No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
62 | กรรม | กรฺม | कर्म ![]() | ![]() karm | การ การงาน การกระทำ ในราชโยคะ พาพาได้กล่าวถึงกรรมต่างๆ ดังนี้ 1. อกรรม คือ กรรมที่เป็นกลาง เป็นการรับผลของกรรมจากสังคมยุค ในสัตยุค (ยุคทอง) และเตรตายุค (ยุคเงิน) 2. วิกรรม คือ การกระทำบาปที่ไม่บริสุทธิ์ ในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) กลียุค (ยุคเหล็ก) บนพื้นฐานของเทหอภิมานะ 3. สุกรรม คือ การกระทำที่บริสุทธิ์ ดีงาม ถูกต้องในสังคมยุค บนพื้นฐานศรีมัต และอาตมอภิมานะ 4. กรรมโภค คือ การได้รับผลของวิกรรม (การกระทำบาปที่ไม่บริสุทธิ์) ด้วยความทุกข์ทรมาน และต้องอดทนต่อการถูกลงโทษ 5. กรรมพันธนะ คือ พันธนะที่เกิดจากการกระทำ บนพื้นฐานของเทห์ (ร่างกาย) อภิมานะ โดย พันธนะ แปลว่า การผูก การมัด 6. กรรมสัมพันธ์ คือ สัมพันธ์ที่เกิดจากการกระทำ บนพื้นฐานของอาตมอภิมานะ เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน อาตมอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนที่บริสุทธิ์จากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นอาตมาแทนการเป็นร่างกาย |
63 | กรรมโภค | กรฺมโภค | कर्मभोग ![]() | karmabhog | กรรม คือ การกระทำ และ โภค คือ การได้รับความทุกข์ทรมาน กรรมโภค หมายถึง การได้รับผลของวิกรรม (การกระทำบาปที่ไม่บริสุทธิ์) ด้วยความทุกข์ทรมาน และต้องอดทนต่อการถูกลงโทษ |
65 | กรรมาตีต/กรรมาดีต | กรฺมาตีต | कर्मातीत ![]() | ![]() karmātīt | กรรมาดีต มาจากคำว่า กรรมหมายถึงการกระทำ กับอดีตหมายถึงการอยู่เหนือ การข้ามผ่าน กรรมาดีต หมายถึง การอยู่เหนือผลของกรรมที่ทำ ไม่ใช่การอยู่เหนือกรรมที่ไม่ต้องทำกรรม แต่เป็นการอยู่เหนือพันธนะของกรรมที่ทำ และไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลขณะที่ทำกรรมด้วยอวัยวะทางร่าง เพราะอาตมา คือ นายของร่างกาย ด้วยความเข้าใจและคิดว่าพาพา ผู้ที่ทำทุกสิ่งด้วยลูก นั่นคือ ใช้ลูกเป็นเครื่องมือในการทำ ลูกจึงไม่ถูกดึงดูดไปสู่การกระทำนั้น แต่อยู่อย่างละวางและมีความรัก |
224 | บุณย์ | ปุณฺย | पुण्य ![]() | puṇya | บุณย์ หมายถึง บุญ การกระทําดี ความดี คุณงามความดี |