No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
98 | คีตาปาฐศาลา (อ่านว่า คี-ตา-ปา-ถะ-สา-ลา) | คีตา ปาฐศาลา | गीता पाठशाला ![]() | ![]() Gītā pāṭhaśālā | โรงเรียนที่มีการเรียน การสอนคีตา ดังนั้นสถานที่ของพาพา ที่มีการจัดชั้นเรียนเพื่ออ่านมุรลีและเรียนความรู้ โดย พรหมากุมารี ที่ใช้ชีวิต หรือ ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและทางโลกอยู่ นั่นคือ คีตาปาฐศาลา ที่แท้จริง ปาฐ/ปาฐะ หมายถึง บทเรียน การบรรยาย และ ศาลา หมายถึง บ้าน ห้อง ห้องโถง ห้องใหญ่ |
219 | ปาฐศาลา (อ่านว่า ปา-ถะ-สา-ลา) | ปาฐศาลา | पाठशाला ![]() | pāṭhaśālā | ปาฐศาลา หมายถึง ศาลา สถานที่ หรือ โรงเรียนสำหรับศึกษาเล่าเรียน ปาฐ หมายถึง บทเรียน ชั้นเรียน การบรรยาย (เหมือน ปาฐะ) และ ศาลา หมายถึง บ้าน ห้อง ห้องโถง ห้องใหญ่ |
221 | ปาณฑพภวนะ | ปาณฺฑว ภวน | पाण्डव भवन ![]() | ![]() Pāṇḍav bhavan | ปาณฑพภวนะ คือ สำนักงานใหญ่แห่งแรก และเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน สถานที่พักอาศัยด้วย ของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 โดยตั้งอยู่ที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ในราชโยคะ ปาณฑพ หมายถึง ลูกของพาพา ผู้เป็นพราหมณ์ของสังคมยุคที่พุทธิมีความรักเชื่อมต่อกับพาพา (ปรีตพุทธิ โดย ปรีตะ แปลว่า ความรัก) ภวนะ หมายถึง อาคาร สถานที่ |
261 | พรหมากุมาร (อ่านว่า พฺรม-มา-กุ-มาน) | พฺรหฺมา กุมาร | ब्रह्माकुमार ![]() | ![]() Brahmākumār | กุมารของพรหมา ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พรหมากุมาร คือ ผู้ทำตามทั้งศรีมัตของศิวพาพา และพรหมา ผู้เป็นเครื่องมือให้กับศิวพาพา กุมาร หมายถึง ลูกชาย และ มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปากของพรหมา |
262 | พรหมากุมารี (อ่านว่า พฺรม-มา-กุ-มา-รี) | พฺรหฺมา กุมารี | ब्रह्माकुमारी ![]() | ![]() Brahmākumārī | กุมารีของพรหมา ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พรหมากุมารี คือ ผู้ทำตามทั้งศรีมัตของศิวพาพา และพรหมา ผู้เป็นเครื่องมือให้กับศิวพาพา กุมารี หมายถึง ลูกสาว และ มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปาก ของพรหมา |
273 | ภัณฑารา | ภณฺฑารา | भण्डारा ![]() | ![]() bhaṇḍārā | ภัณฑารา หมายถึง ครัว หรือ คลังสมบัติ พาพาให้ลูกเป็นผู้อุทิศตน ด้วยการเข้าใจว่าทุกสิ่งเป็นของพาพา ที่ได้ยกมอบให้ลูกด้วยความไว้วางใจ และลูกก็คือขอทานที่ไม่มีอะไรเป็นของตนเอง นั่นคือ เป็นดูแลผลประโยชน์ให้กับภัณฑาราของพาพา แม้กระทั่ง ลูกอาศัยอยู่ที่บ้านกับครอบครัวก็ตาม แล้วลูกจะได้รับการหล่อเลี้ยงตอบแทนจากพาพาถึง 21 ชาติเกิด ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ เครื่องใช้ และ ภัณฑารา หมายถึง ครัว หรือ คลังที่เก็บ |
274 | ภัณฑารี | ภณฺฑารี | भण्डारी ![]() | ![]() bhaṇḍārī | ในราชโยคะ ภัณฑารี หมายถึง กล่องสร้างโชค สำหรับลูกใส่เงินที่นำมาใช้ในยัญ เพื่อเป็นการสร้างโชคให้กับตนเอง โดยทั่วไปแล้ว ภัณฑารี หมายถึง ผู้ดูแลสมบัติ สินค้า หรือ พัสดุ ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ เครื่องใช้ |
289 | มธุพน (อ่านว่า มะ-ทุ-พน หรือ มะ-ทุ-พะ-นะ) | มธุพน | मधुबन ![]() | ![]() Madhuban | มธุพน เป็นนามใช้เรียกสถานที่ตั้งของ ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ณ ภูเขาอาพู มธุพน แปลว่า ป่าน้ำผึ้ง โดย ดั้งเดิมนั้นเรียกว่า มธุวน แต่ต่อมาได้กลายเป็น มธุพน อย่างไรก็ตามก็มีความหมายเดียวกัน มธุพน มาจากคำว่า มธุ แปลว่า นํ้าผึ้ง และ วน หรือ พน แปลว่า ป่า |
297 | มรรยาท/มารยาท | มรฺยาทา | मर्यादा ![]() | ![]() maryādā | ตามตัวอักษรคำว่า มรรยาท/มารยาท หมายถึง ขอบเขต กำหนด หรือ เส้นเขตแดน ในราชโยคะ มรรยาท/มารยาท หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตของพรหมากุมารและกุมารี ผู้เป็นพราหมณ์ที่แท้จริง พาพากล่าวว่า ลูก คือ มรรยาท/มารยาท ปุรุโษตตมะ หมายถึง อาตมา หรือ มนุษย์ที่สูงสุด ผู้ทำตามมรรยาท/มารยาทในหนทางของพาพา |
319 | ยัคญะ (ฮินดี)/ยัชญะ (สันสกฤต)/ยัญ (บาลี) | ยคฺญ/ยชฺญ/ยญ | यज्ञ ![]() | ![]() yagña/yajña/yañ | คำว่า ยัญ หมายถึง ไฟบูชายัญ การเซ่น การบูชา โดยทั่วไปแล้ว มีการก่อยัญเพื่อป้องกันหรือให้ยุติลงในการเกิดภัยพิบัติ สงคราม หรือการขอฝน เป็นต้น ในมุรลี คำว่า ยัญ หมายถึง ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ที่สร้างโดย ศิวพาพา (อิศวร) ในสังคมยุค ที่มีระบบของการให้ญาณและการหล่อเลี้ยงโดยอิศวร นอกจากนี้ ทุกสถานที่ทำเสวา (งานรับใช้) ของ อิศวร นั่นหมายถึง ยัญ ทั้งนี้ มธุพน ก็คือ มหายัญ (ยัญที่ยิ่งใหญ่) พาพากล่าวว่า นี่คือ รุทระ ญาณ ยัญ ที่แท้จริง โดยพาพามาให้ญาณแก่ลูก ทำให้ลูกสังเวยกิเลสและสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด ส่งผลให้ทั้งโลกก็ถูกสังเวยตามมา นั่นคือทำให้ทั้งอาตมาและวัตถุธาตุกลับมาบริสุทธิ์ การเขียนตามภาษาบาลี คือ ยัญ ภาษาฮินดี คือ ยัคญะ และภาษาสันสกฤต คือ ยัชญะ อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
393 | ศักดิ์ภวนะ | ศกฺติ ภวน | शक्ति भवन ![]() | ![]() Śakti bhavan | นามของอาคาร สถานที่ สถานที่พักของทาทีชานกีและทาทีคุลซาร ในสันติวน รู้จักกันในนามว่า ศักดิ์ภวนะ ศักดิ์ หมายถึง พรหมากุมารี ผู้เป็นลูกสาวของศิวพาพา และ ภวนะ หมายถึง อาคาร สถานที่ ศักดิ์ แปลว่า กำลัง พลัง อำนาจ ความสามารถ |
399 | ศานติกุณฑ์ (สันสกฤต)/สันติกุณฑ์ (บาลี) | ศานฺติ กุณฺฑ | शान्ति कुण्ड ![]() | ![]() śānti kuṇḍ | กุณฑ์ คือ ถังบรรจุน้ำ แหล่งน้ำเล็กๆ หรือ สระ หวนกุณฑ์ คือ แท่นรูปสี่เหลี่ยมที่ใช้สำหรับก่อไฟบูชายัญ สันติกุณฑ์ หมายถึง แหล่ง หรือ ภาชนะของความสงบ พาพากล่าวว่า จงทำให้ศูนย์ หรือ สถานที่ของพาพาเป็นสันติกุณฑ์ หมายถึง เป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดประสบการณ์ของสันติ ศานติ และ สันติ แปลว่า ความสงบ ความนิ่ง เงียบ |