No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
8 | อัจฉา | อจฺฉา | अच्छा ![]() | ![]() acchā | ดี ใช้ได้ ถูกต้อง |
18 | อพะ | อพ | अब ![]() | ![]() ab | อพะ หมายถึง เดี๋ยวนี้ บัดนี้ เวลานี้ พาพาใช้คำ อพี คู่กับ กภี ในความหมายว่า ถ้าหากลูกไม่ปุรุษารถะในเวลานี้ ก็จะไม่มีโอกาสอีกแล้ว อพะ หมายถึง เดี๋ยวนี้ บัดนี้ เวลานี้ และ กภี หมายถึง เคย ตลอดไป ปุรุษารถะ หมายถึง อาตมาเพ่งเพียรปฏิบัติขณะที่อยู่ในร่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดย ปุรุษารถะ มาจากคำว่า ปุรุษ หรือ บุรุษ หมายถึง อาตมา กับคำว่า รถ หมายถึง ร่างกาย หรือกับคำว่า อรรถ หมายถึง ความมุ่งหมาย ความประสงค์ |
44 | อานา | อานา | आना ![]() | ![]() ānā | อานา เป็นสกุลเงินโบราณที่ใช้กันในประเทศอินเดียและปากีสถาน 16 อานา เท่ากับ 1 รูปี |
48 | อิจฉา | อิจฺฉา | इच्छा ![]() | Icchā | อิจฉา หมายถึง ความอยาก ปรารถนา พาพาให้ลูกมีอิจฉาในญาณ โยคะ ธารณา และ เสวา ไม่ใช่วัตถุ หรือสิ่งที่มาจากพื้นฐานของกิเลสใดๆ |
55 | กพะ | กพ | कब ![]() | ![]() kab | กพะ หมายถึง เมื่อ เมื่อไร พาพาใช้คำ อพะ คู่กับ กพะ ในความหมายว่า ถ้าหากลูกไม่ปุรุษารถะในเวลานี้ แล้วลูกจะทำเมื่อไร ก็จะไม่มีโอกาสอีกแล้ว อพะ หมายถึง เดี๋ยวนี้ บัดนี้ เวลานี้ ปุรุษารถะ หมายถึง อาตมาเพ่งเพียรปฏิบัติขณะที่อยู่ในร่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดย ปุรุษารถะ มาจากคำว่า ปุรุษ หรือ บุรุษ หมายถึง อาตมา กับคำว่า รถ หมายถึง ร่างกาย หรือกับคำว่า อรรถ หมายถึง ความมุ่งหมาย ความประสงค์ |
69 | กายทา (อ่านว่า กา-ยะ-ทา) | กายทา | कायदा ![]() | ![]() kāyadā | พาพาใช้คำ ผายทา พ้องกับคำ กายทา หมายถึง เมื่อลูกทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่พาพาให้ลูกในการดำเนินชีวิตของการเป็นพรหมากุมารและกุมารีในสังคมยุค ลูกก็จะได้รับคุณประโยชน์ กายทา หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และ ผายทา หมายถึง คุณประโยชน์ กำไร |
76 | กุล | กุล | कुल ![]() | kul | ตระกูล สกุล ครอบครัว เผ่า เหล่ากอ เชื้อสาย |
86 | ขีระ ปูรี | ขีร ปูรี | खीर पूरी ![]() | Khīr pūrī/Kheer pūrī | ขีระ คือ ข้าวที่ต้มในน้ำนมและเติมน้ำตาลลงไปด้วย ปูรี คือ แป้งที่นวดกับน้ำ แล้วทำเป็นแผ่นทรงกลมเพื่อนำไปทอด ในหนทางภักดี ขีระ ปูรี เป็นชุดอาหารทำให้พราหมณ์ที่ทำพิธีให้กับบรรพบุรุษในเทศกาลสารท เพื่ออุทิศบุญกุศลให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว |
117 | ฆี | ฆี | घी ![]() | ![]() ghī | เนยบริสุทธิ์ที่ทำมาจากน้ำนมของวัว หรือ ควาย พาพาได้กล่าวว่า มีแม่น้ำของฆีในสวรรค์ นั่นหมายถึง สภาพที่บริสุทธิ์และมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ |
138 | ชินนะ | ชินฺน | जिन्न ![]() | ![]() Jinn | ตามตำนานของอาระเบียและมุสลิม ชินนะเป็นอาตมาในรูปที่ละเอียดอ่อน ที่ระดับต่ำกว่าผริศตา โดยสามารถปรากฏตัวในรูปมนุษย์และสัตว์ ซึ่งเข้าครอบงำมนุษย์ได้ ได้มีเรื่องเล่าว่า นาย หรือ เจ้าของชินนะต้องหางานให้ชินนะทำตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นจะกินนายของตน เพราะไม่สามารถอยู่เฉยได้ พาพาให้ลูกเป็นชินนะ ที่เฝ้าแต่ทำงานของการจดจำอลัฟ หมายถึง อัลลาห์ นั่นคือ พาพา และจดจำเบ หมายถึง บาดชาฮี นั่นคือ อาณาจักร หรือ อำนาจ การปกครองในสวรรค์ ไม่เช่นนั้นแล้ว มายาจะกินลูกทั้งเป็น นอกจากนี้ พาพายังให้ลูกเป็นชินนะ ที่เฝ้าแต่ไต่ขึ้นลงบันได หมายถึง ไตร่ตรองความรู้ของวงจร 84 ชาติเกิดด้วย ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
139 | ชีพ | ชีพ | जीव ![]() | ![]() jīv | ร่างกาย |
145 | ฌเมลา | ฌเมลา | झमेला ![]() | ![]() jhamelā | ความปั่นป่วน ยุ่งเหยิง |
147 | โฏลี | โฏลี | टोली ![]() | ![]() ṭolī | ในภาษาสินธี โฏลี หมายถึง ขนมหวาน ในภาษาฮินดี โฏลี หมายถึง กลุ่ม พาพาให้ลูกรับประทานโฏลี หมายถึง ทำให้ปากของลูกหวาน มีแต่คำพูดที่หวานออกมา และ ชีวิตก็จะเต็มไปด้วยความหวานชื่นดีงาม |
148 | ตตฺ ตฺวมฺ | ตตฺ ตฺวมฺ | तत् त्वम् ![]() | ![]() tat tvam | สิ่งนั้นหมายถึงท่าน ก็คือ ท่านเป็นสิ่งนั้นด้วย |
227 | ไปสา | ไปสา | पैसा ![]() | ![]() paisa | ไปสา หมายถึง เงิน และเป็นสกุลเงินที่ใช้ในประเทศอินเดีย โดย 100 ไปสา เท่ากับ 1 รูปี |
232 | ประพฤติมรรค (อ่านว่า ปฺระ-พฺรึด /ปฺระ-พฺรึด-ติ-มัก) | ประวฺฤตฺติ มารฺค | प्रवृत्ति मार्ग ![]() | pravṛtti mārg | ประพฤติมรรค หมายถึง หนทางที่มีการประพฤติร่วมกับผู้อื่น ในราชโยคะ พาพาให้ลูกอยู่ในประพฤติมรรค ด้วยการใช้ชีวิตในครอบครัวที่มีการประพฤติในความสัมพันธ์ต่างๆ กับคนในครอบครัว แต่อยู่อย่างบริสุทธิ์และละวางเช่นดอกบัว ซึ่งตรงข้ามกับนิพฤติมรรค หมายถึง สันนยาสี ผู้อยู่ในหนทางการใช้ชีวิตสันโดษ ที่แยกตนเองออกไปอยู่โดยลำพังและสละละทิ้งทางโลก อนุสรณ์ของประพฤติมรรคในหนทางภักดี คือ วิษณุ และ มหาลักษมี ที่แสดงรูปรวมที่มีสี่แขน หมายถึง สองแขนของลักษมีกับสองแขนของนารายณ์ ประพฤติ หมายถึง ปฏิบัติ วางตน กระทำ ดำเนินตน นิพฤติ หมายถึง สันโดษ การเกษียณอายุ และ มรรค หมายถึง หนทาง สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ |
235 | ผายทา | ผายทา | फायदा ![]() | phāyadā | พาพาใช้คำ ผายทา พ้องกับคำ กายทา หมายถึง เมื่อลูกทำตามระเบียบ กฎเกณฑ์ที่พาพาให้ลูกในการดำเนินชีวิตของการเป็นพรหมากุมารและกุมารี ในสังคมยุค ลูกก็จะได้รับคุณประโยชน์ กายทา หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และ ผายทา หมายถึง คุณประโยชน์ กำไร |
