No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
1 | โฮลี หงส์ | โฮลี หงฺส | holy हंस ![]() | ![]() holy haṃs | โฮลี หงส์ หมายถึง หงส์ที่บริสุทธิ์ โฮลี เป็นคำภาษาอังกฤษ ในราชโยคะ โฮลี หมายถึง ความบริสุทธิ์ พาพาจะใช้หลายคำที่กล่าวพ้องกับคำ โฮลี เช่น 1) เป็นโยคี อยู่อย่างโฮลี หมายถึง เป็นโยคีที่อยู่อย่างบริสุทธิ์ และ 2) เฉลิมฉลองโหลี และกลับมาโฮลี หมายถึง เฉลิมฉลองโหลีและกลับมาบริสุทธิ์ เป็นต้น โหลี เป็นเทศกาลสาดสีของฮินดูธรรม โดยโหลี จะเริ่มต้นเฉลิมฉลองในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) เรียกว่าวัน ‘โหลิกาทหนะ’ และวันถัดมา เรียกว่า วันธุริยา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) โดยทั้งสองวันนี้ จะอยู่ราวเดือนมีนาคมของทุกปี |
2 | อัญชนะ/อัญชัน | อญฺชน | अंजन ![]() | ![]() añjan | คุรุนานัก ผู้ก่อตั้งสิกข์ธรรมได้กล่าวว่า สัตคุรุเป็นผู้ให้ญาณ อัญชัน และทำให้อญาณ ความมืด ถูกขจัดออกไป นั่นหมายถึง พาพา ผู้เป็นสัตคุรุ มาให้ญาณและทำให้ลูกได้รับทิพยจักษุ ที่สามารถเข้าใจและรู้แจ้งในทุกสิ่ง อัญชัน คือ สีที่ป้ายขนตา เปลือกตา หรือขอบรอบดวงตา มาจากรากศัพท์ซึ่งแปลว่า ป้าย ทา ในสมัยก่อน อัญชัน ทำมาจากสมุนไพร ใช้บำรุงสายตา แต่ในปัจจุบันทำมาจากสารเคมี ใช้เพื่อความสวยงาม |
3 | อกะ | อก | अक ![]() | ![]() ak | อกะ คือ ดอกไม้ที่นิยมถวายให้กับศิวลึงค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศิวะ นั่นหมายถึง ลูกได้ถวายสิ่งที่ไม่ดี กิเลสทั้งหลายให้ศิวพาพา และได้รับสิ่งที่ดีทั้งหมดกลับมา ทั้งนี้ ดอกอกะ เป็นดอกสีขาวหรือม่วง มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ ที่ยางจากต้นและใบมีพิษ ไม่มีกลิ่นหอม อกะ คือ ดอกรักในประเทศไทย |
4 | อกาลมูรตะ | อกาล มูรฺต | अकाल मूर्त ![]() | ![]() Akāl mūrt | คุรุนานัก ผู้สถาปนาสิกข์ธรรมได้กล่าวถึง บรมบิดา บรมาตมา ว่าเป็น อกาลมูรตะ หมายถึง อาตมา สวรูปที่ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ อาตมาทั้งหมด ก็เป็นอกาลมูรตะ ด้วยเช่นกัน อกาลมูรตะ มาจากคำว่า อกาล หมายถึง ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ มูรตะ หมายถึง รูปเคารพ ในแง่ของอาตมา หมายถึง การเป็นสวรูป (คุณสมบัติในทางปฏิบัติ) พาพากล่าวว่า อกาลตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ หรือ ที่อยู่ของอาตมาที่อกาล นั่นคือ 1) บรมธามะ เป็นพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ 2) ตรงกลางหน้าผากของร่างกาย ดังนั้น พรหมา ก็คือ อกาลตัขตะของพาพาด้วย กาล หมายถึง เวลา ความตาย |
5 | อกาลี (สิกข์ ธรรม) | อกาลี (สิกฺข ธรฺม) | अकाली (सिक्ख धर्म) ![]() | Ākālī (Sikh Dharm) | เป็นนิกายหนึ่งของสิกข์ธรรม ได้มีการตั้งกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติขึ้นมา อกาลี มาจากคำว่า อกาลมูรตะ และ อกาลตัขตะ ของสิกข์ธรรม อกาลมูรตะ หมายถึง อาตมา สวรูปที่ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา มาจากคำว่า อกาล หมายถึง ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ มูรตะ หมายถึง รูปเคารพ ในแง่ของอาตมา หมายถึง การเป็นสวรูป (คุณสมบัติในทางปฏิบัติ) อกาลตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ หรือ ที่อยู่ของอาตมาที่อกาล มาจากคำว่า อกาล หมายถึง ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ ตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ พาพากล่าวว่า อกาลตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ หรือ ที่อยู่ของอาตมาที่อกาล นั่นคือ 1) บรมธามะ เป็นพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ 2) ตรงกลางหน้าผากของร่างกาย ดังนั้น พรหมา ก็คือ อกาลตัขตะของพาพาด้วย กาล หมายถึง เวลา ความตาย |
6 | อกาสุระ/อกาสูร | อกาสุร | अकासुर ![]() | ![]() Akāsur | ตามคัมภีร์ของฮินดูธรรม อกาสูรเป็นอสูรที่ร้ายกาจมาก ซึ่งถูกฆ่าโดยกฤษณะ อกาสูรและพกาสูร เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีอสุรีคุณและสร้างอุปสรรคในการสถาปนาของบรมบิดา บรมอาตมา โดยกฤษณะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีทิพยคุณ พาพากล่าวว่า ผู้ที่มีอสุรีคุณพ่ายแพ้ต่อผู้ที่มีทิพยคุณ อกาสุระ/อกาสูร มาจากรากศัพท์คำว่า อสุร หรือ อสุระ แปลว่า ยักษ์ ปีศาจ ในภาษาไทยใช้คำว่า อสูร ทั้งนี้ สุร หรือ สุระ แปลว่า เทวดา ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา |
7 | อจลฆระ/อจลครห์ | อจลฆร/อจลครฺห | अचलघर/अचलगढ़ ![]() | ![]() Acalaghar/Acalagaṛh | อจลฆระ/อจลครห์ เป็นบ้าน หรือ ป้อมแห่งความมั่นคง ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 11 ทางทิศเหนือบนภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย อจลฆระ/อจลครห์ เป็นอนุสรณ์ของลูกที่มีศรัทธาในพุทธิของการได้รับชัยชนะเหนือกิเลสและอุปสรรคมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว และ เป็นผู้ล่วงรู้ความลับของความรู้ จึงมีสภาพที่มั่นคง อจลฆระ/อจลครห์ มาจากคำว่า อจละ แปลว่า มั่นคง คงที่ ไม่ไหวหวั่น ฆระ แปลว่า บ้าน และ ครห์ แปลว่า ป้อม |
8 | อัจฉา | อจฺฉา | अच्छा ![]() | ![]() acchā | ดี ใช้ได้ ถูกต้อง |
9 | อัชเมระ | อชเมร | अजमेर ![]() | ![]() Ajamer | อัชเมระ เป็นเมืองหลักของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย โดยอยู่ห่างจากภูเขาอาพู ประมาณ 350 กิโลเมตร พาพาได้กล่าวถึงวัดทองคำ ที่แสดงแบบจำลองของสวรรค์ และ วัดพรหมา ตั้งอยู่ที่ตำบลปุศกระ ในเมืองอัชเมระด้วย |
10 | อชามิล | อชามิล | अजामिल ![]() | ![]() Ajāmil | ในตำนานของอินเดีย อชามิล เป็นพราหมณ์ที่เคร่งครัด ผู้ทำภักดีและบูชานารายณ์ทุกวัน ก่อนที่จะกลายเป็นคนบาป เพราะตกเข้าไปสู่ในกิเลสของกาม ต่อมาก่อนที่อชามิลจากร่างได้ร้องเรียกหานามของลูกชายคนเล็ก คือ นารายณ์ ทำให้หยั่งรู้ถึงความบริสุทธิ์ของเด็ก และสะท้อนเห็นบาปที่ตนเองทำไว้ จึงได้ร้องขอนารายณ์ ผู้เป็นภควานให้อภัยแก่ตน ในที่สุด ก็ได้รับการปลดปล่อยให้กลับมาบริสุทธิ์และหลุดพ้น นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ หากเราทำผิดในสิ่งใด ก็ควรบอกพาพา และขอการให้อภัย โดยต้องไม่ทำผิดซ้ำอีก ถึงแม้จดจำพาพาได้ในวินาทีสุดท้ายก็สามารถหลุดพ้นได้ |
11 | อธรกุมาร | อธรกุมาร | अधरकुमार ![]() | ![]() Adharakumār | อธรกุมาร หมายถึง ผู้ชายที่แต่งงานแล้ว และดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์หลังจากที่มาเป็นลูกของพาพา อธร หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้คงไว้ ยึดไว้ |
12 | อธรกุมารี | อธรกุมารี | अधरकुमारी ![]() | ![]() Adharakumārī | อธรกุมารี หมายถึง ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์หลังจากที่มาเป็นลูกของพาพา ในหนทางภักดี ได้มีวัดอธรกุมารีเป็นอนุสรณ์ของลูก อยู่บนภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีวัดกันยากุมารี เป็นอนุสรณ์ของลูกที่อยู่อย่างบริสุทธิ์และมีค่าต่อการบูชา ตั้งอยู่ที่รัฐทมิฬนาฑู ใต้สุดของประเทศอินเดีย กันยา หมายถึง กุมารี หรือ หญิงสาว ที่ไม่ได้แต่งงานและอยู่อย่างบริสุทธิ์ อธร หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้คงไว้ ยึดไว้ |
13 | อนาสักติ | อนาสกฺติ | अनासक्ति ![]() | anāsakti | อนาสักติ หมายถึง การละวาง ไม่ผูกพันยึดมั่น พาพาใช้คำว่า อนาสักติ คู่กับ อาสักติ ที่หมายถึง ความผูกพันยึดมั่น การพึ่งพิง |
14 | อนุชนก | อนุชนก | अनुजनक ![]() | AnuJanak | พาพาได้ลงมายังโลกมนุษย์ในสังคมยุค เพื่อทำให้อาตมากลับมาปุรุโษตตมะ นั่นคือ เป็นผู้ที่สูงสุดของทั้งกัลป์ ดังนั้น อาตมาของสังคมยุคจึงมีความยิ่งใหญ่และสภาพสูงกว่าอาตมาของสัตยุค พาพากล่าวว่า ชนกของสังคมยุคก็จะกลายเป็นอนุชนกในสัตยุค หมายถึง ความยิ่งใหญ่และสภาพที่น้อยกว่า หรือ รองลงมาจากสังคมยุค อนุ แปลว่า เล็ก น้อย ตามมา ภายหลัง ตามคัมภีร์แล้ว ชนก คือ ราชา และ เป็นบิดาของสีดา ผู้ใช้ชีวิตอย่างเป็นกรรมโยคี ที่ละวาง ด้วยอาตมอภิมานะ และได้รับชีวันมุกติในหนึ่งวินาที |
15 | อนุราเธ | อนุราเธ | अनुराधे ![]() | AnuRādhe | พาพาได้ลงมายังโลกมนุษย์ในสังคมยุค เพื่อทำให้ลูกกลับมาปุรุโษตตมะ นั่นคือ เป็นผู้ที่สูงสุดของทั้งกัลป์ ดังนั้นอาตมาของสังคมยุคจึงมีความยิ่งใหญ่และสภาพสูงกว่าอาตมาของสัตยุค พาพากล่าวว่า ราเธของสังคมยุคก็จะกลายเป็นอนุราเธในสัตยุค หมายถึง ความยิ่งใหญ่และสภาพที่น้อยกว่า หรือรองลงมา อนุ แปลว่า เล็ก น้อย ตามมา ภายหลัง มัมมา ผู้เป็นแม่ของยัญ และได้รับสมญา สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น จะกลายเป็นราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ |
16 | อันตรยามี (อ่านว่า อัน-ตะ-ระ-ยา-มี) | อนฺตรฺยามี | अन्तर्यामी ![]() | Antaryāmī | อันตรยามี เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่ล่วงรู้ทุกสิ่งข้างในตนเองทั้งหมด นั้่นคือ ผู้ที่รู้ญาณทั้งหมด แต่ในหนทางภักดี เข้าใจว่าท่านเป็นผู้ล่วงรู้ความลับภายในของทุกคน พาพา ใช้เปรียบเทียบกับคำว่าพาเหียรยามี ที่มีความหมายตรงกันข้ามกับอันตรยามีในแง่ของ พาพา คือ อันตรยามี ผู้ที่ล่วงรู้ทุกสิ่งข้างในตนเองทั้งหมด นั่นหมายถึง ผู้ที่รู้ญาณทั้งหมด รวมถึงสิ่งที่ลูกทำอย่างซ่อนเร้นไว้ และ พรหมา คือ พาเหียรยามี ผู้ที่รู้สิ่งที่เกิดขึ้นในยัญ อันตรยามี มาจากรากฐานคำว่า อันตร แปลว่า ภายใน และ พาเหียรยามี มาจากรากฐานคำว่า พาหระ หรือ พาหิระ แปลว่า ภายนอก |
17 | อปมาน | อปมาน | अपमान ![]() | apamān | อปมาน หมายถึง การดูหมิ่น การดูถูก อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน จากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย พาพา ใช้คำ อปมาน พ้องกับคำ อภิมานะ นั่นหมายถึง ลูกรู้สึกว่าตนเอง ถูกดูหมิ่น ดูถูก เมื่อลูกมีความหลงทะนงตน จากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย |
18 | อพะ | อพ | अब ![]() | ![]() ab | อพะ หมายถึง เดี๋ยวนี้ บัดนี้ เวลานี้ พาพาใช้คำ อพี คู่กับ กภี ในความหมายว่า ถ้าหากลูกไม่ปุรุษารถะในเวลานี้ ก็จะไม่มีโอกาสอีกแล้ว อพะ หมายถึง เดี๋ยวนี้ บัดนี้ เวลานี้ และ กภี หมายถึง เคย ตลอดไป ปุรุษารถะ หมายถึง อาตมาเพ่งเพียรปฏิบัติขณะที่อยู่ในร่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดย ปุรุษารถะ มาจากคำว่า ปุรุษ หรือ บุรุษ หมายถึง อาตมา กับคำว่า รถ หมายถึง ร่างกาย หรือกับคำว่า อรรถ หมายถึง ความมุ่งหมาย ความประสงค์ |
19 | อภิมานะ | อภิมาน | अभिमान ![]() | abhimān | อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน จากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย อปมาน หมายถึง การดูหมิ่น การดูถูก พาพา ใช้คำ อปมาน พ้องกับคำ อภิมานะ นั่นหมายถึง ลูกรู้สึกว่าตนเอง ถูกดูหมิ่น ดูถูก เมื่อลูกมีความหลงทะนงตน จากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย |
20 | อโภกตา | อโภกฺตา | अभोक्ता ![]() | Abhokta | การอยู่เหนือประสบการณ์จากผลของการกระทำและประสาทสัมผัส |
21 | อมรนาถ | อมรนาถ | अमरनाथ ![]() | ![]() Amaranāth | อมรนาถ เป็นสมญาที่ให้กับศิวพาพา อมรนาถ มาจากคำว่า อมร หมายถึง ไม่ตาย กับคำว่า นาถ หมายถึง ผู้เป็นนาย ผู้เป็นที่พึ่ง ในหนทางภักดีกล่าวว่า อมรนาถ คือ ศิวะ (โดยเชื่อกันว่า ศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน) ได้เล่า อมรกถา ให้แก่ปารวตี ผู้เป็นชายา ที่เขาไกรลาส ซึ่งเป็นประทับของพระศิวะ เหนือขึ้นไปบนท้องฟ้า และผู้คนก็คิดว่าเป็นถ้ำอมรนาถที่หิมะละลายแล้วเกาะตัวเป็นน้ำแข็งรูปศิวลึงค์ ตั้งอยู่บนเขาหิมาลัยของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียด้วย จึงกลายเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญและมีชื่อเสียงของฮินดูธรรม พาพากล่าวว่า "ลูกทั้งหมด คือ ปารวตี และ ฉัน ผู้เป็นอมรนาถ กำลังให้ญาณ (อมรกถา) แก่ลูก และจะนำลูกกลับไปยังอมรโลก (อมรบุรี)" กถา แปลว่า เรื่อง ถ้อยคํา |
22 | อมรโลก | อมรโลก | अमरलोक ![]() | ![]() Amaralok | อมรโลก หมายถึง สวรรค์ สถานที่ที่ทุกคนใช้เต็มอายุขัย ไม่มีการตายที่ไม่เป็นไปตามเวลา ด้วยการคงอยู่ในอาตมอภิมานะ จึงจากร่างหนึ่ง ไปรับอีกร่างหนึ่งเมื่อถึงเวลา โดยไม่มีความทุกข์ระทม และผูกพันใดๆ โดยบางครั้งพาพาเรียกอมรโลกว่า อมรบุรี นอกจากนี้ อมรโลก ยังหมายถึง บรมธามะ บ้านของอาตมาด้วย เพราะว่าอาตมานั้น ไม่ตาย และอาศัยอยู่ที่นั่น อมร แปลว่า ไม่ตาย ดังนั้น อมรโลก คือ โลกที่ไม่มีความตาย |
23 | อมาวสี/อมาวสุ/อมาวาสี | อมาวส | अमावस ![]() | ![]() amāvas | คืนที่ดวงจันทร์มืดสนิทของเดือน หรือเรียกว่าวันดับ วันที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ร่วมราศีและองศาเดียวกัน ตรงกับแรม 15 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำในเดือนขาด |
24 | อมฤตสระ | อมฺฤตสร | अमृतसर ![]() | ![]() Amṛtasar | อมฤตสระ เป็นเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย โดยมีสถานที่สำคัญ คือ หริมันทิระ สาหิพ หรือ สุวรรณวิหาร สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ ที่ผู้คนไปจาริกแสวงบุญและอาบน้ำที่สระรอบหริมันทิระ สาหิพ โดยเข้าใจกันว่าเป็นอมฤตสระ นั่นคือ สระน้ำทิพย์ จึงเป็นที่มาของชื่อเมือง อมฤตสระ หรือที่เรียกกันว่า อมฤตสาร์ และชาวสิกข์ได้สร้างอกาลตัขตะ (บัลลังก์ที่อกาล) ไว้ที่วิหารนี้ด้วย แท้จริงแล้ว พาพาได้มาให้ญาณแก่ลูก ทำให้รู้ว่าตัวเราที่แท้จริง คือ อาตมา ที่ไม่ตาย เป็น อมตะ คำว่า อมฤต หมายถึง ไม่ตาย ที่ตรงข้ามกับ มฤต ที่หมายถึง ความตาย อกาลตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ หรือ ที่อยู่ของอาตมาที่อกาล มาจากคำว่า อกาล หมายถึง ไม่ตาย อยู่เหนือกาลเวลา และ ตัขตะ หมายถึง บัลลังก์ |
25 | อลัฟ | อลฟ | अलफ ![]() | ![]() Alaph | พยัญชนะตัวแรกของภาษาสินธีที่ออกเสียงว่า อลิฟ ในญาณ พาพาได้กล่าวถึง อลัฟ ว่าหมายถึง ศิวะ อลัฟ หมายถึง ผู้เดียว นั่นคือ ศิวะ ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา หนึ่งเดียวเท่านั้น |
26 | อเลากิก | อเลากิก | अलौकिक ![]() | alaukik | สภาพและสิ่งที่เกี่ยวกับอาตมาในทางละเอียดอ่อน ไม่ใช่ทางโลก หรือร่างกายภายนอก |
27 | อัลลาห์ อวัลดีน (ไทยออกเสียง อัลลอฮ์/อัลเลาะห์) | อลฺลาห อวลดีน | अल्लाह अवलदीन ![]() | Allāh Avaladīn | เรื่องราวที่กล่าวถึง อวัลดีนและตะเกียงวิเศษ เมื่อ อัลลาห์ อวัลดีนตบมือและแล้วสมบัติที่มีค่าของสวรรค์ก็ปรากฏขึ้นมา พาพากล่าวว่า ลูกสามารถเห็นสวรรค์ได้ในหนึ่งวินาทีด้วยทิพยทฤษฎี และได้รับทุกสิ่งที่ลูกต้องการในสังคมยุค อัลลาห์ อวัลดีน มาจากคำว่า อัลลาห์ เป็นภาษาอารบิค หมายถึง สิ่งสูงสุดของศาสนาอับราฮัม กับ อวัล หมายถึง แรก และ ดีน หมายถึง ธรรม แท้จริงแล้ว อัลลาห์ ก็คือ ศิวพาพา ผู้ก่อตั้งธรรมแรก ทิพยทฤษฎี คือ การเห็นสากษาตการ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นอาการหรือสภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อนอยู่ข้างหน้า โดยศิวพาพามีกุญแจที่ให้ทิพยทฤษฎีแก่ลูกและภักตะที่เต็มไปด้วยภาวนา ทั้งนี้ ลูกของพาพาก็สามารถได้รับทิพยทฤษฎีด้วยดวงตาที่สาม นั่นคือ ทิพยจักษุจากพุทธิที่มีญาณเป็นพื้นฐาน ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น ทิพย์ หมายถึง สิ่งที่ได้รับจากศิวพาพา เป็นอาการ หรือ สภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อน สากษาตการ มาจากคำว่า สากษาต หมายถึง ปรากฏอยู่ข้างหน้า กับ อาการ หมายถึง สภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อน |
28 | อวตาร | อวตาร | अवतार ![]() | ![]() avatār | ศิวพาพา คือ ผู้ที่นิราการได้อวตารลงมายังโลกมนุษย์นี้ ท่านไม่มีทั้งอาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) และ สาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) ท่านไม่ได้มาเกิดผ่านครรภ์ใดๆ นั่นหมายถึง ไม่ได้เวียนว่ายตายเกิด จึงมีความบริสุทธิ์เสมอ แม้แต่ ผู้สถาปนาธรรมต่างๆ ลงมายังโลกวัตถุในชาติแรกด้วยสภาพที่บริสุทธิ์ สโตประธาน และใช้ร่างของผู้อื่นเพื่อสถาปนาธรรมของตนก็ตาม แต่หลังจากนั้นก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดด้วยกิเลสผ่านครรภ์ในทุกชาติถัดไป และกลับมาไม่บริสุทธิ์ ตโมประธาน |
29 | อวยักตะ (อ่านว่า อะ-วะ-ยัก-ตะ) | อวฺยกฺต | अव्यक्त ![]() | avyakt | อวยักตะ คือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) หรือ ผริศตา ที่ไม่ใช่วยักตะ หรือ สาการ ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
30 | อวยักตะ มุรลี | อวฺยกฺตะ มุรลี | अव्यक्त मुरली ![]() | ![]() Avyakt murlī | คำพูด คำสอนที่ยิ่งใหญ่และล้ำค่า โดย อวยักตพาปทาทา พูดผ่านร่างของทาทีคุลซาร ที่เป็นสื่อกลาง หลังจากพรหมาพาพาได้จากร่างสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) และเข้าสู่สภาพสัมปันนและสมบูรณ์ของผริศตาที่อวยักตะ หรือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) เมื่อปี พ.ศ. 2512 อวยักตพาปทาทา หมายถึง ศิวพาพา ผู้ที่นิราการ รวมกับ อวยักตพรหมาพาพา อวยักตมุรลี ได้เริ่มมาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2512 สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
