No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
85 | ขิทมตะ (อ่านว่า คิด-มะ-ตะ) | ขิทมต | खिदमत ![]() | ![]() khidamat | ขิทมตะ เป็นภาษาเปอร์เซีย หมายถึง งานรับใช้ (เสวา) |
191 | ธารณา | ธารณา | धारणा ![]() | dhāraṇā | ธารณา เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การทรงไว้ การยึดไว้ในจิตใจ นั่นคือ การยึดมั่นคำสอนของพาพาไว้ เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต หรือนำไปฝึกฝนจนเป็นรูปในทางปฏิบัติ และกลายเป็นธรรมของตนเอง ธารณา เป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ ที่แสดงด้วยเครื่องประดับ กมล หรือ ปัทม์ ในหัตถ์ซ้ายล่างของวิษณุในหนทางภักดี หมายถึง การใช้ชีวิตอยู่ในโลกอย่างบริสุทธิ์ ด้วยความรักและละวาง แม้ขณะอยู่ในโลกที่ตกต่ำและไม่บริสุทธิ์นี้ วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน นั่นหมายถึง รูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาของราชโยคะ จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน กมล หรือ ปัทม์ หมายถึง ดอกบัว |
321 | ยาทะ | ยาทะ | याद ![]() | ![]() yād | ในราชโยคะ พาพากล่าวว่า โยคะ หมายถึง ยาทะ นั่นคือ การจดจำระลึกถึง โยคะเป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ โดยหนทางภักดี ได้แสดงด้วยคทา เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ในหัตถ์ขวาบนของวิษณุ คทา เป็นสิ่งบ่งบอกถึง ศักดิ์ และ อำนาจ ที่ได้รับจากการโยคะกับพาพา ที่ทำให้ได้รับชัยชนะเหนือมายา นั่นคือ กิเลสทั้งห้า วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน ซึ่งเป็นรูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาในราชโยคะ จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน |
338 | ราชโยคะ | ราชโยค | राजयोग ![]() | ![]() rājayog | โยคะ หมายถึง การเชื่อมต่อกับบรมปิตา บรมาตมา ทำให้กลายเป็นราชา ผู้ที่มีราช หมายถึง อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลกในอนาคต ดังที่มีการเขียนไว้ในศรีมัทภควัตคีตาว่า ภควานลงมาสอนราชโยคะทุก 5,000 ปี เมื่อมนุษย์มีการประณามธรรมให้ตกต่ำ กลายเป็นสภาพอธรรม เพื่อทำให้มนุษย์กลายเป็นเทวี เทวดาที่สัมปันนและสมบูรณ์ สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม |
450 | เสวา | เสวา | सेवा ![]() | sevā | เสวา หมายถึง งานรับใช้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ โดยหนทางภักดีได้แสดงด้วยสังข์ เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ในหัตถ์ขวาบนของวิษณุ หมายถึง การส่งเสียงเพื่อรับใช้ทั้งโลกด้วยการเป่าสังข์ของญาณ (ศังขธวนิ/สังขธวนิ) นั่นคือ ให้ญาณของพาพาแก่ผู้อื่น ทั้งนี้ เสวา สามารถทำได้ด้วย ร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สมบัติ ความคิด คำพูด และ การกระทำ วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน นั่นหมายถึง รูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาของราชโยคะ จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน |