Top


พจนานุกรมภาษาฮินดี-ไทย-อังกฤษ จากมุรลีที่ใช้ในภาษาไทยและเกี่ยวข้องกับภาษาไทย



สารจาก
ทาทีชานกี
ทีทีนิรมล
ทีทีศีลู


last update: May 07 2025 12:01
รับฟังย้อนหลัง คลิกที่นี่

ประเด็นตอนต้น
และท้ายของมุรลี



วรทาน

ศรีมัทภควัทคีตา
สัตวจนะ - ข้อคิดประจำวัน

"เสี่ยงพร" ได้ที่นี่

วีดีโอบทการทำสมาธิของราชโยคะ


วีดีโอเพลงประกอบความรู้ของราชโยคะ


รับชม "วีดีโอพร" ได้ที่นี่

อุทยานพระพรหม

ยาตราย้อนรอยประวัติศาสตร์
และภูมิศาตร์โลก


สารจากผู้จัดทำ

ติดต่อ

ตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาฮินดี

  คลิกเพื่อรับชมวีดีโอญาณ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด  

สารบัญ - ประเภทของคำศัพท์ (คลิกเพื่อดู)
  1. ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Brahma Kumaris World Spiritual University
  2. สี่วิชา – อลังการของวิษณุ Four Subjects - Decorations of Vishnu
  3. มุรลี และ ญาณ Murli and Gyan
  4. องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา Faculties, Abilities of Soul องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา
  5. นามของบรมบิดา บรมาตมา Names of the Supreme Father, Supreme Soul
  6. การยกย่องสรรเสริญของศิวพาพาในสังคมยุค Shiv Baba’s Praise at the Confluence Age
  7. มาลา – สายลูกประคำ Rosaries
  8. ตัวละครในมหาภารตะ รามายณะ และภาควัต พร้อมทั้งคำอธิบายนามของตัวละครตามญาณของพาพา Characters of Mahabharat, Ramayan, and Bhagawad including Explanation of their Names according to Baba's Gyan
  9. เรื่องเล่า ตัวละคร พิธีกรรม และนามต่างๆ ของหนทางภักดีและโดยทั่วไป ที่กล่าวไว้ในมุรลี General and Bhakti Path Stories, Characters, Rituals and Names mentioned in Murlis
  10. ธรรม ผู้สถาปนาธรรม คุรุ และคัมภีร์ต่างๆ ของหนทางภักดีที่กล่าวไว้ในมุรลี Religions, Religion Founders, Gurus and Scriptures of Bhakti Path mentioned in Murlis
  11. เทศกาลในหนทางภักดีที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Bhakti Festivals related to the Confluence Age
  12. สถานที่ เมือง รัฐ และพลเมืองต่างๆ ที่กล่าวไว้ในมุรลี Places, Towns, States and Citizens mentioned in Murlis
  13. วัดและอนุสรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Temples, Memorials related to the Confluence Age
  14. สมญาของยุคทองที่ใช้ในมุรลี Titles of the Golden age used in Murlis
  15. วรรณะ วงศ์ พงศ์ Dynasties
  16. ประชาบิดา พรหมา Prajapita Brahma
  17. การยกย่องสรรเสริญของศรีกฤษณะในหนทางภักดี Praise of the Deity Shri Krishna
  18. นักแสดงหลักในละครโลก Main Actors in the World Drama
  19. มรดกของบรมบิดา Inheritance of the Supreme Father
  20. สมญาของครอบครัว Family Titles
  21. สมญาเพื่อความเคารพในตนเอง Titles for Self-Respect
  22. ดอกไม้ Flowers
  23. ผู้บริหารและผู้อาวุโสของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Administrators and Seniors of Prajapita Brahma Kumaris World Spiritual University
  24. สภาพต่างๆ และ การฝึกฝน เพ่งเพียรปฎิบัติของอาตมา Spiritual Stages and Effort
  25. ละครโลก กัลป์ และยุคต่างๆ World Drama, Kalpa and Yugs
  26. ชัคทัมพา สรัสวดี Jagadamba Saraswati
  27. กรรมและผลของกรรม Karma Philosophy
  28. สามโลก และธาตุของธรรมชาติ The Three Worlds and Elements of Nature
  29. เบ็ดเตล็ด Miscellaneous
กลับสู่หน้าหลัก Main page
ประเภทที่แสดง --> 24. สภาพต่างๆ และ การฝึกฝน เพ่งเพียรปฎิบัติของอาตมา Spiritual Stages and Effort

ใส่คำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม
ปิด-เปิด Column ที่ต้องการ 12345
No.1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป 3. ภาษาฮินดี 4. อักษรโรมัน 5. ความหมายในภาษาไทย
13อนาสักติอนาสกฺติअनासक्ति anāsaktiอนาสักติ หมายถึง การละวาง ไม่ผูกพันยึดมั่น

พาพาใช้คำว่า อนาสักติ คู่กับ อาสักติ ที่หมายถึง ความผูกพันยึดมั่น การพึ่งพิง
14อนุชนกอนุชนกअनुजनक AnuJanakพาพาได้ลงมายังโลกมนุษย์ในสังคมยุค เพื่อทำให้อาตมากลับมาปุรุโษตตมะ นั่นคือ เป็นผู้ที่สูงสุดของทั้งกัลป์ ดังนั้น อาตมาของสังคมยุคจึงมีความยิ่งใหญ่และสภาพสูงกว่าอาตมาของสัตยุค

พาพากล่าวว่า ชนกของสังคมยุคก็จะกลายเป็นอนุชนกในสัตยุค หมายถึง ความยิ่งใหญ่และสภาพที่น้อยกว่า หรือ รองลงมาจากสังคมยุค

อนุ แปลว่า เล็ก น้อย ตามมา ภายหลัง

ตามคัมภีร์แล้ว ชนก คือ ราชา และ เป็นบิดาของสีดา ผู้ใช้ชีวิตอย่างเป็นกรรมโยคี ที่ละวาง ด้วยอาตมอภิมานะ และได้รับชีวันมุกติในหนึ่งวินาที
16อันตรยามี (อ่านว่า อัน-ตะ-ระ-ยา-มี)อนฺตรฺยามีअन्तर्यामी Antaryāmīอันตรยามี เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่ล่วงรู้ทุกสิ่งข้างในตนเองทั้งหมด นั้่นคือ ผู้ที่รู้ญาณทั้งหมด แต่ในหนทางภักดี เข้าใจว่าท่านเป็นผู้ล่วงรู้ความลับภายในของทุกคน

พาพา ใช้เปรียบเทียบกับคำว่าพาเหียรยามี ที่มีความหมายตรงกันข้ามกับอันตรยามีในแง่ของ พาพา คือ อันตรยามี ผู้ที่ล่วงรู้ทุกสิ่งข้างในตนเองทั้งหมด นั่นหมายถึง ผู้ที่รู้ญาณทั้งหมด รวมถึงสิ่งที่ลูกทำอย่างซ่อนเร้นไว้ และ พรหมา คือ พาเหียรยามี ผู้ที่รู้สิ่งที่เกิดขึ้นในยัญ

อันตรยามี มาจากรากฐานคำว่า อันตร แปลว่า ภายใน และ พาเหียรยามี มาจากรากฐานคำว่า พาหระ หรือ พาหิระ แปลว่า ภายนอก
17อปมานอปมานअपमान apamānอปมาน หมายถึง การดูหมิ่น การดูถูก

อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน จากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย

พาพา ใช้คำ อปมาน พ้องกับคำ อภิมานะ นั่นหมายถึง ลูกรู้สึกว่าตนเอง ถูกดูหมิ่น ดูถูก เมื่อลูกมีความหลงทะนงตน จากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย
19อภิมานะอภิมานअभिमान abhimānอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน จากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย

อปมาน หมายถึง การดูหมิ่น การดูถูก

พาพา ใช้คำ อปมาน พ้องกับคำ อภิมานะ นั่นหมายถึง ลูกรู้สึกว่าตนเอง ถูกดูหมิ่น ดูถูก เมื่อลูกมีความหลงทะนงตน จากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย
26อเลากิกอเลากิกअलौकिक alaukikสภาพและสิ่งที่เกี่ยวกับอาตมาในทางละเอียดอ่อน ไม่ใช่ทางโลก หรือร่างกายภายนอก
29อวยักตะ (อ่านว่า อะ-วะ-ยัก-ตะ)อวฺยกฺตअव्यक्त avyaktอวยักตะ คือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) หรือ ผริศตา ที่ไม่ใช่วยักตะ หรือ สาการ

ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย
31อวยภิจารี (อ่านว่า อะ-วฺยะ-พิ-จา-รี)อวฺยภิจารีअव्यभिचारी
avyabhicārī
วยภิจารี หมายถึง การนอกใจ เป็นชู้ การมีหลายสิ่ง หลายอย่าง และ อวยภิจารี หมายถึง มีเพียงผู้เดียว ไม่มีผู้อื่นใด ซึ่งตรงข้ามกับวยภิจารี

ศิวพาพากล่าวว่า เมื่อลูกเริ่มทำอวยภิจารี ภักดี ในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) ลูกได้ทำให้กับศิวะเพียงผู้เดียว ด้วยความรักและศรัทธาและใช้ทรัพย์สมบัติที่ พาพาทำให้ลูกมั่งคั่งจากสังคมยุค เพราะว่าลูกมีญาณ การจดจำระลึกถึง เสวา ธารณา และทุกสิ่งเป็นอวยภิจารีกับพาพาเท่านั้น แต่ในเวลาต่อมาลูกก็ทำภักดีให้กับสิ่งอื่นนอกเหนือจากศิวะ เช่น ลักษมี นารายณ์ เหล่าเทพ จนกระทั่ง ทำให้กับมนุษย์และวัตถุธาตุ นั่นเรียกว่า วยภิจารี ภักดี ลูกจึงกลับมามีธรรมและกรรมที่ภรัษฏะ หมายถึง ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และยากจนข้นแค้น

ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา
32อสรีรีอสรีรีअशरीरी aśrīrīอาตมาขณะที่อยู่ในร่าง แต่ละวางจากร่าง ไม่ได้ใช้ร่างทำกิจกรรม เช่น ขณะที่นั่งสมาธิหรือการนอนหลับ

สรีระ หมายถึง ร่างกาย
38อาการอาการआकार ākārในราชโยคะ อาการ หมายถึง สภาพอวยักตะ เป็นแสงที่ละเอียดอ่อน ที่อยู่เหนือร่างกาย วัตถุภายนอก นั่นคือ ผริศตา

ในทางโลก อาการ หมายถึง รูปร่าง ร่างกาย วัตถุภายนอกที่เห็นและจับต้องได้

ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย
39อาตมอภิมานะ (อ่านว่า อาด-ตะ-มะ-อะ-พิ-มา-นะ)อาตฺม อภิมานआत्म अभिमान ātma abhimānอาตมอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนที่บริสุทธิ์จากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นอาตมาแทนการเป็นร่างกาย

อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย
40อาตมิกภาวะอาตฺมิก ภาวआत्मिक भाव ātmik bhāvความรู้สึก นึกคิด การเข้าใจบนพื้นฐานของญาณ ว่าตนเองและผู้อื่นเป็นอาตมา

อาตมิก มาจากคำว่า อาตมา

ภาวะ หมายถึง ความรู้สึก นึกคิดเป้าประสงค์ เจตนา เป็นต้น
47อาสักติอาสกฺติआसक्ति āsaktiอาสักติ หมายถึง ความผูกพันยึดมั่น การพึ่งพิง

พาพาใช้คำว่า อาสักติ คู่กับ อนาสักติ ที่หมายถึง การละวาง ไม่ผูกพันยึดมั่น
50เอกนามีเอกนามีएकनामी Ekanāmīจดจำนามของผู้เดียว หมายถึง จดจำศิวพาพาเพียงผู้เดียว

เอกนามี มาจากคำว่า เอก หมายถึง หนึ่งเดียว นามี หมายถึง นามของ
51เอกาครตาเอกาคฺรตาएकाग्रता
exāgratā
เอกาครตา มาจากคำว่า เอก หมายถึง หนึ่งเดียว สิ่งเดียว กับ อครตะ หมายถึง ข้างหน้า

ในราชโยคะ เอกาครตา คือ การมีพาพาเพียงผู้เดียว หรือ เป้าหมายที่พาพาต้องการให้ลูกเป็นเท่านั้นอยู่ข้างหน้า
52เอกานตะ/เอกานต์เอกานฺตएकान्त
ekānt
เอกานต์ มาจากคำว่า เอก หมายถึง หนึ่งเดียว สิ่งเดียว กับ อันต์ หมายถึง สุดท้าย จุดจบ เป้าหมาย

ในราชโยคะ เอกานต์ คือ การเข้าไปสู่ความลึกล้ำและหลอมรวมกับพาพาเพียงผู้เดียวที่เป็นเป้าหมาย ถึงแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนก็ตาม นั่นคือสภาพสันโดษของอาตมา
58กรันหาระ (อ่านว่า กะ-รัน-หา-ระ)กรนหารकरनहार karanahārผู้กระทำงานใดๆ ด้วยการเข้าใจว่าตนเอง เป็นเครื่องมือของพาพา

กร แปลว่า ผู้ทำ ผู้ก่อ
60กราวันหาระ (อ่านว่า กะ-รา-วัน-หา-ระ)กราวนหารकरावनहार karāvanahārผู้ที่ทำให้เกิดการกระทำงานใดๆ ด้วยผู้อื่น

กร แปลว่า ผู้ทำ ผู้ก่อ และ กรา แปลว่า ผู้ที่ทำให้เกิดการกระทำงานใดๆ ด้วยผู้อื่น
64กรรมโยคีกรฺมโยคีकर्मयोगी karmayogīผู้ทำกรรมโยคะ หมายถึง การกระทำขณะอยู่ในโยคะ นั่นคือ จดจำระลึกถึง บรมบิดา บรมาตมา
65กรรมาตีต/กรรมาดีตกรฺมาตีตकर्मातीत
karmātīt
กรรมาดีต มาจากคำว่า กรรมหมายถึงการกระทำ กับอดีตหมายถึงการอยู่เหนือ การข้ามผ่าน

กรรมาดีต หมายถึง การอยู่เหนือผลของกรรมที่ทำ ไม่ใช่การอยู่เหนือกรรมที่ไม่ต้องทำกรรม แต่เป็นการอยู่เหนือพันธนะของกรรมที่ทำ และไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลขณะที่ทำกรรมด้วยอวัยวะทางร่าง เพราะอาตมา คือ นายของร่างกาย

ด้วยความเข้าใจและคิดว่าพาพา ผู้ที่ทำทุกสิ่งด้วยลูก นั่นคือ ใช้ลูกเป็นเครื่องมือในการทำ ลูกจึงไม่ถูกดึงดูดไปสู่การกระทำนั้น แต่อยู่อย่างละวางและมีความรัก
101คุณคุณगुण
guṇ
คุณ มีสองความหมาย 1) คุณสมบัติที่ดี กุศล ประเสริฐ ได้แก่ ทิพยคุณ 2) อาถรรพ์ คือ พิธีทําร้ายต่ออมิตร เรียกกันว่า กระทําคุณ และผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ คุณไสย นั่นหมายถึง สิ่งที่ไม่ดีงาม ได้แก่ อสุรีคุณ ที่เป็นคุณสมบัติของอสูร บนพื้นฐานของกิเลส

ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา
136ชานันหาระชานนหารजाननहार Jānanahārชานันหาระ หมายถึง ผู้ล่วงรู้ทุกสิ่ง
149ตปัสยาตปสฺยาतपस्या tapasyāตปัสยา หมายถึง การทำตบะ ฝึกฝนเพ่งเพียรของอาตมาด้วยความมุ่งมั่นและจริงจัง เพื่อขจัดกิเลสและเผาบาปออกไป

