Top


พจนานุกรมภาษาฮินดี-ไทย-อังกฤษ จากมุรลีที่ใช้ในภาษาไทยและเกี่ยวข้องกับภาษาไทย



สารจาก
ทาทีชานกี
ทีทีนิรมล
ทีทีศีลู


last update: May 07 2025 12:01
รับฟังย้อนหลัง คลิกที่นี่

ประเด็นตอนต้น
และท้ายของมุรลี



วรทาน

ศรีมัทภควัทคีตา
สัตวจนะ - ข้อคิดประจำวัน

"เสี่ยงพร" ได้ที่นี่

วีดีโอบทการทำสมาธิของราชโยคะ


วีดีโอเพลงประกอบความรู้ของราชโยคะ


รับชม "วีดีโอพร" ได้ที่นี่

อุทยานพระพรหม

ยาตราย้อนรอยประวัติศาสตร์
และภูมิศาตร์โลก


สารจากผู้จัดทำ

ติดต่อ

ตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาฮินดี

  คลิกเพื่อรับชมวีดีโอญาณ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด  

สารบัญ - ประเภทของคำศัพท์ (คลิกเพื่อดู)
  1. ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Brahma Kumaris World Spiritual University
  2. สี่วิชา – อลังการของวิษณุ Four Subjects - Decorations of Vishnu
  3. มุรลี และ ญาณ Murli and Gyan
  4. องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา Faculties, Abilities of Soul องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา
  5. นามของบรมบิดา บรมาตมา Names of the Supreme Father, Supreme Soul
  6. การยกย่องสรรเสริญของศิวพาพาในสังคมยุค Shiv Baba’s Praise at the Confluence Age
  7. มาลา – สายลูกประคำ Rosaries
  8. ตัวละครในมหาภารตะ รามายณะ และภาควัต พร้อมทั้งคำอธิบายนามของตัวละครตามญาณของพาพา Characters of Mahabharat, Ramayan, and Bhagawad including Explanation of their Names according to Baba's Gyan
  9. เรื่องเล่า ตัวละคร พิธีกรรม และนามต่างๆ ของหนทางภักดีและโดยทั่วไป ที่กล่าวไว้ในมุรลี General and Bhakti Path Stories, Characters, Rituals and Names mentioned in Murlis
  10. ธรรม ผู้สถาปนาธรรม คุรุ และคัมภีร์ต่างๆ ของหนทางภักดีที่กล่าวไว้ในมุรลี Religions, Religion Founders, Gurus and Scriptures of Bhakti Path mentioned in Murlis
  11. เทศกาลในหนทางภักดีที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Bhakti Festivals related to the Confluence Age
  12. สถานที่ เมือง รัฐ และพลเมืองต่างๆ ที่กล่าวไว้ในมุรลี Places, Towns, States and Citizens mentioned in Murlis
  13. วัดและอนุสรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Temples, Memorials related to the Confluence Age
  14. สมญาของยุคทองที่ใช้ในมุรลี Titles of the Golden age used in Murlis
  15. วรรณะ วงศ์ พงศ์ Dynasties
  16. ประชาบิดา พรหมา Prajapita Brahma
  17. การยกย่องสรรเสริญของศรีกฤษณะในหนทางภักดี Praise of the Deity Shri Krishna
  18. นักแสดงหลักในละครโลก Main Actors in the World Drama
  19. มรดกของบรมบิดา Inheritance of the Supreme Father
  20. สมญาของครอบครัว Family Titles
  21. สมญาเพื่อความเคารพในตนเอง Titles for Self-Respect
  22. ดอกไม้ Flowers
  23. ผู้บริหารและผู้อาวุโสของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Administrators and Seniors of Prajapita Brahma Kumaris World Spiritual University
  24. สภาพต่างๆ และ การฝึกฝน เพ่งเพียรปฎิบัติของอาตมา Spiritual Stages and Effort
  25. ละครโลก กัลป์ และยุคต่างๆ World Drama, Kalpa and Yugs
  26. ชัคทัมพา สรัสวดี Jagadamba Saraswati
  27. กรรมและผลของกรรม Karma Philosophy
  28. สามโลก และธาตุของธรรมชาติ The Three Worlds and Elements of Nature
  29. เบ็ดเตล็ด Miscellaneous
กลับสู่หน้าหลัก Main page
ประเภทที่แสดง --> 10. ธรรม ผู้สถาปนาธรรม คุรุ และคัมภีร์ต่างๆ ของหนทางภักดีที่กล่าวไว้ในมุรลี Religions, Religion Founders, Gurus and Scriptures of Bhakti Path mentioned in Murlis

ใส่คำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม
ปิด-เปิด Column ที่ต้องการ 12345
No.1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป 3. ภาษาฮินดี 4. อักษรโรมัน 5. ความหมายในภาษาไทย
4อกาลมูรตะอกาล มูรฺตअकाल मूर्त
Akāl mūrt
คุรุนานัก ผู้สถาปนาสิกข์ธรรมได้กล่าวถึง บรมบิดา บรมาตมา ว่าเป็น อกาลมูรตะ หมายถึง อาตมา สวรูปที่ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ อาตมาทั้งหมด ก็เป็นอกาลมูรตะ ด้วยเช่นกัน

อกาลมูรตะ มาจากคำว่า อกาล หมายถึง ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ มูรตะ หมายถึง รูปเคารพ ในแง่ของอาตมา หมายถึง การเป็นสวรูป (คุณสมบัติในทางปฏิบัติ)

พาพากล่าวว่า อกาลตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ หรือ ที่อยู่ของอาตมาที่อกาล นั่นคือ 1) บรมธามะ เป็นพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ 2) ตรงกลางหน้าผากของร่างกาย ดังนั้น พรหมา ก็คือ อกาลตัขตะของพาพาด้วย

กาล หมายถึง เวลา ความตาย
5อกาลี (สิกข์ ธรรม)อกาลี (สิกฺข ธรฺม)अकाली (सिक्ख धर्म) Ākālī (Sikh Dharm)เป็นนิกายหนึ่งของสิกข์ธรรม ได้มีการตั้งกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติขึ้นมา

อกาลี มาจากคำว่า อกาลมูรตะ และ อกาลตัขตะ ของสิกข์ธรรม

อกาลมูรตะ หมายถึง อาตมา สวรูปที่ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา มาจากคำว่า อกาล หมายถึง ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ มูรตะ หมายถึง รูปเคารพ ในแง่ของอาตมา หมายถึง การเป็นสวรูป (คุณสมบัติในทางปฏิบัติ)

อกาลตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ หรือ ที่อยู่ของอาตมาที่อกาล มาจากคำว่า อกาล หมายถึง ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ ตัขตะ หมายถึง บัลลังก์

พาพากล่าวว่า อกาลตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ หรือ ที่อยู่ของอาตมาที่อกาล นั่นคือ 1) บรมธามะ เป็นพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ 2) ตรงกลางหน้าผากของร่างกาย ดังนั้น พรหมา ก็คือ อกาลตัขตะของพาพาด้วย

กาล หมายถึง เวลา ความตาย
36อาคา ข่านอาคา ขานฺअागा खां
Āgā Ḵẖān
อาคา ข่าน เป็นคุรุของมุสลิม ที่มีลูกศิษย์และผู้คนให้ความเคารพและศรัทธา โดยให้คุณค่าอาคา ข่าน ด้วยการชั่งน้ำหนักตัวอาคา ข่านด้วยทองคำ หรือ เพชร บนตาชั่ง

แท้จริงแล้ว พาพาเป็นสัตคุรุที่สูงสุด มีคุณค่าที่สุด ไม่สามารถเปรียบเทียบด้วยสิ่งใดได้ ทั้งนี้ ท่านทำให้ทุุกอาตมาได้รับชีวันมุกติและนำกลับไปยังบรมธามะอย่างบริสุทธิ์
46อารยสมาช อารฺยสมาชआर्यसमाज
Āryasamāj
อารยสมาช หรือ สมาคมของชาวอารยัน เป็นสมาคมของผู้นับถือฮินดูธรรม โดยสวามีทยานันทะ สรัสวดี เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2418 ที่เชื่อว่าบรมบิดา บรมาตมา คือ ผู้ที่นิราการ และมีการทำพิธีไฟบูชายัญ เผาสิ่งสังเวย เพื่อสร้างบรรยากาศที่บริสุทธิ์ แต่ไม่มีการบูชารูปเคารพใดๆ นอกจากนี้ มีการตั้งกฎเกณฑ์ หรือ ข้อปฏิบัติเฉพาะขึ้นมาด้วย

สมาช แปลว่า สมาคม ชุมนุม
88คังเคศวรานนท์คงฺเคศฺวรานนฺทगंगेश्वरानंद
Gaṅgeśvarānand
นามของคุรุ ผู้นำทางอาตมาของหนทางภักดี
94ครุฑปุราณะครุฑปุราณगरुड पुराण
Garuḍ Purāṇ
ครุฑปุราณะ เป็นหนึ่งในวิษณุปุราณะ ที่แสดงสาระสำคัญของการสนทนาระหว่างวิษณุกับครุฑ

ครุฑปุราณะนั้นเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับปรัชญาของฮินดูในเรื่องของความตาย การรับโทษจากกรรมที่ทำ พิธีกรรมกับศพ และการกลับชาติมาเกิด
102คุรุคุรุगुरु
guru
คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ

คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้)

พาพา คือ สัตคุรุ ผู้เป็นสัตย์ ที่นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ
103คุรุโคพินท์ สิงห์คุรุ โคพินฺท สิงฺหगुरु गोबिन्द सिंह Guru Govind Siṃh เป็นคุรุสุดท้ายอันดับที่ 10 แห่งขาลสาปันถ์ (นิกาย) ของสิกข์ธรรม และเป็นผู้บัญญัติคัมภีร์ของสิกข์ธรรม
105คุรุทวารา (อ่านว่า คุ-รุ-ทะ-วา-รา)คุรุทฺวาราगुरुद्वारा
gurudvārā
คุรุทวารา มาจากคำว่า คุรุ กับ ทวาร ที่แปลว่าประตู เมื่อรวมกันแล้ว หมายถึง ประตูไปสู่คุรุ

คุรุทวารา เป็นสถานที่ทำภักดีต่อคุรุครันถ์ สาหิพ ของสิกข์ธรรม และเปิดให้ผู้ให้บุคคลจากธรรมอื่น และพื้นฐานใดๆ สามารถเข้าไปได้ด้วย
106คุรุนานักคุรุนานักगुरुनानक
Gurunānak
ผู้ก่อตั้งสิกข์ธรรม และเป็นคนแรกของหนึ่งในสิบคุรุของสิกข์ธรรม
116ครันถ์คฺรนฺถग्रन्थ
Granth
ครันถ์ หมายถึง หนังสือ ตำรา คัมภีร์

คัมภีร์หลักของสิกข์ธรรม คือ อาทิครันถ์ (อาทิ แปลว่า เริ่มแรก นั่นคือ คัมภีร์แรก) โดยส่วนใหญ่เรียกกันว่า คุรุครันถ์ สาหิพ แต่พาพาเรียกว่า ครันถ์ เท่านั้น

คุรุครันถ์ สาหิพ ได้รับการบูชาว่าทรงอำนาจสูงสุดและเข้าใจกันว่าเป็นคุรุสุดท้ายอันดับที่ 11 ของสิกข์ธรรมด้วย

ในมุรลี พาพาได้กล่าวอ้างอิงถึง คุรุครันถ์ สาหิพ อย่างมาก
130ชปะ สาเหพ/สาหิพ ชป สาเหพ जप साहेब
Jap Sāheb
ชปะ สาหิพ เป็นชื่อหนังสือที่ได้มีการรวบรวมไว้ในคุรุครันถ์ สาหิพ ซึ่งเป็นคัมภีร์หลักของสิกข์ธรรม

ในชปะ สาหิพ เป็นการแนะนำ และประกาศชื่อเสียงของสาหิพ โดยชาวสิกข์ใช้คำในชปะ สาหิพ มาพร่ำสวดถึงสาหิพ

สาหิพ หมายถึง สิ่งสูงสุดของสิกข์ธรรม และ ชปะ หมายถึง การพร่ำสวด
187ธรรมธรฺมधर्म dharmในราชโยคะ ธรรม หมายถึง ธารณา นั่นคือ เราต้องมีการกระทำ พฤติกรรม ที่ยึดมั่นตามคำสอนของพาพา เป็นหลักในการดำเนินชีวิต หรือนำไปฝึกฝนจนเป็นรูปในทางปฏิบัติ ที่มาจากพื้นฐานจากคุณสมบัติดั้งเดิมของอาตมา และความถูกต้องดีงาม ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือ พิธีกรรมภายนอก พาพาใช้คำว่า ธรรม ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า ศาสนา ที่มาจากภาษาฮินดีว่า ศาสนะ หมายถึง กฎเกณฑ์ การปกครอง

พาพาให้ลูกคงอยู่ในธรรมของอาตมา และละทิ้งธรรมทางร่างกาย หรือที่มากับร่างกาย นั่นคือ เทหอภิมานะ

ธรรม มีความหมายโดยทั่วไปในทางโลกว่า คุณความดี ความชอบ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา มรรคผล นิพพาน ปัญญา ความรู้ของจริง ความจริง เหตุบุญกุศล ความถูกต้อง ความประพฤติ หน้าที่ทางประพฤติ ข้อบังคับ กฎหมาย

เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน
234ประหลาทะ/ประหลาท (อ่านว่า ปฺระ-หฺลาด)ปฺรหฺลาทप्रह्लाद
Prahlād
จากคัมภีร์ปุราณะของฮินดูธรรม หิรัณยกัศยปะ คือ ราชาที่เป็นอสูร ผู้เป็นภักตะของศิวะที่เพ่งเพียรปฏิบัติและทำตปัสยา (ตบะ) จนศิวะตกลงให้พรตามที่หิรัณยกัศยปะขอว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน หลังจากได้รับพร หิรัณยกัศยปะ ก็เลิกทำภักดีและให้ทุกคนมากราบไหว้ตนเอง ทั้งนี้ ประหลาท ลูกชายของหิรัณยกัศยปะ เป็นภักตะของวิษณุ หิรัณยกัศยปะจึงให้โหลิกา พี่สาวของตนพยายามฆ่าประหลาท จนโหลิกาถูกเผาจนตายเอง จึงเป็นที่มาในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา)

หลังจากนั้น ประหลาทได้ตอบด้วยความมั่นใจต่อหิรัณยกัศยปะที่ได้ท้าทายประหลาทว่า ถ้าวิษณุมีอยู่จริงขอให้ปรากฏออกมาจากเสาตรงทางเข้าออก และไปเตะเสา ทันใดนั้น วิษณุก็ได้อวตารและปรากฏออกมาจากเสาในรูปของนรสิงห์ (ร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต) ที่ไม่ใช่ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ ได้สังหารหิรัณยกัศยปะ ในเวลาพลบค่ำ ที่ไม่ใช่ทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน

นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ กิเลสทั้งห้าในรูปของอสูรถูกทำลายในสังคมยุค ที่ไม่ใช่ทั้งสัตยุค และ กลียุค

นรสิงห์ หมายถึง พาพา ผู้ขจัดความทุกข์และกิเลสในโลกนี้

ประหลาท หมายถึง ลูกของพาพาที่มีศรัทธาต่อพาพา โดยไม่ถูกกระทบจากสิ่งที่ไม่ดีของญาติพี่น้องในครอบครัว และไม่ยอมจำนนต่อกิเลสใดๆ
254พรหมสมาชีพฺรหฺม สมาชีब्रह्म समाजी
Brahm Samājī
พรหมสมาชี หมายถึง ผู้ที่บูชาพรหมว่าเป็นสิ่งที่จริงแท้สูงสุด

พรหมสมาช เป็นนิกายที่เชื่อว่าพรหม คือ แสงที่ยิ่งใหญ่ เป็นบรมบิดา บรมาต มา
365วัลลภาจารีวลฺลภาจารีवल्लभाचारी Vallabhācārīวัลลภาจารย์ เป็นคุรุและนักปรัชญาในพุทธศตวรรษที่ 20 โดยได้ก่อตั้งลัทธิหนึ่งของพราหมณ์ ซึ่งสาวกและผู้ที่ทำตามลัทธินี้ เรียกว่า วัลลภาจารี
385ไวษณพ (อ่านว่า ไว-สะ-นบ)ไวษฺณวवैष्णव Vaiṣṇavชื่อนิกายหนึ่งในฮินดูธรรมของผู้ที่นับถือพระวิษณุ และเข้าใจว่าตนเองมาจากวิษณุกุล ทั้งนี้ ไวษณพจะเคร่งครัดเรื่องอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ หัวหอม และกระเทียม รวมทั้งข้อปฎิบัติในการละเว้นสิ่งที่ไม่ดีและสกปรกภายนอก

พาพากล่าวว่า ลูก คือ ไวษณพ ที่แท้จริง ที่ทำตามศรีมัต และใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์ทั้งอาตมาและร่างกาย
388วยาสะ/วยาสวฺยาสव्यास
Vyās
ในหนทางภักดี วยาส คือ ผู้เขียนเวทและคัมภีร์อื่นๆ และเข้าใจกันว่าเป็นผู้ที่เขียนมหาภารตะด้วย

ศิวพาพา คือ วยาสที่แท้จริง เป็นผู้สอนคีตาที่แท้จริงในสังคมยุคให้แก่ลูก และลูกเป็นลูกของวยาส แต่เพื่อไม่ให้ผู้คนสับสับ พ่อจึงกล่าวว่าลูกเป็นลูกของศิวะ

วยาส เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผู้อธิบาย ผู้รวบรวม
391ศังกราจารย์ศงฺกราจารยशंकराचार्य
Śaṅkarācārya
อาทิศังกราจารย์ หรือ อาทิศังกระ คือ นักปราชญ์ชาวอินเดียใต้ของฮินดูธรรม มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1331-1363 และเป็นผู้ที่สถาปนาสันนยาสธรรม

อาทิ แปลว่า ต้น แรก และ ศังกราจารย์ มาจากคำว่า ศังกร กับ อาจารย์ นั่นหมายถึง ศังกรผู้เป็นอาจารย์แรก
400ศิวะศิวशिव
Śiv
นามดั้งเดิมและตลอดไปของบรมบิดา บรมอาตมา มีความหมายว่า จุด เมล็ด และผู้ให้กัลยาณ

กัลยาณ หมายถึง ดีงาม ประเสริฐ คุณประโยชน์
404ศิวปุราณะศิวะ ปุราณशिव पुराण
Śiva Purāṇ
หนึ่งใน 18 ตำราหลักของสันสกฤต ที่แสดงถึงเรื่องราวเกี่ยวกับศิวะและปารวตี
406ศิวพาพาศิวพาพาशिवबाबा
Śivabābā
ศิวะ คือ นามของบรมบิดา บรมอาตมา และ พาพา เป็นคำที่แสนหวานที่เรียกหรือกล่าวถึงศิวะ ผู้เป็นพ่อ ด้วยความรักและใกล้ชิด ดังนั้น เราจึงเรียกท่านว่า ศิวพาพา

พาพา เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ
410ศิวนนท์/ศิวนันท์ศิวานนฺทशिवानन्द
Śivānand
นามของคุรุ ผู้นำทางอาตมาของหนทางภักดี
425สัตคุรุประสาทสตคุรุ ปฺรสาทसतगुरु प्रसाद
Sataguru prasād
สัตคุรุประสาท เป็นคำที่บันทึกไว้ในคุรุครันถ์ สาหิพของสิกข์ธรรม

สัตคุรุประสาท หมายถึง การได้รับประสาทจากสัตคุรุ ทั้งนี้ ศิวพาพา คือ คุรุ ผู้เป็นสัตย์ มาบอกสัตย์ที่ทำให้ลูกได้รับอานนท์ (อานันท์) มุกติ ชีวันมุกติ

ประสาท หมายถึง โปรดให้ ยินดีให้

อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย
429สัต จิต อานนท์/สัจจิทานนท์ สตฺ จิตฺ อานนฺท/สจฺจิทานนฺทसत् चित् आनन्द/सच्चिदानन्द Sat Cit Ānand/Saccidānandบรมบิดา บรมาตมา คือ สัต จิต อานนท์ โดยมีความหมาย ดังนี้

1) สัต หมายถึง สัตย์ สัจ ความจริง 2) จิต หมายถึง มีชีวิต (มาจากคำว่า ไจตนยะ/ไจตนย์) 3) อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย
430สัต ศรี อกาลสตฺ ศฺรี อกาลसत् श्री अकाल
Sat Śrī Akāl
คุรุนานัก ผู้สถาปนาสิกข์ธรรม ได้กล่าวถึง บรมบิดา บรมาตมา ว่าเป็น สัต ศรี อกาล โดยมีความหมาย ดังนี้ 1) สัต หมายถึง สัตย์ สัจ ความจริง 2) ศรี หมายถึง สิริมงคล ความสูงส่ง ความรุ่งเรือง ความงาม ความเจริญ 3) อกาล หมายถึง ไม่ตาย เหนือความตาย (กาล แปลว่า เวลา ความตาย)

ต่อมา ในผู้ทำตามสิกข์ธรรม ได้ใช้คำ สัต ศรี อกาล สำหรับการทักทายกันในภาษาปัญจาบี หรือ ปัญชาพี โดยไม่ได้เข้าใจความหมายดั้งเดิม
435สรรโวทยาสรฺโวทยาसर्वोदया Sarvodayāสรรโวทยา เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่มีความเมตตาต่อทุกคน ท่านยกระดับไม่ว่าจะเป็นนักบวช นักบุญ คนพิการ โสเภณี เป็นต้น และทำให้ลูก กลับมาสัมปันนและสมบูรณ์

สรรโวทยา มาจากคำว่า สรรพ แปลว่า ทุกสิ่ง ทั้งปวง ทั้งหมด กับ ทยา แปลว่า ความเมตตา ความกรุณา

สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม
442สิกข์/ซิกข์สิกฺขसिक्ख
Sikkh
สิกข์ธรรม เป็นธรรมที่ใหญ่เป็นอันดับห้าขององค์การศาสนาในโลก โดยมีคุรุนานัก ผู้ก่อตั้งสิกข์ธรรม

ชาวสิกข์ คือ ผู้ที่ทำตามหนทางของสิกข์ธรรม
471หุไสนะ/หุแสนหุไสน/หุแสนहुसैन
Husain
หุแสน เป็นหนึ่งในผู้นำสารจากอัลลาห์ของมุสลิม ที่พาพาได้กล่าวว่า ได้มีการตกแต่งม้าของหุแสน ในเทศกาลครบรอบวันจากร่างของหุแสน

แท้จริงแล้ว ม้า หมายถึง พรหมา ซึ่งเป็นร่างที่ศิวพาพามาใช้





You are visitors No.12588 since 16th September 2024.

© 2025 Brahma Kumaris Thailand. All rights reserved.