No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
20 | อโภกตา | อโภกฺตา | अभोक्ता ![]() | Abhokta | การอยู่เหนือประสบการณ์จากผลของการกระทำและประสาทสัมผัส |
25 | อลัฟ | อลฟ | अलफ ![]() | ![]() Alaph | พยัญชนะตัวแรกของภาษาสินธีที่ออกเสียงว่า อลิฟ ในญาณ พาพาได้กล่าวถึง อลัฟ ว่าหมายถึง ศิวะ อลัฟ หมายถึง ผู้เดียว นั่นคือ ศิวะ ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา หนึ่งเดียวเท่านั้น |
35 | อโสจตา | อโสจตา | असोचता ![]() | asocatā | การอยู่เหนือความคิดที่ไม่เกิดผล |
93 | ครีบะ นิวาซะ | ครีบ นิวาซ | गरीब निवाज़ ![]() | Garīb nivāz | ครีบะ นิวาซะ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ยกระดับ ผู้ให้การช่วยเหลือค้ำจุนแก่ลูก ผู้เป็นคนจนที่ธรรมดาและไม่ได้มีสถานภาพทางโลก หรือ มั่งคั่ง ร่ำรวยในทางว้ตถุมากมาย ครีบะ นิวาซะ เป็นคำในภาษาอูรดู โดย ครีบะ แปลว่า คนจน และ นิวาซะ แปลว่า ผู้ยกระดับ ผู้ให้การช่วยเหลือค้ำจุน |
124 | ชคัตคุรุ | ชคตคุรุ | जगतगुरु ![]() | ![]() Jagataguru | พาพา คือ ชคัตคุรุ ผู้นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้) และ ชคัต แปลว่า โลก |
137 | ชานี ชานันหาระ | ชานี ชานนหาร | जानी जाननहार ![]() | Jānī Jānanahār | ชานี ชานันหาระ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ล่วงรู้ถึงญาณทั้งหมด รวมทั้งตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบของละครโลก แต่ไม่ได้รู้ถึงสิ่งที่อยู่ในหัวใจของทุกคนเหมือนที่เข้าใจกันในหนทางภักดี |
144 | ญาเณศวร (บาลี) | ญาเณศฺวร | ज्ञानेश्वर ![]() | Gñāneśvar (Hindi) | ญาเณศวร มาจากคำว่า ญาณ และ อิศวร นั่นคือ อิศวรแห่งญาณ ที่รวมของญาณทั้งหมด ซึ่งเป็นสมญาที่ให้กับบรมบิดา บรมาตมา อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
155 | ตรีกาลทรรศี | ตฺริกาลทรฺศี | त्रिकालदर्शी ![]() | Trikāladarshī | ตรีกาลทรรศี เป็นสมญาของพาพา หมายถึง ผู้เห็นกาลเวลาทั้งสาม ได้แก่ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ตรีกาลทรรศี มาจาก 3 คำ ได้แก่ ตรี แปลว่า สาม กาล แปลว่า เวลา และ ทรรศี แปลว่า ผู้เห็น ในสังคมยุคนี้ พาพามาให้ความรู้แก่ลูกและทำให้ลูกเป็นตรีกาลทรรศี |
157 | ตริมูรติ/ตรีมูรติ | ตฺริมูรฺติ | त्रिमूर्ति ![]() | ![]() Trimūrti | ตรีมูรติ เป็นบทบาททั้งสาม ที่เกิดขึ้นในสังคมยุค เมื่อศิวพาพาเป็นผู้สร้างได้อวตารลงมา ได้แก่ 1. พรหมา บทบาทของสถาปนา 2. วิษณุ บทบาทของปาลนา (บำรุงรักษา) และ 3. ศังกร บทบาทของวินาศ ศิวพาพาเป็นผู้สร้าง ได้อวตารลงมาในร่างของพรหมาที่ทำให้เกิดการสถาปนาด้วยการมาให้ญาณแก่ลูก จึงทำให้เกิดวินาศของกิเลสและสิ่งที่ไม่ดีงามในอาตมา ทำให้ส่งผลถึงวินาศในระดับวัตถุด้วย