No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
21 | อมรนาถ | อมรนาถ | अमरनाथ ![]() | ![]() Amaranāth | อมรนาถ เป็นสมญาที่ให้กับศิวพาพา อมรนาถ มาจากคำว่า อมร หมายถึง ไม่ตาย กับคำว่า นาถ หมายถึง ผู้เป็นนาย ผู้เป็นที่พึ่ง ในหนทางภักดีกล่าวว่า อมรนาถ คือ ศิวะ (โดยเชื่อกันว่า ศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน) ได้เล่า อมรกถา ให้แก่ปารวตี ผู้เป็นชายา ที่เขาไกรลาส ซึ่งเป็นประทับของพระศิวะ เหนือขึ้นไปบนท้องฟ้า และผู้คนก็คิดว่าเป็นถ้ำอมรนาถที่หิมะละลายแล้วเกาะตัวเป็นน้ำแข็งรูปศิวลึงค์ ตั้งอยู่บนเขาหิมาลัยของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียด้วย จึงกลายเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญและมีชื่อเสียงของฮินดูธรรม พาพากล่าวว่า "ลูกทั้งหมด คือ ปารวตี และ ฉัน ผู้เป็นอมรนาถ กำลังให้ญาณ (อมรกถา) แก่ลูก และจะนำลูกกลับไปยังอมรโลก (อมรบุรี)" กถา แปลว่า เรื่อง ถ้อยคํา |
57 | กรันกราวันหาระ (อ่านว่า กะ-รัน-กะ-รา-วัน-หา-ระ) | กรนกราวนหาร | करनकरावनहार ![]() | ![]() karanakarāvanahār | กรันกราวันหาระ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ท่านคือผู้ทำ โดยทำให้เกิดการกระทำงานใดๆ ด้วยผู้อื่น กร แปลว่า ผู้ทำ ผู้ก่อ และ กรา แปลว่า ผู้ที่ทำให้เกิดการกระทำงานใดๆ ด้วยผู้อื่น |
81 | ขุดา | ขุดา | ख़ुदा ![]() | ![]() Ḵẖudā | ขุดา เป็นคำในภาษาอูรดู หมายถึง บรมบิดา บรมาตมา ผู้ที่มาด้วยตัวท่านเองในเวลาของตัวท่านเองตามละคร และมาให้คำแนะนำของตัวท่านเอง |
82 | ขุดา โทสตะ | ขุดา โทสฺต | ख़ुदा दोस्त ![]() | Ḵẖudā dost | ขุดา ผู้เป็นมิตรที่สูงสุด เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ของพาพากับลูกในสังคมยุค ขุดา เป็นคำในภาษาอูรดู หมายถึง บรมบิดา บรมาตมา ผู้ที่มาด้วยตัวท่านเอง ในเวลาของตัวท่านเองตามละคร และมาให้คำแนะนำของตัวท่านเอง และ โทสตะ หมายถึง มิตร เพื่อน |
115 | เคารีศังกร | เคารีศงฺกร | गौरीशंकर ![]() | ![]() Gaurīśaṅkar | เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา เคารี หมายถึง ปารวตี ผู้เป็นชายาของศังกร ดังนั้นเคารีศังกร หมายถึง ศังกรผู้เป็นนาถ (ผู้เป็นนาย ผู้เป็นที่พึ่ง) ของเคารี โดยในหนทางภักดีเชื่อกันว่า ศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน แท้จริงแล้วลูกทั้งหมด คือ ปารวตีของศิวะ |
158 | ตริโลกีนาถ/ตรีโลกนาถ | ตฺริโลกีนาถ | त्रिलोकीनाथ ![]() | ![]() Trilokīnāth | ตรีโลกนาถ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่มีญาณเกี่ยวกับทั้งสามโลก และพาพาได้ให้ญาณทั้งสามโลกนั้นแก่ลูก และสมญานี้จึงมีการให้แก่ลูกด้วย ตรีโลกนาถ มาจากคำว่า ตรี แปลว่า สาม โลก คือ สถานที่ และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ตรีโลก หรือ สามโลก ได้แก่ 1. บ้าน โลกของอาตมา ที่บรมาตมาและอาตมาอาศัยอยู่ เป็นสถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ ซึ่งเป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ มูลวตนะ นิราการีทุนิยา บรมธามะ ปรโลก นฤพานธามะ หรือ นิพพานธามะ มุกติธามะ สันติธามะ พรหมาณฑ์ พรหมโลก 2. บ้าน ดินแดน สถานที่ โลกแห่งสีขาวที่ละเอียดอ่อน โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สูกษมโลก สูกษมวตนะ 3. บ้าน โลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ ที่ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถูลวตนะ สาการีมนุษยทุนิยา กรรมเกษตร สูกษมะ แปลว่า ละเอียดอ่อน สุขุม สถูละ แปลว่า วัตถุที่หยาบ จับต้องได้ และ ทุนิยา แปลว่า โลก |