238 | พพูล | พพูล | बबूल ![]() | ![]() Babūl | ต้นพพูละ คือ ต้นกระถินเทศของไทย ที่มีหนามแหลมคมมากทั่วทั้งต้น โดยหนามเปรียบกับกิเลส ที่มนุษย์ใช้ทิ่มแทงกันและกัน |
242 | พาปะ | พาป | बाप ![]() | Bāp | พาปะ หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็น บรมบิดาสูงสุด บรมาตมาของอาตมาทั้งหมด พาปะ เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
244 | พาปู | พาปู | बापू ![]() | ![]() Bāpū | พาปู หมายถึง พ่อ โดยทั่วไปจะเป็นการกล่าวถึง มหาตมะ คานธี ที่ได้รับเกียรติว่าเป็นพาปู ของประเทศอินเดีย แท้จริงแล้ว พาพา คือ พาปูของโลก หมายถึงพาปูของอาตมาทั้งหมด ไม่เพียงพาปูของประเทศอินเดียเท่านั้น |
245 | พาพา | พาพา | बाबा ![]() | Bābā | เป็นคำที่แสนหวานที่เรียกหรือกล่าวถึงศิวะ ผู้เป็นพ่อ ด้วยความรักและใกล้ชิด ดังนั้น เราเรียกท่านว่า ศิวพาพา ศิวะ เป็นชื่อที่แท้จริงและดังเดิมของบรมบิดา บรมาตมา พาพา เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
251 | พุทธู | พุทฺธู | बुद्धू ![]() | ![]() buddhū | โง่เขลา |
272 | ภัฏฐี | ภฏฺฐี | भट्ठी ![]() | bhaṭṭhī | ภัฏฐี คือ เตาเผาที่ร้อนแรง ที่สามารถแยกโลหะหรือสิ่งเจือปนออกจากทองคำ นั่นคือ ทำให้บางสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากของเดิมเมื่อใส่ลงไปในภัฏฐี พาพากล่าวว่า เมื่อลูกนั่งอยู่ในภัฏฐีที่เปรียบกับอัคนีของโยคะ ลูกก็สามารถขจัดบาปในอาตมาออกไป เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับมาบริสุทธิ์ และมีสภาพที่ขึ้นสูงได้ |
276 | ภวนะ | ภวน | भवन ![]() | ![]() bhavan | อาคาร สถานที่ ในยัญของพาพา ก็มีการให้นามของอาคาร สถานที่ต่างๆ เข่น ปาณฑพภวนะ โอม สันติภวนะ และ ศักดิ์ภวนะ เป็นต้น |
287 | ภรัษฏาจารี (อ่านว่า พฺรัดฺ-ตา-จา-รี) | ภฺรษฺฏาจารี | भ्रष्टाचारी ![]() | bhraṣṭācārī | ภรัษฏาจารี หมายถึง ผู้ที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดผ่านครรภ์ด้วยกิเลสของกาม (ตัณหา ราคะ) และมีพฤติกรรม การกระทำที่มีกิเลส ตกต่ำ ไม่เพียงแค่คดโกง ทุจริต ติดสินบนเท่านั้น ในสังคมยุค พาพามาเปลี่ยนลูกจากภรัษฏาจารี ชาวนรก ให้เป็น เศรษฐาจารี ชาวสวรรค์ เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ ภรัษฏะ แปลว่า ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และ จารี แปลว่า ผู้ประพฤติ |
299 | มหาน | มหานฺ | महान् ![]() | mahān | ใหญ่ ยิ่งใหญ่ |
308 | มิลนะ | มิลน | मिलन ![]() | ![]() milan | มิลนะ หมายถึง การพบปะ สังคมยุค คือ มิลนะที่แท้จริงระหว่างอาตมาและบรมาตมา |