คำว่า ตปัสยา มีรากศัพท์มาจากคำว่า ตป นั่นคือ ตบะ
151ตโมคุณีตโมคุณีतमोगुणी tamoguṇīผู้ที่มีคุณสมบัติตโม หมายถึง สภาพของอาตมาที่อยู่ในความมืด ความเศร้าหมอง ความเขลา นั่นคือ ความตกต่ำ และไม่บริสุทธิ์

ตโมคุณี มาจากคำว่า ตโม หมายถึง ความมืด ความเศร้าหมอง ความเขลา กับคำว่า คุณี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติ
152ตโมประธานตโมปฺรธานतमोप्रधान tamopradhānตโมประธาน คือ สภาพของอาตมาที่อยู่ในความมืด ความเศร้าหมอง ความเขลา นั่นคือ ความตกต่ำ และ ไม่บริสุทธิ์ เป็นหลักเหนือสภาพ รโช และ สโต

ตโม แปลว่า ความมืด ความเศร้าหมอง ความเขลา และ ประธาน แปลว่า เป็นหลักหรือใหญ่ในหมู่หรือกลุ่ม
153ดิลกติลกतिलक
tilak
ในฮินดูธรรม ดิลกเป็นรอยแต้มหรือเจิมทำพิธิที่หน้าผากเพื่อเป็นมงคล

พาพาบอกลูกว่า แต้มดิลกให้กับตนเอง นั่นคือ การรู้ว่าตนเองเป็นอาตมา และกลับมามีอำนาจในการปกครองตนเอง ดังนั้นดิลกจึงเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ
162ทยาทยาदया Dayāความเมตา ความกรุณา ความสง่างาม
163ทรรศนะ/ทัศนะทรฺศนदर्शन
darśan
ทรรศนะ/ทัศนะ เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การเห็น การมองเห็นในทางธรรม นั่นคือ การเห็นรูปเคารพหรือภาพของเทวี เทวดา เหล่าเทพ หรือผู้ที่อยูในหนทางธรรมที่บริสุทธิ์ และยึดเก็บสิ่งนั้นไว้ในจิตใจ
170ทิพยทฤษฎีทิวฺยทฺฤษฺฏิदिव्यदृष्टि
divyadṛṣṭi
ทิพยทฤษฎี คือ การเห็นสากษาตการ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นอาการหรือสภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อนอยู่ข้างหน้า ไม่ใช่วัตถุที่จับต้องได้ โดยศิวพาพามีกุญแจที่ให้ทิพยทฤษฎีแก่ลูกและภักตะที่เต็มไปด้วยภาวนาอย่างแรงกล้า ทั้งนี้ ลูกของพาพาก็สามารถได้รับทิพยทฤษฎีด้วยดวงตาที่สาม นั่นคือ ทิพยจักษุจากพุทธิที่มีญาณเป็นพื้นฐาน

ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น ทิพย์ หมายถึง สิ่งที่ได้รับจากศิวพาพาเป็นอาการ หรือ สภาพอวยักตะทีละเอียดอ่อน

สากษาตการ มาจากคำว่า สากษาต หมายถึง ปรากฏอยู่ข้างหน้า กับ อาการ หมายถึง สภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อน
177ทุรคาทุรฺคาदुर्गा
Durgā
ทุรคา เทวีแห่งศักดิ์และความแข็งแกร่ง และเป็นที่รู้จักกันในนามว่า เทวีนักรบ

ทุรคาได้รับการเรียกว่า แม่ที่เต็มพร้อมไปด้วยทิพยคุณ และให้การหล่อเลี้ยงทำให้ทุกอาตมาสมปรารถนาในทุกสิ่ง และให้การปกป้องมวลมนุษย์จากความชั่วร้ายและความทุกข์ยาก ด้วยการทำลายกำลังชั่วร้ายและให้โทษเช่น ความเห็นแก่ตัว ความอิจฉาริษยา ความอคติ ความเกลียดชัง ความโกรธ ความหลงทะนงตน เป็นต้น

ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา
180ทฤษฎีทฺฤษฺฏิदृष्टि
dṛṣṭi
ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น นั่นคือ การแลกเปลี่ยนคลื่นกระแสผ่านดวงตา
183เทหอภิมานะ (อ่านว่า เท-หะ-อะ-พิ-มา-นะ)เทห อภิมานदेह अभिमान
deh abhimān
เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน

พาพาให้ลูกกลับมาอยู่อย่างอาตมอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนที่บริสุทธิ์จากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นอาตมาแทนการเป็นร่างกาย ซึ่งตรงกันข้ามกับเทหอภิมานะ
184เทฮีอภิมานะเทฮี อภิมาน देही अभिमान
dehī abhimān
เทฮีอภิมานะ หมายถึง ความเข้าใจและยึดถือว่าตนเองเป็นอาตมาขณะที่อยู่ในร่างกาย

เทฮี หมายถึง อาตมาขณะที่อยู่ในเทห์ (ร่างกาย)
191ธารณาธารณาधारणा dhāraṇāธารณา เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การทรงไว้ การยึดไว้ในจิตใจ นั่นคือ การยึดมั่นคำสอนของพาพาไว้ เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต หรือนำไปฝึกฝนจนเป็นรูปในทางปฏิบัติ และกลายเป็นธรรมของตนเอง

ธารณา เป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ ที่แสดงด้วยเครื่องประดับ กมล หรือ ปัทม์ ในหัตถ์ซ้ายล่างของวิษณุในหนทางภักดี หมายถึง การใช้ชีวิตอยู่ในโลกอย่างบริสุทธิ์ ด้วยความรักและละวาง แม้ขณะอยู่ในโลกที่ตกต่ำและไม่บริสุทธิ์นี้

วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน นั่นหมายถึง รูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาของราชโยคะ

จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน

กมล หรือ ปัทม์ หมายถึง ดอกบัว
194ฌาน (บาลี)/ธยานะ/ธยาน (สันสกฤต, ฮินดี)ธฺยานध्यान dhyānในความหมายของพาพา คือ การตั้งใจ ใส่ใจ และ การเข้าฌาน แต่ในทางโลก หมายถึง การเพ่งรวม การจดจ่อ การทำสมาธิ
197นิราการนิราการनिराकार
Nirākār
นิราการ หมายถึง ปราศจากร่าง ไม่มีทั้งสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) และอาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) นั่นคือ อาตมาอยู่ในรูปดั้งเดิมที่บรมธามะ

นิราการ มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี รวมกับคำว่า สาการ และ อาการ
200นิรมาณนิรฺมาณनिर्माण nirmāṇนิรมาณ หมายถึง การสร้าง งานสร้าง ผลิตผล

พาพา ใช้คำ นิรมาน พ้องกับคำ นิรมาณ หมายถึง พาพาให้ลูกอยู่อย่าง ถ่อมตนในงานเสวาของพาพา เพื่อการสร้างโลกใหม่

นิรมาน หมายถึง ความถ่อมตน ปราศจากการถือรั้น ไม่มีความดื้อดึง ไม่ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ ไม่เย่อหยิ่งจองหอง มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี และ มานะ แปลว่า เคารพ ชื่อเสียง ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ เย่อหยิ่งจองหอง

พาพากล่าวว่า ลูกจะได้รับความเคารพเมื่ออยู่อย่างนิรมาน นั่นคือ ไม่มีความปรารถนาที่จะได้รับเคารพ ชื่อเสียง เกียรติ ใดๆ ไม่ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ เย่อหยิ่งจองหอง
201นิรมานนิรฺมาน निर्मान nirmānนิรมาน หมายถึง ความถ่อมตน ปราศจากการถือรั้น ไม่มีความดื้อดึง ไม่ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ ไม่เย่อหยิ่งจองหอง มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี และ มานะ แปลว่า เคารพ ชื่อเสียง ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ เย่อหยิ่งจองหอง

พาพากล่าวว่า ลูก จะได้รับความเคารพ เมื่ออยู่อย่างนิรมาน นั่นคือ ไม่มีความปรารถนาที่จะได้รับเคารพ ชื่อเสียง เกียรติ ใดๆ ไม่ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ เย่อหยิ่งจองหอง

พาพาใช้คำ นิรมาน พ้องกับคำ นิรมาณ นั่นหมายถึง พาพาให้ลูกอยู่อย่างถ่อมตนในงานเสวาของพาพา เพื่อการสร้างโลกใหม่

นิรมาณ หมายถึง การสร้าง งานสร้าง ผลิตผล
202นฤพาน (สันสกฤต)/นิพพาน (บาลี)นิรฺวาณ (สันสกฤต)/นิพฺพาน (บาลี)निर्वाण
nirvāṇ
นิรฺวาณ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง การอยู่เหนือเสียง มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี หมดไป และ วาณี แปลว่า เสียง การ พูด นั่นหมายถึง สภาพของบรมธามะ บ้านของอาตมา

ในภาษาไทยมีการเขียนคำนิรฺวาณว่า นฤพาน หรือ นิพพาน ที่หมายถึงการหลุดพ้นตลอดไป โดยไม่ต้องกลับมาเล่นบทบาทในวงจรละครโลก

พาพากล่าวว่า ทุกอาตมามีบทบาทที่บันทึกอยู่ในอาตมา และต้องลงมาเล่นบทบาทตามเวลาของตนเองในวงจรละครโลกนี้
203นิพฤติมรรค (อ่านว่า นิ-พฺรึด/นิ-พฺรึด-ติ-มัก) นิวฺฤตฺติ มารฺคनिवृत्ति मार्ग nivṛtti mārgนิพฤติมรรค หมายถึง หนทางที่ไม่มีการประพฤติร่วมกับผู้อื่น

ในราชโยคะ นิพฤติมรรค หมายถึง สันนยาสี ผู้อยู่ในหนทางการใช้ชีวิตสันโดษ ที่แยกตนเองออกไปอยู่โดยลำพังและสละละทิ้งทางโลก ซึ่งตรงข้ามกับที่พาพาให้ลูกอยู่ในประพฤติมรรค นั่นคือ หนทางการใช้ชีวิตในครอบครัวที่ต้องประพฤติในความสัมพันธ์ต่างๆ กับคนในครอบครัว แต่อยู่อย่างบริสุทธิ์และละวางเช่นดอกบัว

นิพฤติ หมายถึง สันโดษ การเกษียณอายุ ประพฤติ หมายถึง ปฏิบัติ วางตน กระทำ ดำเนินตน และ มรรค หมายถึง หนทาง

สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ
204เนษฐาเนษฺฐาनेष्ठा neṣṭhāในราชโยคะ เนษฐา คือ การทำสมาธิที่มีผู้นำอยู่ข้างหน้าให้ทฤษฎีและกระแสศักดิ์ ทำให้เชื่อมโยงและจดจำอยู่กับบรมบิดา บรมาตมา ผู้เดียว
207ปัทมาปัทม์ปทมาปทมपदमापदम Padmāpadmปัทม์ เป็นมาตรานับในอินเดียโบราณ โดย 1 ปัทม์เท่ากับ 10 โกฎิโกฎิ (1 โกฎิเท่ากับ 10 ล้าน) หรือในทางสากลเรียกว่า พันล้านล้าน (1,000,000,000,000,000 หมายถึงเลข 1 ซึ่งเติม 0 อีก 15 ตัว)

ศิวพาพากล่าวว่า ทุกย่างก้าวของลูกในสังคมยุคนั้น มีค่าเป็นปัทม์ของปัทม นั่นคือ ปัทมาปัทม์ หมายถึง มากมายจนไม่สามารถนับได้

ปัทม์ ยังหมายถึง บัวหลวง ซึ่งเปรียบกับการใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์ ขณะที่อยู่อย่างมีความรักและละวาง โดยส่วนใหญ่แล้ว พาพาใช้คำว่า กมล หมายถึง ดอกบัว
208ปัทม์ปทฺมपद्म
padm
ปัทม์ เป็นมาตรานับในอินเดียโบราณ โดย 1 ปัทม์เท่ากับ 10 โกฎิโกฎิ (1 โกฎิเท่ากับ 10 ล้าน) หรือในทางสากลเรียกว่า พันล้านล้าน (1,000,000,000,000,000 หมายถึงเลข 1 ซึ่งเติม 0 อีก 15 ตัว)

ศิวพาพากล่าวว่า ทุกย่างก้าวของลูกในสังคมยุคนั้น มีค่าเป็นปัทม์ นั่นคือมากมายจนไม่สามารถนับได้

ปัทม์ ยังหมายถึง บัวหลวง ซึ่งเปรียบกับการใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์ ขณะที่อยู่อย่างมีความรักและละวาง โดยส่วนใหญ่แล้ว พาพาใช้คำว่า กมล หมายถึง ดอกบัว
209ปรจินตนะปรจินฺตนपरचिंतन paracintanการคิดเกี่ยวกับผู้อื่น

ปรจินตนะ มาจากคำว่า ปร แปลว่า อื่น กับ จินตนะ แปลว่า ความคิด เกี่ยวกับความคิด

ปร อ่านว่า ปะระ/ปอระ
210ปรมตะ/ปรมัตปรมตपरमत paramatการทำตามความคิด การกำหนด และหนทางของผู้อื่น

ปรมัต มาจากคำว่า ปร หมายถึง อื่น กับ มัต มาจากรากศัพท์คำว่า มติ หมายถึง ความคิด การกำหนด หนทาง
233ประสาทปฺรสาทप्रसाद
prasād
ในหนทางภักดี ประสาท หรือ ประภูประสาท โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงอาหาร ที่ถวายให้กับประภู แล้วเชื่อกันว่าอาหารนั้นเต็มไปด้วยกระแสศักดิ์จากประภู เหมือนเป็นของทิพย์ แท้จริงแล้ว ทุกสิ่งที่เราจดจำเสมอว่าเป็นของที่เราได้รับจากประภู นั่นคือ ประสาท

ประภู เป็นอีกนามหนึ่งของบรมบิดา บรมาตมา

ประสาท หมายถึง โปรดให้ ยินดีให้
247พาหรยามี/พาเหียรยามีพาหรยามีबाहरयामी bāharayāmīพาเหียรยามี หมายถึง ผู้ที่รู้หรือสนใจสิ่งภายนอก นอกตนเอง

พาเหียรยามี มาจากรากฐานคำว่า พาหระ หรือ พาหิระ แปลว่า ภายนอก

พาพาบอกว่า ลูกไม่ควรเป็นพาเหียรยามี และใช้เปรียบเทียบกับคำว่าพาเหียรยามี ที่มีความหมายตรงกันข้ามกับอันตรยามีในแง่ของ พาพา คือ อันตรยามี ผู้ที่ล่วงรู้ทุกสิ่งข้างในตนเองทั้งหมด นั่นคือ ผู้ที่รู้ญาณทั้งหมด รวมถึงสิ่งที่ลูกทำอย่างซ่อนเร้นไว้ และ พรหมา คือ พาเหียรยามี ผู้ที่รู้สิ่งที่เกิดขึ้นในยัญ แต่ในหนทางภักดีเข้าใจว่า พาพาเป็นผู้ล่วงรู้ความลับภายในของทุกคน

อันตร แปลว่า ภายใน
272ภัฏฐีภฏฺฐีभट्ठी bhaṭṭhīภัฏฐี คือ เตาเผาที่ร้อนแรง ที่สามารถแยกโลหะหรือสิ่งเจือปนออกจากทองคำ นั่นคือ ทำให้บางสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากของเดิมเมื่อใส่ลงไปในภัฏฐี

พาพากล่าวว่า เมื่อลูกนั่งอยู่ในภัฏฐีที่เปรียบกับอัคนีของโยคะ ลูกก็สามารถขจัดบาปในอาตมาออกไป เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับมาบริสุทธิ์ และมีสภาพที่ขึ้นสูงได้
285โภคีโภคีभोगी bhogīโภคี หมายถึง ผู้ที่หมกมุ่นอยู่กับความสุขจากประสาทสัมผัสทางร่าง เป็นคำที่ตรงข้ามกับโยคี

โยคี หมายถึง ผู้มีโยคะกับบรมบิดา บรมาตมา และมีความสุขเหนือประสาทสัมผัส
288มนตร์ (สันสกฤต)/มนต์ (บาลี) มนฺตฺระमंत्र mantraในหนทางภักดี มนตร์ คือ คําศักดิ์สิทธิ์ สําหรับท่องสวดเพื่อเป็นสิริมงคล และทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับคำนั้นๆ

พาพา ได้ให้มนตร์หลักแก่ลูก คือ มนมนาภวะ และ มัธยาชีภวะ ที่จดจำด้วยพุทธิ ไม่ต้องท่องสวดใดๆ
290มัธยาชีภวะ (อ่านว่า มัด-ทะ-ยา-ชี-พะ-วะ)มธฺยาชี ภวमध्याजी भव madhyājī bhavมัธยาชีภวะ มาจากพื้นฐานคำว่า มัธยะ แปลว่า กลาง ระหว่างกลาง นั่นหมายถึง วิษณุผู้ที่อยู่ตรงกลางของภาพตรีมูรติ

พาพาให้ลูกจดจำวิษณุเป็นเป้าหมายที่ลูกต้องเพียรพยายาม เพื่อจะกลายเป็นเช่นนั้นในอนาคต
292มนมตะ/มนมัตมนมตमनमत manamatการทำตามความคิด การกำหนดหรือหนทางของจิตใจตนเอง

มนมัต มาจากคำว่า มน หมายถึง ใจ จิตใจ กับ มัต มาจากรากศัพท์คำว่า มติ หมายถึง ความคิด การกำหนด หนทาง
293มนรสมนรสमनरस manarasพาพากล่าวว่า ในหนทางของญาณ ลูกรับฟังญาณที่เป็นสัตย์ด้วยมนรส นั่นคือ ความไพเราะ ความสุข และความซาบซึ้งจากข้างในอาตมาด้วยความเข้าใจ โดยพาพาเปรียบเทียบมนรสกับสิ่งที่ลูกรับฟังด้วยกันรสจากหนทางภักดี นั่นคือ ฟังรื่นหู เพลิดเพลินเท่านั้น

มน หมายถึง ใจ จิตใจ รส หมายถึง ความไพเราะ ความสุข ความเบิกบานใจ และ กาน หมายถึง หู
295มนมนาภวะ (อ่านว่า มน-มะ-นา-พะ-วะ)มนฺมนาภวमन्मनाभव manmanābhavมนมนาภวะ หมายถึง การคงจิตใจของลูกไว้กับฉัน (พาพา) ด้วยการหันเหจิตใจของลูกอยู่กับฉัน จดจำฉัน

มนมนาภวะ มาจากคำว่า มน หมายถึง จิตใจ มนา หมายถึง กับ (ฉัน) หรือ ใน (ฉัน) และภวะ หมายถึง การคงไว้
304มานสโรวระมานสโรวรमानसरोवर Mānsarovarมานสโรวระ ทะเลสาบน้ำจืด อยู่บนเขาไกรลาส เทือกเขาหิมาลัย ประเทศจีน

ในตำนานได้มีการกล่าวว่า ผู้ที่ดำลงไปในมานสโรวระจะได้รับการชำระล้างบาป ทำให้กลับมาบริสุทธิ์ นั่นคือ กลายเป็นปรี และผู้ที่ดื่มน้ำจากสระนี้ เมื่อตายแล้วจะได้ไปยังศิวาลัย

พาพากล่าวว่า แท้จริงแล้ว เมื่อลูกดำลงไปในญาณสโรวระ ทะเลสาบของญาณ แล้วจะกลายเป็นปรี นั่นหมายถึง ญาณของพาพา ไม่ใช่น้ำจากทะเลสาบ

นอกจากนี้ในตำนานฮินดู เชื่อกันว่า ทะเลสาบได้ถูกสร้างขึ้นมาในจิตใจของพรหมาเทวดาก่อน แล้วจึงปรากฏเป็นมานสโรวระ บนโลกนี้

มานสโรวระ เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต ประกอบด้วยคำว่า มาน หมายถึง มน แปลว่า ใจ จิตใจ กับ สโรวระ แปลว่า ทะเลสาบ

ปรี (ภาษาฮินดี) เหมือนกับผริศตา (ภาษาอูรดู) หมายถึงสภาพแสงและเบาที่บริสุทธิ์
305มาเมกมฺมาเมกมฺमामेकम्
māmekam
มาเมกมฺ หมายถึง ฉันผู้เดียวเท่านั้น

มาเมกมฺ มาจากคำว่า มามฺ คือ ฉัน และ เอกมฺ คือ ผู้เดียว

พาพา บอกลูกว่า จดจำ "มาเมกมฺ" หมายถึง จดจำฉันผู้เดียวเท่านั้น
313มฤคตฤษณา/มฤคตัณหา (อ่านว่า มะ-รึก-คะ-ตฺริด-สะ-หฺนา/ มะ-รึก-คะ-ตัน-หา)มฺฤคตฺฤษณาमृगतृष्णा
mṛgatṛṣṇā
ในราชโยคะ พาพาได้กล่าวยกตัวอย่างทุรโยธน์กับเรื่องราวมฤคตัณหา ที่หมายถึง กวาง ผู้กระหายน้ำ และเข้าใจผิดเห็นภาพลวงตาว่าเป็นแหล่งน้ำอยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ ทุรโยธน์ไม่เข้าใจในความจริงแท้ จึงติดกับและถูกหลอกลวงด้วยกิเลส ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนเองต้องการ ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ต่อธรรมและสัตย์ เหมือนกับผู้คนที่เข้าใจว่าโลกทุกวันนี้เป็นสวรรค์ ที่มีทุกอย่างและทำทุกสิ่งภายใต้กิเลสเพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่รู้ว่าสวรรค์คืออะไร

นอกจากนี้ พาพายังกล่าวโยงถึงเรื่องราวใน "มหาภารตะ" ระหว่างนางเทราปทีชายาของเหล่าปาณฑพกับทุรโยธน์ไว้ เนื่องจากเการพและปาณฑพเป็นพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพระราชวังเดียวกัน ที่ได้ออกแบบสร้างสระน้ำไว้ในห้องโถงของพระราชวัง และวันหนึ่ง ทุรโยธน์ได้เดินตกลงไปในสระน้ำ ด้วยการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพื้นทางเดิน นั่นก็เปรียบเทียบกับมฤคตัณหา โดยนางเทราปทีได้เห็นเหตุการณ์และหัวเราะขบขัน พร้อมกับกล่าวว่า พ่อตาบอด ลูกก็ตาบอดด้วย เพราะว่าทุรโยธน์เป็นลูกของท้าวธฤตราษฏร์ ผู้ตาบอด นั่นหมายถึง ผู้ที่พุทธิไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่สามารถแยกแยะธรรมกับอธรรม ความจริงกับความหลอกลวงได้ จึงเป็นต้นเหตุของความโกรธแค้นทำให้ทุรโยธน์สั่งทุหศาสันเปลื้องผ้านางเทราปที เมื่อครั้งที่ปาณฑพได้แพ้การพนันต่อและต้องยกนางเทราปทีให้เการพ

มฤค แปลว่า กวาง และ ตฤษณา คำไทยคือ ตัณหา ในความหมายนี้แปลว่า ความอยาก ความกระหายต่อน้ำ ในภาษาไทยใช้คำว่า พยับแดด หมายถึง เงาแดดที่ทำให้เกิดภาพลวงตา
315เมหันตะเมหนตमेहनत mehanatเมหันตะ หมายถึง ความเพียรพยายาม ความลำบากตรากตรำ และ มุหพัพตะ หมายถึง ความรัก

พาพาใช้คำ เมหันตะ พ้องกับคำ มุหพัพตะ นั่นหมายถึง เมื่อลูกมีความรักต่อพาพา แล้วลูกจะไม่มีความลำบากตรากตรำใดๆ
316เมหมานะเมหมานमेहमान mehamānเมหมานะ หมายถึง แขก ผู้มาเยือน

พาพาให้ลูกเข้าใจและอยู่ในการจดจำเสมอว่า ลูก เป็นแขกของโลกนี้ นั่นคือ ลูกมาเล่นบทบาทที่โลกนี้เพียงชั่วคราว และต้องกลับไปยังบรมธามะ บ้านของอาตมา
323ยุกติยุกต์ยุกฺติยุกฺตयुक्तियुक्त yuktiyuktการนำวิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ มาใช้อย่างถูกต้องตามเวลา สถานที่ บุคคล สถานการณ์ เป็นต้น

ยุกติยุกต์ มาจากคำว่า ยุกติ แปลว่า วิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ การผสมรวม และ ยุกต์ แปลว่า รวม ผสมผสาน ถูกต้อง เหมาะสม
325โยคยุกต์โยคยุกฺตयोगयुक्त Yogayuktผู้ที่มีโยคะเชื่อมต่อกับบรมบิดา บรมาตมาอย่างถูกต้องในทุกขณะ

โยคยุกต์ มาจากคำว่า โยคะ หมายถึง การรวมกัน การเชื่อมต่อ และ ยุกต์ แปลว่า รวม ผสมผสาน ถูกต้อง เหมาะสม
329รโชรโชरजो
rajo
รโช หมายถึง สภาพกึ่งบริสุทธิ์ของอาตมา ที่เริ่มมี เทหอภิมานะ ความอยาก ปรารถนาจากพื้นฐานของกิเลส

รโช แปลว่า ความอยาก ปรารถนา

เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน
330รโชคุณีรโชคุณีरजोगुणी rajoguṇīผู้ที่มีคุณสมบัติรโช

รโชคุณี มาจากคำว่า รโช หมายถึง สภาพกึ่งบริสุทธิ์ของอาตมา ที่เริ่มมี เทหอภิมานะ ความอยาก ปรารถนาจากพื้นฐานของกิเลส

รโช แปลว่า ความอยาก ปรารถนา กับคำว่า คุณี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติ

เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน
331รโชประธานรโชปฺรธานरजोप्रधान rajopradhānสภาพกึ่งบริสุทธิ์ของอาตมา ที่เริ่มมี เทหอภิมานะ ความอยาก ปรารถนาจากพื้นฐานของกิเลส ที่เป็นหลักเหนือสภาพสโตและตโม

รโช แปลว่า ความอยาก ปรารถนา ประธาน แปลว่า เป็นหลักหรือใหญ่ในหมู่หรือกลุ่ม

เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน
354รูอีรูอีरूई rūīปุยฝ้าย สำลี

พาพากล่าวว่า ชีวิตของลูก ผู้เป็นพราหมณ์ที่มีความเบาสบาย เช่น ปุยฝ้าย สำลี
355รูป วสันต์รูป พสนฺตरूप बसन्त Rūp Basantพาพา คือ รูป วสันต์ และทำให้ลูกเป็นรูป วสันต์ ด้วยเช่นกัน

รูป หมายถึง สภาพที่อาตมาเต็มไปด้วยศักดิ์ ในสวรูปของโยคะ และ วสันต์ หมายถึงญาณในรูปของฝนที่ตกลงมาให้กับผู้อื่น นอกจากนี้ วสันต์หมายถึง ฤดูใบไม้ผลิ นั่นคือ ญาณในรูปของฝนทำให้เกิดความสดชื่นและเขียวชอุ่มดังเช่นฤดูใบไม้ผลิ

สวรูป หมายถึง อาตมาได้มีคุณสมบัติและเกิดเป็นประสบการณ์ในทางปฏิบัติของรูปนั้น
356รูหะ รูหานะ/รูหะ ริหานะรูห รูหาน/รูห ริหานरूह रूहान/रूह रिहान rūha rūhān/rūha rihānรูหะ หมายถึง อาตมา ดังนั้น รูหะ รูหานะ หรือ รูหะ ริหานะ หมายถึง การสนทนาขณะอยู่ในอาตม อภิมานะ
357รูหานิยตะ (อ่านว่า รู-หา-นิ-ยะ-ตะ)รูหานิยตरूहानियत rūhāniyatรูหะ หมายถึง อาตมา ดังนั้น รูหานิยตะ หมายถึง การอยู่ในสภาพอาตมอภิมานะ ที่ก่อให้เกิดการส่งกระแสของความบริสุทธิ์และคุณสมบัติดั้งเดิมของอาตมาออกไป
363เลากิกเลากิกलौकिक laukikเกี่ยวกับโลกวัตถุ ร่างกายภายนอก สิ่งชั่วคราว
366วานปรัสถ์วานปรสฺถ वानप्रस्थ vānaprasthในราชโยคะ พาพากล่าวว่า วานปรัสถ์ หมายถึง สภาพของการอยู่เหนือเสียง ซึ่งขณะนี้เป็นเวลาสิ้นสุดของวงจร (กัลป์) ทุกอาตมาอยู่ในสภาพวานปรัสถ์ที่ต้องกลับไปยังนฤพานธามะ หรือ นิพพานธามะ นั่นคือ บ้านของอาตมา

ในฮินดูธรรม เป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่า วานปรัสถ์ เป็นช่วงเวลาหลักของชีวิต (หลังจากอายุ 60 ปี) เมื่อผู้ที่ครองเรือน ได้ผ่านช่วงเวลาคฤหัสถ์ หมายถึง การสร้างครอบครัวเป็นหลักฐานแล้ว ก็หันไปสู่การแสวงบุญกุศล เข้าป่าจำศีลถือพรตบำเพ็ญตบะ และอุทิศชีวิตให้กับภควาน

วาณี แปลว่า เสียง
369วิการ/พิการวิการविकार
vikār
ในราชโยคะ วิการ/พิการ หมายถึง กิเลส ที่ทำให้ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ ความผิดปกติ ความไม่สมประกอบในอาตมา

ความหมายทางโลกทั่วไปใช้กับร่างกาย ที่ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ ความผิดปกติ ความไม่สมประกอบ
371วิจาร สาครมันถนะวิจาร สาคร มนฺถนविचार सागर मंथन
vicār sāgar manthan
วิจาร สาครมันถนะ หมายถึง กวนเกษียรสมุทรด้วยการคิดไตร่ตรองญาณ

ในหนทางภักดีได้มีตำนานการกวนเกษียรสมุทรในภควัตปุราณะ ที่กล่าวว่าพระนารายณ์แนะนำให้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทร เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่ม ทำให้ชีวิตมีศักดิ์และไม่มีวันตาย แต่การจะกวนเกษียรสมุทรได้ จะใช้แค่ฝ่ายเทพก็ไม่พอเพราะต้องใช้กำลังพลเยอะมาก พระอินทร์เลยออกอุบายทำสัญญาสงบศึกกับพวกอสูรและชักชวนกันมาทำการกวนเกษียรสมุทร ได้น้ำอมฤตมาแบ่งกัน โดยนาควาสุกรีมาช่วยใช้ลำตัวเป็นเชือกเพื่อใช้ในการชัก ใช้ภูเขามันทรคีรีมาตั้งบนเกษียรสมุทร ที่อยู่ในไวกูณฐ์

แท้จริงแล้ว พาพาให้ลูกวิจาร สาครมันถนะ เพื่อให้เข้าถึงตนเองและญาณที่ลึกล้ำ เปรียบกับ น้ำอมฤต น้ำทิพย์ ที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ และเปรียบกับ การกวนน้ำนมเพื่อให้ได้เนย นั่นคือ แก่นสารของญาณ

เกษียรสมุทร หมายถึง ญาณ ภูเขามันทรคีรี หมายถึง จิตใจ นาควาสุกรี คือ เชือกที่ขับเคลื่อนจิตใจ หมายถึง พุทธิ ดังนั้น ผู้ที่วิจาร สาครมันถนะ ต้องมีจิตใจที่มั่นคงไม่ไหวหวั่นเช่นภูเขา โดยพุทธิต้องมีความบริสุทธิ์และศักดิ์ของการแยกแยะ ทั้งนี้ จิตใจและพุทธิต้องทำงานด้วยกันในหลายด้านของญาณ และต้องธารณาญาณได้ อสูร หมายถึง กิเลสทั้งห้า เทพ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความสงบ ความพอใจ การละวาง ความรัก และ สัตย์ นั่นคือ พุทธิจะถูกดึงดูดไปทั้งด้านเทพและด้านอสูร

วิจาร หมายถึง การคิดไตร่ตรอง มันถนะ หมายถึง กวน ปั่น และกษีระ/เกษียร หมายถึง น้ำนม สาคร หมายถึง เกษียรสมุทร มหาสมุทรของน้ำนม
372วิจิตรวิจิตฺรविचित्र
vicitra
มหัศจรรย์ พิเศษสุด ไม่เหมือนใคร

ในราชโยคะ ยังหมายถึง ไม่มีร่างกาย หรือ ปราศจากร่างด้วย ทั้งนี้ พาพา คือ ผู้ที่วิจิตร
374วิคญาน (ฮินดี)/วิชญาน (สันสกฤต)/วิญาณ (บาลี)วิคฺญาน (ฮินดี)/วิชฺญาน (สันสฤต)/วิญาณ (บาลี)विज्ञान vigñān (Hindi)/vijñān (Sanskrit)/viñāṇ (Pali)ในราชโยคะ วิญาณ หมายถึง เหนือญาณ นั่นคือ โยคะ หรือ ความสงบ

ในทางทั่วไป วิญาณ หมายถึง วิทยาศาสตร์
375วิเทฮี วิเทฮีविदेही
videhī
อาตมาขณะที่อยู่ในร่างกายอย่างเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ ไม่ได้ผูกพันยึดติดกับร่างกาย

ดังนั้นพ่อศิวะจีงกล่าวว่าท่านเป็นวิเทฮีขณะที่อยู่ในร่างของพรหมา และในภักดีมรรคก็กล่าวถึงราชาชนกว่าได้รับประสบการณ์ของวิเทฮี

เทห์ หมายถึง ร่างกาย
377วิเวกวิเวกविवेक
vivek
ปัญญาที่หยั่งรู้ หรือ รู้แจ้ง ทำให้สามารถเข้าใจถึงเหตุและผลบนพื้นฐานของญาณ ที่นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ในทางปฏิบัติ
380พฤติ (อ่านว่า พฺรึด/พฺรึด-ติ)วฺฤตฺติवृत्ति
vṛtti
พฤติหมายถึงความคิดต่อเนื่องที่ส่งคลื่นกระแสหมุนเวียนโดยรอบออกมา และเมื่อส่งผ่านออกมาทางทฤษฎี ทางคำพูด หรือทางการกระทำก็จะกลายเป็นพฤติกรรมของผู้นั้น ดังนั้นพาพามาเปลี่ยนพฤติของลูกด้วยคำสอนผ่านมุรลีทุกวัน

พฤติ มาจากรากศัพท์ของคำว่า พฤต หมายถึง วนเวียน และ ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น นั้นคือ การแลกเปลี่ยนคลื่นกระแสผ่านดวงตา
384ไวราคยะ (อ่านว่า ไว-รา-คฺยะ)ไวราคฺยवैराग्य vairāgyaไวราคยะ คือ สภาพของอาตมาที่เป็นอิสระจากความผูกพันยึดมั่นและความปรารถนาบนฐานของเทหอภิมานะ

ไวราคยะ มาจากรากศัพท์คำว่า ราคะ ที่แปลว่า ความยึดมั่นผูกพัน รู้สึกชอบใจ พอใจ ดังนั้น ไวราคยะ คือ การไม่มีราคะ ไม่มีความยึดมั่นผูกพัน

เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน
386วยักตะ (อ่านว่า วะ-ยัก-ตะ)วฺยกฺตव्यक्त vyaktวยักตะ หมายถึง สาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) วัตถุ ซึ่งตรงข้ามกับอวยักตะ หมายถึง อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) หรือ ผริศตา

สาการพรหมา คือ วยักตพรหมา และ อาการพรหมา คือ อวยักตพรหมา

ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย
387วยภิจารี (อ่านว่า วฺยะ-พิ-จา-รี)วฺยภิจารีव्यभिचारी
vyabhicārī
วยภิจารี หมายถึง การนอกใจ เป็นชู้ การมีหลายสิ่ง หลายอย่าง และ อวยภิจารี หมายถึง มีเพียงผู้เดียว ไม่มีผู้อื่นใด ซึ่งตรงข้ามกับวยภิจารี

ศิวพาพากล่าวว่า เมื่อลูกเริ่มทำอวยภิจารี ภักดี ในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) ลูกทำให้กับศิวะเพียงผู้เดียว ด้วยความรักและศรัทธาและใช้ทรัพย์สมบัติที่ พาพาทำให้ลูกมั่งคั่ง จากสังคมยุค เพราะว่าลูกมีญาณ การจดจำระลึกถึง เสวา ธารณา และทุกสิ่งเป็นอวยภิจารีกับพาพาเท่านั้น แต่ในเวลาต่อมา ลูกก็ทำภักดีให้กับสิ่งอื่นนอกเหนือจากศิวะ เช่น ลักษมี นารายณ์ เหล่าเทพ จนกระทั่ง ทำให้กับมนุษย์และวัตถุธาตุ นั่นเรียกว่า วยภิจารี ภักดี ลูกจึงกลับมามีธรรมและกรรมที่ภรัษฏะ หมายถึง ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และยากจนข้นแค้น

ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา
389พรต (อ่านว่า พฺรด)วฺรตव्रत
vrat
พรต หมายถึง การละเว้น งด สาบาน คำมั่นสัญญา กิจวัตร การจำศีล เช่น การเว้นบริโภค และข้อกำหนดการปฏิบัติ

แท้จริงแล้ว พาพาให้ลูกถือพรต (คำมั่นสัญญา หรือ การยึดมั่นในศรีมัตหรือข้อปฏิบัติ) ว่าจะอยู่อย่างบริสุทธิ์ โดยละเว้นกิเลส และสิ่งที่ไม่ดีงามทั้งหลาย ไม่ใช่การอดอาหาร หรือ นัำ เช่นที่ทำกันในหนทางภักดี
390ศังกรศงฺกรशंकर
Śaṅkar
ศังกร เป็นหนึ่งในสามของเทวดาที่ละเอียดอ่อนที่แสดงไว้ในตรีมูรติ

ศังกร เป็นสัญลักษณ์แสดงสภาพที่สมบูรณ์ของพรหมาในการสละละทิ้ง (ตยาค) และตปัสยา (ตบะ) ด้วยเหตุนี้เองในหนทางภักดีได้แสดงว่าศังกรอยู่ในท่านั่งของการทำสมาธิที่มีโยคะอย่างมั่นคงกับศิวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้กิเลสทั้งห้า เกิดวินาศไป ดังนั้น จึงได้มีการแสดงว่า ศิวะ ตรีมูรติ ทำให้โลกที่มีกิเลสเกิดวินาศด้วยศังกร
394ศักดิ์สวรูปศกฺติ สฺวรูปशक्ति स्वरूप
Śakti svarūp
อาตมาได้มีคุณสมบัติและเกิดเป็นประสบการณ์ในทางปฏิบัติของศักดิ์นั้น

ศักดิ์ แปลว่า กำลัง พลัง อำนาจ ความสามารถ

สวรูป หมายถึง อาตมาได้มีคุณสมบัติและเกิดเป็นประสบการณ์ในทางปฏิบัติของรูปนั้น
395ศรณาคติ/สรณาคติศรณาคติशरणागति Śaraṇāgatiศรณะ แปลว่า ที่พึ่ง ที่อาศัย ที่ปกป้อง ในภาษาไทยใช้คำว่า สรณะ

ศรณาคติ/สรณาคติ หมายถึง การเข้าไปอาศัยหลบภัยจากอันตราย หรือ ปัญหา เพื่ออยู่ภายใต้การปกป้องจากพาพา
398ศานติ (สันสกฤต)/สันติ (บาลี)ศานฺติशान्ति
śānti
ความสงบ ความนิ่ง เงียบ
417ศรีมตะ/ศรีมัตศฺรีมตश्रीमत śrīmatหนทาง การกำหนด ที่เป็นสิริมงคล ดีงาม ของบรมบิดา บรมาตมา ที่ให้ลูกทำตามทุกย่างก้าว ตั้งแต่อมฤตเวลา จนเข้านอน และทุกขณะ สำหรับ ความคิด คำพูด การกระทำ และ สายใย ความสัมพันธ์

ศรีมัต มาจากคำว่า ศรี หมายถึง สิริมงคล ดีงาม กับ มัต หมายถึง หนทาง การกำหนด

พาพากล่าวว่า ศรีมัต หมายถึง เศรษฐมัต โดย เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ
419เศรษฐาจารีเศฺรษฺฐาจารีश्रेष्ठाचारी śreṣṭhācārīเศรษฐาจารี หมายถึง ผู้ที่ดีเลิศ ดีที่สุด ที่มีพฤติกรรม การกระทำที่บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสใด และไม่ได้เกิดผ่านครรภ์จากกิเลส

ในสังคมยุค พาพามาเปลี่ยนลูกจากภรัษฏาจารี ชาวนรก ให้เป็น เศรษฐาจารี ชาวสวรรค์

เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ ภรัษฏะ แปลว่า ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และ จารี แปลว่า ผู้ประพฤติ
421สันนยาสีสนฺนฺยาสีसंन्यासी
sannyāsī
สันนยาสี หมายถึง ฤษี นักบวช นักบุญ ผู้อยู่ในหนทางการใช้ชีวิตสันโดษ ที่แยกตนเองออกไปอยู่โดยลำพังและสละละทิ้งทางโลก

พาพากล่าวว่า ลูก คือ สันนยาสี ที่แท้จริงและไม่มีขีดจำกัด ขณะที่อยู่ท่ามกลางโลกนี้ แต่อยู่อย่างบริสุทธิ์และละวางเช่นดอกบัว

สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ

คนมักนิยมเขียนว่า สันยาสี
423สกาศสกาศसकाश
sakāś
สกาศ มาจากคำว่า สศตฺก และ ประกาศ

สกาศ คือ พลัง กำลัง อำนาจ และแสง ที่ลูกได้รับเป็นวรทานจากพ่อศิวะ และสามารถส่งผ่านสกาศไปยังผู้อื่นได้

สศตฺก หมายถึง พลัง กำลัง อำนาจ และ ประกาศ หมายถึง แสง
425สัตคุรุประสาทสตคุรุ ปฺรสาทसतगुरु प्रसाद
Sataguru prasād
สัตคุรุประสาท เป็นคำที่บันทึกไว้ในคุรุครันถ์ สาหิพของสิกข์ธรรม

สัตคุรุประสาท หมายถึง การได้รับประสาทจากสัตคุรุ ทั้งนี้ ศิวพาพา คือ คุรุ ผู้เป็นสัตย์ มาบอกสัตย์ที่ทำให้ลูกได้รับอานนท์ (อานันท์) มุกติ ชีวันมุกติ

ประสาท หมายถึง โปรดให้ ยินดีให้

อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย
427สโตคุณีสโตคุณีसतोगुणी satoguṇīผู้ที่มีคุณสมบัติสโต หมายถึง สภาพของอาตมาที่เต็มไปด้วยคุณสมบัติดั้งเดิมเจ็ดอย่าง ได้แก่ ความรู้ ความบริสุทธิ์ ความสงบ ความรัก ความสุข อานนท์ (อานันท์) และ ศักดิ์

สโตคุณี มาจากคำว่า สัต แปลว่า เจ็ด กับคำว่า คุณี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติ

อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย
428สโตประธานสโตปฺรธานसतोप्रधान satopradhānสโตประธาน หมายถึง สภาพของอาตมาที่เต็มไปด้วยคุณสมบัติดั้งเดิมเจ็ดอย่าง ได้แก่ ความรู้ ความบริสุทธิ์ ความสงบ ความรัก ความสุข อานนท์ (อานันท์) และ ศักดิ์ เป็นหลักเหนือสภาพ รโช และ ตโม

สโตประธาน มาจากคำว่า สัต แปลว่า เจ็ด และ ประธาน แปลว่า เป็นหลักหรือใหญ่ในหมู่หรือกลุ่ม

อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย
438สากษาตการะ/สากษาตการ (อ่านว่า สาก-สาต-กาน)สากฺษาตฺการसाक्षात्कार
sākṣātkār
สากษาตการ หมายถึง สิ่งที่ปรากฏเห็นเป็นอาการหรือสภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อนอยู่ข้างหน้า ไม่ใช่วัตถุที่จับต้องได้

ศิวพาพามีกุญแจที่ให้ทิพยทฤษฎีแก่ลูกและภักตะ เพื่อได้รับสากษาตการ ทั้งนี้ ลูกก็สามารถเห็นได้ด้วยดวงตาที่สาม นั่นคือ ทิพยจักษุจากพุทธิที่มีญาณเป็นพื้นฐาน

สากษาตการ มาจากคำว่า สากษาต หมายถึง ปรากฏอยู่ข้างหน้า กับ อาการ หมายถึง สภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อน
439สาธนะสาธนसाधन sādhanพาพากล่าวคำว่า สาธนะ คู่กับ สาธนา โดยลูกสามารถใช้สาธนะเพื่อทำสาธนาได้ แต่ต้องอยู่เหนือการถูกดึงรั้งและไม่ยึดติดกับสาธนะ

สาธนะ หมายถึง วิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้

สาธนา หมายถึง อาตมาเพ่งเพียรปฏิบัติขณะที่อยู่ในร่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
440สาธนาสาธนาसाधना sādhanāพาพากล่าวคำว่า สาธนะ คู่กับ สาธนา โดยลูกสามารถใช้สาธนะเพื่อทำสาธนาได้ แต่ต้องอยู่เหนือการถูกดึงรั้งและไม่ยึดติดกับสาธนะ

สาธนา หมายถึง อาตมาเพ่งเพียรปฏิบัติขณะที่อยู่ในร่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

สาธนะ หมายถึง วิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
446สุหาคะสุหาคसुहाग suhāgสุหาคะ หมายถึง สามี

สิ่งชี้บอกถึงภรรยาว่าเป็นผู้โชคดี คือ สามียังมีชีวิตอยู่และได้รับการดูแลจากสามี

พาพา คือ สุหาคะที่แท้จริง ดังนั้นลูกจึงเป็นผู้ที่มีโชคที่แต่งงานกับพาพา สามีที่อมร ไม่ตาย อวินาศ คงอยู่ตลอดไป ผู้ให้การดูแลและทำให้ลูกได้รับทุกสิ่งที่ไม่มีขึดจำกัด

ในทางโลก หนึ่งในสัญลักษณ์ของสุหาคะ คือ ดิลกหรือสินทูระที่หน้าผากของภรรยา
452สวจินตนะสฺวจินฺตนस्वचिंतन
svacintan
การคิดเกี่ยวกับตนเอง นั่นคือ อาตมา

สวจินตนะ มาจากคำว่า สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา กับ จินตนะ แปลว่า ความคิด เกี่ยวกับความคิด
454สวมานะ/สวามานสฺวมานस्वमान
svamān
สวมานะ/สวามาน หมายถึง การเคารพตนเองในคุณสมบัติดั้งเดิมของอาตมา

สวมานะ/สวามาน มาจากคำว่า สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา และ มานะ แปลว่า เคารพ ชื่อเสียง เกียรติ
457สวารถะสฺวารฺถस्वार्थ svārthสวารถะ หมายถึง การเห็นแก่ตนเอง

ทั้งนี้ ลูกของพาพา ทำสิ่งใดควรมีความมุ่งหมาย ความประสงค์เพื่อตนเอง และให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย

สวารถะ มาจากคำว่า สว คือ ตนเอง กับ อรรถ คือ ความมุ่งหมาย ความประสงค์
466หาง ชีหาง ชีहाँ जी
hāṁ jī
ใช่ ครับ/ค่ะ (เห็นด้วย)





You are visitors No.12610 since 16th September 2024.

© 2025 Brahma Kumaris Thailand. All rights reserved.