31 | อวยภิจารี (อ่านว่า อะ-วฺยะ-พิ-จา-รี) | อวฺยภิจารี | अव्यभिचारी ![]() | ![]() avyabhicārī | วยภิจารี หมายถึง การนอกใจ เป็นชู้ การมีหลายสิ่ง หลายอย่าง และ อวยภิจารี หมายถึง มีเพียงผู้เดียว ไม่มีผู้อื่นใด ซึ่งตรงข้ามกับวยภิจารี ศิวพาพากล่าวว่า เมื่อลูกเริ่มทำอวยภิจารี ภักดี ในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) ลูกได้ทำให้กับศิวะเพียงผู้เดียว ด้วยความรักและศรัทธาและใช้ทรัพย์สมบัติที่ พาพาทำให้ลูกมั่งคั่งจากสังคมยุค เพราะว่าลูกมีญาณ การจดจำระลึกถึง เสวา ธารณา และทุกสิ่งเป็นอวยภิจารีกับพาพาเท่านั้น แต่ในเวลาต่อมาลูกก็ทำภักดีให้กับสิ่งอื่นนอกเหนือจากศิวะ เช่น ลักษมี นารายณ์ เหล่าเทพ จนกระทั่ง ทำให้กับมนุษย์และวัตถุธาตุ นั่นเรียกว่า วยภิจารี ภักดี ลูกจึงกลับมามีธรรมและกรรมที่ภรัษฏะ หมายถึง ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และยากจนข้นแค้น ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา |
32 | อสรีรี | อสรีรี | अशरीरी ![]() | aśrīrī | อาตมาขณะที่อยู่ในร่าง แต่ละวางจากร่าง ไม่ได้ใช้ร่างทำกิจกรรม เช่น ขณะที่นั่งสมาธิหรือการนอนหลับ สรีระ หมายถึง ร่างกาย |
33 | อัศวเมธ | อศฺวเมธ | अश्वमेध ![]() | ![]() Aśvamedh | ชื่อพิธีเพื่อประกาศอำนาจและความยิ่งใหญ่ของราชาในวรรณคดีอินเดีย โดยราชาจะปล่อยม้าอุปการ พร้อมทั้งกองทัพให้เข้าไปในประเทศต่างๆ หากดินแดนใดยอมให้ม้าเข้าไป โดยไม่ขัดขืนใด นั้นหมายถึง ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของราชา ถ้าประเทศใดไม่ยอมอ่อนน้อม กองทัพจะเข้าโจมตี เมื่อครบหนึ่งปีแล้ว กองทัพก็ยกกลับด้วยชัยชนะ แล้วราชานั้นก็จะกลายเป็นจักวรรดิราชา (ผู้ปกครองทั้งโลก) และจัดพิธีโดยฆ่าม้านั้นบูชายัญ เรียกว่า พิธีอัศวเมธ แท้จริงแล้ว พาพาได้มาสร้างรุทระ ญาณ ยัญ ที่ให้ลูกสังเวยเทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย และจบสิ้นความสัมพันธ์ทางร่าง อัศวเมธ มาจากคำว่า อัศว แปลว่า ม้า และ เมธ แปลว่า การเซ่นสรวง การบูชายัญ |
34 | อัษฏาวกระ | อษฺฏาวกฺร | अष्टावक्र ![]() | ![]() Aṣṭāvakra | อัษฏาวกระ เป็นตัวละครที่สนทนากับราชาชนก ผู้เป็นราชาของเมืองวิเทหะและเป็นชนกของสีดา ซึ่งได้บันทึกไว้ใน อัษฏาวกระ คีตา ว่าอัษฏาวกระเป็นสันนยาสี โยคี มีร่างกายที่พิการ บิดเบี้ยวแปดแห่ง ผู้ทำให้ราชาชนกได้รับ ชีวันมุกติ (การหลุดพ้นในชีวิต) ในหนึ่งวินาที คำว่า อัษฏาวกระ แปลว่า ผู้ที่มีความผิดปกติแปดแห่งในร่างกาย โดย อัษฏา หมายถึง แปดอย่าง นัยสำคัญเรื่องนี้ คือ การเอาชนะความผูกพันยึดมั่น ขณะที่อาศัยอยู่ในโลกนี้ แต่ไม่ได้เป็นของโลกนี้ นั่นคือ อาตมาอยู่อย่างละวางจากโลกนี้ รวมทั้ง อยู่เหนืออายุและร่างกายภายนอก ซึ่งไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงการมีญาณ หรือพุทธิของผู้นั้น สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ |
35 | อโสจตา | อโสจตา | असोचता ![]() | asocatā | การอยู่เหนือความคิดที่ไม่เกิดผล |
36 | อาคา ข่าน | อาคา ขานฺ | अागा खां ![]() | ![]() Āgā Ḵẖān | อาคา ข่าน เป็นคุรุของมุสลิม ที่มีลูกศิษย์และผู้คนให้ความเคารพและศรัทธา โดยให้คุณค่าอาคา ข่าน ด้วยการชั่งน้ำหนักตัวอาคา ข่านด้วยทองคำ หรือ เพชร บนตาชั่ง แท้จริงแล้ว พาพาเป็นสัตคุรุที่สูงสุด มีคุณค่าที่สุด ไม่สามารถเปรียบเทียบด้วยสิ่งใดได้ ทั้งนี้ ท่านทำให้ทุุกอาตมาได้รับชีวันมุกติและนำกลับไปยังบรมธามะอย่างบริสุทธิ์ |
37 | โอ มาง | โอ มาง | अो माँ ![]() | ![]() O māṁ | โอ แม่ ที่รักของฉัน |
38 | อาการ | อาการ | आकार ![]() | ākār | ในราชโยคะ อาการ หมายถึง สภาพอวยักตะ เป็นแสงที่ละเอียดอ่อน ที่อยู่เหนือร่างกาย วัตถุภายนอก นั่นคือ ผริศตา ในทางโลก อาการ หมายถึง รูปร่าง ร่างกาย วัตถุภายนอกที่เห็นและจับต้องได้ ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
39 | อาตมอภิมานะ (อ่านว่า อาด-ตะ-มะ-อะ-พิ-มา-นะ) | อาตฺม อภิมาน | आत्म अभिमान ![]() | ātma abhimān | อาตมอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนที่บริสุทธิ์จากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นอาตมาแทนการเป็นร่างกาย อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย |
40 | อาตมิกภาวะ | อาตฺมิก ภาว | आत्मिक भाव ![]() | ātmik bhāv | ความรู้สึก นึกคิด การเข้าใจบนพื้นฐานของญาณ ว่าตนเองและผู้อื่นเป็นอาตมา อาตมิก มาจากคำว่า อาตมา ภาวะ หมายถึง ความรู้สึก นึกคิดเป้าประสงค์ เจตนา เป็นต้น |
41 | อาทิเทวา/เทวะ/เทพ | อาทิ เทว | आदि देव ![]() | ![]() Ādi Dev | อาทิเทวา เทวะ หรือ เทพ หมายถึง เทวา เทวะ หรือ เทพองค์แรก พรหมา ได้รับการจดจำในสมญาต่างๆ ว่าเป็น เทพองค์แรก มนุษย์คนแรก อดัม เป็นต้น อาทิ แปลว่า ต้น แรก |
42 | อาทิเทวี | อาทิ เทวี | आदि देवी ![]() | ![]() Ādi Devī | อาทิเทวี หมายถึง เทวีองค์แรก มัมมา ได้รับการจดจำในสมญาต่างๆ ว่าเป็น เทวีองค์แรก มนุษย์คนแรก อีฟ เป็นต้น อาทิ แปลว่า ต้น แรก |
43 | อาทินาถ | อาทิ นาถ | आदि नाथ ![]() | ![]() Ādi Nāth | อาทินาถ เป็นสมญาที่เรียก พรหมาพาพา โดยวัดเทลวารา/ทิลวาลา ที่ภูเขาอาพู ได้รับการเรียกว่าเป็นวัดอาทินาถ ด้วย ในหนทางภักดี ได้มีการสร้างวัดอาทินาถ ให้กับศิวพาพา วิษณุและกฤษณะ อาทินาถ มาจากคำว่า อาทิ แปลว่า ต้น แรก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
44 | อานา | อานา | आना ![]() | ![]() ānā | อานา เป็นสกุลเงินโบราณที่ใช้กันในประเทศอินเดียและปากีสถาน 16 อานา เท่ากับ 1 รูปี |
45 | อาพู | อาพู | आबू ![]() | ![]() Ābū | ภูเขาอาพู ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ที่มีความสูงประมาณ 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลของแนวเทือกเขาอราวลี และเป็นที่ตั้งของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา ภูเขาอาพู มีสถานที่สำคัญที่เป็นอนุสรณ์ของของศิวพาพา อาทิเทพ อาทิเทวี พรหมากุมารและกุมารี และเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนไปจาริกแสวงบุญ ได้แก่ วัดเทลวารา คุรุศิขร อจลฆระ และ คอูมุข เป็นต้น นอกจากนี้ ภูเขาอาพู ยังเป็นสถานที่พักผ่อน ที่มีอากาศเย็นสบาย และมีทะเลสาบนักกีที่สงบและสวยงาม เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วย |
46 | อารยสมาช | อารฺยสมาช | आर्यसमाज ![]() | ![]() Āryasamāj | อารยสมาช หรือ สมาคมของชาวอารยัน เป็นสมาคมของผู้นับถือฮินดูธรรม โดยสวามีทยานันทะ สรัสวดี เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2418 ที่เชื่อว่าบรมบิดา บรมาตมา คือ ผู้ที่นิราการ และมีการทำพิธีไฟบูชายัญ เผาสิ่งสังเวย เพื่อสร้างบรรยากาศที่บริสุทธิ์ แต่ไม่มีการบูชารูปเคารพใดๆ นอกจากนี้ มีการตั้งกฎเกณฑ์ หรือ ข้อปฏิบัติเฉพาะขึ้นมาด้วย สมาช แปลว่า สมาคม ชุมนุม |
47 | อาสักติ | อาสกฺติ | आसक्ति ![]() | āsakti | อาสักติ หมายถึง ความผูกพันยึดมั่น การพึ่งพิง พาพาใช้คำว่า อาสักติ คู่กับ อนาสักติ ที่หมายถึง การละวาง ไม่ผูกพันยึดมั่น |
48 | อิจฉา | อิจฺฉา | इच्छा ![]() | Icchā | อิจฉา หมายถึง ความอยาก ปรารถนา พาพาให้ลูกมีอิจฉาในญาณ โยคะ ธารณา และ เสวา ไม่ใช่วัตถุ หรือสิ่งที่มาจากพื้นฐานของกิเลสใดๆ |
49 | อุมาวสะ/อมาวสี/อมาวสุ/อมาวาสี | อุมาวส | उमावस ![]() | ![]() umāvas | คืนที่ดวงจันทร์มืดสนิทของเดือน หรือเรียกว่าวันดับ วันที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ร่วมราศีและองศาเดียวกัน ตรงกับแรม 15 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำในเดือนขาด |
50 | เอกนามี | เอกนามี | एकनामी ![]() | Ekanāmī | จดจำนามของผู้เดียว หมายถึง จดจำศิวพาพาเพียงผู้เดียว เอกนามี มาจากคำว่า เอก หมายถึง หนึ่งเดียว นามี หมายถึง นามของ |
51 | เอกาครตา | เอกาคฺรตา | एकाग्रता ![]() | ![]() exāgratā | เอกาครตา มาจากคำว่า เอก หมายถึง หนึ่งเดียว สิ่งเดียว กับ อครตะ หมายถึง ข้างหน้า ในราชโยคะ เอกาครตา คือ การมีพาพาเพียงผู้เดียว หรือ เป้าหมายที่พาพาต้องการให้ลูกเป็นเท่านั้นอยู่ข้างหน้า |
52 | เอกานตะ/เอกานต์ | เอกานฺต | एकान्त ![]() | ![]() ekānt | เอกานต์ มาจากคำว่า เอก หมายถึง หนึ่งเดียว สิ่งเดียว กับ อันต์ หมายถึง สุดท้าย จุดจบ เป้าหมาย ในราชโยคะ เอกานต์ คือ การเข้าไปสู่ความลึกล้ำและหลอมรวมกับพาพาเพียงผู้เดียวที่เป็นเป้าหมาย ถึงแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนก็ตาม นั่นคือสภาพสันโดษของอาตมา |
53 | กงส์ | กงฺส | कंस ![]() | ![]() kaṃs | กงส์ คือ ปีศาจ เป็นตัวละครจากภาควัต กงส์ เป็นชื่อพระยาแห่งกรุงมถุรา โอรสท้าวอุครเสน และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนางเทวกี มารดาของกฤษณะ (ท้าวอุครเสนเป็นพี่ของเทวกะ ผู้เป็นบิดานางเทวกี) ในที่สุดแล้ว กฤษณะเป็นผู้เอาชนะกงส์ นอกจากนี้ยังมีการเขียนกงส์ ว่า กังส หรือ กังสะ ก็มี |