จากการที่ลูกกลับมาอยู่อย่างปราศจากร่าง (อสรีรี) และทำตปัสยา (ตบะ) ที่แสดงในรูปของศังกร หลังจากนั้น ลูกจะกลายเป็นเทวีและเทวดา แสดงในรูปของวิษณุที่เต็มพร้อม (สัมปันน) ด้วยคุณบัติที่ดีงามทั้งหมด (สรรพคุณ) สมบูรณ์ 16 องศา ปราศจากกิเลส (นิรพิการ) อย่างสมบูรณ์ ปราศจากความก้าวร้าวรุนแรง (นิรหิงสา) ทั้งร่างกายและอาตมา ที่ให้ปาลนาของความบริสุทธิ์ถึงครึ่งหนึ่งของจักรในสัตยุคและเตรตายุค ในหนทางภักดี ได้แสดงตรีมูรติในรูปเทวดาของพรหมา วิษณุ และ ศังกร โดยไม่ได้กล่าวถึงศิวะว่าเป็นผู้สร้าง แต่กล่าวว่าศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน ปาลนา เป็นรากศัพท์ของคำว่า บาล หมายถึง หล่อเลี้ยง รักษา |
165 | ทาทา | ทาทา | दादा ![]() | ![]() dādā | สำหรับ ราชโยคะ คำว่า ทาทา ในภาษาฮินดี หมายถึง ปู่ คือ ศิวพาพา ไม่ใช่ พรหมาพาพา ในภาษาสินธี คำว่า ทาทา หมายถึง พี่ชายผู้อาวุโส คือ พรหมาพาพา หรือ ใช้เรียกภาย (พี่น้องชาย) อาวุโส ผู้ที่ร่วมยัญนี้ตั้งแต่เริ่มต้น |
167 | ทิลาราม | ทิลาราม | दिलाराम ![]() | ![]() Dilārām | ทิลาราม เป็นสมญาของศิวพาพา หมายถึง ผู้ทำให้หัวใจผ่อนคลายสบาย ทิล แปลว่า หัวใจ และ อาราม แปลว่า ความสบาย ความรื่นรมย์ ความเพลิดเพลิน |
174 | ทีปราช | ทีปราช | दीपराज ![]() | ![]() Dīparāj | ทีปราช เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง บรม(สูงสุด) ของแสงหรือตะเกียง และเป็นสมญาของอาตมาด้วย หมายถึง ราชาแห่งแสงหรือตะเกียง ทีปราช มาจากคำว่า ทีป หมายถึง แสง ตะเกียง และ ราช หมายถึง ผู้มีอำนาจในการปกครอง ผู้เป็นราชา ดังนั้น ตามตัวอักษรแล้ว ทีปราช หมายถึง ราชาแห่งแสงหรือตะเกียง |
188 | ธรรมราช | ธรฺมราช | धर्मराज ![]() | Dharmarāj | ธรรมราช หมายถึง ราชาแห่งธรรม เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองที่มีความถูกต้อง ยุติธรรม นั่นคือ ผู้พิพากษาสูงสุด แต่ละอาตมาได้มีบันทึกการกระทำของตนที่ซ่อนอยู่ในอาตมา โดยบันทึกที่ซ่อนอยู่นี้เองจะเป็นเหมือนธรรมราชที่ตัดสินผลของการกระทำเหล่านั้น และทำให้อาตมาชำระสะสางบัญชีกรรมทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง พาพาไม่ได้ลงโทษใครจากการกระทำใดๆ ของอาตมา แต่ท่านทำผ่านธรรมราช ดังนั้นพาพากล่าวว่า ธรรมราช คือ มือขวาของท่าน |
197 | นิราการ | นิราการ | निराकार ![]() | ![]() Nirākār | นิราการ หมายถึง ปราศจากร่าง ไม่มีทั้งสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) และอาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) นั่นคือ อาตมาอยู่ในรูปดั้งเดิมที่บรมธามะ นิราการ มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี รวมกับคำว่า สาการ และ อาการ |
