No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
9 | อัชเมระ | อชเมร | अजमेर ![]() | ![]() Ajamer | อัชเมระ เป็นเมืองหลักของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย โดยอยู่ห่างจากภูเขาอาพู ประมาณ 350 กิโลเมตร พาพาได้กล่าวถึงวัดทองคำ ที่แสดงแบบจำลองของสวรรค์ และ วัดพรหมา ตั้งอยู่ที่ตำบลปุศกระ ในเมืองอัชเมระด้วย |
24 | อมฤตสระ | อมฺฤตสร | अमृतसर ![]() | ![]() Amṛtasar | อมฤตสระ เป็นเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย โดยมีสถานที่สำคัญ คือ หริมันทิระ สาหิพ หรือ สุวรรณวิหาร สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ ที่ผู้คนไปจาริกแสวงบุญและอาบน้ำที่สระรอบหริมันทิระ สาหิพ โดยเข้าใจกันว่าเป็นอมฤตสระ นั่นคือ สระน้ำทิพย์ จึงเป็นที่มาของชื่อเมือง อมฤตสระ หรือที่เรียกกันว่า อมฤตสาร์ และชาวสิกข์ได้สร้างอกาลตัขตะ (บัลลังก์ที่อกาล) ไว้ที่วิหารนี้ด้วย แท้จริงแล้ว พาพาได้มาให้ญาณแก่ลูก ทำให้รู้ว่าตัวเราที่แท้จริง คือ อาตมา ที่ไม่ตาย เป็น อมตะ คำว่า อมฤต หมายถึง ไม่ตาย ที่ตรงข้ามกับ มฤต ที่หมายถึง ความตาย อกาลตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ หรือ ที่อยู่ของอาตมาที่อกาล มาจากคำว่า อกาล หมายถึง ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ ตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ |
45 | อาพู | อาพู | आबू ![]() | ![]() Ābū | ภูเขาอาพู ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ที่มีความสูงประมาณ 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลของแนวเทือกเขาอราวลี และเป็นที่ตั้งของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา ภูเขาอาพู มีสถานที่สำคัญที่เป็นอนุสรณ์ของของศิวพาพา อาทิเทพ อาทิเทวี พรหมากุมารและกุมารี และเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนไปจาริกแสวงบุญ ได้แก่ วัดเทลวารา คุรุศิขร อจลฆระ และ คอูมุข เป็นต้น นอกจากนี้ ภูเขาอาพู ยังเป็นสถานที่พักผ่อน ที่มีอากาศเย็นสบาย และมีทะเลสาบนักกีที่สงบและสวยงาม เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วย |
59 | กราจี (อ่านว่า กะ-รา-จี) | กราจี | कराची ![]() | ![]() Karācī | ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ได้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2479-2480 ที่เมืองไฮเดอราบาด รัฐสินธ์ ประเทศอินเดีย และในปีเดียวกัน ก็ได้ย้ายมาตั้งที่เมืองกราจี ระยะทางประมาณ 160 กม. จากเมืองไฮเดอราบาด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน) โดย พรหมากุมารี ผู้เป็นนักศึกษาเริ่มแรก ประมาณ 400 คน ได้มีการฝึกฝนและทำตปัสยา (ตบะ) อย่างจริงจังเป็นเวลา 14 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้ย้ายจากเมืองกราจี มาที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย |
61 | กรนาฏกะ (อ่านว่า กะ-รฺ-นา-ตะ-กะ) | กรฺนาฏก | कर्नाटक ![]() | ![]() Karnāṭak | กรนาฏกะ คือ รัฐที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศอินเดีย ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก ชื่อรัฐมาจากภาษากันนาดา แปลว่าแผ่นดินที่ถูกยกขึ้นสูง หรือ เขตดินดำ เดิมใช้ชื่อรัฐไมซอร์ และเปลี่ยนมาใช้ชื่อกรนาฏกะ พาพา ได้ให้ความหมายของกรนาฏกะ ว่า กร แปลว่า ผู้ทำ ผู้ก่อ และ นาฏกะ แปลว่า การแสดง ละคร นั่นหมายถึง อาตมาเมื่อมารับร่างก็คือ ผู้แสดง หรือ นักแสดงละคร |
71 | กาสี | กาศี | काशी ![]() | ![]() Kāshī | กาสี เป็นเมืองตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำคงคาในรัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ปัจจุบันรู้จักกันในนามว่า พาราณสี หรือ พนารสะ ในสมัยก่อน กาสีเป็นเมืองที่ภักตะไปสังเวยชีวิตให้กับศิวะที่วัดวิศวนาถ ที่เรียกว่า กาสี กรวัฏ เพื่อตัดศีรษะตนเองด้วยเลื่อยของกาสีที่เป็นที่โด่งดัง จากการกระโดดลงไปในบ่อที่มีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน โดยเข้าใจว่าจะได้รับมุกติ (การหลุดพ้น) วิศวนาถ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้เป็นนาถของโลก โดย วิศว แปลว่า โลก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
75 | กุรุเกษตร | กุรุเกฺษตฺระ | कुरुक्षेत्र ![]() | ![]() Kurukṣetra | สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ใน "มหาภารตะ" มหากาพย์ของอินเดีย โดยทุ่งกุรุเกษตร เป็นที่ราบที่อยู่ใกล้ๆ กับกรุงหัสตินาปุระ ปัจจุบันอยู่ในรัฐหริยาณา ที่ทั้งสองตระกูลคือปาณฑพและเการพเลือกใช้เป็นสนามรบ ในราชโยคะ กุรุเกษตร หรือ กรรมเกษตร คือ เกษตร ที่หมายถึง ท้องทุ่ง พื้นที่ หรือ สถานที่ทำกรรม ได้แก่ 1. เกษตรของสงครามมหาภารตะเกิดขึ้น 2. เกษตรของพุทธิที่อาตมามีชัยชนะเหนือกิเลส 3. ทั้งโลก คือ เกษตรที่อาตมาเพาะเมล็ดของการกระทำและได้รับผลตามการกระทำนั้น สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ใน "มหาภารตะ" นั้น ได้มีบทสนทนาโต้ตอบระหว่างกฤษณะที่เป็นสารถีขับรถศึกให้อรชุน ที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ออกมาโดยสัญชัย ผู้เป็นอํามาตย์รับใช้ของท้าวธฤตราษฏร์ ผู้ตาบอดแห่งเมืองหัสตินาปุระ และเป็นบิดาของเการพ ทั้งนี้ มหาฤษีวยาส หรือ พระฤษีกฤษณไทวปายนเป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สัญชัย เพื่อเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามครั้งนั้นอย่างแจ่มแจ้งทั้งๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยถวายรายงานต่อท้าวธฤตราษฎร์ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ แท้จริงแล้ว ในสังคมยุคนี้ สัญชัย ก็คือ ลูกของพาพาที่สามารถมองเห็นและเข้าใจทุกสิ่งอย่างถ่องแท้ด้วยดวงตาที่สาม (ทิพยจักษุ หรือ ตาทิพย์) จากพุทธิที่มีญาณเป็นพื้นฐาน และลูกคือผู้ถ่ายทอดญาณนี้แก่ดวงวิญญาณทั้งโลกที่ไม่รู้จักพาพา และ อญาณเปรียบกับราชาธฤตราษฏร์ที่ตาบอด พาพาได้ให้สมญาแก่พรหมากุมารชัคทีศ ว่าเป็นสัญชัย |
99 | คุชราต | คุชราต | गुजरात ![]() | ![]() Gujarāt | คุชราต คือ รัฐหนึ่งทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย ที่ติดกับทะเลอาหรับ และเป็นบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย รัฐคุชราตนี้อยู่ใกล้กับภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ด้วย |
100 | คุชราตี | คุชราตี | गुजराती ![]() | Gujarātī | ผู้คนจากรัฐคุชราต เรียกว่า คุชราตี และคุชราตีเป็นภาษาของชาวคุชราต |
131 | ชัมมูและกาศมีร์ (กัศมีร์) | ชมฺมูและกาศฺมีร (กศฺมีร) | जम्मू और काश्मीर (कश्मीर) ![]() | ![]() Jammu aur Kāśmīr (Kaśmīr) | ชัมมูและกาศมีร์ (กัศมีร์) คือ รัฐเหนือสุดของประเทศอินเดีย เป็นรัฐที่ดินแดนส่วนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย พาพา ได้กล่าวถึงถ้ำอมรนาถ ซึ่งเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญและมีชื่อเสียงของฮินดูธรรมตั้งอยู่ที่รัฐนี้ |
133 | ชัยปุระ | ชยปุร | जयपुर ![]() | ![]() Jaipur | ชัยปุระ เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐราชสถาน โดยได้รับการเรียกว่า เมืองสีชมพู พาพากล่าวว่า ชัยปุระมีพิพิธภัณฑ์หฐโยคีที่แสดงในท่าต่างๆ ไว้มากมาย |
159 | ตริเวณี/ตรีเวณี | ตฺริเวณี | त्रिवेणी ![]() | ![]() triveṇī | ตรีเวณีสังคม อยู่ที่เมืองประยาค (อัลลอฮาบาด) ของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในหนทางภักดี มีความเชื่อว่า ตรีเวณีสังคม เป็นจุดที่แม่น้ำทั้งสามสาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสรัสวดี (ซึ่งเชื่อกันว่าแม่น้ำสรัสวดีเป็นแม่น้ำที่มองไม่เห็นหรือแฝงตัว) มาบรรจบกัน ที่เรียกว่า "ตรีเวณีสังคม" หรือ "จุฬาตรีคูณ" และเป็นสถานที่ที่หยดของน้ำทิพย์ได้หล่นลงมาจากกุมภ์ ซึ่งอยู่ในมือของเทวดา และเมื่อดำลงไปที่ตรีเวณีสังคม แล้วจะเป็นการชำระล้างบาปให้หมดไป และมีการจัดกุมภเมลา ทุกๆ 12 ปี โดยภักตะของฮินดูธรรมทั่วทั้งอินเดีย ได้มายังสถานที่จาริกแสวงบุญที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ พาพาได้กล่าวว่า ในทางโลกเป็น กุมภเมลา ที่มาบรรจบกันของสองแม่น้ำเท่านั้น ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา โดยไม่ได้มีแม่น้ำสรัสวดีตามที่เชื่อกัน และในความเป็นจริงแล้ว บรมบิดา บรมาตมาได้ลงมาในปุรุโษตตมสังคมยุค นี่คือ การบรรจบพบกันระหว่างอาตมา (นที) กับบรมาตมา (สาคร) เกิดขึ้น จึงเป็นกุมภเมลาที่แท้จริง ในเวลาของสังคมยุคนี้ บรมบิดา บรมาตมา ผู้ทำให้บริสุทธิ์ ได้มาและทำให้อาตมาที่ไม่บริสุทธิ์กลับมาบริสุทธิ์ พร้อมทั้งนำกลับไปยังบรมธามะ นที หมายถึง แม่น้ำ และ สาคร หมายถึง มหาสมุทร |
168 | ดิลลี/เดลี | ดิลฺลี | दिल्ली ![]() | ![]() Dillī | เดลี คือ ราชธานีของโลกใหม่ในสัตยุค และปัจจุบัน เดลีก็เป็นเมืองหลวงของประเทศอินเดียด้วย |
205 | ปัญชาพ/ปัญจาบ | ปัญชาพ | पंजाब ![]() | ![]() Pañjāb | ปัญจาบ คือ รัฐหนึ่งทางเหนือของอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ จัณฑีครห์ และรัฐนี้เป็นศูนย์กลางของชาวสิกข์ โดยมีสถานที่สำคัญ คือ หริมันทิระ สาหิพ หรือ สุวรรณวิหาร สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ และได้มีการสร้าง อกาลตัขตะ (บัลลังก์ที่อกาล) ไว้ที่วิหารนี้ด้วย ดั้งเดิมแล้ว ภูมิภาคปัญจาบ ประกอบด้วยดินแดนทางตะวันออกของประเทศปากีสถานและทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเป็นดินแดนแห่งแม่น้ำห้าสาย (ปัญจนที) ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเฌลัม, แม่น้ำจนาพ, แม่น้ำราวี, แม่น้ำสตลุช และแม่น้ำบีอัส ทั้งนี้ แม่น้ำห้าสายนี้ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสินธุ ปัญจ แปลว่า ห้า และ นที แปลว่า แม่น้ำ |
281 | ภารตะ | ภารต | भारत ![]() | ![]() bhārat | สถานที่เกิดของศิวะ และเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับโลกใหม่ จะมีการสถาปนาขึ้นมา "ภารตะ" คือ ชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐอินเดีย และระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของอินเดีย มาตราแรกว่า "อินเดีย คือ ภารตะเป็นสาธารณรัฐ" ดังนั้นชื่อเรียกประเทศว่า อินเดียและภารตะ จึงใช้อย่างเป็นทางการ เท่าเทียมกัน |
289 | มธุพน (อ่านว่า มะ-ทุ-พน หรือ มะ-ทุ-พะ-นะ) | มธุพน | मधुबन ![]() | ![]() Madhuban | มธุพน เป็นนามใช้เรียกสถานที่ตั้งของ ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ณ ภูเขาอาพู มธุพน แปลว่า ป่าน้ำผึ้ง โดย ดั้งเดิมนั้นเรียกว่า มธุวน แต่ต่อมาได้กลายเป็น มธุพน อย่างไรก็ตามก็มีความหมายเดียวกัน มธุพน มาจากคำว่า มธุ แปลว่า นํ้าผึ้ง และ วน หรือ พน แปลว่า ป่า |
301 | มหาราษฏระ | มหาราษฺฏฺระ | महाराष्ट्र ![]() | Mahārāṣṭra | มหาราษฏระ เป็นหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ ติดต่อกับกับทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อ มุมไบ พาพากล่าวว่า มหาราษฏระ เป็นดินแดนที่ยิ่งใหญ่ มหาราษฏระ มาจากคำว่า มหา แปลว่า ยิ่งใหญ่ กับ ราษฏระ แปลว่า ดินแดน แคว้น คำไทยเขียนว่า ราษฎร์ หรือ ราษฎร |
340 | ราชสถาน | ราชสฺถาน | राजस्थान ![]() | Rājasthān | ราชสถาน เป็นรัฐที่อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มีเขตแดนทางทิศตะวันตกติดกับประเทศปากีสถาน และเป็นที่ตั้งของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 หลังจากย้ายจากเมืองกราจี รัฐสินธ์ มาที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ทั้งนี้ ตามความหมายของคำ ราชสถาน คือ สถานที่ของราชา จึงได้มีปราสาท พระราชวัง ป้อม ต่างๆ มากมายเป็นจนกระทั่งทุกวันนี้ และที่สำคัญ คือ วัดเทลวารา/ทิลวาลา ที่เป็นอนุสรณ์ศิวพาพา อาทิเทพ อาทิเทวี พรหมากุมารและกุมารี โดยในวัดได้มีการแกะสลักรูปสวรรค์ไว้ที่เพดาน และที่พื้นเป็นรูปโยคีทำตปัสยา (ตบะ) เปิดตา ที่แสดงถึงลูกของพาพาทำตปัสยาในสังคมยุคและจะได้รับผลรางวัลของสวรรค์ในอนาคต |
381 | พฤนทาวน (อ่านว่า พรึน-ทา-วะ-นะ)/พฤนทาพน (อ่านว่า พรึน-ทา-พะ-นะ) | วฺฤนฺทาวน | वृन्दावन ![]() | ![]() Vṛndāvan | พฤนทาวน เป็นตำบลในเมืองมธุรา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในฮินดูธรรมได้กล่าวว่า กฤษณะใช้ชีวิตวัยเด็ก และร่ายรำกับโคปะและโคปีที่พฤนทาวน อยู่ห่างประมาณ 11 กิโลเมตร จากเมืองมธุรา ซึ่งเป็นสถานที่เกิดของกฤษณะ พฤนทาวน หมายถึง วนอุทยาน พื้นที่ป่าสวนดอกไม้ |
411 | ศิวาลัย | ศิวาลย | शिवालय ![]() | ![]() Śivālay | ศิวาลัย มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาลัย ที่หมายถึง ที่อยู่ ที่พัก ศิวาลัย มีหลายความหมาย ได้แก่ 1. วัดที่มีการสร้างศิวลึงค์ 2. สถานที่ที่ศิวะอาศัยอยู่ นั่นคือ บรมธามะ นิราการีโลก หรือศิวบุรี 3. สวรรค์ที่สร้างโดยศิวะ 4. รถ (ร่าง) ของพรหมาที่ศิวะมาใช้ นั่นหมายถึง ศิวาลัยที่มีชีวิต |
444 | สินธ์ | สินฺธ | सिन्ध ![]() | ![]() Sindh | สินธ์ เป็นหนึ่งในสี่รัฐของประเทศปากีสถาน ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ได้มีการวางรากฐานจุดเริ่มต้นที่เมืองไฮเดอราบาด ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในรัฐสินธ์ ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2479-2480 และในปีเดียวกัน ก็ได้ย้ายมาตั้งที่เมืองกราจี ระยะทางประมาณ 160 กม. จากเมืองไฮเดอราบาด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2493 ได้ย้ายจากเมืองกราจี มาที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย |
462 | หริทวาร | หริทฺวาร | हरिद्वार ![]() | ![]() Haridvār | หริทวาร หมายถึง ประตูไปสู่หริ ในราชโยคะ หริทวาร มาจากคำว่า หริ แปลว่า ผู้ขจัดความทุกข์ ซึ่งหมายถึง ศิวะ กับ ทวาร แปลว่า ประตู ดังนั้นหริทวาร ก็คือ มธุพน และ บรมธามะ ในหนทางภักดี หริ เป็นนามที่เรียกกฤษณะ จึงหมายถึง พาพาเป็นผู้เปิดทวารของกฤษณะ นั่นคือ ไวกูณฐ์ที่กฤษณะอาศัยอยู่ หริทวาร เป็นเมืองโบราณและสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญของฮินดูธรรม ตั้งอยู่ที่รัฐอุตตราขัณฑ์ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และเป็นเมืองตีนเขาของหิมาลัยที่แม่น้ำคงคาไหลลงมา |
469 | ฮินดุสถาน/ฮินดูสถาน | ฮินฺดุสตาน | हिन्दुस्तान ![]() | ![]() Hindustān | ภารตะ คือ ชื่อดั้งเดิมที่ใช้เรียกดินแดนสวรรค์ และต่อมาก็มีการเรียกว่า ฮินดุสถาน ซึ่งมาจากชื่อแม่น้ำสินธุ กับคำว่า สตาน นั่นคือ สถาน พาพากล่าวว่า ภารตวาสีได้ใช้ชื่อฮินดุสถาน มาเรียกเป็นธรรมของตนเองว่าฮินดูธรรมด้วย คนมักนิยมเขียนว่า ฮินดูสถาน วาสี แปลว่า ผู้อยู่ ผู้ครอง |