No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
129 | ชนมาษฏมี/ชันมาษฏมี | ชนฺมาษฺฏมี | जन्माष्टमी ![]() | ![]() Janmāṣṭamī | ชนมาษฏมี เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองวันเกิดของกฤษณะ โดยตรงกับแรม 8 ค่ำ ของเดือนภาทรปทะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนสิงหาคมของทุกปี และหลังจากเทศกาลรักษาพันธนะหนึ่งสัปดาห์ ชนมาษฏมี มาจากคำว่า ชนม์ แปลว่า วันเกิด กับ อัษฏา แปลว่า ที่แปด ในหนทางภักดีกล่าวว่า กฤษณะเป็นลูกคนที่แปด แท้จริงแล้วเป็นแปดชาติเกิดของกฤษณะในสัตยุค มีการเขียนว่า ชันมาษฏมี ด้วย |
164 | ทศหรา | ทศหรา | दशहरा ![]() | ![]() Daśaharā | ทศหรา เป็นเทศกาลที่สำคัญของฮินดูธรรม และมีการเรียกกันว่า วิชัยทศมี โดยตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ ของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี และก่อนเทศกาลทิวาลีประมาณ 19-20 วัน ทศหรา และ วิชัยทศมี มาจากคำว่า ทศ แปลว่า สิบ กับคำว่า วิชัย หมายถึง ชัยชนะ และ หรา หมายถึง ทำให้แพ้ การขจัด ทศหรา เป็นวันที่รามเอาชนะราพณ์ (ทศกัณฐ์) ซึ่งเป็นวันที่ถัดมาจากเทศกาลนวราตรีที่มีการบูชาเทวี 9 วันอย่างต่อเนื่อง และวันที่ 10 เป็นวันทศหรา ที่เฉลิมฉลองด้วยการเผาหุ่นจำลองของราพณ์ อินทรชิต (เมฆนาท) และ กุมภกรรณ โดยมีการทำหุ่นจำลองของราพณ์ 10 หัว ที่แสดงถึงกิเลสทั้ง 5 ของหญิงและชาย แท้จริงแล้ว ทศหรา เป็นอนุสรณ์การเฉลิมฉลองของพาพาและลูกของท่านที่เอาชนะราพณ์ นั่นคือ กิเลส นวราตรี มาจากคำว่า นว หมายถึง เก้า และ ราตรี หมายถึง กลางคืน ราพณ์ หรือ ราวณะ เป็นชื่อเรียกทศกัณฐ์ |
169 | ทิวาลี | ทิวาลี | दिवाली ![]() | ![]() Divālī | ทิวาลี เป็นเทศกาลแห่งแสงของฮินดูธรรมที่ฉลองในอมาวสี คืนแรม 15 ค่ำ ซึ่งดวงจันทร์มืดสนิทของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และหลังเทศกาลทศหราประมาณ 19-20 วัน ทิวาลี เป็นคำที่กร่อนมาจากคำว่า ทีปาวลี ที่หมายถึง แถวหรือแนวของตะเกียงหรือแสงไฟ มาจากคำว่าทีป คือ ตะเกียงหรือแสงไฟกับ วลี คือ แถว แนว ทิวาลี เป็นสัญลักษณ์ของเอาชนะปีศาจ (กิเลส) โดยได้มีการจดจำว่าเป็นการอวตารลงมาของศิวพาพาในเวลาสุดท้ายของกลียุค ที่เป็นความมืดของความไม่รู้ และเป็นการเฉลิมฉลองการขึ้นครองบัลลังก์ของลักษมีและนารายณ์ในสัตยุคด้วย |
173 | ทีปมาลา | ทีปมาลา | दीपमाला ![]() | ![]() Dīpamālā | ทีปมาลา เป็นอีกนามหนึ่งของเทศกาลทิวาลีและทีปาวลี ทีปมาลา คือ เทศกาลแห่งมาลาของแสงหรือตะเกียงของฮินดูธรรม ตามตัวอักษรแล้ว มาลา หมายถึง สิ่งที่ร้อยเรียงเป็นวง และ ทีป หมายถึง ตะเกียงหรือแสงไฟ ทีปมาลา เป็นเทศกาลแห่งแสงของฮินดูธรรมที่ฉลองในอมาวสี คืนแรม 15 ค่ำ ซึ่งดวงจันทร์มืดสนิทของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และหลังเทศกาลทศหรา ประมาณ 19-20 วัน นั่นคือ สัญลักษณ์ของการเอาชนะปีศาจ (กิเลส) โดยได้มีการจดจำว่าเป็นการอวตารลงมาของศิวพาพาในเวลาสุดท้ายของกลียุคที่เป็นความมืดของความไม่รู้ และเป็นการเฉลิมฉลองการขึ้นครองบัลลังก์ของลักษมีและนารายณ์ในสัตยุคด้วย |