54 | กันไหยา | กนฺไหยา | कन्हैया ![]() | ![]() Kanhaiyā | เป็นนามหนึ่งของกฤษณะ กันไหยา เป็นผู้ที่ทำให้กันยา (กุมารี) ถูกดึงดูดด้วยความหลงใหล นั่นคือ เอาชนะหัวใจกันยา แท้จริงแล้ว ศิวพาพา คือ กันไหยา เป็นผู้ดูแลและยกระดับผู้หญิงและกันยาให้ได้รับสถานภาพที่ดี กันยา หมายถึง กุมารี หรือ หญิงสาว ที่ไม่ได้แต่งงานและอยู่อย่างบริสุทธิ์ |
55 | กพะ | กพ | कब ![]() | ![]() kab | กพะ หมายถึง เมื่อ เมื่อไร พาพาใช้คำ อพะ คู่กับ กพะ ในความหมายว่า ถ้าหากลูกไม่ปุรุษารถะในเวลานี้ แล้วลูกจะทำเมื่อไร ก็จะไม่มีโอกาสอีกแล้ว อพะ หมายถึง เดี๋ยวนี้ บัดนี้ เวลานี้ ปุรุษารถะ หมายถึง อาตมาเพ่งเพียรปฏิบัติขณะที่อยู่ในร่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดย ปุรุษารถะ มาจากคำว่า ปุรุษ หรือ บุรุษ หมายถึง อาตมา กับคำว่า รถ หมายถึง ร่างกาย หรือกับคำว่า อรรถ หมายถึง ความมุ่งหมาย ความประสงค์ |
56 | กพริสตาน/กพริสถาน (อ่านว่า กะ-พฺริ-สฺถาน) | กพฺริสฺตาน | कब्रिस्तान ![]() | ![]() kabristān | กพริ แปลว่า หลุมฝังศพ ดังนั้นกพริสถาน หมายถึง สุสาน พาพากล่าวว่า ทุกสิ่งในโลกกลียุคนี้ กำลังจะจบสิ้นลง และกลายเป็นเช่น กพริสถาน นอกจากนี้ ยังหมายถึง ในสังคมยุคนี้พาพาได้มาปลุกมนุษย์ทั้งหลายให้ตื่นขึ้นมาจากสภาพอญาณ ที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ |
57 | กรันกราวันหาระ (อ่านว่า กะ-รัน-กะ-รา-วัน-หา-ระ) | กรนกราวนหาร | करनकरावनहार ![]() | ![]() karanakarāvanahār | กรันกราวันหาระ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ท่านคือผู้ทำ โดยทำให้เกิดการกระทำงานใดๆ ด้วยผู้อื่น กร แปลว่า ผู้ทำ ผู้ก่อ และ กรา แปลว่า ผู้ที่ทำให้เกิดการกระทำงานใดๆ ด้วยผู้อื่น |
58 | กรันหาระ (อ่านว่า กะ-รัน-หา-ระ) | กรนหาร | करनहार ![]() | karanahār | ผู้กระทำงานใดๆ ด้วยการเข้าใจว่าตนเอง เป็นเครื่องมือของพาพา กร แปลว่า ผู้ทำ ผู้ก่อ |
59 | กราจี (อ่านว่า กะ-รา-จี) | กราจี | कराची ![]() | ![]() Karācī | ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ได้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2479-2480 ที่เมืองไฮเดอราบาด รัฐสินธ์ ประเทศอินเดีย และในปีเดียวกัน ก็ได้ย้ายมาตั้งที่เมืองกราจี ระยะทางประมาณ 160 กม. จากเมืองไฮเดอราบาด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน) โดย พรหมากุมารี ผู้เป็นนักศึกษาเริ่มแรก ประมาณ 400 คน ได้มีการฝึกฝนและทำตปัสยา (ตบะ) อย่างจริงจังเป็นเวลา 14 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้ย้ายจากเมืองกราจี มาที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย |
60 | กราวันหาระ (อ่านว่า กะ-รา-วัน-หา-ระ) | กราวนหาร | करावनहार ![]() | karāvanahār | ผู้ที่ทำให้เกิดการกระทำงานใดๆ ด้วยผู้อื่น กร แปลว่า ผู้ทำ ผู้ก่อ และ กรา แปลว่า ผู้ที่ทำให้เกิดการกระทำงานใดๆ ด้วยผู้อื่น |
61 | กรนาฏกะ (อ่านว่า กะ-รฺ-นา-ตะ-กะ) | กรฺนาฏก | कर्नाटक ![]() | ![]() Karnāṭak | กรนาฏกะ คือ รัฐที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศอินเดีย ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก ชื่อรัฐมาจากภาษากันนาดา แปลว่าแผ่นดินที่ถูกยกขึ้นสูง หรือ เขตดินดำ เดิมใช้ชื่อรัฐไมซอร์ และเปลี่ยนมาใช้ชื่อกรนาฏกะ พาพา ได้ให้ความหมายของกรนาฏกะ ว่า กร แปลว่า ผู้ทำ ผู้ก่อ และ นาฏกะ แปลว่า การแสดง ละคร นั่นหมายถึง อาตมาเมื่อมารับร่างก็คือ ผู้แสดง หรือ นักแสดงละคร |
62 | กรรม | กรฺม | कर्म ![]() | ![]() karm | การ การงาน การกระทำ ในราชโยคะ พาพาได้กล่าวถึงกรรมต่างๆ ดังนี้ 1. อกรรม คือ กรรมที่เป็นกลาง เป็นการรับผลของกรรมจากสังคมยุค ในสัตยุค (ยุคทอง) และเตรตายุค (ยุคเงิน) 2. วิกรรม คือ การกระทำบาปที่ไม่บริสุทธิ์ ในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) กลียุค (ยุคเหล็ก) บนพื้นฐานของเทหอภิมานะ 3. สุกรรม คือ การกระทำที่บริสุทธิ์ ดีงาม ถูกต้องในสังคมยุค บนพื้นฐานศรีมัต และอาตมอภิมานะ 4. กรรมโภค คือ การได้รับผลของวิกรรม (การกระทำบาปที่ไม่บริสุทธิ์) ด้วยความทุกข์ทรมาน และต้องอดทนต่อการถูกลงโทษ 5. กรรมพันธนะ คือ พันธนะที่เกิดจากการกระทำ บนพื้นฐานของเทห์ (ร่างกาย) อภิมานะ โดย พันธนะ แปลว่า การผูก การมัด 6. กรรมสัมพันธ์ คือ สัมพันธ์ที่เกิดจากการกระทำ บนพื้นฐานของอาตมอภิมานะ เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน อาตมอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนที่บริสุทธิ์จากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นอาตมาแทนการเป็นร่างกาย |
63 | กรรมโภค | กรฺมโภค | कर्मभोग ![]() | karmabhog | กรรม คือ การกระทำ และ โภค คือ การได้รับความทุกข์ทรมาน กรรมโภค หมายถึง การได้รับผลของวิกรรม (การกระทำบาปที่ไม่บริสุทธิ์) ด้วยความทุกข์ทรมาน และต้องอดทนต่อการถูกลงโทษ |
64 | กรรมโยคี | กรฺมโยคี | कर्मयोगी ![]() | karmayogī | ผู้ทำกรรมโยคะ หมายถึง การกระทำขณะอยู่ในโยคะ นั่นคือ จดจำระลึกถึง บรมบิดา บรมาตมา |
65 | กรรมาตีต/กรรมาดีต | กรฺมาตีต | कर्मातीत ![]() | ![]() karmātīt | กรรมาดีต มาจากคำว่า กรรมหมายถึงการกระทำ กับอดีตหมายถึงการอยู่เหนือ การข้ามผ่าน กรรมาดีต หมายถึง การอยู่เหนือผลของกรรมที่ทำ ไม่ใช่การอยู่เหนือกรรมที่ไม่ต้องทำกรรม แต่เป็นการอยู่เหนือพันธนะของกรรมที่ทำ และไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลขณะที่ทำกรรมด้วยอวัยวะทางร่าง เพราะอาตมา คือ นายของร่างกาย ด้วยความเข้าใจและคิดว่าพาพา ผู้ที่ทำทุกสิ่งด้วยลูก นั่นคือ ใช้ลูกเป็นเครื่องมือในการทำ ลูกจึงไม่ถูกดึงดูดไปสู่การกระทำนั้น แต่อยู่อย่างละวางและมีความรัก |
66 | กลังคีอวตาร | กลงฺคี อวตาร | कलंगी अवतार ![]() | ![]() kalaṅgī avatār | พาพาใช้คำว่า กลังคีอวตาร แต่ในหนทางภักดีเขียนว่า กัลกีอวตาร และเชื่อกันว่าวิษณุได้อวตาร 24 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเรียกว่า กัลกีอวตาร นั่นหมายถึง พาพาได้อวตารลงมาในร่างของพรหมาในสังคมยุค เป็นยุคที่มาบรรจบกันระหว่างกลียุคและสัตยุค |
67 | กัลป์ (อ่านว่า กัน) | กลฺป | कल्प ![]() | ![]() kalp | หนึ่งรอบวงจรของ 5,000 ปี หนึ่งกัลป์ ประกอบด้วย 5 ยุค โดยมี 4 ยุค ยุคละ 1,250 ปี ได้แก่ สัตยุค (ยุคทอง) เตรตายุค (ยุคเงิน) ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) กลียุค (ยุคเหล็ก) และ ยุคที่ 5 เรียกว่า ปุรุโษตตมสังคมยุค หมายถึง ยุคของการบรรจบพบกันทำให้อาตมากลายเป็นมนุษย์ที่สูงส่งที่สุด ที่ซ้อนขึ้นมาในปลายกลียุคที่มาบรรจบกับสัตยุค และเป็นยุคที่พาพาได้ลงมาสอนราชโยคะแก่ลูก |
68 | กามเธนุ | กามเธนุ | कामधेनु ![]() | ![]() Kāmadhenu | ในฮินดูธรรม กามเธนุ คือ ชื่อของโคหรือวัวเพศเมียแห่งสวรรค์ ผู้เป็นมารดาแห่งโคทั้งหลายที่ได้รับการบูชา และมีเทวี เทวดา 330 ล้านองค์อยู่ในท้อง เข้าใจกันว่าเป็นโคแห่งความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรือง เพราะว่าทำให้สมปรารถนาในทุกสิ่ง โดยทั่วไปกามเธนุมักปรากฏในรูปโคตัวเมียที่มีใบหน้าเป็นมนุษย์เพศหญิง มีหน้าอกแบบมนุษย์ มีหางเป็นนกยูงอยู่เหนือหางโค มีปีก และมีนมของโคด้วย ในฮินดูธรรม วัวเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ความแข็งแกร่ง ความอุดมสมบูรณ์ ให้โดยไม่เห็นแก่ตน และให้ทุกสิ่งแก่โลกนี้ พาพาใช้สมญานี้กับชคัตอัมพา (แม่ของโลก) และลูก ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่เห็นแก่ตนเอง และทำให้ผู้อื่นสมปรารถนาในทุกสิ่ง กามเธนุ มาจากคำว่า กาม หรือ กามา แปลว่า ปรารถนา และ เธนู แปลว่า วัวเพศเมีย |
69 | กายทา (อ่านว่า กา-ยะ-ทา) | กายทา | कायदा ![]() | ![]() kāyadā | พาพาใช้คำ ผายทา พ้องกับคำ กายทา หมายถึง เมื่อลูกทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่พาพาให้ลูกในการดำเนินชีวิตของการเป็นพรหมากุมารและกุมารีในสังคมยุค ลูกก็จะได้รับคุณประโยชน์ กายทา หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และ ผายทา หมายถึง คุณประโยชน์ กำไร |
70 | กาลาบิดา | กาลา ปิตา | काला पिता ![]() | ![]() Kālā Pitā | บิดา ผู้มีรูปลักษณ์ที่น่าเกลียด คำว่า กาลา แปลว่า สีดำ ในคัมภีร์ มีการกล่าวถึง เทวี กาลีมาตา (มารดา) แต่ไม่ได้กล่าวถึง กาลาบิดา ดังนั้นพาพาจึงถามว่า หากมีกาลี มาตา แล้ว กาลาบิดา อยู่ที่ใด? |
