No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
28 | อวตาร | อวตาร | अवतार ![]() | ![]() avatār | ศิวพาพา คือ ผู้ที่นิราการได้อวตารลงมายังโลกมนุษย์นี้ ท่านไม่มีทั้งอาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) และ สาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) ท่านไม่ได้มาเกิดผ่านครรภ์ใดๆ นั่นหมายถึง ไม่ได้เวียนว่ายตายเกิด จึงมีความบริสุทธิ์เสมอ แม้แต่ ผู้สถาปนาธรรมต่างๆ ลงมายังโลกวัตถุในชาติแรกด้วยสภาพที่บริสุทธิ์ สโตประธาน และใช้ร่างของผู้อื่นเพื่อสถาปนาธรรมของตนก็ตาม แต่หลังจากนั้นก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดด้วยกิเลสผ่านครรภ์ในทุกชาติถัดไป และกลับมาไม่บริสุทธิ์ ตโมประธาน |
30 | อวยักตะ มุรลี | อวฺยกฺตะ มุรลี | अव्यक्त मुरली ![]() | ![]() Avyakt murlī | คำพูด คำสอนที่ยิ่งใหญ่และล้ำค่า โดย อวยักตพาปทาทา พูดผ่านร่างของทาทีคุลซาร ที่เป็นสื่อกลาง หลังจากพรหมาพาพาได้จากร่างสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) และเข้าสู่สภาพสัมปันนและสมบูรณ์ของผริศตาที่อวยักตะ หรือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) เมื่อปี พ.ศ. 2512 อวยักตพาปทาทา หมายถึง ศิวพาพา ผู้ที่นิราการ รวมกับ อวยักตพรหมาพาพา อวยักตมุรลี ได้เริ่มมาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2512 สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
121 | จิตร | จิตฺระ | चित्र ![]() | ![]() citra | ภาพ ภาพถ่าย และสิ่งที่เห็นเป็นรูปร่าง ได้แก่ รูปเคารพ ปฏิมาทั้งหลาย และในราชโยคะ ยังหมายถึง ร่างกายด้วย |
141 | คญาน (ฮินดี)/ชญาน (สันสกฤต)/ญาณ (บาลี) อมฤต | คฺญาน/ชฺญาน/ญาณอมฤต | ज्ञान अमृत ![]() | ![]() gñān/jñān/ñāṇ amṛt | ในสังคมยุค พาพามาให้ญาณ ที่เปรียบกับอมฤต หรือ น้ำทิพย์ โดยในหนทางภักดี เชื่อกันว่าเมื่อดื่มน้ำทิพย์แล้ว จะทำให้ชีวิตเป็นอมตะ นั่นคือ ไม่ตาย แท้จริงแล้ว พาพามาให้ญาณว่าลูกเป็นอาตมา ที่ไม่มีวันวินาศ อมตะ และ คงอยู่ตลอดไป อมฤต หมายถึง ไม่ตาย มาจากคำว่า อ เป็นอักษรใช้นําหน้าคํา แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ กับ มฤต แปลว่า ตาย |
310 | มุรลี (อ่านว่า มุ-ระ-ลี) | มุรลี | मुरली ![]() | ![]() muralī | มุรลี แปลว่า ขลุ่ย คำพูดของศิวพาพา ได้เปรียบกับเสียงขลุ่ยอันไพเราะ นั่นหมายถึง ความรู้ที่ศิวพาพา ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา มาให้ในสังคมยุค ในหนทางภักดีได้เข้าใจกันว่า กฤษณะเป็นภควานของคีตา หมายถึง เป็นผู้พูดและสอนคีตา และได้แสดงรูปของกฤษณะเป่าขลุ่ย และมีขลุ่ยอยู่ในมือเสมอ |
396 | สรีระ | ศรีร | शरीर ![]() | ![]() śarīr | ร่างกาย |
397 | สรีรี | ศรีรี | शरीरी ![]() | Śarīrī | อาตมาที่อยู่ในร่างกาย หรืออาตมาที่มีร่างกาย |
437 | สาการ มุรลี | สาการ มุรลี | साकार मुरली ![]() | ![]() sākār murlī | สาการมุรลี คือ วยักตมุรลี เป็นมหาวกยะ คำพูด คำสอนที่ยิ่งใหญ่และล้ำค่า โดย ศิวพาพา พูดผ่านร่างของพรหมาที่เป็นสื่อกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 18 มกราคม พ.ศ. 2512 มหาวกยะ มาจากคำว่า มหา แปลว่า ใหญ่ ยิ่งใหญ่ และ วากยะ แปลว่า คําพูด คํากล่าว ถ้อยคํา |