176 | ทีปาวลี | ทีปาวลี | दीपावली ![]() | ![]() Dīpāvalī | เป็นอีกนามหนึ่งของเทศกาลทิวาลี และ ทีปาวลี ทิวาลี เป็นคำที่กร่อนมาจากคำว่า ทีปาวลี หมายถึง แถวหรือแนวของตะเกียงหรือแสงไฟ มาจากคำว่าทีป คือ ตะเกียงหรือแสงไฟ กับ วลี คือ แถว แนว ทิวาลี เป็นเทศกาลแห่งแสงของฮินดูธรรม ที่ฉลองในอมาวสี คืนแรม 15 ค่ำ ซึ่งดวงจันทร์มืดสนิทของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และหลังเทศกาลทศหรา ประมาณ 19-20 วัน นั่นคือ สัญลักษณ์ของการเอาชนะปีศาจ (กิเลส) โดยได้มีการจดจำว่าเป็นการอวตารลงมาของศิวพาพาในเวลาสุดท้ายของกลียุคที่เป็นความมืดของความไม่รู้ และเป็นการเฉลิมฉลองการขึ้นครองบัลลังก์ของลักษมีและนารายณ์ในสัตยุคด้วย |
192 | ธุริยา | ธุริยา | धुरिया ![]() | ![]() Dhuriyā | โหลี เป็นเทศกาลสาดสีของฮินดูธรรมที่มีการเฉลิมฉลองกันสองวัน โดยธุริยาเป็นวันที่สองของเทศกาลนี้ ซึ่งผู้คนเล่นสาดสีใส่กันด้วยผงสีและน้ำสี ธุริยา เป็นคำสินธี และในภาษาฮินดี เรียกว่า รงควาลีโหลี (รงค์ หมายถึง สี) ธุเลฏี ธุลัณทิ หรือ ธุลิวันทนะ ในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) หรือ โฉฏีโหลี ที่ผู้คนมารวมกัน และทำพิธีของธรรมเบื้องหน้ากองไฟที่จุดขึ้นมากลางแจ้ง ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งพร่ำสวดเพื่อให้ความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีภายในถูกขจัดออกไป ขณะที่ก่อกองไฟเผาไหม้กลางแจ้ง โดยจะเฉลิมฉลองในวันพระจันทร์เต็มดวง โหลี จะเริ่มต้นเฉลิมฉลองในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) เรียกว่าวัน ‘โหลิกาทหนะ’ และวันถัดมา เรียกว่า วันธุริยา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) โดยทั้งสองวันนี้ จะอยู่ราวเดือนมีนาคมของทุกปี |
327 | รักษาพันธนะ | รกฺษาพนฺธน | रक्षाबंधन ![]() | ![]() Rakṣābandhan | รักษาพันธนะ เป็นเทศกาลที่ ลูกของพาพาให้คำมั่นสัญญาที่จะอยู่อย่างบริสุทธิ์ แสดงด้วยการผูกราขี คือ สายสร้อยผูกประดับข้อมือทำด้วยฝ้าย ไหม และทำให้ได้รับการปกป้องคุ้มครอง ความรัก และการดูแลจากพาพา ในหนทางภักดี เทศกาลรักษาพันธนะนั้น เฉลิมฉลองโดยพหินะ (พี่น้องหญิง) ผูกราขีให้กับภาย (พี่น้องชาย) แสดงสัญลักษณ์ของความรักและพันธนะให้ภาย (พี่น้องชาย) ที่จะปกป้องเธอ เทศกาลนี้ มีการเฉลิมฉลองในวันพระจันทร์เพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำของเดือนศราวนะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนสิงหาคมของทุกปี รักษาพันธนะ มาจากคำว่า รักษา แปลว่า ปกป้อง ดูแล และ พันธนะ แปลว่า การผูก การมัด |
334 | ราขี | ราขี | राखी ![]() | ![]() rākhī | ราขี คือ สายสร้อยผูกประดับข้อมือ ทำด้วยฝ้าย ไหม ซึ่งเป็นการแสดงถึง ลูกของพาพาให้คำมั่นสัญญาที่จะอยู่อย่างบริสุทธิ์ และทำให้ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากพาพา ในหนทางภักดี เทศกาลรักษาพันธนะ เฉลิมฉลองโดยพหินะ (พี่น้องหญิง) ผูกราขีให้กับภาย (พี่น้องชาย) เป็นสัญลักษณ์ของความรักและพันธนะให้ภาย (พี่น้องชาย) ปกป้องเธอ เทศกาลนี้ มีการเฉลิมฉลอง ในวันพระจันทร์เพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำของเดือนศราวนะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนสิงหาคมของทุกปี |
373 | วิชัยทศมี/วิชยาทศมี | วิชยทศมี/วิชยาทศมี | विजयदशमी/विजयादशमी ![]() | ![]() Vijayadaśamī/Vijayādaśamī | วิชัยทศมี เป็นเทศกาลที่สำคัญของฮินดู และรู้จักกันในนาม ทศหรา โดยตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ ของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี และก่อนเทศกาลทิวาลีประมาณ 19-20 วัน วิชัยทศมี คือ รูปของการเอาชนะราพณ์ (ทศกัณฐ์) ที่มี 10 หัว ในเทศกาลนี้จะมีการเผาหุ่นจำลองของราพณ์ ที่มี 10 หัว ที่หมายถึงกิเลสทั้ง 5 ของ ชายและหญิงรวมกัน เทศกาลนี้เป็นการปิดท้ายหลังจากเทศกาลนวราตรีที่มีการบูชาเทวี 9 วันอย่างต่อเนื่อง และเป็นอนุสรณ์ของราม (ศิวพาพา) และลูกที่เอาชนะเหนือราพณ์ นั่นหมายถึง กิเลส นวราตรี มาจากคำว่า นว หมายถึง เก้า และ ราตรี หมายถึง กลางคืน ราพณ์ หรือ ราวณะ เป็นชื่อเรียกทศกัณฐ์ |
403 | ศิวชยันตี | ศิวะ ชยนฺตี | शिव जयन्ती ![]() | ![]() Śiva Jayantī | ศิวชยันตี คือ วันเกิดของศิวะ ในหนทางภักดี เรียกว่า ศิวราตรี คือ ราตรี หรือ กลางคืนที่มืดมิดของศิวะ นั่นคือ สภาพของความไม่รู้ ปาป และ กิเลสที่เกิดขึ้นในเวลาสุดท้ายของวงจรโลก ดังนั้นศิวะจึงได้อวตารลงมาในเวลานี้ ศิวราตรี เป็นเทศกาลของฮินดูธรรม ที่เฉลิมฉลองในวันแรม 14 ค่ำ เดือนมาฆะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ซึ่งจะเป็นช่วงที่เรียกว่า ปักษ์ขาด หมายถึงจะไม่มีแรม 15 ค่ำ ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ชยันตี หมายถึง วันเกิด วันครบรอบวันเกิด ผู้มีที่สุดแห่งชัยชนะ |
407 | ศิวราตรี | ศิวราตฺริ | शिवरात्रि ![]() | ![]() Śiva Rātri | ศิวราตรี คือ ราตรี หรือ กลางคืนที่มืดมิดของศิวะ ซึ่งหมายถึง สภาพของความไม่รู้ บาป และกิเลสที่เกิดขึ้นในเวลาสุดท้ายของวงจรโลก ดังนั้นศิวะ จึงได้อวตารลงมาในเวลานี้ ทั้งนี้ ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ได้มีการฉลองศิวราตรี ว่าเป็น ศิวชยันตี นั่นคือ วันเกิดของศิวะ หรือ ทิพยชนม์ของศิวะ ศิวราตรี เป็นเทศกาลของฮินดูธรรม ที่เฉลิมฉลองในวันแรม 14 ค่ำ เดือนมาฆะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ซึ่งจะเป็นช่วงที่เรียกว่า ปักษ์ขาด หมายถึงจะไม่มีแรม 15 ค่ำ ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ราตรี หมายถึง กลางคืนที่มืดมิด และ ชยันตี หมายถึง วันเกิด วันครบรอบวันเกิด ผู้มีที่สุดแห่งชัยชนะ |