333 | ราย | ราย | राई ![]() | ![]() rāī | ราย คือ เมล็ดมัสตาร์ดที่มีขนาดเล็กๆ พาพากล่าวว่า ลูกต้องเปลี่ยนสิ่งที่ใหญ่โตในรูปของปัญหาสถานการณ์ ธรรมชาติ เป็นต้น ให้กลายเป็นสิ่งเล็กๆ เช่น เมล็ดมัสตาร์ด และเวลาสุดท้ายทุกสิ่งจะถูกบดขยี้เหมือนเมล็ดมัสตาร์ด เช่นที่ถูกบดเพื่อกลั่นเป็นน้ำมัน นั่นหมายถึง จะเหลือเพียงอาตมาเท่านั้น |
345 | รานี | รานี | रानी ![]() | ![]() Rānī | รานี เป็นคำในภาษาฮินดี หมายถึง ราชินี พาพา ใช้คำว่า รานี มหารานี คู่กับคำว่า ราชา มหาราชา |
349 | ราษฏรปติ/ราษฏรบดีภวนะ (อ่านว่า ราด-สะ-ตฺระ-ปะ-ติ/ราด-สะ-ดอน-บอ-ดี -พะ-วะ-นะ) | ราษฺฏฺรปติ ภวน | राष्ट्रपति भवन ![]() | ![]() Rāṣṭrapati bhavan | ทำเนียบประธานาธิบดี ราษฏฺร แปลว่า บ้านเมือง พลเมือง (คำไทยเขียนว่า ราษฎร์ หรือ ราษฎร) ปติ/บดี แปลว่า ผู้สร้าง เจ้าของ นาย สามี และ ภวนะ หมายถึง อาคาร สถานที่ |
360 | ลักษยะ (สาพุนะ) | ลกฺษฺย (สาพุน) | लक्ष्य (साबुन) ![]() | ![]() lakṣya (sābun) | ลักส์ เป็นสบู่อาบน้ำที่มีชื่อเสียงในประเทศอินเดีย พาพาเปรียบเทียบคำ ลักส์ กับ ลักษยะ ที่แปลว่า เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ที่ลูกต้องทำตามพาพาเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ สาพุนะ หมายถึง สบู่ |
362 | ไลลา มัชนู | ไลลา มชนู | लैला मजनू ![]() | ![]() Lailā Majanū | พาพาได้กล่าวถึง เรื่องราวความรักของคู่รักไลลา (หญิง) และ มัชนู (ชาย) เพียงแค่ได้เห็นใบหน้าของกัน ก็ตกหลุมรักกัน แต่เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ได้มาจากพื้นฐานของกิเลส โดยขณะที่ใช้ชีวิตและทำงาน ก็เฝ้าแต่เห็นกันและกันมาปรากฏอยู่ข้างหน้า เช่นเดียวกับมีราที่เห็นกฤษณะปรากฏอยู่ข้างหน้าตนเองตลอดเวลา ทั้งนี้เรื่องราวความรักของไลลา และ มัชนู ไม่ได้มีการกล่าวถึงการแต่งงานกันใดๆ เช่นเดียวกัน บรมบิดา บรมอาตมา คือ ผู้เป็นที่รัก (มาชูกะ) หนึ่งเดียว และ ลูกก็คือ อาตมา ผู้เป็นคู่รัก (อาชิกะ) ที่เฝ้าแต่จดจำบรมบิดา บรมอาตมา ผู้เป็นที่รัก นี่คือ ความรักที่บริสุทธิ์ระหว่างอาตมา |
364 | วรทาน | วรทาน | वरदान ![]() | ![]() varadān | วรทาน คือ การให้ทานหรือพรที่สูงสุด โดยพ่อศิวะผู้เป็นสัตคุรุเท่านั้นที่ให้ได้ ทั้งนี้ลูกไม่ต้องลำบากตรากตรำเพื่อที่จะทำให้วรทานนั้นเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ เพียงแต่ทำตามศรีมัตของพ่อ ทั้งนี้ ท้ายมุรลีทุกวัน พ่อศิวะผู้เป็นสัตคุรุมาให้วรทานแก่ลูกทุกวัน วร เป็นคำนำหน้าศัพท์ให้หมายความว่า ดี วิเศษ ยอดเยี่ยม มีค่า ประเสริฐ และยังหมายถึง พร ด้วย |
367 | วาหะ วาหะ | วาห วาห | वाह वाह ![]() | vāh vāh | มหัศจรรย์ ยอดเยี่ยม |
380 | พฤติ (อ่านว่า พฺรึด/พฺรึด-ติ) | วฺฤตฺติ | वृत्ति ![]() | ![]() vṛtti | พฤติหมายถึงความคิดต่อเนื่องที่ส่งคลื่นกระแสหมุนเวียนโดยรอบออกมา และเมื่อส่งผ่านออกมาทางทฤษฎี ทางคำพูด หรือทางการกระทำก็จะกลายเป็นพฤติกรรมของผู้นั้น ดังนั้นพาพามาเปลี่ยนพฤติของลูกด้วยคำสอนผ่านมุรลีทุกวัน พฤติ มาจากรากศัพท์ของคำว่า พฤต หมายถึง วนเวียน และ ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น นั้นคือ การแลกเปลี่ยนคลื่นกระแสผ่านดวงตา |
415 | ศูพีรส | ศูพีรส | शूबीरस ![]() | śūbīras | ศูพีรส เป็นน้ำผลไม้คล้ายมะม่วง พาพาให้ลูกได้รับสากษาตการของศูพีรส และเกิดประสบการณ์ในอาณาเขตที่ละเอียดอ่อน เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในสวรรค์ ศูพีรส มาจากคำว่า ศูพี คือ ผลไม้คล้ายมะม่วง และ รส คือ น้ำผลไม้ |
424 | สัต/สัจ/สัตย์ | สตฺ/สจ/สตฺย | सच/सत्य ![]() | sac/satya | สัต/สัจ/สัตย์ หมายถึง ความจริง ความจริงแท้ |
433 | สมัย | สมย | समय ![]() | ![]() samay | เวลา ยุค โอกาส คราว |
436 | สาการ | สาการ | साकार ![]() | sākār | ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ วัตถุ วยักตะ สถูละ |
443 | สิตาระ | สิตาร์ | सितार ![]() | sitār | สิตาร์ เป็นเครื่องดนตรีของฮินดูสถานประเภทเครื่องสาย สำหรับดนตรีคลาสสิก ที่อยู่ในกลุ่มด้วยกับวีณา (คล้ายพิณใหญ่ของไทย) ในหนทางภักดีได้มีการแสดงวีณาไว้กับสรัสวดี ผู้เป็นเทวีแห่งวิทยา แท้จริงแล้ว เป็นบทบาทของมัมมาของสังคมยุคนี้ ที่ให้ความรู้ของพาพาแก่ผู้อื่น และได้รับสมญาว่าสรัสวดี ผู้เล่นวีณา ส่งเสียงดนตรีที่เปรียบกับความรู้ แต่ในมุรลี พาพากล่าวว่าได้มีการแสดงสิตาร์ไว้กับสรัสวดี เนื่องด้วย มัมมาเล่นสิตาร์ในชีวิตจริง |
455 | สวยม (อ่านว่า สะ-วะ-หฺยม) | สฺวยม | स्वयं ![]() | svayaṁ | สวยม แปลว่า ด้วยตนเอง ของตัวเอง สว แปลว่า ตัวเอง ตนเอง นั่นคือ อาตมา |
460 | หมะ โส โส หมะ | หม โส โส หม | हम सो, सो हम ![]() | ham so so ham | เรากลายเป็นสิ่งที่เราเคยเป็น นั่นคือ เราเคยเป็นอะไร เราก็จะกลายเป็นเช่นนั้นอีก หมายถึง ในจักร (วงจร) ฉันผู้เป็นอาตมา ได้ผ่านสภาพต่างๆ หรือที่เรียกว่าวรรณะ จากสังคมยุคจนตลอดทั้งจักร ได้แก่ พราหมณ์ เทวดา กษัตริย์ แพศย์ ศูทร และเวลานี้ก็ต้องกลับมาสู่สภาพเดิมอีก |
464 | หลุอา | หลุอา | हलुआ ![]() | ![]() haluā | หลุอา เป็นขนมหวานที่มีส่วนประกอบของแป้ง ฆี น้ำตาล และน้ำ ที่ผสมกันแล้วกวนจนแห้งก็จะร่อนไม่ติดก้นกระทะ นั่นหมายถึง การไม่ผูกพันยึดมั่นกับใคร หรือ สิ่งใดของโลกนี้ พาพาได้กล่าวว่า เมื่อแม่ สามี หรือ ภรรยาตาย ก็ให้รับประทานหลุอา |
465 | หเวลี | หเวลี | हवेली ![]() | ![]() havelī | คฤหาสถ์ขนาดใหญ่ที่มีลานตรงกลางของครอบครัวใหญ่อาศัยอยู่ด้วยกัน พาพาได้เปรียบเทียบว่า ลูกของพาพาก็ต้องอยู่อย่างเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยความรักอย่างยิ่ง เช่นน้ำนมและน้ำตาล |