ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงที่ทำให้เกิดการทำลายล้างโลกในที่สุด มูสละ แปลว่า สาก เครื่องมือสําหรับตําอย่างหนึ่งคู่กับครก ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ นั่นเป็นการอ้างอิงถึง มิสเซิลหรือมิสไซล์ (Missile) ซึ่งแปลว่าขีปนาวุธ ทั้งนี้ มูสละออกเสียงใกล้เคียงกับมิสเซิลหรือมิสไซล์ (Missile) เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
324 | ยุทธิษฐิระ/ยุธิษฐิระ | ยุทฺธิษฺฐิร/ยุธิษฺฐิร | युद्धिष्ठिर/युधिष्ठिर ![]() | ![]() Yuddhiṣṭhir/Yudhiṣṭhir | ยุทธิษฐิระ คือ พี่ชายคนโตของปาณฑพทั้งห้า เป็นผู้ดลใจให้อยู่อย่างไม่ไหวหวั่นในสนามรบ มีความซื่อสัตย์ มั่นคงในธรรม และได้รับการกล่าวว่าเป็น ธรรมราช ในราชโยคะ ยุทธิษฐิระ มาจากคำว่า ยุทธ หมายถึง การสู้รบ และ ษฐิระ หมายถึง มั่นคง ดังนั้น ยุทธิษฐิระ คือ ผู้ที่มั่นคงในการรบ ในคีตาทางโลก เขียนว่า ยุธิษฐิระ |
328 | รฆุปติ ราฆวะ ราชาราม/รฆุบดี ราฆพ ราชาราม | รฆุปติ ราฆว ราชา ราม | रघुपति राघव राजा राम ![]() | Raghupati Rāghav Raja Ram | รฆุบดี ราฆพ ราชาราม เป็นนามหนึ่งที่ยกย่องสรรเสริญรามของสีดาในเตรตายุค (ยุคเงิน) ซึ่งไม่ใช่รามผู้เป็นภควาน เช่นที่ในหนทางภักดีเข้าใจกัน รฆุบดี ราฆพ ราชาราม หมายถึง ราชาราม ผู้เป็นเชื้อสายของรฆุกุล หรือ รฆุวงศ์ (ราฆพ) โดย รามเป็นบดี หรือ ผู้นำ ผู้ปกครองของรฆุกุล (รฆุบดี) บดี แปลว่า ผู้ปกครอง ผู้สร้าง นาย สามี และ วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล |
346 | รามจันทร์ | รามจนฺทฺระ | रामचन्द्र ![]() | ![]() Rāmacandra | ราชารามของเตรตายุค (ยุคเงิน) |
347 | รามายณะ | รามายณ | रामायण ![]() | ![]() Rāmāyaṇ | รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย โดย ฤๅษีวาลมีกิ ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายราม กับ ฝ่าย ทศกัณฐ์ (ยักษ์ ที่มีอีกนามว่า ราวณะ/ราพณ์) โดยรามจะมาชิงตัวสีดา (มเหสีของราม) ซึ่งถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมา ทางฝ่ายรามมีน้องชาย ชื่อ ลักษมัณ มีหนุมานและองคต เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายยักษ์ก็ปราชัย แท้จริงแล้ว รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมยุค ที่ศิวพาพาได้ลงมาเล่นบทบาทในการเปลี่ยนมนุษย์ให้กลายเป็นเทพ และ กลียุคให้กลายเป็นสัตยุค ราม คือ พระราชสวามีของสีดา เป็นตัวละครเอกในรามายณะ ทั้งนี้ ในมุรลี พาพาได้กล่าวถึง ราม มีความหมายสองอย่าง ได้แก่ 1. บรมบิดา ศิวพาพา ผู้เอาชนะราพณ์ และปลดปลดปล่อยอาตมา หมายถึง สีดา ออกจากกรงขังของกิเลส 2. ราชาของเตรตายุค (ยุคเงิน) คือ ผู้ที่มีลูกศรและคันธนู เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่รบรากับมายาจนกระทั่งเวลาสุดท้ายของสังคมยุคและสอบตก จึงเข้ามาอยู่ในเตรตายุค แทนที่จะได้รับผลรางวัลของความสุขเป็นเวลาที่ยาวนานของทั้งสัตยุคและเตรตายุค สีดา คือ คู่สมรสของราม ในมุรลี พาพาได้กล่าวว่า ลูกทั้งหมด คือ สีดา ผู้เป็นเจ้าสาวของฉัน ลูกเคยตกเป็นทาสของราพณ์ หมายถึง กิเลสทั้งห้า และ ฉัน คือ ราม มาที่นี่เพื่อปลดปล่อยลูกเพื่อนำลูกกลับบ้าน และไปยังอาณาจักรของลูก สีดา เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ สวามิภักดิ์ต่อรามเพียงผู้เดียว และความบริสุทธิ์ ในอีกด้านหนึ่ง สีดา ยังเตือนเราถึงการอยู่อย่างไม่เชื่อฟังศรีมัตของบรมบิดา ที่ทำให้อาตมาถูกนำไปสู่โศก วาฏิกา (สวนแห่งความทุกข์) และในสังคมยุค พาพามานำลูกไปยังอโศก วาฏิกา (สวนที่ไม่มีความทุกข์) นั่นคือ สวรรค์ ลักษมัณ เป็นน้องชายของราม ที่มีความจงรักภักดีต่อรามเพียงผู้เดียว มีความมุ่งมั่นที่จะไปบรรลุถึงเป้าหมาย และเป็นผู้ที่อยู่กับรามเสมอ โดย ลักษยะ แปลว่า เป้าหมาย หนุมาน คือ สัญลักษณ์ของความจงรักภักดีต่อรามเพียงผู้เดียว (มีรามเท่านั้นอยู่ในหัวใจ) และมีความเบาสบาย (เป็นลูกชายของปวนบุตร หรือ พระพาย และสามารถโบยบินได้) มีความกล้าหาญ และถ่อมตน องคต คือ นักรบทหารเอกของรามที่มีความกล้าหาญ และเป็นสัญลักษณ์ของความไม่ไหวหวั่นสั่นคลอน โดยทหารของราพณ์ไม่สามารถแม้จะขยับเท้าข้างหนึ่งขององคตได้ กุมภกรรณ คือ น้องชายของราพณ์ เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตนหนึ่ง มีอาวุธร้ายประจำกาย คือ หอกโมกขศักดิ์ และมีชื่อเสียงในการนอนหลับยาว 6 เดือน โดยตื่นขึ้นมาเพียงวันเดียวเพื่อรับประทาน ในมุรลี พาพา ได้กล่าวว่า กุมภกรรณเป็นสัญลักษณ์ของอาตมา (โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่ง สถานภาพ ฐานะทางสังคมที่สูง) ที่กำลังนอนหลับสนิทในความไม่รู้ ในความเป็นจริงแล้ว เวลาที่วิกฤตกำลังจะมาถึง ดังนั้น การปลุกให้กุมภกรรณตื่นขึ้นมา หมายถึง การทำให้อาตมาเหล่านั้นหยั่งรู้ว่า บรมบิดา บรมาตมา ได้มาแล้ว และโลกนี้กำลังได้รับเปลี่ยนแปลง |
348 | ราวณะ/ราพณ์ | ราวณ | रावण ![]() | ![]() Rāvaṇ | ราพณ์ หรือ ราวณะ เป็นชื่อเรียกทศกัณฐ์ ราพณ์ คือ ตัวละครยักษ์ที่เป็นศัตรูหลักในรามายณะ มหากาพย์ของอินเดีย ราพณ์ แสดงถึงกิเลสของมนุษย์ในรูปของยักษ์ ที่มี 10 หัว นั่นหมายถึง กิเลสทั้ง 5 ของหญิง และ กิเลสทั้ง 5 ของชาย พาพากล่าวว่า ลูกต้องเผากิเลสทั้งหมดของลูก และสิ่งนี้ได้มีการจดจำในหนทางภักดีด้วยการเผาหุ่นจำลองของราพณ์ในเทศกาลทศหรา หรือ วิชัยทศมี ซึ่งเป็นวันที่ 10 ถัดมาจากเทศกาลนวราตรีที่มีการบูชาเทวี 9 วันอย่างต่อเนื่อง โดยตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ ของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี และก่อนเทศกาลทิวาลีประมาณ 19-20 วัน ทศหรา เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะของความดีงามเหนือปีศาจ (กิเลส) นวราตรี มาจากคำว่า นว หมายถึง เก้า และ ราตรี หมายถึง กลางคืน ทศกัณฐ์ หมายถึง ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบศีรษะ มาจากคำว่า ทศ แปลว่า สิบ และ กัณฐ์ แปลว่า คอ |
350 | ราสลีลา และ รามลีลา | ราสลีลา และ รามลีลา | रासलीला और रामलीला ![]() | ![]() Rāsalīlā and Rāmalīlā | รามลีลา หมายถึง ลีลาของราม โดย รามลีลา เป็นละครเวทีพื้นบ้านที่มีการร้องเพลงประกอบการแสดงเกี่ยวกับชีวิตของราม ซึ่งแสดงต่อเนื่องจบภายใน 10 วันของการสู้รบระหว่างรามและราพณ์ ตามที่ได้มีการบรรยายไว้ในมหากาพย์ "รามายณะ" ของฮินดูธรรม ราสลีลา หมายถึง ลีลาการร่ายรำด้วยทิพยรัก ที่ละเอียดอ่อนและบริสุทธิ์ระหว่างกฤษณะกับโคปี ลีลา หมายถึง การกระทำ ท่าทางอันงามสง่า |
359 | ลักษมณะ/ลักษมัณ | ลกฺษฺมณ | लक्ष्मण ![]() | ![]() Lakṣmaṇ | ในรามายณะ มหากาพย์ของอินเดีย ลักษมัณ เป็นตัวละครที่เป็นน้องชายของราม ที่มีความจงรักภักดีต่อรามเพียงผู้เดียว มีความมุ่งมั่นที่จะไปบรรลุถึงเป้าหมาย และเป็นผู้ที่อยู่กับรามเสมอ แท้จริงแล้ว ราม หมายถึง ศิวพาพา และลักษมัณ หมายถึง พรหมาและลูกของพาพา ลักษมัณ มีรากศัพท์มาจากคำว่า ลักษยะ แปลว่า เป้าหมาย วัตถุประสงค์ |
361 | ลพ กุศะ | ลว กุศ | लव कुश ![]() | Lav Kuś | ลพและกุศ คือ ลูกชายแฝดของรามและสีดาในรามายณะ มหากาพย์ของอินเดีย ซึ่งได้มีกล่าวหารามว่าได้ส่งสีดาไปอาศัยอยู่กับฤษีวาลมีกิในกลางป่า เนื่องจากมีคนครหาถึงความบริสุทธิ์ของนาง ขณะนั้นรามไม่รู้ว่าสีดาได้ตั้งครรภ์และนางได้คลอดลูกชายแฝด คือ ลพและกุศ ซึ่งทั้งคู่ได้รับการดูแลและเรียนรู้การยิงธนูจากฤษีวาลมี โดยไม่รู้ถึงรามผู้เป็นพ่อและฐานะของสีดา ในที่สุดฤษีวาลมีก็ได้ทำให้รามได้พบกับสีดา ลพและกุศ ขณะเดียวกันก็มีการกล่าวยกย่องรามว่า "รามราชา รามประชา ธรรม กา อุปการะ" แท้จริงแล้วเป็นการยกย่องศิวพาพาไม่ใช่รามของสีดาว่า ด้วยการอุปการะของศิวพาพาที่มาให้ญาณในสังคมยุค เมื่อลูกได้ธารณาญาณนั้นและกลายเป็นธรรมของลูก ก็ส่งผลให้ทั้งราชาและประชาในสัตยุคมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับศิวพาพา นั่นคือ กลายเป็นเทวี เทวดาที่เต็มพร้อม (สัมปันน) ด้วยคุณบัติที่ดีงามทั้งหมด (สรรพคุณ) สมบูรณ์ 16 องศา ปราศจากกิเลส (นิรพิการ) อย่างสมบูรณ์ ปราศจากความก้าวร้าวรุนแรง (นิรหิงสา) ทั้งร่างกายและอาตมา |
418 | ศรีมัทภควัทคีตา | ศรีมทฺภควทฺคีตา | श्रीमद्भगवद्गीता ![]() | ![]() Śrīmadbhagavadgītā | ศรีมัทภควัทคีตา เป็นชื่อเต็มของคีตา คีตา คือ คัมภีร์หลักที่เปรียบกับเป็นเพชรพลอยที่สูงสุดของคัมภีร์ทั้งหมด ซึ่งในหนทางภักดี เชื่อกันว่าคีตาพูดโดย กฤษณะ ผู้เป็นภควาน แท้จริงแล้ว เป็นอนุสรณ์ของศิวพาพา ผู้เป็นภควานที่มาให้ญาณผ่านร่างของพรหมาในสังคมยุค และทำให้มนุษย์กลายเป็นเทพ คีต หมายถึง เพลงขับ การขับร้อง และ คีตา หมายถึง เพลงอันไพเราะ นั่นคือ ญาณของราชโยคะ |
445 | สุทามา | สุทามา | सुदामा ![]() | ![]() Sudāmā | สุทามา เป็นเพื่อนเล่นของกฤษณะในวัยเด็ก และเป็นอนุสรณ์ของผู้ที่นำข้าวหนึ่งกำมือมาให้กฤษณะด้วยความรัก แม้เป็นสิ่งเล็กน้อยที่ตนเองมี จึงได้รับปราสาทราชวังเป็นการตอบแทน นั่นหมายถึง หากเราใช้ทุกอย่างที่เรามีเพื่องานของพาพาในสังคมยุคนี้ แล้วเราจะได้รับตอบแทนกลับคืนมาอย่างมากมาย |
448 | ศูรปนขา | สูรฺปนขา | सूर्पनखा ![]() | ![]() Sūrpanakhā | นางศูรปนขา หรือ นางสำมนักขา เป็นน้องสาวสุดท้องของทศกัณฐ์ โดยนางเป็นชายาของชิวหา เมื่อสามีถึงแก่ความตาย วันหนึ่งนางไปเที่ยวป่าจนได้พบพระรามจึงเกิดหลงรักขึ้นและได้เข้าไปเกี้ยวพาราสี แต่พระรามไม่สนใจ นางได้ตามพระรามไปที่อาศรม เมื่อเห็นนางสีดา ก็คิดว่าถ้าหากตนกำจัดนางสีดาได้ พระรามคงจะหันมาสนใจตน ดังนั้นนางจึงเข้าไปทำร้ายนางสีดาแต่ถูกพระรามจับได้ พระลักษมณ์ได้ลงโทษนางด้วยการตัดหูและจมูก ในที่สุดก็ปล่อยตัวไป ต่อมานางไปบิดเบือนความจริงต่อทศกัณฐ์ พร้อมทั้งยอโฉมนางสีดาจนทศกัณฐ์หลงเชื่อคำยุยงของนางและมาลักพานางสีดา จึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างฝ่ายทศกัณฐ์กับฝ่ายพระราม ทั้งนี้ พาพาได้กล่าวถึงความบริสุทธิ์ว่า แม้แต่ผู้หญิงบางคนก็ไม่สามารถ อยู่โดยปราศจากกิเลสได้เช่นนางศูรปนขา และพาพาให้ลูกมีชัยชนะและอยู่เหนืออิทธิพลของมายาซึ่งเปรียบกับนางศูรปนขาที่ถูกตัดหูและจมูก |
453 | สวทัศนจักรธารี | สฺวทรฺศน จกฺรธารี | स्वदर्शन चक्रधारी ![]() | Svadarśan Cakradhārī | สวทัศนจักรธารี เป็นสมญาพรหมากุมารและกุมารี ผู้เป็นพราหมณ์ในสังคมยุค หมายถึง อาตมาที่มีญาณทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ ทำให้มองเห็นและหยั่งรู้ถึงเรื่องราวของตนเองทั้งจักร สวทัศนจักรธารี มาจาก 3 คำ ได้แก่ 1. สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา 2. ทัศนะ หมายถึง มองเห็น 3. จักรธารี หมายถึง ผู้หยั่งรู้ทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ พาพาทำให้ลูกเป็นสวทัศนจักรธารี เพื่อเอาชนะกิเลสด้วยญาณ แต่ในหนทางภักดีได้แสดงจักร เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ของวิษณุ และกฤษณะ ผู้ควงสุทัศนจักร หรือ สวทัศนจักร ด้วยนิ้วมือของตนเพื่อใช้ฆ่าอสูร สุทัศนะ หมายถึง การเห็นสิ่งที่ดีงาม สิริมงคล |