229 | ปรกติปติ/ปรกติบดี (อ่านว่า ปฺรก-กะ-ติ-ปะ-ติ/ปฺรก-กะ-ติ-บอ-ดี) | ปฺรกฤติปติ | प्रकृतिपति ![]() | Prakṛtipati | ปรกติบดี เป็นหนึ่งในสมญาของบรมบิดา บรมาตมา ปรกติบดี มาจากคำว่า ปรกติ แปลว่า ธรรมชาติ วัตถุธาตุ กับ บดี แปลว่า ผู้สร้าง เจ้าของ นาย สามี ดังนั้น ปรกติบดี หมายถึง บดีของธรรมชาติ วัตถุธาตุ |
231 | ประภุ/ประภู | ปฺรภุ | प्रभु ![]() | ![]() Prabhu | เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา ประภู แปลว่า ผู้มีอำนาจ ผู้มีความสามารถ |
239 | พพูลนาถ | พพูลนาถ | बबूलनाथ ![]() | ![]() Babūlanāth | ในบางครั้ง พาพาจะกล่าวถึงพพูลนาถ ว่า พพุรีนาถ ด้วยเช่นกัน พพูลนาถ เป็นหนึ่งในสมญาที่เรียกบรมบิดา บรมอาตมา ที่หมายถึง นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ที่เปลี่ยนหนามให้กลายเป็นดอกไม้ นั่นคือเปลี่ยนป่าหนามของนรกให้กลายเป็นสวนดอกไม้ของสวรรค์ พพูลนาถ มาจากคำว่า ต้นพพูละ คือ ต้นกระถินเทศของไทย ที่มีหนามแหลมคมมากทั่วทั้งต้น โดยหนามเปรียบกับกิเลส ที่มนุษย์ใช้ทิ่มแทงกันและกัน กับคำว่า นาถ คือ นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
246 | พาพุรีนาถ | พาพุรีนาถ | बाबुरीनाथ ![]() | ![]() Bāburīnāth | ในบางครั้ง พาพาจะกล่าวถึงพพูลนาถ ว่า พพุรีนาถ ด้วยเช่นกัน พพูลนาถ เป็นหนึ่งในสมญาที่เรียกบรมบิดา บรมอาตมา ที่หมายถึง นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ที่เปลี่ยนหนามให้กลายเป็นดอกไม้ นั่นคือเปลี่ยนป่าหนามของนรกให้กลายเป็นสวนดอกไม้ของสวรรค์ พพูลนาถ มาจากคำว่า ต้นพพูละ คือ ต้นกระถินเทศของไทย ที่มีหนามแหลมคมมากทั่วทั้งต้น โดยหนามเปรียบกับกิเลส ที่มนุษย์ใช้ทิ่มแทงกันและกัน กับคำว่า นาถ คือ นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
270 | ภควาน (อ่านว่า พะ-คะ-วาน) | ภควาน | भगवान ![]() | Bhagavān | ภควาน เป็นอีกนามหนึ่งของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่เปิดโชค ผู้ที่สร้างโชค ภควาน มาจากรากศัพท์ของคำว่า ภาคย์ แปลว่า มีโชค โชคดี |
326 | โยเคศวร | โยเคศฺวร | योगेश्वर ![]() | ![]() Yogeśvar | โยเคศวร เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา ผู้สอนโยคะให้กับลูก โดยท่านเองไม่ได้ศึกษาโยคะ และมีโยคะใดๆ ท่านมาทำให้ลูกเป็น โยเคศวร (อาตมาที่อยู่ในร่างชาย) และ โยเคศวรี (อาตมาที่อยู่ในร่างหญิง) ผู้ที่มีโยคะกับอิศวรด้วย โยเคศวร มาจากคำว่า โยคะ กับ อิศวร อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
341 | ราเชศวร | ราเชศฺวร | राजेश्वर ![]() | Rājeśvar | ราเชศวร มาจากคำว่า ราช และ อิศวร ราเชศวร หมายถึง อิศวร ผู้เป็นราชา ผู้เป็นนาย ที่มีอำนาจในการปกครอง ซึ่งเป็นสมญาที่ให้กับบรมบิดา บรมาตมา |
400 | ศิวะ | ศิว | शिव ![]() | ![]() Śiv | นามดั้งเดิมและตลอดไปของบรมบิดา บรมอาตมา มีความหมายว่า จุด เมล็ด และผู้ให้กัลยาณ กัลยาณ หมายถึง ดีงาม ประเสริฐ คุณประโยชน์ |
406 | ศิวพาพา | ศิวพาพา | शिवबाबा ![]() | ![]() Śivabābā | ศิวะ คือ นามของบรมบิดา บรมอาตมา และ พาพา เป็นคำที่แสนหวานที่เรียกหรือกล่าวถึงศิวะ ผู้เป็นพ่อ ด้วยความรักและใกล้ชิด ดังนั้น เราจึงเรียกท่านว่า ศิวพาพา พาพา เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |