No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
1 | โฮลี หงส์ | โฮลี หงฺส | holy हंस ![]() | ![]() holy haṃs | โฮลี หงส์ หมายถึง หงส์ที่บริสุทธิ์ โฮลี เป็นคำภาษาอังกฤษ ในราชโยคะ โฮลี หมายถึง ความบริสุทธิ์ พาพาจะใช้หลายคำที่กล่าวพ้องกับคำ โฮลี เช่น 1) เป็นโยคี อยู่อย่างโฮลี หมายถึง เป็นโยคีที่อยู่อย่างบริสุทธิ์ และ 2) เฉลิมฉลองโหลี และกลับมาโฮลี หมายถึง เฉลิมฉลองโหลีและกลับมาบริสุทธิ์ เป็นต้น โหลี เป็นเทศกาลสาดสีของฮินดูธรรม โดยโหลี จะเริ่มต้นเฉลิมฉลองในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) เรียกว่าวัน ‘โหลิกาทหนะ’ และวันถัดมา เรียกว่า วันธุริยา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) โดยทั้งสองวันนี้ จะอยู่ราวเดือนมีนาคมของทุกปี |
11 | อธรกุมาร | อธรกุมาร | अधरकुमार ![]() | ![]() Adharakumār | อธรกุมาร หมายถึง ผู้ชายที่แต่งงานแล้ว และดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์หลังจากที่มาเป็นลูกของพาพา อธร หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้คงไว้ ยึดไว้ |
12 | อธรกุมารี | อธรกุมารี | अधरकुमारी ![]() | ![]() Adharakumārī | อธรกุมารี หมายถึง ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์หลังจากที่มาเป็นลูกของพาพา ในหนทางภักดี ได้มีวัดอธรกุมารีเป็นอนุสรณ์ของลูก อยู่บนภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีวัดกันยากุมารี เป็นอนุสรณ์ของลูกที่อยู่อย่างบริสุทธิ์และมีค่าต่อการบูชา ตั้งอยู่ที่รัฐทมิฬนาฑู ใต้สุดของประเทศอินเดีย กันยา หมายถึง กุมารี หรือ หญิงสาว ที่ไม่ได้แต่งงานและอยู่อย่างบริสุทธิ์ อธร หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้คงไว้ ยึดไว้ |
83 | ขุดาย ขิดมัตคาระ | ขุดาย ขิดมตคาร | ख़ुदाई खिदमदगार ![]() | ![]() Ḵẖudāī khidamadagār | ขุดาย ขิดมัตคาระ หมายถึง ผู้รับใช้ ผู้ช่วยของบรมบิดา บรมาตมา ขุดาย ขิดมัตคาระ คือ คำผสมระหว่าง ขุดา หมายถึง บรมบิดา บรมาตมา เป็นภาษาอูรดู และ ขิดมัตคาระเป็นภาษาเปอร์เซีย หมายถึง ผู้รับใช้ ผู้ช่วย |
109 | โคปะ | โคป | गोप ![]() | ![]() Gop | โคปะ (ชาย) และ โคปี (หญิง) หมายถึง โคบาล คนดูแลและเลี้ยงโค โคปะ และ โคปี เป็นตัวละครในภาควัต (คัมภีร์ของฮินดูธรรม) ว่าเป็นผู้ที่เล่นและร่ายรำกับกฤษณะด้วยอตีนทริยสุข (ความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย) แท้จริงแล้ว เป็นลูกของพาพาที่ให้การหล่อเลี้ยงโค หมายถึงอาตมาทั้งหลาย เช่นเดียวกับศิวพาพา (จึงได้มีการแสดงว่ากฤษณะเลี้ยงวัวในหนทางภักดี) และมีประสบการณ์อตีนทริยสุขในสังคมยุคที่สามารถใช้และควบคุมอวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกายขณะที่อยู่ในอาตมอภิมานะและจดจำพาพา จึงได้รับการจดจำในหนทางภักดีว่าเป็นโคปะและโคปี โคปะ และ โคปี มาจากรากศัพท์คำว่า โค หมายถึง วัว และ อินทรีย์ อตีนทริย์ มาจากคำว่า อติ หรือ อดิ หมายถึง เหนือ มากกว่า กับ อินทรีย์ หมายถึง ร่างกาย ประสาทสัมผัส |
111 | โคปี | โคปี | गोपी ![]() | ![]() Gopī | โคปะ (ชาย) และ โคปี (หญิง) หมายถึง โคบาล คนดูแลและเลี้ยงโค โคปะ และ โคปี เป็นตัวละครในภาควัต (คัมภีร์ของฮินดูธรรม) ว่าเป็นผู้ที่เล่นและร่ายรำกับกฤษณะด้วยอตีนทริยสุข (ความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย) แท้จริงแล้ว เป็นลูกของพาพาที่ให้การหล่อเลี้ยงโค หมายถึงอาตมาทั้งหลาย เช่นเดียวกับศิวพาพา (จึงได้มีการแสดงว่ากฤษณะเลี้ยงวัวในหนทางภักดี) และมีประสบการณ์อตีนทริยสุขในสังคมยุคที่สามารถใช้และควบคุมอวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกายขณะที่อยู่ในอาตมอภิมานะและจดจำพาพา จึงได้รับการจดจำในหนทางภักดีว่าเป็นโคปะและโคปี โคปะ และ โคปี มาจากรากศัพท์คำว่า โค หมายถึง วัว และ อินทรีย์ อตีนทริย์ มาจากคำว่า อติ หรือ อดิ หมายถึง เหนือ มากกว่า กับ อินทรีย์ หมายถึง ร่างกาย ประสาทสัมผัส |
120 | จาตรกะ | จาตฺรก | चात्रक ![]() | ![]() Cātrak | จาตรกะ คือ นกที่กล่าวกันว่ามีความกระหายต่อหยดแรกของน้ำฝน ที่เรียกว่า สวาตี พูนทะ หรือ น้ำทิพย์ จากสวาตี (สวาดิ หรือ สวัสติ) นักษัตร โดยที่นกจาตรกะไม่ได้สนใจต่อแหล่งน้ำอื่น ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำอันยิ่งใหญ่ ทะเลสาบที่สวยงาม หรือน้ำพุที่ไหลผ่านที่จะดับกระหายตนเอง แม้จะต้องตายก็ตาม พาพาเรียกลูกที่มีความอยากปรารถนาที่จะรับฟังความรู้ ได้พบปะกับพาพาและกลับมาสมาน (ทัดเทียม) กับพาพา ว่าเป็นเช่นนกจาตรกะ |
143 | ญาณ-ญาเณศวรี (บาลี) | ญาณ-ญาเณศฺวรี | ज्ञान-ज्ञानेश्वरी ![]() | Gyāñ-Gyāñeśvarī (Hindi) | ญาณ-ญาเณศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง ที่ได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับอาตมา บรมาตมา รวมทั้ง ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ที่ไม่มีขีดจำกัดของโลกจากอิศวร ญาเณศวรี มาจากคำว่า ญาณ และ อิศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
150 | ตปัสวี | ตปสฺวี | तपस्वी ![]() | ![]() tapasvī | ตปัสวี หมายถึง ผู้ที่ทำตบะ ฝึกฝนเพ่งเพียรของอาตมาด้วยความมุ่งมั่นและจริงจัง คำว่า ตปัสยา มีรากศัพท์มาจากคำว่า ตป นั่นคือ ตบะ |
155 | ตรีกาลทรรศี | ตฺริกาลทรฺศี | त्रिकालदर्शी ![]() | Trikāladarshī | ตรีกาลทรรศี เป็นสมญาของพาพา หมายถึง ผู้เห็นกาลเวลาทั้งสาม ได้แก่ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ตรีกาลทรรศี มาจาก 3 คำ ได้แก่ ตรี แปลว่า สาม กาล แปลว่า เวลา และ ทรรศี แปลว่า ผู้เห็น ในสังคมยุคนี้ พาพามาให้ความรู้แก่ลูกและทำให้ลูกเป็นตรีกาลทรรศี |
156 | ตริเนตรี/ตรีเนตรี | ตริเนตรี | त्रिनेत्री ![]() | Trinetrī | ในสังคมยุค พาพาได้มาให้ญาณแก่ลูก ทำให้ดวงตาที่สาม นั่นคือ ญาณจักษุ หรือ ทิพยจักษุ เปิดขึ้นมา หมายถึง การได้รับดวงตาแห่งปัญญาที่ทำให้ลูก มีความเข้าใจและหยั่งรู้ในอาตมา ดังนั้นลูกจึงได้รับสมญาว่า ตรีเนตรี หมายถึง ผู้ที่มีสามตา โดยในหนทางภักดีได้แสดงดวงตาที่สาม (ตีสราเนตร) ไว้ที่กึ่งกลางหน้าผากระหว่างคิ้ว นอกเหนือจากดวงตาทั้งสองของร่างกายให้กับเหล่าเทพ ตริ หรือ ตรี แปลว่า สาม เนตรี แปลว่า ผู้ที่มีเนตร (ดวงตา) และ ตีสรา แปลว่า ที่สาม |
158 | ตริโลกีนาถ/ตรีโลกนาถ | ตฺริโลกีนาถ | त्रिलोकीनाथ ![]() | ![]() Trilokīnāth | ตรีโลกนาถ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่มีญาณเกี่ยวกับทั้งสามโลก และพาพาได้ให้ญาณทั้งสามโลกนั้นแก่ลูก และสมญานี้จึงมีการให้แก่ลูกด้วย ตรีโลกนาถ มาจากคำว่า ตรี แปลว่า สาม โลก คือ สถานที่ และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ตรีโลก หรือ สามโลก ได้แก่ 1. บ้าน โลกของอาตมา ที่บรมาตมาและอาตมาอาศัยอยู่ เป็นสถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ ซึ่งเป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ มูลวตนะ นิราการีทุนิยา บรมธามะ ปรโลก นฤพานธามะ หรือ นิพพานธามะ มุกติธามะ สันติธามะ พรหมาณฑ์ พรหมโลก 2. บ้าน ดินแดน สถานที่ โลกแห่งสีขาวที่ละเอียดอ่อน โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สูกษมโลก สูกษมวตนะ 3. บ้าน โลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ ที่ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถูลวตนะ สาการีมนุษยทุนิยา กรรมเกษตร สูกษมะ แปลว่า ละเอียดอ่อน สุขุม สถูละ แปลว่า วัตถุที่หยาบ จับต้องได้ และ ทุนิยา แปลว่า โลก |
161 | ฤษี/ฤาษีทธีจิ | ทธีจิ ฤษิ | दधीचि ऋषि ![]() | ![]() Dadhīci ṛṣi | ฤษีทธีจิ เป็นฤษีที่ได้รับการจดจำว่าเป็นผู้สังเวยทั้งชีวิตและกระดูก เพื่อรับใช้ผู้อื่น จึงได้เป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศตนและการสละละทิ้ง โดยมีเรื่องเล่าว่า ได้มีสงครามระหว่างเทวดากับอสูร และเทวดาได้ไปขอความช่วยเหลือจากฤษีทธีจิ ซึ่งท่านได้สังเวยชีวิตจนเหลือแค่กระดูก กระนั้นก็ตาม เทวดายังนำกระดูกของฤษีทธีจิมาใช้เป็นอาวุธสู้รบกับอสูร จนได้รับชัยชนะ นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ ลูกของพาพาต้องทำงานหนักและอุทิศตนเองในงานรับใช้ของพาพา โดยเราจะได้รับผลอะไรก็ตามที่เราให้ เช่นเดียวกับฤษีทธีจิ ได้ชีวิตใหม่กลับคืนมา เป็นวรทานจากภควาน |
174 | ทีปราช | ทีปราช | दीपराज ![]() | ![]() Dīparāj | ทีปราช เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง บรม(สูงสุด) ของแสงหรือตะเกียง และเป็นสมญาของอาตมาด้วย หมายถึง ราชาแห่งแสงหรือตะเกียง ทีปราช มาจากคำว่า ทีป หมายถึง แสง ตะเกียง และ ราช หมายถึง ผู้มีอำนาจในการปกครอง ผู้เป็นราชา ดังนั้น ตามตัวอักษรแล้ว ทีปราช หมายถึง ราชาแห่งแสงหรือตะเกียง |
175 | ทีปรานี | ทีปรานี | दीपरानी ![]() | ![]() Dīparānī | ทีปรานี เป็นสมญาของลูกสาวของพาพา นั่นคือ อาตมาในร่างหญิง ที่หมายถึง รานีแห่งแสงหรือตะเกียง ทีปรานี มาจากคำว่า ทีป หมายถึง แสง ตะเกียง และ รานี หมายถึง ราชินี ดังนั้นตามตัวอักษรแล้ว ทีปรานี หมายถึง รานีแห่งแสงหรือตะเกียง |
182 | เทวี เทวดา | เทวี เทวดา | देवी देवता ![]() | ![]() Devī Devtā | เหล่าเทพ ชาวสวรรค์ ทั้งหญิงและชาย |
190 | ธรรมาตมา | ธรฺมาตฺมา | धर्मात्मा ![]() | Dharmātmā | อาตมาที่มีธรรม หมายถึง อาตมาที่มีการกระทำ พฤติกรรม ยึดมั่นตามคำสอนของพาพาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต หรือนำไปฝึกฝนจนเป็นรูปในทางปฏิบัติ ที่มาจากพื้นฐานจากคุณสมบัติดั้งเดิมของอาตมา และความถูกต้องดีงาม ความยุติธรรม ทั้งนี้ พาพากล่าวว่า เทวี เทวดา ผู้มีความบริสุทธิ์ทั้งอาตมาและร่างกาย คือ ธรรมาตมาที่แท้จริง |
206 | ปัณฑา | ปณฺฑา | पण्डा ![]() | Paṇḍā | ปัณฑา คือ พราหมณ์ของฮินดูธรรม ที่นำทางให้กับผู้ไปจาริกแสวงบุญ หรือ ทำพิธีภักดีให้ภักตะในสถานที่จาริกแสวงบุญ โดยเฉพาะกุมภเมลา ริมฝั่งแม่น้ำทั้งหลาย พาพากล่าวว่า ลูก คือ ปาณฑพ ที่เป็นปัณฑา ผู้นำทางที่เป็นสัจเช่นเดียวกับพาพา โดยลูกเป็นผู้ช่วยพาพา ในการนำอาตมาไปจาริกแสวงบุญ นั่นคือ กลับไปยังมุกติธามะและชีวันมุกติธามะ ในหนทางภักดี ปัณฑา คือ พราหมณ์ ผู้เป็นนำคนไปจาริกแสวงบุญและประกอบพิธีทางภักดี เพื่อให้ได้พบกับภควาน หรือ ให้ได้รับคติเพื่อกลับไปยังมุกติธามะ "ปาณฑพ" มาจากคำว่า "ปัณฑา" |
220 | ปาณฑพ | ปาณฺฑว | पाण्डव ![]() | ![]() Pāṇḍav | ในราชโยคะ ปาณฑพ หมายถึง ลูกของพาพา ผู้เป็นพราหมณ์ของสังคมยุคที่พุทธิมีความรักเชื่อมต่อกับพาพา (ปรีตพุทธิ โดย ปรีตะ แปลว่า ความรัก) พาพา คือ ปัณฑา ผู้นำทางที่เป็นสัจ โดยคำว่าปาณฑพ มาจากคำว่า ปัณฑา หมายถึง ผู้นำทางให้อาตมากลับไปยังสันติธามะและสุขธามะ และลูกก็เป็นปัณฑาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ใน "มหาภารตะ" ได้แสดงไว้ว่า ปาณฑพ คือ พี่น้องชายทั้งห้า ได้แก่ ยุทธิษฐิระ อรชุน ภีมะ นกุล และ สหเทพ ตามลำดับ โดย ปาณฑพได้เลือกกฤษณะมาอยู่ฝ่ายตน และเป็นผู้มีชัยชนะสงครามอันยิ่งใหญ่เหนือเการพที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ยุทธิษฐิระ คือ พี่ชายคนโตของปาณฑพทั้งห้า เป็นผู้ดลใจให้อยู่อย่างไม่ไหวหวั่นในสนามรบ มีความซื่อสัตย์ มั่นคงในธรรม และได้รับการกล่าวว่าเป็นธรรมราช อรชุน คือ ผู้ที่ริเริ่ม เต็มไปด้วยมุ่งมั่นจดจ่อกับเป้าหมายของตน และมีความปรารถนาต้องการที่จะเรียนรู้ ภีมะ คือ ผู้เป็นสวรูปของพลัง มีความมุ่งมั่นและแน่วแน่ นกุล คือ นักการทูตที่มีความสามารถ ผู้มีสมดุลระหว่างความรักและกฏเกณฑ์ สหเทพ คือ ผู้ที่ให้ความร่วมมือโดยไม่คาดหวังสิ่งใดและมีทิพยพุทธิที่เข้าใจและรับสัญญาณล่วงหน้าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น |
223 | ปารสพุทธิ (อ่านว่า ปา-ระ-สะ-พุด-ทิ) | ปารสพุทฺธิ | पारसबुद्धि ![]() | Pārasabuddhi | บรมบิดา บรมาตมา ได้รับสมญาว่า ปารสนาถ ท่านได้มาเปลี่ยนลูกจาก ปัตถรพุทธิ (พุทธิที่เป็นหิน) ให้กลายเป็นปารสพุทธิ (ทิพยพุทธิ) ในตำนานของฮินดูธรรมได้กล่าวว่า ปารสะ คือ หินวิเศษที่ไปแตะสิ่งใดก็ตาม จะทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นทองคำ หมายถึง ความบริสุทธิ์ แท้จริงแล้ว ปารสะ หมายถึง ญาณที่บรมบิดา บรมาตมามาให้แก่ลูก แล้วทำให้ลูกกลับมาบริสุทธิ์ นั่นคือ ลูกกลายเป็นปารสะที่มีปารสพุทธิ เช่นเดียวกับท่าน และลูกก็สามารถให้ญาณนี้ เพื่อทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ได้ด้วยเช่นกัน |
225 | ปุรุโษตตมะ/บุรุโษตตมะ | ปุรุโษตฺตม | पुरुषोत्तम ![]() | ![]() puruṣottam | คำว่า ปุรุโษตตมะ มาจากคำว่า ปุรุษ นั่นคือ บุรุษในภาษาไทย แต่ในราชโยคะ หมายถึง อาตมา และ ผู้ชาย (เมื่ออาตมาอยู่ในร่างกาย) กับคำว่า อุตตมะ แปลว่า สูงสุด ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ดังนั้น ปุรุโษตตมะ หมายถึง อาตมา หรือ มนุษย์ที่สูงสุด พาพาได้ลงมาที่โลกนี้ในสังคมยุค และทำให้มนุษย์กลับมาปุรุโษตตมะ จึงเรียกยุคนี้ว่า ปุรุโษตตมสังคมยุค |
260 | พรหมามุขวงศาวลี/พงศาวลี | พฺรหฺมา มุข วงฺศาวลี | ब्रह्मा मुख वंशावली ![]() | ![]() Brahmā mukh vaṃśāvalī | พรหมากุมารและกุมารี เกิดจากความรู้ที่อาตมาได้รับจากศิวพาพาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พาพากล่าวว่า พราหมณ์ทางโลก คือ กุขพงศาวลี หมายถึง ผู้ที่เกิดจากกาม (ตัณหา ราคะ) ผ่านครรภ์ มุข หมายถึง ปาก พงศาวลี หมายถึง ลำดับเครือญาติที่เกิดตามกันมา โดย พงศ์ หรือ วงศ์ หมายถึง ตระกูล เหล่ากอ และ วลี หมายถึง เกิดเรียงตามกันมา |
261 | พรหมากุมาร (อ่านว่า พฺรม-มา-กุ-มาน) | พฺรหฺมา กุมาร | ब्रह्माकुमार ![]() | ![]() Brahmākumār | กุมารของพรหมา ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พรหมากุมาร คือ ผู้ทำตามทั้งศรีมัตของศิวพาพา และพรหมา ผู้เป็นเครื่องมือให้กับศิวพาพา กุมาร หมายถึง ลูกชาย และ มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปากของพรหมา |
262 | พรหมากุมารี (อ่านว่า พฺรม-มา-กุ-มา-รี) | พฺรหฺมา กุมารี | ब्रह्माकुमारी ![]() | ![]() Brahmākumārī | กุมารีของพรหมา ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พรหมากุมารี คือ ผู้ทำตามทั้งศรีมัตของศิวพาพา และพรหมา ผู้เป็นเครื่องมือให้กับศิวพาพา กุมารี หมายถึง ลูกสาว และ มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปาก ของพรหมา |
265 | พราหมณ์ | พฺราหฺมณ | ब्राह्मण ![]() | ![]() Brāhman | พราหมณ์ คือ พรหมามุขพงศาวลี ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากขอพรหมา พราหมณ์ เป็นวรรณะสูงสุดในอินเดีย ที่เปรียบกับโจฏี (สูงสุด หรือ จุกที่เป็นจุดสูงสุดของร่างกาย) และเป็นอนุสรณ์ของพราหมณ์ทางโลกที่ไว้จุกกัน มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปาก ของพรหมา ในบางครั้ง พาพาใช้คำว่า พราหมณ์ หมายถึง พราหมณ์ชาย และ พราหมณี หมายถึง พราหมณ์หญิง |
271 | ภควาน ภควตี/ภควดี (อ่านว่า พะ-คะ-วาน พะ-คะ-วะ-ตี/พะ-คะ-วะ-ดี) | ภควาน ภควตี | भगवान भगवती ![]() | ![]() Bhagavān Bhagavatī | ภควาน มีเพียงผู้เดียวเท่านั้น และภควานมาทำให้ลูกทัดเทียมกับท่าน ในสังคมยุค โดยในภารตะได้มีการกล่าวเรียก ภควดี ลักษมี และ ภควาน นารายณ์ นั่นคือ สมญาของผู้ปกครองในโลกใหม่ แต่ไม่ใช่ว่าราชาเป็นเช่นไร แล้วประชาจะเป็นเช่นนั้นในแง่ที่ว่า ประชาจะไม่ได้รับสมญาว่า ภควาน ภควดี อย่างไรก็ตามทั้งราชาและประชา ก็ได้รับการเรียกว่า เทวี เทวดา ในหนทางภักดีได้ กล่าวว่า มีเทวี เทวดา ถึง 33 โกฏิ เท่ากับ 330 ล้าน ซึ่งเท่ากับจำนวน เทวดา เทวี ในปลายเตรตายุค (ยุคเงิน ) 1 โกฏิ เท่ากับ 10 ล้าน |
286 | ภระมรี (อ่านว่า พฺระ-มะ-รี) | ภฺรมรี | भ्रमरी ![]() | ![]() Bhramarī | ภระมรี เป็นผึ้งตัวเมียที่ส่งเสียงร้องภูงๆ สามารถให้การหล่อเลี้ยงแก่แมลงอื่น เพื่อทำให้แมลงอื่นส่งเสียง และมีประพฤติกรรม การกระทำ เป็นเช่นเดียวกับตนเอง ทั้งนี้ พาพาให้ลูกเป็นเช่น ภระมรี ที่ส่งเสียงร้องภูงๆ นั่นคือ ให้ความรู้แก่ผู้อื่นและทำให้ผู้อื่นทัดเทียมกับลูก ภระมรี หมายถึง ภมรี ผึ้งตัวเมีย |