212 | บรมบิดา | ปรมปิตา | परमपिता ![]() | ![]() Paramapitā | บรมบิดา คือ บิดาสูงสุดของอาตมาทั้งหมด นั่นหมายถึง ศิวพาพา คำว่า ปรม ในภาษาไทย คือ บรม แปลว่า สูงสุด |
213 | บรมาตมา (อ่านว่า บอ-ระ-มาตฺ-มา) | ปรมาตฺมา | परमात्मा ![]() | ![]() Paramātmā | บรมาตมา คือ อาตมาที่สูงสุด นั่นหมายถึง ศิวพาพา บรมาตมา มาจากคำว่า ปรม กับ อาตมา และ ปรม ในภาษาไทย คือ บรม แปลว่า สูงสุด |
242 | พาปะ | พาป | बाप ![]() | Bāp | พาปะ หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็น บรมบิดาสูงสุด บรมาตมาของอาตมาทั้งหมด พาปะ เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
243 | พาปทาทา | พาปทาทา | बापदादा ![]() | ![]() Bāpdādā | ศิวพาพา และ พรหมาพาพา อยู่รวมกัน จึงเรียกว่า พาปทาทา นั่นคือ พาปะ หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็น บรมบิดา บรมาตมา และทาทา หมายถึง พรหมาพาพา ผู้เป็นพี่ชายที่อาวุโส โดยคำว่า ทาทา ในภาษาสินธี แปลว่า พี่ชายที่อาวุโส ทั้งนี้ คำว่า ทาทา ในภาษาฮินดี หมายถึง ปู่ นั่นคือ ศิวพาพา ไม่ใช่ พรหมาพาพา พาพาและพาปะ เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
244 | พาปู | พาปู | बापू ![]() | ![]() Bāpū | พาปู หมายถึง พ่อ โดยทั่วไปจะเป็นการกล่าวถึง มหาตมะ คานธี ที่ได้รับเกียรติว่าเป็นพาปู ของประเทศอินเดีย แท้จริงแล้ว พาพา คือ พาปูของโลก หมายถึงพาปูของอาตมาทั้งหมด ไม่เพียงพาปูของประเทศอินเดียเท่านั้น |
379 | พฤกษปติ/พฤกษบดี (อ่านว่า พฺรึก-สะ-ปะ-ติ/พฺรึก-สะ-บอ-ดี) | วฺฤกฺษบดี | वृक्षपति ![]() | Vṛkṣapati | พฤกษบดี เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้สร้าง เจ้าของ นายของต้นไม้ ที่พาพาเปรียบต้นไม้กับโลกมนุษย์ โดยพาพามาสร้างต้นไม้ใหม่ โลกใหม่ ด้วยการมาให้ญาณ และทำให้โลกเก่าเปลี่ยนเป็นโลกใหม่ สวรรค์ พาพาใช้คำว่า พฤกษบดี คู่กับคำว่า พฤหัสบดี ซี่งเป็นสมญาของพาพาเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ พฤหัสบดี หมายถึง พาพา ผู้เป็นคุรุของเทวดา ที่มาให้ญาณแก่ลูก และทำให้ได้รับมุกติ และ ชีวันมุกติ กลายเป็น เทวี เทวดา บดี แปลว่า ผู้สร้าง เจ้าของ นาย สามี และ พฤกษ แปลว่า ต้นไม้ ดังนั้น วันพฤหัสบดี จึงได้ชื่อว่าเป็นวันคุรุ หรือ วันครู แท้จริงแล้ว คือ พาพา ผู้เป็นสัตคุรุ |
408 | ศิวลิงค์/ศิวลึงค์ | ศิวลิงฺค | शिवलिंग ![]() | ![]() Śivaliṅg | ลิงค์/ลึงค์ ในภาษาฮินดี หมายถึง สัญลักษณ์ หรือ เพศ ในหนทางภักดีได้แสดง ศิวะ ผู้ที่นิราการ เป็นชโยติพินทุ (จุดแห่งแสง) ในรูปของชโยติลึงค์ หรือเรียกว่า ศิวลึงค์ แต่เนื่องจากไม่สามารถทำภักดีให้กับจุดแห่งแสงได้ จึงทำเป็นรูปรัศมีแสงที่เป็นไข่วงรีที่ทำด้วยเพชร ทองคำ หรือ หิน แสดงเป็นสัญลักษณ์ของศิวะ พินทุ หมายถึง จุด และ ชโยติ หมายถึง แสง |
409 | ศิวาจารย์ | ศิวาจารยะ | शिवाचार्य ![]() | ![]() Śivācārya | ศิวาจารย์ เป็นสมญาที่ให้ไว้กับศิวพาพา ที่หมายถึง ศิวะ ผู้เป็นอาจารย์ อาจารย์ เป็นคำสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่สอนด้วยการประพฤติ ปฏิบัติของตนเอง หรือ ครูผู้ที่ใช้การดำเนินชีวิตเป็นตัวอย่าง ศิวพาพา คือ สาครของญาณ และดังนั้น ท่าน คือ ศิวาจารย์ ผู้ให้ญาณแก่ลูก ศิวาจารย์ มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาจารย์ สาคร หมายถึง มหาสมุทร |
426 | สัตคุรุ/สัทคุรุ | สตคุรุ/สทฺคุรุ | सतगुरु/सद्गुरु ![]() | ![]() Sataguru/Sadguru | พาพา คือ สัตคุรุ/สัทคุรุ ผู้เป็นสัตย์ที่นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้) |
429 | สัต จิต อานนท์/สัจจิทานนท์ | สตฺ จิตฺ อานนฺท/สจฺจิทานนฺท | सत् चित् आनन्द/सच्चिदानन्द ![]() | Sat Cit Ānand/Saccidānand | บรมบิดา บรมาตมา คือ สัต จิต อานนท์ โดยมีความหมาย ดังนี้ 1) สัต หมายถึง สัตย์ สัจ ความจริง 2) จิต หมายถึง มีชีวิต (มาจากคำว่า ไจตนยะ/ไจตนย์) 3) อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย |
430 | สัต ศรี อกาล | สตฺ ศฺรี อกาล | सत् श्री अकाल ![]() | ![]() Sat Śrī Akāl | คุรุนานัก ผู้สถาปนาสิกข์ธรรม ได้กล่าวถึง บรมบิดา บรมาตมา ว่าเป็น สัต ศรี อกาล โดยมีความหมาย ดังนี้ 1) สัต หมายถึง สัตย์ สัจ ความจริง 2) ศรี หมายถึง สิริมงคล ความสูงส่ง ความรุ่งเรือง ความงาม ความเจริญ 3) อกาล หมายถึง ไม่ตาย เหนือความตาย (กาล แปลว่า เวลา ความตาย) ต่อมา ในผู้ทำตามสิกข์ธรรม ได้ใช้คำ สัต ศรี อกาล สำหรับการทักทายกันในภาษาปัญจาบี หรือ ปัญชาพี โดยไม่ได้เข้าใจความหมายดั้งเดิม |
435 | สรรโวทยา | สรฺโวทยา | सर्वोदया ![]() | Sarvodayā | สรรโวทยา เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่มีความเมตตาต่อทุกคน ท่านยกระดับไม่ว่าจะเป็นนักบวช นักบุญ คนพิการ โสเภณี เป็นต้น และทำให้ลูก กลับมาสัมปันนและสมบูรณ์ สรรโวทยา มาจากคำว่า สรรพ แปลว่า ทุกสิ่ง ทั้งปวง ทั้งหมด กับ ทยา แปลว่า ความเมตตา ความกรุณา สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม |
461 | หริ | หริ | हरि ![]() | ![]() Hari | หริ หมายถึง ผู้ขจัดความทุกข์ โดยในหนทางภักดี หริ เป็นอีกนามของกฤษณะและวิษณุ แท้จริงแล้วเป็นศิวพาพา ผู้ขจัดความทุกข์ให้ลูกในสังคมยุค |
468 | หาซีรา หชูระ | หาซีรา หชูร | हाज़िरा हजूर ![]() | hāzirā hajūr | หชูระ หมายถึง ผู้เป็นนาย นั่นคือ ศิวพาพา และ หาซีรา หมายถึง การมาปรากฏ หาซีรา หชูระ คือ การมาปรากฏของศิวพาพา ผู้เป็นนาย และพาพาให้ลูกพิสูจน์ความรักที่มีต่อท่านด้วย ชี หาซีระ นั่นคือ ตอบรับและพร้อมปรากฏอยู่ในงานรับใช้เสมอ |