No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
54 | กันไหยา | กนฺไหยา | कन्हैया ![]() | ![]() Kanhaiyā | เป็นนามหนึ่งของกฤษณะ กันไหยา เป็นผู้ที่ทำให้กันยา (กุมารี) ถูกดึงดูดด้วยความหลงใหล นั่นคือ เอาชนะหัวใจกันยา แท้จริงแล้ว ศิวพาพา คือ กันไหยา เป็นผู้ดูแลและยกระดับผู้หญิงและกันยาให้ได้รับสถานภาพที่ดี กันยา หมายถึง กุมารี หรือ หญิงสาว ที่ไม่ได้แต่งงานและอยู่อย่างบริสุทธิ์ |
96 | คิรธรโคบาล | คิรธร โคปาล | गिरधर गोपाल ![]() | ![]() Giradhar Gopāl | เป็นนามหนึ่งของกฤษณะ ในหนทางภักดี กฤษณะ คือ โคบาล คนเลี้ยงวัว เป็นผู้ยกภูเขาโควรรธนะ ที่เมืองมธุรา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย แท้จริงแล้ว ศิวพาพาเป็นโคบาลที่เลี้ยงดูและให้ความรู้แก่ลูก ทำให้ลูกเอาชนะอุปสรรคทั้งหมดได้ในสังคมยุค ในหนทางภักดี ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กฤษณะได้เห็นบรรดาคนเลี้ยงโค กำลังเตรียมพิธีบูชายัญแด่พระอินทร์จึงได้ระงับไว้ โดยบอกคนเหล่านั้นว่า พวกเขาควรจะทำพิธีบูชาภูเขาโควรรธนะแทน ฝ่ายพระอินทร์ได้มีความโกรธ จึงบันดาลให้พายุฝน ทรายและกรวดตกลงมา กฤษณะได้ถอนภูเขาโควรรธนะ แล้วยกขึ้นด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่งให้ลอยอยู่ในอากาศ สั่งให้คนเลี้ยงโคต้อนฝูงโคเข้าไปอยู่ใต้ภูเขานั้น เป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืนจากพายุ โดยมิได้ขยับเขยื้อนเพื่อให้การปกป้องจากแรงโทสะของพระอินทร์ จนพระอินทร์ได้ทรงตระหนักถึงอานุภาพแห่งกฤษณะ ในที่สุดท้องฟ้าก็กระจ่างสดใส เหล่าคนเลี้ยงโคจึงได้แยกย้ายกลับที่พำนักของตน คิรธร หมายถึง ผู้ที่ยกภูเขาไว้ คิริ หมายถึง ภูเขา ธร หมายถึง ผู้รักษาไว้ ผู้ทรงไว้ การยึดไว้ โค หมายถึง วัว และ โคบาล หมายถึง คนเลี้ยงวัว |
110 | โคบาล | โคปาล | गोपाल ![]() | ![]() Gopāl | โคบาล หมายถึง คนเลี้ยงวัว เป็นสมญาของกฤษณะ ในหนทางภักดี แท้จริงแล้ว เป็น ศิวพาพา เป็นโคบาล ที่เลี้ยงดูลูกในสังคมยุค โค หมายถึง วัว |
113 | โคปีวัลลภา/โคปีวัลลภ (อ่านว่า โค-ปี-วัน-ลบ) | โคปีวลฺลภ | गोपीवल्लभ ![]() | ![]() Gopīvallabh | โคปีวัลลภ เป็นสมญาของกฤษณะในหนทางภักดี ศิวพาพา คือ โคปีวัลลภ ผู้เป็นบิดาและเป็นที่รักของโคปะ และ โคปี ที่หมายถึง ลูกของพาพา โคปะ (ชาย) และ โคปี (หญิง) หมายถึง โคบาล คนดูแลและเลี้ยงโค โคปะ และ โคปี เป็นตัวละครในภาควัต (คัมภีร์ของฮินดูธรรม) ว่าเป็นผู้ที่เล่นและร่ายรำกับกฤษณะด้วยอตีนทริยสุข (ความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย) แท้จริงแล้ว เป็นลูกของพาพาที่ให้การหล่อเลี้ยงโค หมายถึงอาตมาทั้งหลาย เช่นเดียวกับศิวพาพา (จึงได้มีการแสดงว่ากฤษณะเลี้ยงวัวในหนทางภักดี) และมีประสบการณ์อตีนทริยสุขในสังคมยุคที่สามารถใช้และควบคุมอวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกายขณะที่อยู่ในอาตมอภิมานะและจดจำพาพา จึงได้รับการจดจำในหนทางภักดีว่าเป็นโคปะและโคปี วัลลภ แปลว่า คนรัก ผู้เป็นที่รัก โคปะ และ โคปี มาจากรากศัพท์คำว่า โค หมายถึง วัว และ อินทรีย์ อตีนทริย์ มาจากคำว่า อติ หรือ อดิ หมายถึง เหนือ มากกว่า กับ อินทรีย์ หมายถึง ร่างกาย ประสาทสัมผัส |
114 | โควินทะ | โควินท | गोविन्द ![]() | ![]() Govind | เป็นสมญาของกฤษณะในหนทางภักดี แท้จริงแล้ว โควินทะ คือ ศิวพาพา ผู้ค้นหาลูกจนพบ แล้วให้การเลี้ยงดูและหล่อเลี้ยงลูกในสังคมยุค โค หมายถึง วัว และ วินทะ หมายถึง ผู้ค้นหา |
127 | ชคันนาถ | ชคนฺนาถ | जगन्नाथ ![]() | ![]() Jagannāth | ชคันนาถ มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ดังนั้น ชคันนาถ จึงหมายถึง นายและผู้เป็นที่พึ่งของโลก ในหนทางภักดี วัดชคันนาถ ได้สร้างให้กับกฤษณะ ตั้งอยู่ในรัฐโอริศา ติดกับอ่าวเบงกอล ด้านตะวันออกของประเทศอินเดีย และเป็นหนึ่งในสี่สถานที่จาริกแสวงบุญหลักของฮินดูธรรม พาพาได้กล่าวถึงวัดชคันนาถว่า ผู้คนได้ถวายข้าวสวยเท่านั้นให้กับชคันนาถ เปรียบเทียบกับวัดศรีนาถ ที่ผู้คนได้ถวายอาหารทีมีคุณค่าและอุดมสมบูรณ์มากให้กับศรีนาถ นั่นหมายถึง สภาพอาตมาของเทวี เทวดา ที่บริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ ไม่มีกิเลส ได้รับการทำภักดีและบูชาอย่างดียิ่ง ต่อมาเมื่อกลับมาสู่สภาพที่ไม่บริสุทธิ์ มีกิเลสอย่างสมบูรณ์ ก็ได้รับการทำภักดีและบูชาอย่างธรรมดา นอกจากนี้ พาพายังกล่าวถึงวัดชคันนาถว่า ในวัดมีภาพและปฏิมาของเทวีและเทวดาที่ข้องแวะในกาม (ตัณหา ราคะ) อย่างสกปรกมากด้วย ในหนทางภักดี วัดศรีนาถ ได้สร้างให้กับกฤษณะ ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ศรีนาถ มาจากสองคำ ได้แก่ ศรี แปลว่า ดีเลิศ ชั้นเลิศ ประเสริฐสุด และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ดังนั้น ศรีนาถ จึงหมายถึง นายและผู้เป็นที่พึ่งที่ดีเลิศ ชั้นเลิศ ประเสริฐสุด |
311 | มุรลีธร (อ่านว่า มุ-ระ-ลี-ทอน) | มุรลีธร | मुरलीधर ![]() | ![]() Muralīdhar | ในหนทางภักดี มุรลีธร เป็นอีกนามหนึ่งของกฤษณะ ที่ได้แสดงว่ากฤษณะเป็นผู้ที่ถือขลุ่ยไว้ในมือเสมอ และเป่าขลุ่ย ร่ายรำกับโคปะและโคปี แท้จริงแล้ว ศิวพาพาได้อวตารลงมาในร่างของพรหมา เป็นผู้เป่าขลุ่ยในรูปญาณ นั่นหมายถึงท่านมาให้ญาณแก่ลูกในสังคมยุค ผ่านร่างของพรหมา และพรหมา คือ ผู้ที่จะกลายเป็นกฤษณะในสัตยุค มุรลี แปลว่า ขลุ่ย และ ธร แปลว่า ผู้รักษาไว้ ผู้ทรงไว้ และผู้ที่ยึดไว้ |
318 | โมหนะ | โมหน | मोहन ![]() | ![]() Mohan | เป็นอีกนามหนึ่งของกฤษณะ ในหนทางภักดี โมหนะ หมายถึง มีเสน่ห์ น่าหลงใหล |
344 | ราเธศยามะ | ราเธศฺยาม | राधेश्याम ![]() | ![]() Rādheśyām | ราเธศยามะ เป็นอีกนามหนึ่งของกฤษณะ ศยามะ แปลว่า น่าเกลียด และ ราเธศยามะ หมายถึง กฤษณะที่ศยามะ ผู้เป็นของราเธ พาพา อธิบายว่ากฤษณะคงอยู่ในยุคทองเท่านั้น และมีความสวยงาม (บริสุทธิ์) ต่อมาเมื่ออาตมาเดียวกันนั้นได้เวียนว่ายตายเกิดจนกระทั่งการสิ้นสุดของจักรก็กลับมาน่าเกลียด (ไม่บริสุทธิ์) |
416 | ศยามะ สุนทร | ศฺยาม สุนฺทร | श्याम सुन्दर ![]() | ![]() śyām sundar | ศยามะ สุนทร เป็นหนึ่งในนามของกฤษณะ หมายถึง ผู้ที่น่าเกลียดและสวยงาม โดย ศยามะ แปลว่า น่าเกลียด และ สุนทร แปลว่า ดี สวยงาม พาพาอธิบายว่า กฤษณะคงอยู่ในยุคทองเท่านั้น และมีความสวยงาม (บริสุทธิ์) ต่อมาเมื่ออาตมาเดียวกันนั้นได้เวียนว่ายตายเกิดจนถึงการสิ้นสุดของจักร ก็กลับมาน่าเกลียด (ไม่บริสุทธิ์) ด้วยเหตุนี้เอง ศยามะ สุนทร จึงเป็นนามหนึ่งของกฤษณะ และลูกก็คือ ศยามะ สุนทร ด้วยเช่นกัน พาพาใช้คำว่า ศยามะ สุนทร คู่กับ โครา สางวรา หรือ กาลา เสมอ โดย โครา หมายถึง ผิวขาว สวยงาม และ สางวรา หมายถึง สีแทน หรือ กาลา หมายถึง สีดำ |