Top


พจนานุกรมภาษาฮินดี-ไทย-อังกฤษ จากมุรลีที่ใช้ในภาษาไทยและเกี่ยวข้องกับภาษาไทย



สารจาก
ทาทีชานกี
ทีทีนิรมล
ทีทีศีลู


last update: May 07 2025 12:01
รับฟังย้อนหลัง คลิกที่นี่

ประเด็นตอนต้น
และท้ายของมุรลี



วรทาน

ศรีมัทภควัทคีตา
สัตวจนะ - ข้อคิดประจำวัน

"เสี่ยงพร" ได้ที่นี่

วีดีโอบทการทำสมาธิของราชโยคะ


วีดีโอเพลงประกอบความรู้ของราชโยคะ


รับชม "วีดีโอพร" ได้ที่นี่

อุทยานพระพรหม

ยาตราย้อนรอยประวัติศาสตร์
และภูมิศาตร์โลก


สารจากผู้จัดทำ

ติดต่อ

ตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาฮินดี

  คลิกเพื่อรับชมวีดีโอญาณ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด  

สารบัญ - ประเภทของคำศัพท์ (คลิกเพื่อดู)
  1. ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Brahma Kumaris World Spiritual University
  2. สี่วิชา – อลังการของวิษณุ Four Subjects - Decorations of Vishnu
  3. มุรลี และ ญาณ Murli and Gyan
  4. องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา Faculties, Abilities of Soul องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา
  5. นามของบรมบิดา บรมาตมา Names of the Supreme Father, Supreme Soul
  6. การยกย่องสรรเสริญของศิวพาพาในสังคมยุค Shiv Baba’s Praise at the Confluence Age
  7. มาลา – สายลูกประคำ Rosaries
  8. ตัวละครในมหาภารตะ รามายณะ และภาควัต พร้อมทั้งคำอธิบายนามของตัวละครตามญาณของพาพา Characters of Mahabharat, Ramayan, and Bhagawad including Explanation of their Names according to Baba's Gyan
  9. เรื่องเล่า ตัวละคร พิธีกรรม และนามต่างๆ ของหนทางภักดีและโดยทั่วไป ที่กล่าวไว้ในมุรลี General and Bhakti Path Stories, Characters, Rituals and Names mentioned in Murlis
  10. ธรรม ผู้สถาปนาธรรม คุรุ และคัมภีร์ต่างๆ ของหนทางภักดีที่กล่าวไว้ในมุรลี Religions, Religion Founders, Gurus and Scriptures of Bhakti Path mentioned in Murlis
  11. เทศกาลในหนทางภักดีที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Bhakti Festivals related to the Confluence Age
  12. สถานที่ เมือง รัฐ และพลเมืองต่างๆ ที่กล่าวไว้ในมุรลี Places, Towns, States and Citizens mentioned in Murlis
  13. วัดและอนุสรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Temples, Memorials related to the Confluence Age
  14. สมญาของยุคทองที่ใช้ในมุรลี Titles of the Golden age used in Murlis
  15. วรรณะ วงศ์ พงศ์ Dynasties
  16. ประชาบิดา พรหมา Prajapita Brahma
  17. การยกย่องสรรเสริญของศรีกฤษณะในหนทางภักดี Praise of the Deity Shri Krishna
  18. นักแสดงหลักในละครโลก Main Actors in the World Drama
  19. มรดกของบรมบิดา Inheritance of the Supreme Father
  20. สมญาของครอบครัว Family Titles
  21. สมญาเพื่อความเคารพในตนเอง Titles for Self-Respect
  22. ดอกไม้ Flowers
  23. ผู้บริหารและผู้อาวุโสของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Administrators and Seniors of Prajapita Brahma Kumaris World Spiritual University
  24. สภาพต่างๆ และ การฝึกฝน เพ่งเพียรปฎิบัติของอาตมา Spiritual Stages and Effort
  25. ละครโลก กัลป์ และยุคต่างๆ World Drama, Kalpa and Yugs
  26. ชัคทัมพา สรัสวดี Jagadamba Saraswati
  27. กรรมและผลของกรรม Karma Philosophy
  28. สามโลก และธาตุของธรรมชาติ The Three Worlds and Elements of Nature
  29. เบ็ดเตล็ด Miscellaneous
กลับสู่หน้าหลัก Main page
ประเภทที่แสดง --> 13. วัดและอนุสรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Temples, Memorials related to the Confluence Age

ใส่คำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม
ปิด-เปิด Column ที่ต้องการ 12345
No.1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป 3. ภาษาฮินดี 4. อักษรโรมัน 5. ความหมายในภาษาไทย
7อจลฆระ/อจลครห์อจลฆร/อจลครฺหअचलघर/अचलगढ़
Acalaghar/Acalagaṛh
อจลฆระ/อจลครห์ เป็นบ้าน หรือ ป้อมแห่งความมั่นคง ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 11 ทางทิศเหนือบนภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย

อจลฆระ/อจลครห์ เป็นอนุสรณ์ของลูกที่มีศรัทธาในพุทธิของการได้รับชัยชนะเหนือกิเลสและอุปสรรคมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว และ เป็นผู้ล่วงรู้ความลับของความรู้ จึงมีสภาพที่มั่นคง

อจลฆระ/อจลครห์ มาจากคำว่า อจละ แปลว่า มั่นคง คงที่ ไม่ไหวหวั่น ฆระ แปลว่า บ้าน และ ครห์ แปลว่า ป้อม
89คอูมุข (ฮินดี)/โคมุข (สันสกฤต)คอูมุข (ฮินดี)/โคมุข (สันสกฤตगऊमुख/गोमुख
Gaūmukh (Hindi)/Gomukh (Sanskrit)
คอูมุข คือ ปากของวัว

ในหนทางภักดี ได้ทำรูปศีรษะของวัววางไว้ข้างหน้าศิวลึงค์ และมีน้ำไหลออกมาจากปากของวัวอย่างต่อเนื่อง และเข้าใจกันว่าเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์

แท้จริงแล้ว คอูมุข คือ อนุสรณ์ของสังคมยุค เมื่อศิวพาพา มาให้ญาณผ่านปากของพรหมา (บทบาทของแม่) และทำให้อาตมากลับมาบริสุทธิ์

คอูมุข มาจากคำว่า คอู หรือ โค หมายถึง วัวเพศเมีย กับ มุข หมายถึง ปาก
104คุรุศิขร (อ่านว่า คุ-รุ-สิ-ขอน)คุรุ ศิขรगुरु शिखर
Guru Śikhar
วัดที่สูงสุดบนภูเขาอาพู ซึ่งเป็นภูเขาที่ตั้งของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ณ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย

บรมสัตคุรุ คือ ศิวพาพา ผู้สูงสุดของทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง วัดที่สร้างให้แก่ท่าน จึงตั้งอยู่ที่สูงสุด

ศิขร หมายถึง ยอด ยอดเขา ภูเขา
181เทลวารา/ทิลวาลาเทลวารา/ทิลวาลาदेलवाड़ा/दिलवाला
Delavāṛā/Dilavālā
พาพาได้กล่าวว่า วัดเทลวารา/ทิลวาลา เป็นอนุสรณ์ของศิวพาพา อาทิเทพ อาทิเทวี พรหมากุมารและกุมารี ในวัดได้มีการแกะสลักรูปสวรรค์ไว้ที่เพดาน และที่พื้นเป็นรูปโยคีทำตปัสยา (ตบะ) เปิดตา ซึ่งแสดงถึงลูกที่ทำตปัสยาในสังคมยุค และได้รับผลรางวัลของสวรรค์ในอนาคต

วัดเทลวารา/ทิลวาลาเป็นวัดที่สร้างโดยชาวเชนของเชนธรรม ที่มีสถาปัตยกรรมการแกะสลักหินอ่อนสีขาวอันงดงาม ในวัดได้มีรูปเคารพหลักของอาทินาถ ศาสดาองค์แรก และมหาวีระ ศาสดาองค์ที่ 24 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายของเชนธรรม โดยวัดนี้สร้างเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว แท้จริงแล้ว อาทินาถ และ มหาวีระ คือ อนุสรณ์ของพรหมา
237พทรีนาถ (อ่านว่า พะ-ทรี-นาด)พทฺรีนาถबद्रीनाथ Badrināthพทรีนาถ หมายถึง นาถผู้ที่มาและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ ศิวพาพา โดย นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง

ในหนทางภักดี ได้มีวัดพทรีนาถ ที่สร้างให้กับวิษณุ บนเขาหิมาลัยของรัฐอุตตราขัณฑ์ ตอนเหนือของประเทศอินเดีย และเป็นหนึ่งในสี่สถานที่จาริกแสวงบุญหลักของฮินดูธรรม แท้จริงแล้วนั่นคือวัดที่เป็นอนุสรณ์ของศิวะ
411ศิวาลัยศิวาลยशिवालय
Śivālay
ศิวาลัย มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาลัย ที่หมายถึง ที่อยู่ ที่พัก

ศิวาลัย มีหลายความหมาย ได้แก่ 1. วัดที่มีการสร้างศิวลึงค์ 2. สถานที่ที่ศิวะอาศัยอยู่ นั่นคือ บรมธามะ นิราการีโลก หรือศิวบุรี 3. สวรรค์ที่สร้างโดยศิวะ 4. รถ (ร่าง) ของพรหมาที่ศิวะมาใช้ นั่นหมายถึง ศิวาลัยที่มีชีวิต





You are visitors No.12601 since 16th September 2024.

© 2025 Brahma Kumaris Thailand. All rights reserved.