No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
22 | อมรโลก | อมรโลก | अमरलोक ![]() | ![]() Amaralok | อมรโลก หมายถึง สวรรค์ สถานที่ที่ทุกคนใช้เต็มอายุขัย ไม่มีการตายที่ไม่เป็นไปตามเวลา ด้วยการคงอยู่ในอาตมอภิมานะ จึงจากร่างหนึ่ง ไปรับอีกร่างหนึ่งเมื่อถึงเวลา โดยไม่มีความทุกข์ระทม และผูกพันใดๆ โดยบางครั้งพาพาเรียกอมรโลกว่า อมรบุรี นอกจากนี้ อมรโลก ยังหมายถึง บรมธามะ บ้านของอาตมาด้วย เพราะว่าอาตมานั้น ไม่ตาย และอาศัยอยู่ที่นั่น อมร แปลว่า ไม่ตาย ดังนั้น อมรโลก คือ โลกที่ไม่มีความตาย |
211 | บรมธามะ (อ่านว่า บอ-รม-มะ-ธา-มะ) | ปรมธาม | परमधाम ![]() | ![]() Paramadhām | บรมธามะ เป็นสถานที่อยู่อาศัยสูงสุดของอาตมาและบรมาตมาที่นิราการ หรือที่เรียกกันว่า พรหมโลก พรหมาณฑ์ สถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ ที่เป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) ปรม ในภาษาไทย คือ บรม แปลว่า สูงสุด ธามะ หมายถึง สถานที่อยู่อาศัย มห แปลว่า ยิ่ง ใหญ่ และ ตัตวะ แปลว่า ธาตุ |
215 | ปรโลก (อ่านว่า ปะ-ระ/ปอ-ระ โลก) | ปรโลก | परलोक ![]() | ![]() Paralok | ในราชโยคะ ปรโลก หมายถึง บรมธามะ นั้นคือ สถานที่อยู่สูงสุด บ้านของอาตมาที่ไกลโพ้น เหนือขึ้นไปจากโลกนี้ คำว่า ปร แปลว่า อื่น บางครั้งในทางโลก หมายถึง โลกอื่น โลกหลังความตาย |
222 | ปารเลากิก | ปารเลากิก | पारलौकिक ![]() | pārlaukik | อยู่เหนือ ไกลโพ้นจากโลกวัตถุ โลกของร่างกาย สิ่งชั่วคราว ปารเลากิก มาจากคำว่า ปาร หมายถึง อยู่เหนือ ไกลโพ้น กับ เลากิก หมายถึง โลก ทางโลก สิ่งชั่วคราว |
253 | พรหม | พฺรหฺม | ब्रह्म ![]() | ![]() Brahm | พรหม เป็นธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ พรหม เป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) ของพรหมาณฑ์ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่ของอาตมาและบรมาตมาที่นิราการ พรหมาณฑ์ เป็นอีกชื่อหนึ่งของบรมธามะ ประกอบด้วยคำว่า พรหม กับคำว่า อัณฑะ หมายถึง ไข่ เนื่องจากอาตมามีรูปเป็นจุดแห่งแสงที่รัศมีเป็นรูปไข่วงรี โลกมนุษย์ โลกวัตถุ หรือ โลกที่มีร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) |
256 | พรหมโลก (อ่านว่า พฺรม-มะ-โลก) | ฺพฺรหฺมโลก | ब्रह्मलोक ![]() | ![]() Brahmlok | พรหมโลก หมายถึง พรหมาณฑ์ ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของบรมธามะ พรหมาณฑ์ คือ สถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) พรหมธาตุ คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ เป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) นั่นคือ ที่อยู่ของอาตมาและบรมาตมาที่นิราการ พรหมาณฑ์ ประกอบด้วยคำว่า พรหม กับคำว่า อัณฑะ หมายถึง ไข่ เนื่องด้วยอาตมามีรูปเป็นจุดแห่งแสงที่รัศมีเป็นรูปไข่วงรีอาศัยอยู่ในพรหมธาตุ โลกมนุษย์ โลกวัตถุ หรือ โลกที่มีร่างกาย ที่ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) |
264 | พรหมาณฑ์ (อ่านว่า พฺรม-มาน) | พฺรหฺมาณฺฑ | ब्रह्माण्ड ![]() | ![]() Brahmāṇḍ | พรหมาณฑ์ เป็นอีกชื่อหนึ่งของบรมธามะ พรหมาณฑ์ คือ สถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) พรหมธาตุ คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ เป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) นั่นคือ ที่อยู่ของอาตมาและบรมาตมาที่นิราการ พรหมาณฑ์ ประกอบด้วยคำว่า พรหม กับคำว่า อัณฑะ หมายถึง ไข่ เนื่องด้วยอาตมามีรูปเป็นจุดแห่งแสงที่รัศมีเป็นรูปไข่วงรีอาศัยอยู่ในพรหมธาตุ โลกมนุษย์ โลกวัตถุ หรือ โลกที่มีร่างกาย ที่ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) |