No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
15 | อนุราเธ | อนุราเธ | अनुराधे ![]() | AnuRādhe | พาพาได้ลงมายังโลกมนุษย์ในสังคมยุค เพื่อทำให้ลูกกลับมาปุรุโษตตมะ นั่นคือ เป็นผู้ที่สูงสุดของทั้งกัลป์ ดังนั้นอาตมาของสังคมยุคจึงมีความยิ่งใหญ่และสภาพสูงกว่าอาตมาของสัตยุค พาพากล่าวว่า ราเธของสังคมยุคก็จะกลายเป็นอนุราเธในสัตยุค หมายถึง ความยิ่งใหญ่และสภาพที่น้อยกว่า หรือรองลงมา อนุ แปลว่า เล็ก น้อย ตามมา ภายหลัง มัมมา ผู้เป็นแม่ของยัญ และได้รับสมญา สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น จะกลายเป็นราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ |
42 | อาทิเทวี | อาทิ เทวี | आदि देवी ![]() | ![]() Ādi Devī | อาทิเทวี หมายถึง เทวีองค์แรก มัมมา ได้รับการจดจำในสมญาต่างๆ ว่าเป็น เทวีองค์แรก มนุษย์คนแรก อีฟ เป็นต้น อาทิ แปลว่า ต้น แรก |
122 | ชคัตอัมพา | ชคต อมฺพา | जगत अम्बा ![]() | ![]() Jagat ambā | ชคัตอัมพา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ อัมพา แปลว่า แม่ มารดา ดังนั้นชคัตอัมพา จึงหมายถึง มารดาของโลก ชคัตอัมพา เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นมารดาของโลก |
125 | ชัคทัมพา | ชคทมฺพา | जगदम्बा ![]() | ![]() Jagadambā | ชัคทัมพา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ อัมพา แปลว่า แม่ มารดา ดังนั้นชัคทัมพา จึงหมายถึง มารดาของโลก ชัคทัมพา เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นมารดาของโลก |
296 | มัมมา | มมฺมา | मम्मा ![]() | ![]() mammā | มัมมา คือ แม่ของยัญ ผู้เล่นบทบาทที่สำคัญยิ่งในการดูแลยัญตั้งแต่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2479 จนถึง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ที่เข้าสู่สภาพกรรมาดีต และได้ละร่างไปเล่นบทบาทของการทำเสวาที่ละเอียดอ่อน ทั้งนี้ มัมมาได้รับสมญาว่า สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น มัมมาจะกลายเป็นราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ คำว่า มัมมา แปลว่า แม่ |
303 | มาเตศวรี | มาเตศฺวรี | मातेश्वरी ![]() | ![]() Māteśvarī | มาเตศวรี เป็นสมญาของมัมมา ผู้ดูแลยัญของพาพา มาเตศวรี มาจากคำว่า มาตา หมายถึง มารดา กับ อิศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง |
336 | ราช-ราเชศวรี | ราช-ราเชศฺวรี | राज-राजेश्वरी ![]() | ![]() Rāj-rājeśvarī | ราช-ราเชศวรี เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นอาตมาในร่างหญิง หมายถึง ผู้ได้รับราชจากอิศวร นั่นคือ อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลก เป็นมหารานีของรานีทั้งหมด ราเชศวรี มาจากคำว่า ราช หมายถึง อำนาจในการปกครอง และ อิศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง หมายถึง ผู้กลายเป็นมหารานี อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
343 | ราเธ | ราเธ | राधे ![]() | ![]() rādhe | มัมมา คือ แม่ของยัญ ผู้เล่นบทบาทที่สำคัญยิ่ง ตั้งแต่เริ่มต้นยัญ ในปี พ.ศ. 2479 จนถึง พ.ศ. 2508 ทั้งนี้ มัมมาได้รับสมญาว่า สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น ซึ่งจะกลายเป็น ราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ |
434 | สรัสวดี | สรสฺวตี | सरस्वती ![]() | ![]() Sarasvatī | เทวีแห่งวิทยา ดนตรี และ ศิลปวิทยาของฮินดูธรรม แท้จริงแล้ว สรัสวดี คือ พรหมากุมารี ลูกสาวของพรหมาในสังคมยุค ในหนทางภักดี ได้มีการแสดงวีณาไว้กับสรัสวดี ผู้เป็นเทวีแห่งวิทยา นั่นคือ บทบาทของมัมมา ที่ให้ความรู้ของพาพาแก่ผู้อื่น และได้รับสมญาว่าสรัสวดี ส่งเสียงดนตรีที่เปรียบกับความรู้ ในมุรลีพาพากล่าวว่า ได้มีการแสดงสิตารไว้กับสรัสวดี เนื่องด้วย มัมมาเล่นสิตารในชีวิตจริง สิตาร เป็นเครื่องดนตรีของฮินดูสถานประเภทเครื่องสาย สำหรับดนตรีคลาสสิก ที่อยู่ในกลุ่มด้วยกับวีณา (คล้ายพิณใหญ่ของไทย) สรัสวดี ภาษาไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี |
443 | สิตาระ | สิตาร์ | सितार ![]() | sitār | สิตาร์ เป็นเครื่องดนตรีของฮินดูสถานประเภทเครื่องสาย สำหรับดนตรีคลาสสิก ที่อยู่ในกลุ่มด้วยกับวีณา (คล้ายพิณใหญ่ของไทย) ในหนทางภักดีได้มีการแสดงวีณาไว้กับสรัสวดี ผู้เป็นเทวีแห่งวิทยา แท้จริงแล้ว เป็นบทบาทของมัมมาของสังคมยุคนี้ ที่ให้ความรู้ของพาพาแก่ผู้อื่น และได้รับสมญาว่าสรัสวดี ผู้เล่นวีณา ส่งเสียงดนตรีที่เปรียบกับความรู้ แต่ในมุรลี พาพากล่าวว่าได้มีการแสดงสิตาร์ไว้กับสรัสวดี เนื่องด้วย มัมมาเล่นสิตาร์ในชีวิตจริง |