298 | มหาตมา/มหาตมะ | มหาตฺมา | महात्मा ![]() | mahātmā | มหาตมะ หมายถึง อาตมาที่ยิ่งใหญ่ โดยมาจากคำว่า มห แปลว่า ยิ่ง ใหญ่ กับ อาตมา ในราชโยคะ มหาตมะ เป็นอาตมาที่รู้แจ้งและอยู่อย่างบริสุทธิ์ |
300 | มหารถี | มหารถี | महारथी ![]() | ![]() mahārathī | มหารถี หมายถึง ผู้ขี่ช้าง นักรบที่ยิ่งใหญ่ และเป็นอาตมาที่กล้าหาญ และมีชัยชนะ มหารถี มาจากคำว่า มหา แปลว่า ใหญ่ ยิ่งใหญ่ กับ รถี แปลว่า ผู้ขับขี่รถ หรือ พาหนะ |
302 | มหาวีระ | มหาวีร | महावीर ![]() | Mahāvīr | วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นนักรบที่กล้าหาญ ไม่ไหวหวั่น สั่นคลอนใดๆ นั้นหมายถึง ลูกของพาพา แต่ในหนทางภักดี ส่วนใหญ่จะให้สมญานี้กับหนุมาน มหาวีระ มาจากคำว่า มหา หมายถึง ยิ่งใหญ่ กับ วีระ หมายถึง กล้าหาญ |
306 | มาสเตอร์ ญาณสุริยะ | มาสเตอร์ ญาณ สูรฺย | मास्टर ज्ञान सूर्य ![]() | master gñān sūrya | มาสเตอร์ ญาณสุริยะ หมายถึง ลูกของญาณสุริยะ มาสเตอร์ ญาณสุริยะ เป็นสมญาของลูกที่ได้รับมรดกของคุณสมบัติจาก พาพา ผู้ได้รับสมญาว่าเป็นญาณสุริยะ นั่นคือ พาพามาทำให้ลูกเป็นญาณสุริยะที่ทัดเทียมกับท่าน ญาณ หมายถึง ความรู้ และ สุริยะ หมายถึง พระอาทิตย์ พาพาใช้คำว่า มาสเตอร์ ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยคำว่า นาย ในภาษาฮินดี คือ มาลิกะ |
307 | มาสเตอร์ สรรพศักดิ์มาน | มาสเตอร์ สรฺวศกฺติมานฺ | मास्टर सर्वशक्तिमान् ![]() | master sarvaśaktimān | มาสเตอร์ สรรพศักดิ์มาน หมายถึง ลูกของสรรพศักดิ์มาน มาสเตอร์ สรรพศักดิ์มาน เป็นสมญาของลูกที่ได้รับมรดกของคุณสมบัติจากพาพา ผู้ได้รับสมญาว่าเป็นสรรพศักดิ์มาน นั่นคือ พาพามาทำให้ลูกเป็นสรรพศักดิ์มานที่ทัดเทียมกับท่าน โดยสามารถใช้สรรพศักดิ์ในเวลาที่ถูกต้อง ทุกสถานการณ์ตามที่ต้องการ ด้วยการมีพุทธิที่เชื่อมต่อกับพาพาตลอดเวลา สรรพศักดิ์มาน มาจากคำว่า "สรรพ" ที่แปลว่า ทุกสิ่ง ทั้งปวง ทั้งหมด กับคำว่า "ศักดิ์" แปลว่า กำลัง พลังอำนาจ ความสามารถ นั่นหมายถึง ผู้ที่มีศักดิ์ทั้งหมด พาพาใช้คำว่า มาสเตอร์ ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยคำว่า นาย ในภาษาฮินดี คือ มาลิกะ |
326 | โยเคศวร | โยเคศฺวร | योगेश्वर ![]() | ![]() Yogeśvar | โยเคศวร เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา ผู้สอนโยคะให้กับลูก โดยท่านเองไม่ได้ศึกษาโยคะ และมีโยคะใดๆ ท่านมาทำให้ลูกเป็น โยเคศวร (อาตมาที่อยู่ในร่างชาย) และ โยเคศวรี (อาตมาที่อยู่ในร่างหญิง) ผู้ที่มีโยคะกับอิศวรด้วย โยเคศวร มาจากคำว่า โยคะ กับ อิศวร อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