472 | โหลิกา | โหลิกา | होलिका ![]() | ![]() Holkā | จากคัมภีร์ปุราณะของฮินดูธรรม หิรัณยกัศยปะ คือ ราชาที่เป็นอสูร ผู้เป็นภักตะของศิวะ ที่เพ่งเพียรปฏิบัติและทำตปัสยา (ตบะ) จนศิวะตกลงให้พรตามที่หิรัณยกัศยปะขอว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน หลังจากได้รับพร หิรัณยกัศยปะ ก็เลิกทำภักดี และให้ทุกคนมากราบไหว้ตนเอง ทั้งนี้ ประหลาท ลูกชายของหิรัณยกัศยปะ เป็นภักตะของวิษณุ หิรัณยกัศยปะจึงให้โหลิกา พี่สาวของตนพยายามฆ่าประหลาท โหลิกานั้นเป็นอสุรีที่เป็นภักตะของศิวะ และได้รับพรจากศิวะ ว่าจะไม่ถูกทำลายด้วยไฟเมื่อสวมเชือกพิเศษ จึงได้นำประหลาทมานั่งบนตักของเธอ แล้วหิรัณยกัศยจุดไฟเผาทั้งสอง ทันใดนั้น เชือกก็หลุดออกจากตัวโหลิกา และมาพันตัว ประหลาทแทน ทำให้โหลิกาถูกเผาจนตายเอง เรื่องราวของโหลิกา จึงเป็นที่มาในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) เกี่ยวข้องกับกองไฟที่จุดขึ้นมากลางแจ้งประจำปีในวันแรกของโหลีที่เป็น เทศกาลสาดสีของฮินดูธรรม เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า โหลิกา หมายถึง สิ่งที่ไม่ดี เลวร้าย ทั้งหมดของโลกเก่าต้องถูกทำลาย และ ประหลาท หมายถึง เชือก นั่นคือ อาตมา ที่จะคงอยู่ตลอดไป |
473 | โหลี | โหลี | होली ![]() | ![]() Holī | โหลี เป็นเทศกาลสาดสีของฮินดูธรรม ในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) หรือ โฉฏีโหลี ที่ผู้คนมารวมกัน และทำพิธีของธรรมเบื้องหน้ากองไฟที่จุดขึ้นมากลางแจ้ง ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งพร่ำสวดเพื่อให้ความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีภายในถูกขจัดออกไป ขณะที่ก่อกองไฟเผาไหม้กลางแจ้ง โดยจะเฉลิมฉลองในวันพระจันทร์เต็มดวง นั่นคือ อนุสรณ์ของอาตมาที่เอาชนะกิเลส ธุริยา เป็นวันที่สองของเทศกาลนี้ โดยผู้คนเล่นสาดสีใส่กันด้วยผงสีและน้ำสี ทั้งนี้ ธุริยา เป็นคำสินธี และในภาษาฮินดี เรียกว่า รงควาลีโหลี (รงค์ หมายถึง สี) ธุเลฏี ธุลัณทิ ธุลิวันทนะ นั่นคือ อนุสรณ์ของอาตมา ที่ได้รับการแต่งแต้มสีสันด้วยสีของการใช้ชีวิตร่วมกับบรมบิดา บรมาตมา ในสังคมยุค โหลี จะเริ่มต้นเฉลิมฉลองในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) เรียกว่าวัน ‘โหลิกาทหนะ’ และวันถัดมา เรียกว่า วันธุริยา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) โดยทั้งสองวันนี้ จะอยู่ราวเดือนมีนาคมของทุกปี |