335 | ราช-ราเชศวร | ราช-ราเชศฺวร | राज-राजेश्वर ![]() | ![]() Rāj-rājeśvar | ราช-ราเชศวร เป็นสมญาของอาตมาที่อยู่ในร่างชาย ผู้ได้รับราชจากอิศวร นั่นคือ อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลก เป็นมหาราชาของราชาทั้งหมด ราเชศวร มาจากคำว่า ราช หมายถึง อำนาจในการปกครอง กับ อิศวร ผู้กลายเป็นมหาราชา อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
337 | ราชฤษี/ราชฤาษี | ราชฤษิ | राजऋषि ![]() | Rājaṛṣi | ราชฤษี เป็นสมญาที่ศิวพาพาให้กับลูก ราชฤษี มาจากคำว่า ราช หมายถึง ผู้เป็นราชา ผู้เป็นนาย ที่มีอำนาจในการปกครองตนเอง และ ฤษี หมายถึง ผู้ที่อยู่อย่างบริสุทธิ์ สละละทิ้ง ไวราคยะที่ไม่มีขีดจำกัด นั่นหมายถึง เป็นอิสระจากความผูกพันยึดมั่นและความปรารถนาบนฐานของเทหอภิมานะ และ ทางโลกที่มีขีดจำกัด เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
339 | ราชโยคี | ราชโยคี | राजयोगी ![]() | ![]() Rājayogī | ผู้ที่ฝึกฝนราชโยคะ ในการเชื่อมต่อกับบรมปิตา บรมาตมา ทำให้กลายเป็นราชา ผู้ที่มีราช หมายถึง อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลกในอนาคต |
358 | รูหานี พัจเจ | รูหานี พจฺเจ | रूहानी बच्चे ![]() | ![]() Rūhānī bacce | รูหานี พัจเจ หมายถึง อาตมา ผู้เป็นลูกของบรมบิดา บรมาตมา รูหานี พัจเจ มาจากคำว่า รูหานี เป็นภาษาอูรดู ที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า รูหะ หมายถึง อาตมา และ พัจเจ หมายถึง ลูก ชิสมานี เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับรูหานี หมายถึง ทางร่าง ทางวัตถุภายนอก โดย ชิสมะ หมายถึง ร่างกาย |
453 | สวทัศนจักรธารี | สฺวทรฺศน จกฺรธารี | स्वदर्शन चक्रधारी ![]() | Svadarśan Cakradhārī | สวทัศนจักรธารี เป็นสมญาพรหมากุมารและกุมารี ผู้เป็นพราหมณ์ในสังคมยุค หมายถึง อาตมาที่มีญาณทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ ทำให้มองเห็นและหยั่งรู้ถึงเรื่องราวของตนเองทั้งจักร สวทัศนจักรธารี มาจาก 3 คำ ได้แก่ 1. สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา 2. ทัศนะ หมายถึง มองเห็น 3. จักรธารี หมายถึง ผู้หยั่งรู้ทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ พาพาทำให้ลูกเป็นสวทัศนจักรธารี เพื่อเอาชนะกิเลสด้วยญาณ แต่ในหนทางภักดีได้แสดงจักร เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ของวิษณุ และกฤษณะ ผู้ควงสุทัศนจักร หรือ สวทัศนจักร ด้วยนิ้วมือของตนเพื่อใช้ฆ่าอสูร สุทัศนะ หมายถึง การเห็นสิ่งที่ดีงาม สิริมงคล |