71 | กาสี | กาศี | काशी ![]() | ![]() Kāshī | กาสี เป็นเมืองตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำคงคาในรัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ปัจจุบันรู้จักกันในนามว่า พาราณสี หรือ พนารสะ ในสมัยก่อน กาสีเป็นเมืองที่ภักตะไปสังเวยชีวิตให้กับศิวะที่วัดวิศวนาถ ที่เรียกว่า กาสี กรวัฏ เพื่อตัดศีรษะตนเองด้วยเลื่อยของกาสีที่เป็นที่โด่งดัง จากการกระโดดลงไปในบ่อที่มีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน โดยเข้าใจว่าจะได้รับมุกติ (การหลุดพ้น) วิศวนาถ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้เป็นนาถของโลก โดย วิศว แปลว่า โลก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
72 | กุมารกา | กุมารกา | कुमारका ![]() | ![]() Kumārakā | สาการ พาพา เคยเรียกทาทีประกาศมณี ว่า กุมารกา ผู้เป็นเพชรพลอยเริ่มแรกในยัญนี้ ทาทีประกาศมณี เป็นอดีตผู้บริหารสูงสุดของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย หลังจากพรหมาพาพาได้จากร่างสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) และเข้าสู่สภาพสัมปันนและสมบูรณ์ของผริศตาที่อวยักตะ หรือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) เมื่อปี พ.ศ. 2512 จนกระทั่ง ทาทีได้จากร่างสาการเมื่อปี พ.ศ. 2550 ประกาศมณี หมายถึง มณีแห่งแสง มาจากคำว่า ประกาศ ที่แปลว่า แสง กับ มณี สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็ม ถึงพร้อม ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
73 | กุมภ์ | กุมฺภ | कुम्भ ![]() | ![]() kumbh | กุณโฑ คนโท หรือ หม้อน้ำที่ทำมาจากดินเหนียวหรือโลหะที่ใช้เก็บน้ำ ในราชโยคะ กุมภ์ หมายถึง สังคมยุค ซึ่งเป็นการพบปะของอาตมาและ บรมาตมา ระหว่างวงจรเก่ากับวงจรใหม่ที่บรรจบกันระหว่างกลียุคกับสัตยุค |
74 | กุมภเมลา | กุมฺภ เมลา | कुम्भ मेला ![]() | ![]() kumbh melā | กุมภเมลา เป็นเทศกาลริมฝั่งแม่น้ำของฮินดูธรรม ในภาษาสันสกฤต คำว่า กุมภ์ หมายถึง หม้อน้ำที่ทำมาจากดินเหนียวหรือโลหะ และ เมลา หมายถึง ชุมนุม การพบปะ หรือ งานแสดงต่างๆ กุมภเมลา มีการจัดขึ้นทุกๆ 12 ปี ที่เมืองประยาค (อัลลอฮาบาด) ของ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นจุดที่แม่น้ำทั้งสามสาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสรัสวดี (ซึ่งเชื่อกันว่าแม่น้ำสรัสวดีเป็นแม่น้ำที่มองไม่เห็นหรือแฝงตัว) มาบรรจบกัน หรือเรียกว่า "ตรีเวณี สังคม" หรือ "จุฬาตรีคูณ" ตรีเวณี สังคม เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ที่หยดของน้ำทิพย์ได้หล่นลงมาจากกุมภ์ที่อยู่ในมือของเทวดา และเมื่อดำลงไปที่ตรีเวณี สังคม แล้วจะเป็นการชำระล้างบาปให้หมดไป ภักตะของฮินดูธรรมทั่วทั้งอินเดียได้มายังสถานที่จาริกแสวงบุญที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ พาพา ได้กล่าวว่า ในทางโลกนั้นเป็น กุมภเมลา ที่มาบรรจบกันของแม่น้ำ แต่เมื่อ บรมบิดา บรมาตมา มาในปุรุโษตตมสังคมยุค คือ การบรรจบพบกันระหว่างอาตมา (นที) กับบรมาตมา (สาคร) เกิดขึ้น จึงเป็นกุมภเมลาแท้จริง ในเวลาสังคมยุคนี้ บรมบิดา บรมาตมา ผู้ทำให้บริสุทธิ์ ได้มา และทำให้อาตมาที่ไม่บริสุทธิ์กลับมาบริสุทธิ์ พร้อมทั้งนำกลับไปยังบรมธามะ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัยที่สูงสุดของอาตมา นที หมายถึง แม่น้ำ และ สาคร หมายถึง มหาสมุทร |
75 | กุรุเกษตร | กุรุเกฺษตฺระ | कुरुक्षेत्र ![]() | ![]() Kurukṣetra | สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ใน "มหาภารตะ" มหากาพย์ของอินเดีย โดยทุ่งกุรุเกษตร เป็นที่ราบที่อยู่ใกล้ๆ กับกรุงหัสตินาปุระ ปัจจุบันอยู่ในรัฐหริยาณา ที่ทั้งสองตระกูลคือปาณฑพและเการพเลือกใช้เป็นสนามรบ ในราชโยคะ กุรุเกษตร หรือ กรรมเกษตร คือ เกษตร ที่หมายถึง ท้องทุ่ง พื้นที่ หรือ สถานที่ทำกรรม ได้แก่ 1. เกษตรของสงครามมหาภารตะเกิดขึ้น 2. เกษตรของพุทธิที่อาตมามีชัยชนะเหนือกิเลส 3. ทั้งโลก คือ เกษตรที่อาตมาเพาะเมล็ดของการกระทำและได้รับผลตามการกระทำนั้น สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ใน "มหาภารตะ" นั้น ได้มีบทสนทนาโต้ตอบระหว่างกฤษณะที่เป็นสารถีขับรถศึกให้อรชุน ที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ออกมาโดยสัญชัย ผู้เป็นอํามาตย์รับใช้ของท้าวธฤตราษฏร์ ผู้ตาบอดแห่งเมืองหัสตินาปุระ และเป็นบิดาของเการพ ทั้งนี้ มหาฤษีวยาส หรือ พระฤษีกฤษณไทวปายนเป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สัญชัย เพื่อเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามครั้งนั้นอย่างแจ่มแจ้งทั้งๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยถวายรายงานต่อท้าวธฤตราษฎร์ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ แท้จริงแล้ว ในสังคมยุคนี้ สัญชัย ก็คือ ลูกของพาพาที่สามารถมองเห็นและเข้าใจทุกสิ่งอย่างถ่องแท้ด้วยดวงตาที่สาม (ทิพยจักษุ หรือ ตาทิพย์) จากพุทธิที่มีญาณเป็นพื้นฐาน และลูกคือผู้ถ่ายทอดญาณนี้แก่ดวงวิญญาณทั้งโลกที่ไม่รู้จักพาพา และ อญาณเปรียบกับราชาธฤตราษฏร์ที่ตาบอด พาพาได้ให้สมญาแก่พรหมากุมารชัคทีศ ว่าเป็นสัญชัย |
76 | กุล | กุล | कुल ![]() | kul | ตระกูล สกุล ครอบครัว เผ่า เหล่ากอ เชื้อสาย |
77 | กฤษณจันทร์ | กฺฤษฺณ จนฺทฺระ | कृष्ण चन्द्र ![]() | Kṛṣṇ Candra | นามสำหรับผู้ชายของคนอินเดีย พาพาได้กล่าวว่า กฤษณจันทร์ นั้นไม่ใช่นามที่ถูกต้อง เพราะว่ากฤษณะเป็นนามของสุริยวงศี หมายถึง ผู้ที่เป็นของสุริยวงศ์ และ จันทร์ เป็นนามต่อท้ายที่ใช้สำหรับจันทรวงศี หมายถึง ผู้ที่เป็นของจันทรวงศ์ วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล |
78 | กฤษณบุรี | กฺฤษฺณปุรี | कृष्णपुरी ![]() | ![]() Kṛṣṇapurī | หนึ่งในนามของสวรรค์ ปุรี ในภาษาไทยใช้คำว่า บุรี หมายถึง เมือง นคร ธานี กฤษณบุรี คือ ราชธานีของกฤษณะ ผู้เป็นเจ้าชายองค์แรกของสวรรค์ |
79 | กฤษณาลัย | กฺฤษฺณาลย | कृष्णालय ![]() | ![]() Kṛṣṇālay | กฤษณาลัย เป็นหนึ่งในนามของสวรรค์ กฤษณาลัย มาจากคำว่า กฤษณะ กับคำว่า อาลัย ที่แปลว่า บ้าน ที่อยู่ กฤษณาลัย คือ สถานที่อยู่ของกฤษณะ ผู้เป็นเจ้าชายองค์แรกของสวรรค์ |
80 | เการพ | เการว | कौरव ![]() | ![]() Kaurav | เการพเป็นตัวละครจาก "มหาภารตะ" ที่ได้แสดงไว้ว่ามีพี่น้อง 101 คน ซึ่งสืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ กับนางคานธารี ได้แก่ ทุรโยธน์ เป็นพี่คนโต ผู้ชักนำไปสู่สงครามทุ่งกุรุเกษตร และทุหศาสัน เป็นพี่คนที่สอง ผู้ดูหมิ่นเหยียดหยามนางเทราปที ชายาของเหล่าปาณฑพด้วยการเปลื้องผ้านาง เมื่อปาณฑพได้แพ้พนันให้กับทุรโยชน์ แต่เทราปที ร้องเรียกหากฤษณะเพื่อให้ปกป้องเกียรติของเธอจากการถูกเปลื้องผ้า และเป็นกฤษณะเท่านั้นสามารถปกป้องเธอได้ โดยทั้ง ทุรโยธน์และทุหศาสันมีบทบาทสำคัญในมหาภารตะ ในราชโยคะ เการพ หมายถึง ผู้ที่มีพุทธิผิดทาง หันเหออกไปจากศิวพาพา (วิปริตพุทธิ) และไม่มีความรัก โดยคำว่า เการพ ใช้กับชาวภารตะ ผู้ที่เข้าใจว่าตนเองเป็นร่างกายและมีความหลงทะนงตนทางร่าง ซึ่งมีการกระทำที่เป็นอธรรม วิปริต แปลว่า ผิดทาง ผันแปร ตรงกันข้าม |
81 | ขุดา | ขุดา | ख़ुदा ![]() | ![]() Ḵẖudā | ขุดา เป็นคำในภาษาอูรดู หมายถึง บรมบิดา บรมาตมา ผู้ที่มาด้วยตัวท่านเองในเวลาของตัวท่านเองตามละคร และมาให้คำแนะนำของตัวท่านเอง |
82 | ขุดา โทสตะ | ขุดา โทสฺต | ख़ुदा दोस्त ![]() | Ḵẖudā dost | ขุดา ผู้เป็นมิตรที่สูงสุด เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ของพาพากับลูกในสังคมยุค ขุดา เป็นคำในภาษาอูรดู หมายถึง บรมบิดา บรมาตมา ผู้ที่มาด้วยตัวท่านเอง ในเวลาของตัวท่านเองตามละคร และมาให้คำแนะนำของตัวท่านเอง และ โทสตะ หมายถึง มิตร เพื่อน |
83 | ขุดาย ขิดมัตคาระ | ขุดาย ขิดมตคาร | ख़ुदाई खिदमदगार ![]() | ![]() Ḵẖudāī khidamadagār | ขุดาย ขิดมัตคาระ หมายถึง ผู้รับใช้ ผู้ช่วยของบรมบิดา บรมาตมา ขุดาย ขิดมัตคาระ คือ คำผสมระหว่าง ขุดา หมายถึง บรมบิดา บรมาตมา เป็นภาษาอูรดู และ ขิดมัตคาระเป็นภาษาเปอร์เซีย หมายถึง ผู้รับใช้ ผู้ช่วย |
84 | ขาลสา | ขาลสา | खालसा ![]() | ![]() Khālasā | ขาลสาเป็นคำที่ให้ไว้โดยคุรุโคพินท์ สิงห์ซึ่งเป็นคุรุที่ 10 องค์สุดท้ายของสิกข์ธรรม สำหรับเรียกชาวสิกข์หลังจากทำพิธีอมฤตสันจาระ เพื่อรับอมฤตที่จะอยู่อย่างบริสุทธิ์และเข้าเป็นของสิกข์ธรรม นอกจากนี้ คุรุโคพินท์ สิงห์ไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นคุรุต่อจากท่าน แต่ได้ให้ครันถ์ สาหิพเป็นคุรุแทนหลังจากท่าน จึงได้มีการเรียกว่าคุรุครันถ์ สาหิพ ขาลสา หมายถึง ความบริสุทธิ์ |
85 | ขิทมตะ (อ่านว่า คิด-มะ-ตะ) | ขิทมต | खिदमत ![]() | ![]() khidamat | ขิทมตะ เป็นภาษาเปอร์เซีย หมายถึง งานรับใช้ (เสวา) |
86 | ขีระ ปูรี | ขีร ปูรี | खीर पूरी ![]() | Khīr pūrī/Kheer pūrī | ขีระ คือ ข้าวที่ต้มในน้ำนมและเติมน้ำตาลลงไปด้วย ปูรี คือ แป้งที่นวดกับน้ำ แล้วทำเป็นแผ่นทรงกลมเพื่อนำไปทอด ในหนทางภักดี ขีระ ปูรี เป็นชุดอาหารทำให้พราหมณ์ที่ทำพิธีให้กับบรรพบุรุษในเทศกาลสารท เพื่ออุทิศบุญกุศลให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว |
87 | คงเค | คงฺเค | गंगे ![]() | ![]() Gaṅge | นามของทาทีท่านหนึ่ง โดย ทาทีคงเค ได้จากร่างเมื่อปี พ.ศ.2547 ทั้งนี้ แม่น้ำคงคา เรียกกันว่า คงเค ด้วย |
88 | คังเคศวรานนท์ | คงฺเคศฺวรานนฺท | गंगेश्वरानंद ![]() | ![]() Gaṅgeśvarānand | นามของคุรุ ผู้นำทางอาตมาของหนทางภักดี |
89 | คอูมุข (ฮินดี)/โคมุข (สันสกฤต) | คอูมุข (ฮินดี)/โคมุข (สันสกฤต | गऊमुख/गोमुख ![]() | ![]() Gaūmukh (Hindi)/Gomukh (Sanskrit) | คอูมุข คือ ปากของวัว ในหนทางภักดี ได้ทำรูปศีรษะของวัววางไว้ข้างหน้าศิวลึงค์ และมีน้ำไหลออกมาจากปากของวัวอย่างต่อเนื่อง และเข้าใจกันว่าเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ แท้จริงแล้ว คอูมุข คือ อนุสรณ์ของสังคมยุค เมื่อศิวพาพา มาให้ญาณผ่านปากของพรหมา (บทบาทของแม่) และทำให้อาตมากลับมาบริสุทธิ์ คอูมุข มาจากคำว่า คอู หรือ โค หมายถึง วัวเพศเมีย กับ มุข หมายถึง ปาก |
90 | คเณศ | คเณศ | गणेश ![]() | ![]() Gaṇeś | คเณศ เป็นหนึ่งในเทพของฮินดูธรรมที่เป็นที่รู้จักและได้รับการบูชามากสุด แม้ว่าคเณศ เป็นที่รู้จักกันด้วยคุณสมบัติมากมายก็ตาม แต่ด้วยที่ศีรษะเป็นช้างทำให้โดดเด่นกว่าผู้อื่น คเณศเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นผู้ขจัดอุปสรรค และเป็นผู้ที่มีพุทธิและวิเวก คเณศจึงได้รับเกียรติในตอนเริ่มต้นของพิธีของหนทางภักดี รวมทั้งการเฉลิมฉลองงานพิธีต่างๆ พาพาได้ให้สมญาแก่พรหมากุมารชัคทีศ ว่าเป็นคเณศ |
91 | คติ | คติ | गति ![]() | ![]() gati | ในราชโยคะ คติ หมายถึง มุกติ (การหลุดพ้น) การปลดปล่อย และกลับไปยังบรมธามะ ซึ่งเป็นธามะที่สูงสุดของอาตมาในเวลาสิ้นสุดจักร (วงจร)ของโลก คติ แปลว่า ความเร็ว การเคลื่อนไปสู่ ผลลัพธ์ และ ธามะ หมายถึง สถานที่อยู่อาศัย |
92 | คัทที | คทฺที | गद्दी ![]() | ![]() gaddī | ที่นั่ง บัลลังก์ ในราชโยคะ คัทที หมายถึง ที่นั่งสำหรับผู้ที่เป็นเครื่องมือของพาพา ผู้เป็นสัตคุรุ ในการอ่านมุรลี พาพากล่าวว่า ผู้ที่ทำตามมัมมาและพรหมาจะได้นั่งบนคัทที และมีแปดคัททีของมหาราชา มหารานี ในสัตยุค |
93 | ครีบะ นิวาซะ | ครีบ นิวาซ | गरीब निवाज़ ![]() | Garīb nivāz | ครีบะ นิวาซะ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ยกระดับ ผู้ให้การช่วยเหลือค้ำจุนแก่ลูก ผู้เป็นคนจนที่ธรรมดาและไม่ได้มีสถานภาพทางโลก หรือ มั่งคั่ง ร่ำรวยในทางว้ตถุมากมาย ครีบะ นิวาซะ เป็นคำในภาษาอูรดู โดย ครีบะ แปลว่า คนจน และ นิวาซะ แปลว่า ผู้ยกระดับ ผู้ให้การช่วยเหลือค้ำจุน |
94 | ครุฑปุราณะ | ครุฑปุราณ | गरुड पुराण ![]() | ![]() Garuḍ Purāṇ | ครุฑปุราณะ เป็นหนึ่งในวิษณุปุราณะ ที่แสดงสาระสำคัญของการสนทนาระหว่างวิษณุกับครุฑ ครุฑปุราณะนั้นเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับปรัชญาของฮินดูในเรื่องของความตาย การรับโทษจากกรรมที่ทำ พิธีกรรมกับศพ และการกลับชาติมาเกิด |
95 | คานธี ชี | คานฺธี ชี | गांधी जी ![]() | ![]() Gāndhī Jī | ได้มีการกล่าวถึง มหาตมา/มหาตมะ คานธี ชี ในมุรลี พาพากล่าวว่า คานธี ชี เป็นผู้ที่ปรารถนาให้มีอาณาจักรของรามเกิดขึ้น โดยเป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและฮินดูธรรม ที่ทำให้อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ ชี เป็นคำประกอบหลังชื่อในการกล่าวหรือเขียน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติต่อผู้นั้น |
96 | คิรธรโคบาล | คิรธร โคปาล | गिरधर गोपाल ![]() | ![]() Giradhar Gopāl | เป็นนามหนึ่งของกฤษณะ ในหนทางภักดี กฤษณะ คือ โคบาล คนเลี้ยงวัว เป็นผู้ยกภูเขาโควรรธนะ ที่เมืองมธุรา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย แท้จริงแล้ว ศิวพาพาเป็นโคบาลที่เลี้ยงดูและให้ความรู้แก่ลูก ทำให้ลูกเอาชนะอุปสรรคทั้งหมดได้ในสังคมยุค ในหนทางภักดี ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กฤษณะได้เห็นบรรดาคนเลี้ยงโค กำลังเตรียมพิธีบูชายัญแด่พระอินทร์จึงได้ระงับไว้ โดยบอกคนเหล่านั้นว่า พวกเขาควรจะทำพิธีบูชาภูเขาโควรรธนะแทน ฝ่ายพระอินทร์ได้มีความโกรธ จึงบันดาลให้พายุฝน ทรายและกรวดตกลงมา กฤษณะได้ถอนภูเขาโควรรธนะ แล้วยกขึ้นด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่งให้ลอยอยู่ในอากาศ สั่งให้คนเลี้ยงโคต้อนฝูงโคเข้าไปอยู่ใต้ภูเขานั้น เป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืนจากพายุ โดยมิได้ขยับเขยื้อนเพื่อให้การปกป้องจากแรงโทสะของพระอินทร์ จนพระอินทร์ได้ทรงตระหนักถึงอานุภาพแห่งกฤษณะ ในที่สุดท้องฟ้าก็กระจ่างสดใส เหล่าคนเลี้ยงโคจึงได้แยกย้ายกลับที่พำนักของตน คิรธร หมายถึง ผู้ที่ยกภูเขาไว้ คิริ หมายถึง ภูเขา ธร หมายถึง ผู้รักษาไว้ ผู้ทรงไว้ การยึดไว้ โค หมายถึง วัว และ โคบาล หมายถึง คนเลี้ยงวัว |
97 | คีตา | คีตา | गीता ![]() | ![]() Gītā | ชื่อย่อของ ศรีมัทภควัตคีตา คีต หมายถึง เพลงขับ การขับร้อง และ คีตา หมายถึง บทเพลง คีตา คือ คัมภีร์หลักของฮินดูธรรม ที่เชื่อกันว่าพูดโดย กฤษณะ ผู้เป็นภควาน โดยแท้จริงแล้ว เป็นอนุสรณ์ของศิวะ ผู้เป็นภควานที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับอาตมาในสังคมยุค (ยุคแห่งการบรรจบพบกัน) ที่เปรียบเทียบกับ บทเพลงอันไพเราะ คีตา คือ เพลงของความรู้ (มุรลี) |
98 | คีตาปาฐศาลา (อ่านว่า คี-ตา-ปา-ถะ-สา-ลา) | คีตา ปาฐศาลา | गीता पाठशाला ![]() | ![]() Gītā pāṭhaśālā | โรงเรียนที่มีการเรียน การสอนคีตา ดังนั้นสถานที่ของพาพา ที่มีการจัดชั้นเรียนเพื่ออ่านมุรลีและเรียนความรู้ โดย พรหมากุมารี ที่ใช้ชีวิต หรือ ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและทางโลกอยู่ นั่นคือ คีตาปาฐศาลา ที่แท้จริง ปาฐ/ปาฐะ หมายถึง บทเรียน การบรรยาย และ ศาลา หมายถึง บ้าน ห้อง ห้องโถง ห้องใหญ่ |
99 | คุชราต | คุชราต | गुजरात ![]() | ![]() Gujarāt | คุชราต คือ รัฐหนึ่งทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย ที่ติดกับทะเลอาหรับ และเป็นบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย รัฐคุชราตนี้อยู่ใกล้กับภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ด้วย |
100 | คุชราตี | คุชราตี | गुजराती ![]() | Gujarātī | ผู้คนจากรัฐคุชราต เรียกว่า คุชราตี และคุชราตีเป็นภาษาของชาวคุชราต |
101 | คุณ | คุณ | गुण ![]() | ![]() guṇ | คุณ มีสองความหมาย 1) คุณสมบัติที่ดี กุศล ประเสริฐ ได้แก่ ทิพยคุณ 2) อาถรรพ์ คือ พิธีทําร้ายต่ออมิตร เรียกกันว่า กระทําคุณ และผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ คุณไสย นั่นหมายถึง สิ่งที่ไม่ดีงาม ได้แก่ อสุรีคุณ ที่เป็นคุณสมบัติของอสูร บนพื้นฐานของกิเลส ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา |
102 | คุรุ | คุรุ | गुरु ![]() | ![]() guru | คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้) พาพา คือ สัตคุรุ ผู้เป็นสัตย์ ที่นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ |
103 | คุรุโคพินท์ สิงห์ | คุรุ โคพินฺท สิงฺห | गुरु गोबिन्द सिंह ![]() | Guru Govind Siṃh | เป็นคุรุสุดท้ายอันดับที่ 10 แห่งขาลสาปันถ์ (นิกาย) ของสิกข์ธรรม และเป็นผู้บัญญัติคัมภีร์ของสิกข์ธรรม |
104 | คุรุศิขร (อ่านว่า คุ-รุ-สิ-ขอน) | คุรุ ศิขร | गुरु शिखर ![]() | ![]() Guru Śikhar | วัดที่สูงสุดบนภูเขาอาพู ซึ่งเป็นภูเขาที่ตั้งของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ณ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย บรมสัตคุรุ คือ ศิวพาพา ผู้สูงสุดของทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง วัดที่สร้างให้แก่ท่าน จึงตั้งอยู่ที่สูงสุด ศิขร หมายถึง ยอด ยอดเขา ภูเขา |
105 | คุรุทวารา (อ่านว่า คุ-รุ-ทะ-วา-รา) | คุรุทฺวารา | गुरुद्वारा ![]() | ![]() gurudvārā | คุรุทวารา มาจากคำว่า คุรุ กับ ทวาร ที่แปลว่าประตู เมื่อรวมกันแล้ว หมายถึง ประตูไปสู่คุรุ คุรุทวารา เป็นสถานที่ทำภักดีต่อคุรุครันถ์ สาหิพ ของสิกข์ธรรม และเปิดให้ผู้ให้บุคคลจากธรรมอื่น และพื้นฐานใดๆ สามารถเข้าไปได้ด้วย |
106 | คุรุนานัก | คุรุนานัก | गुरुनानक ![]() | ![]() Gurunānak | ผู้ก่อตั้งสิกข์ธรรม และเป็นคนแรกของหนึ่งในสิบคุรุของสิกข์ธรรม |
107 | คุลพกาวลี | คุล พกาวลี | गुल बकावली ![]() | ![]() Gul bakāvalī | ในมุรลี พาพาได้กล่าวถึงนิยายพื้นบ้านเรื่อง คุลพกาวลี ว่ามายาเปรียบกับแมว ผู้เป็นเครื่องมือให้กับเจ้าหญิงที่แข่งโยนลูกเต๋าในการเลือกเจ้าชายที่สามารถเอาชนะตนได้ ก็จะแต่งงานด้วย โดยใช้แมวเป็นเครื่องมือดับแสงตะเกียงเมื่อตนโยนลูกเต๋า เพื่อเปลี่ยนหน้าลูกเต๋าของตนให้ได้แต้มสูงสุด ในที่สุดเจ้าชายองค์หนึ่งรู้ทัน จึงใช้หนูมาล่อแมวไปทางอื่น และเจ้าหญิงก็พ่ายแพ้ในที่สุด คุลพกาวลี เป็นชื่อดอกไม้ที่เบ่งบานและส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน |
108 | คุลซาร | คุลฺซาร | गुल्ज़ार ![]() | ![]() Gulzār | เป็นนามของหนึ่งในบรรดาทาที ที่เป็นเพชรพลอยเริ่มแรกในยัญของพาพา สาการพาพา เคยเรียกทาทีหฤทัยโมหินี (ผู้ที่ดึงดูดหัวใจ) ว่า คุลซาร โดยทาทีเป็นร่างให้กับอวยักตพาปทาทา นอกจากนี้ ทาทีคุลซาร ยังเป็นผู้ร่วมบริหารสูงสุดของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2564 ทาทีได้จากร่างสาการเมื่อปี พ.ศ. 2564 |
109 | โคปะ | โคป | गोप ![]() | ![]() Gop | โคปะ (ชาย) และ โคปี (หญิง) หมายถึง โคบาล คนดูแลและเลี้ยงโค โคปะ และ โคปี เป็นตัวละครในภาควัต (คัมภีร์ของฮินดูธรรม) ว่าเป็นผู้ที่เล่นและร่ายรำกับกฤษณะด้วยอตีนทริยสุข (ความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย) แท้จริงแล้ว เป็นลูกของพาพาที่ให้การหล่อเลี้ยงโค หมายถึงอาตมาทั้งหลาย เช่นเดียวกับศิวพาพา (จึงได้มีการแสดงว่ากฤษณะเลี้ยงวัวในหนทางภักดี) และมีประสบการณ์อตีนทริยสุขในสังคมยุคที่สามารถใช้และควบคุมอวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกายขณะที่อยู่ในอาตมอภิมานะและจดจำพาพา จึงได้รับการจดจำในหนทางภักดีว่าเป็นโคปะและโคปี โคปะ และ โคปี มาจากรากศัพท์คำว่า โค หมายถึง วัว และ อินทรีย์ อตีนทริย์ มาจากคำว่า อติ หรือ อดิ หมายถึง เหนือ มากกว่า กับ อินทรีย์ หมายถึง ร่างกาย ประสาทสัมผัส |
110 | โคบาล | โคปาล | गोपाल ![]() | ![]() Gopāl | โคบาล หมายถึง คนเลี้ยงวัว เป็นสมญาของกฤษณะ ในหนทางภักดี แท้จริงแล้ว เป็น ศิวพาพา เป็นโคบาล ที่เลี้ยงดูลูกในสังคมยุค โค หมายถึง วัว |
111 | โคปี | โคปี | गोपी ![]() | ![]() Gopī | โคปะ (ชาย) และ โคปี (หญิง) หมายถึง โคบาล คนดูแลและเลี้ยงโค โคปะ และ โคปี เป็นตัวละครในภาควัต (คัมภีร์ของฮินดูธรรม) ว่าเป็นผู้ที่เล่นและร่ายรำกับกฤษณะด้วยอตีนทริยสุข (ความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย) แท้จริงแล้ว เป็นลูกของพาพาที่ให้การหล่อเลี้ยงโค หมายถึงอาตมาทั้งหลาย เช่นเดียวกับศิวพาพา (จึงได้มีการแสดงว่ากฤษณะเลี้ยงวัวในหนทางภักดี) และมีประสบการณ์อตีนทริยสุขในสังคมยุคที่สามารถใช้และควบคุมอวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกายขณะที่อยู่ในอาตมอภิมานะและจดจำพาพา จึงได้รับการจดจำในหนทางภักดีว่าเป็นโคปะและโคปี โคปะ และ โคปี มาจากรากศัพท์คำว่า โค หมายถึง วัว และ อินทรีย์ อตีนทริย์ มาจากคำว่า อติ หรือ อดิ หมายถึง เหนือ มากกว่า กับ อินทรีย์ หมายถึง ร่างกาย ประสาทสัมผัส |
112 | โคปีจันทราชา | โคปีจนฺท ราชา | गोपीचन्द राजा ![]() | ![]() Gopīcand Raja | ราชาผู้สละละทิ้งบัลลังก์ และกลายเป็นนาถโยคี |
113 | โคปีวัลลภา/โคปีวัลลภ (อ่านว่า โค-ปี-วัน-ลบ) | โคปีวลฺลภ | गोपीवल्लभ ![]() | ![]() Gopīvallabh | โคปีวัลลภ เป็นสมญาของกฤษณะในหนทางภักดี ศิวพาพา คือ โคปีวัลลภ ผู้เป็นบิดาและเป็นที่รักของโคปะ และ โคปี ที่หมายถึง ลูกของพาพา โคปะ (ชาย) และ โคปี (หญิง) หมายถึง โคบาล คนดูแลและเลี้ยงโค โคปะ และ โคปี เป็นตัวละครในภาควัต (คัมภีร์ของฮินดูธรรม) ว่าเป็นผู้ที่เล่นและร่ายรำกับกฤษณะด้วยอตีนทริยสุข (ความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย) แท้จริงแล้ว เป็นลูกของพาพาที่ให้การหล่อเลี้ยงโค หมายถึงอาตมาทั้งหลาย เช่นเดียวกับศิวพาพา (จึงได้มีการแสดงว่ากฤษณะเลี้ยงวัวในหนทางภักดี) และมีประสบการณ์อตีนทริยสุขในสังคมยุคที่สามารถใช้และควบคุมอวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกายขณะที่อยู่ในอาตมอภิมานะและจดจำพาพา จึงได้รับการจดจำในหนทางภักดีว่าเป็นโคปะและโคปี วัลลภ แปลว่า คนรัก ผู้เป็นที่รัก โคปะ และ โคปี มาจากรากศัพท์คำว่า โค หมายถึง วัว และ อินทรีย์ อตีนทริย์ มาจากคำว่า อติ หรือ อดิ หมายถึง เหนือ มากกว่า กับ อินทรีย์ หมายถึง ร่างกาย ประสาทสัมผัส |
114 | โควินทะ | โควินท | गोविन्द ![]() | ![]() Govind | เป็นสมญาของกฤษณะในหนทางภักดี แท้จริงแล้ว โควินทะ คือ ศิวพาพา ผู้ค้นหาลูกจนพบ แล้วให้การเลี้ยงดูและหล่อเลี้ยงลูกในสังคมยุค โค หมายถึง วัว และ วินทะ หมายถึง ผู้ค้นหา |
115 | เคารีศังกร | เคารีศงฺกร | गौरीशंकर ![]() | ![]() Gaurīśaṅkar | เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา เคารี หมายถึง ปารวตี ผู้เป็นชายาของศังกร ดังนั้นเคารีศังกร หมายถึง ศังกรผู้เป็นนาถ (ผู้เป็นนาย ผู้เป็นที่พึ่ง) ของเคารี โดยในหนทางภักดีเชื่อกันว่า ศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน แท้จริงแล้วลูกทั้งหมด คือ ปารวตีของศิวะ |
116 | ครันถ์ | คฺรนฺถ | ग्रन्थ ![]() | ![]() Granth | ครันถ์ หมายถึง หนังสือ ตำรา คัมภีร์ คัมภีร์หลักของสิกข์ธรรม คือ อาทิครันถ์ (อาทิ แปลว่า เริ่มแรก นั่นคือ คัมภีร์แรก) โดยส่วนใหญ่เรียกกันว่า คุรุครันถ์ สาหิพ แต่พาพาเรียกว่า ครันถ์ เท่านั้น คุรุครันถ์ สาหิพ ได้รับการบูชาว่าทรงอำนาจสูงสุดและเข้าใจกันว่าเป็นคุรุสุดท้ายอันดับที่ 11 ของสิกข์ธรรมด้วย ในมุรลี พาพาได้กล่าวอ้างอิงถึง คุรุครันถ์ สาหิพ อย่างมาก |
117 | ฆี | ฆี | घी ![]() | ![]() ghī | เนยบริสุทธิ์ที่ทำมาจากน้ำนมของวัว หรือ ควาย พาพาได้กล่าวว่า มีแม่น้ำของฆีในสวรรค์ นั่นหมายถึง สภาพที่บริสุทธิ์และมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ |
118 | จัณฑิกา | จณฺฑิกา | चण्डिका ![]() | ![]() Caṇḍikā | จัณฑิกา มาจากคำว่า จัณฑี หมายถึง ผู้หญิงปากร้าย ที่ชอบทะเลาะวิวาท และมีเสียงที่พ้องกับคำว่า จัณฑาล หมายถึง สัปเหร่อ ในราชโยคะ จัณฑิกาเทวี เป็นอนุสรณ์ของจัณฑาล ผู้ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับศพ นั่นหมายถึง ลูกของพาพาที่ได้รับสถานภาพต่ำ เนื่องจากไม่ทำตามศรีมัตอย่างถูกต้องแม่นยำ จึงกลับไปข้องแวะในกิเลสหลังจากเป็นของพาพา และมีนิสัยของการซุบซิบนินทา ทะเลาะเบาะแว้ง ทั้งยังสอบตกในการเอาชนะสายตาที่ไม่บริสุทธิ์ของเทหอภิมานะ อย่างไรก็ตาม จัณฑาลได้สถานภาพของการเป็นผู้ปกครองในปลายเตรตายุค (ยุคเงิน) และ จัณฑิกาเทวี ก็ได้รับการกราบไหว้บูชาด้วย ลูกที่วิ่งหนีจากพาพาไปจะกลายเป็นจัณฑาลให้กับประชา ส่วนลูกที่อาศัยอยู่กับพาพาที่มธุพนแต่ยังทำบาป ก็จะกลายเป็นจัณฑาลให้กับราชนิกุล ในหนทางภักดี ทุรคา ได้รับการบูชาในรูปปีศาจที่น่ากลัวของจัณฑิกาด้วย เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
119 | จันทรวงศี | จนฺทฺรวงฺศี | चन्द्रवंशी ![]() | ![]() candravaṃśī | ผู้ที่เป็นของจันทรวงศ์ จันทรวงศ์ มีสภาพที่เศรษฐ์ในเตรตายุค (ยุคเงิน) แต่สุริยวงศ์นั้นเศรษฐ์ที่สุดในสัตยุค (ยุคทอง) วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล และ เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ |
120 | จาตรกะ | จาตฺรก | चात्रक ![]() | ![]() Cātrak | จาตรกะ คือ นกที่กล่าวกันว่ามีความกระหายต่อหยดแรกของน้ำฝน ที่เรียกว่า สวาตี พูนทะ หรือ น้ำทิพย์ จากสวาตี (สวาดิ หรือ สวัสติ) นักษัตร โดยที่นกจาตรกะไม่ได้สนใจต่อแหล่งน้ำอื่น ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำอันยิ่งใหญ่ ทะเลสาบที่สวยงาม หรือน้ำพุที่ไหลผ่านที่จะดับกระหายตนเอง แม้จะต้องตายก็ตาม พาพาเรียกลูกที่มีความอยากปรารถนาที่จะรับฟังความรู้ ได้พบปะกับพาพาและกลับมาสมาน (ทัดเทียม) กับพาพา ว่าเป็นเช่นนกจาตรกะ |
121 | จิตร | จิตฺระ | चित्र ![]() | ![]() citra | ภาพ ภาพถ่าย และสิ่งที่เห็นเป็นรูปร่าง ได้แก่ รูปเคารพ ปฏิมาทั้งหลาย และในราชโยคะ ยังหมายถึง ร่างกายด้วย |
122 | ชคัตอัมพา | ชคต อมฺพา | जगत अम्बा ![]() | ![]() Jagat ambā | ชคัตอัมพา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ อัมพา แปลว่า แม่ มารดา ดังนั้นชคัตอัมพา จึงหมายถึง มารดาของโลก ชคัตอัมพา เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นมารดาของโลก |
123 | ชคัตบิดา | ชคต ปิตา | जगत पिता ![]() | ![]() Jagat pitā | ชคัตบิดา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก กับคำว่า บิดา ดังนั้นชคัตบิดา จึงหมายถึง บิดาของโลก ชคัตบิดา เป็นสมญาของพรหมาพาพา ผู้เป็นบิดาของโลก |
124 | ชคัตคุรุ | ชคตคุรุ | जगतगुरु ![]() | ![]() Jagataguru | พาพา คือ ชคัตคุรุ ผู้นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้) และ ชคัต แปลว่า โลก |
125 | ชัคทัมพา | ชคทมฺพา | जगदम्बा ![]() | ![]() Jagadambā | ชัคทัมพา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ อัมพา แปลว่า แม่ มารดา ดังนั้นชัคทัมพา จึงหมายถึง มารดาของโลก ชัคทัมพา เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นมารดาของโลก |
126 | ชัคทีศ | ชคทีศ | जगदीश ![]() | ![]() Jagadīś | คำว่า ชัคทีศ หมายถึง ชคันนาถ วิศวนาถ นั่นคือ ผู้เป็นนาย หรือ ที่พี่งของโลก ชัคทีศ คือ พรหมากุมารที่อาวุโสในยัญของพาพา เปรียบกับเป็นลูกชายคนโตของพาพา เพราะว่าเป็นพรหมากุมารคนแรกที่อุทิศตนหลังจากที่ยัญได้ย้ายมาที่ภูเขาอาพู ประเทศอินเดีย ซึ่งได้เขียนหนังสือ บทความ เอกสารความรู้ในการเปิดเผยพาพา รวมทั้งช่วยงานพาพาจบสิ้นอุปสรรคมากมายที่เข้ามาในยัญ ท่านได้จากร่างไปเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2545 ทั้งนี้ พาพาได้ให้สมญาแก่พรหมากุมารชัคทีศ ว่าเป็น คเณศ วยาส และ สัญชัย |
127 | ชคันนาถ | ชคนฺนาถ | जगन्नाथ ![]() | ![]() Jagannāth | ชคันนาถ มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ดังนั้น ชคันนาถ จึงหมายถึง นายและผู้เป็นที่พึ่งของโลก ในหนทางภักดี วัดชคันนาถ ได้สร้างให้กับกฤษณะ ตั้งอยู่ในรัฐโอริศา ติดกับอ่าวเบงกอล ด้านตะวันออกของประเทศอินเดีย และเป็นหนึ่งในสี่สถานที่จาริกแสวงบุญหลักของฮินดูธรรม พาพาได้กล่าวถึงวัดชคันนาถว่า ผู้คนได้ถวายข้าวสวยเท่านั้นให้กับชคันนาถ เปรียบเทียบกับวัดศรีนาถ ที่ผู้คนได้ถวายอาหารทีมีคุณค่าและอุดมสมบูรณ์มากให้กับศรีนาถ นั่นหมายถึง สภาพอาตมาของเทวี เทวดา ที่บริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ ไม่มีกิเลส ได้รับการทำภักดีและบูชาอย่างดียิ่ง ต่อมาเมื่อกลับมาสู่สภาพที่ไม่บริสุทธิ์ มีกิเลสอย่างสมบูรณ์ ก็ได้รับการทำภักดีและบูชาอย่างธรรมดา นอกจากนี้ พาพายังกล่าวถึงวัดชคันนาถว่า ในวัดมีภาพและปฏิมาของเทวีและเทวดาที่ข้องแวะในกาม (ตัณหา ราคะ) อย่างสกปรกมากด้วย ในหนทางภักดี วัดศรีนาถ ได้สร้างให้กับกฤษณะ ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ศรีนาถ มาจากสองคำ ได้แก่ ศรี แปลว่า ดีเลิศ ชั้นเลิศ ประเสริฐสุด และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ดังนั้น ศรีนาถ จึงหมายถึง นายและผู้เป็นที่พึ่งที่ดีเลิศ ชั้นเลิศ ประเสริฐสุด |
128 | ชนก | ชนก | जनक ![]() | ![]() Janak | ชนก แปลว่า ผู้สร้าง บิดา พาปทาทา เรียก ทาทีชานกี ว่า "ชนก" ตามคัมภีร์แล้ว ชนก คือ ราชา ผู้เป็นบิดาของสีดา ที่ใช้ชีวิตอย่างเป็นกรรมโยคีและละวางด้วยอาตมอภิมานะ และได้รับชีวันมุกติในหนึ่งวินาที ในภักดีมรรค ได้กล่าวว่า ชานกี คือ นางสีดา ผู้เป็นลูกสาวของราชาชนก |
129 | ชนมาษฏมี/ชันมาษฏมี | ชนฺมาษฺฏมี | जन्माष्टमी ![]() | ![]() Janmāṣṭamī | ชนมาษฏมี เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองวันเกิดของกฤษณะ โดยตรงกับแรม 8 ค่ำ ของเดือนภาทรปทะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนสิงหาคมของทุกปี และหลังจากเทศกาลรักษาพันธนะหนึ่งสัปดาห์ ชนมาษฏมี มาจากคำว่า ชนม์ แปลว่า วันเกิด กับ อัษฏา แปลว่า ที่แปด ในหนทางภักดีกล่าวว่า กฤษณะเป็นลูกคนที่แปด แท้จริงแล้วเป็นแปดชาติเกิดของกฤษณะในสัตยุค มีการเขียนว่า ชันมาษฏมี ด้วย |
130 | ชปะ สาเหพ/สาหิพ | ชป สาเหพ | जप साहेब ![]() | ![]() Jap Sāheb | ชปะ สาหิพ เป็นชื่อหนังสือที่ได้มีการรวบรวมไว้ในคุรุครันถ์ สาหิพ ซึ่งเป็นคัมภีร์หลักของสิกข์ธรรม ในชปะ สาหิพ เป็นการแนะนำ และประกาศชื่อเสียงของสาหิพ โดยชาวสิกข์ใช้คำในชปะ สาหิพ มาพร่ำสวดถึงสาหิพ สาหิพ หมายถึง สิ่งสูงสุดของสิกข์ธรรม และ ชปะ หมายถึง การพร่ำสวด |
131 | ชัมมูและกาศมีร์ (กัศมีร์) | ชมฺมูและกาศฺมีร (กศฺมีร) | जम्मू और काश्मीर (कश्मीर) ![]() | ![]() Jammu aur Kāśmīr (Kaśmīr) | ชัมมูและกาศมีร์ (กัศมีร์) คือ รัฐเหนือสุดของประเทศอินเดีย เป็นรัฐที่ดินแดนส่วนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย พาพา ได้กล่าวถึงถ้ำอมรนาถ ซึ่งเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญและมีชื่อเสียงของฮินดูธรรมตั้งอยู่ที่รัฐนี้ |
132 | ชยันตี | ชยนฺตี | जयन्ती ![]() | ![]() Jayantī | พรหมากุมารีชยันตี กฤปลานี ผู้อำนวยการศูนย์การทำสมาธิแบบราชโยคะของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ในประเทศแถบทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง และท่านเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักของพาพาที่ดูแลศูนย์และเสวานอกภารตะ คำว่า ชยันตี หมายถึง วันเกิด วันครบรอบวันเกิด ผู้มีที่สุดแห่งชัยชนะ |
133 | ชัยปุระ | ชยปุร | जयपुर ![]() | ![]() Jaipur | ชัยปุระ เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐราชสถาน โดยได้รับการเรียกว่า เมืองสีชมพู พาพากล่าวว่า ชัยปุระมีพิพิธภัณฑ์หฐโยคีที่แสดงในท่าต่างๆ ไว้มากมาย |
134 | ชราสันธะ | ชราสนธ | जरासन्ध ![]() | ![]() Jarāsandh | ชราสันธะ เป็นอาตมาบาป ที่ได้มีการแสดงไว้ว่าสู้รบกับกฤษณะ ทั้งนี้ พาพาทำให้เราได้คิดว่ากฤษณะเป็นเพียงเด็กเล็กๆ และก็ไม่มีอาตมาที่ไม่บริสุทธิ์ เช่น ชราสันธะในกฤษณาลัยด้วย แท้จริงแล้วเป็นอนุสรณ์ของสังคมยุคนี้ ที่พาพามาทำให้ผู้ที่ไม่บริสุทธิ์กลับมาบริสุทธิ์ แม้มีอาตมาบาปเข้ามาขัดขวางและสร้างอุปสรรคในหนทางนี้ |
135 | ชานกี | ชานกี | जानकी ![]() | ![]() Jānakī | ทาทีชานกี เป็นผู้บริหารสูงสุดของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ต่อจากทาทีประกาศมณี ที่ได้จากร่างสาการเมื่อปี พ.ศ.2550-2563 ทาทีได้จากร่างสาการเมื่อปี พ.ศ.2563 พรหมาพาพา ได้เรียก ทาทีชานกี ว่า ชนก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้ได้รับชีวันมุกติ (การหลุดพ้นในชีวิต) ในหนึ่งวินาที ด้วย ในภักดีมรรค ได้กล่าวว่า ชานกี คือ นางสีดา ผู้เป็นลูกสาวของราชาชนก |
136 | ชานันหาระ | ชานนหาร | जाननहार ![]() | Jānanahār | ชานันหาระ หมายถึง ผู้ล่วงรู้ทุกสิ่ง |
137 | ชานี ชานันหาระ | ชานี ชานนหาร | जानी जाननहार ![]() | Jānī Jānanahār | ชานี ชานันหาระ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ล่วงรู้ถึงญาณทั้งหมด รวมทั้งตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบของละครโลก แต่ไม่ได้รู้ถึงสิ่งที่อยู่ในหัวใจของทุกคนเหมือนที่เข้าใจกันในหนทางภักดี |
138 | ชินนะ | ชินฺน | जिन्न ![]() | ![]() Jinn | ตามตำนานของอาระเบียและมุสลิม ชินนะเป็นอาตมาในรูปที่ละเอียดอ่อน ที่ระดับต่ำกว่าผริศตา โดยสามารถปรากฏตัวในรูปมนุษย์และสัตว์ ซึ่งเข้าครอบงำมนุษย์ได้ ได้มีเรื่องเล่าว่า นาย หรือ เจ้าของชินนะต้องหางานให้ชินนะทำตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นจะกินนายของตน เพราะไม่สามารถอยู่เฉยได้ พาพาให้ลูกเป็นชินนะ ที่เฝ้าแต่ทำงานของการจดจำอลัฟ หมายถึง อัลลาห์ นั่นคือ พาพา และจดจำเบ หมายถึง บาดชาฮี นั่นคือ อาณาจักร หรือ อำนาจ การปกครองในสวรรค์ ไม่เช่นนั้นแล้ว มายาจะกินลูกทั้งเป็น นอกจากนี้ พาพายังให้ลูกเป็นชินนะ ที่เฝ้าแต่ไต่ขึ้นลงบันได หมายถึง ไตร่ตรองความรู้ของวงจร 84 ชาติเกิดด้วย ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
139 | ชีพ | ชีพ | जीव ![]() | ![]() jīv | ร่างกาย |
140 | คญาน (ฮินดี)/ชญาน (สันสกฤต)/ญาณ (บาลี) | คฺญาน/ชฺญาน/ญาณ | ज्ञान ![]() | gñān/jñān/ñāṇ | ญาณ หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาตมา บรมาตมา รวมทั้ง ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ที่ไม่มีขีดจำกัดของโลก ญาณ เป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ โดยหนทางภักดี ได้แสดงด้วยจักรเป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ในหัตถ์ขวาบนของวิษณุ - พาพากล่าวว่า สวทัศนจักรธารี เป็นสมญาของลูก ผู้เป็นพราหมณ์ที่แท้จริงในสังคมยุค หมายถึง ผู้ที่มองเห็นตนเองด้วยการหยั่งรู้ทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ และเห็นเรื่องราว ของตนเองทั้งจักร สวทัศนจักรธารี มาจาก 3 คำ ได้แก่ 1. สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา 2. ทัศนะ หมายถึง มองเห็น 3. จักรธารี หมายถึง ผู้หยั่งรู้ทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน ซึ่งเป็นรูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาในราชโยคะ จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน |
141 | คญาน (ฮินดี)/ชญาน (สันสกฤต)/ญาณ (บาลี) อมฤต | คฺญาน/ชฺญาน/ญาณอมฤต | ज्ञान अमृत ![]() | ![]() gñān/jñān/ñāṇ amṛt | ในสังคมยุค พาพามาให้ญาณ ที่เปรียบกับอมฤต หรือ น้ำทิพย์ โดยในหนทางภักดี เชื่อกันว่าเมื่อดื่มน้ำทิพย์แล้ว จะทำให้ชีวิตเป็นอมตะ นั่นคือ ไม่ตาย แท้จริงแล้ว พาพามาให้ญาณว่าลูกเป็นอาตมา ที่ไม่มีวันวินาศ อมตะ และ คงอยู่ตลอดไป อมฤต หมายถึง ไม่ตาย มาจากคำว่า อ เป็นอักษรใช้นําหน้าคํา แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ กับ มฤต แปลว่า ตาย |
142 | ญาณ-ญาเณศวร (บาลี) | ญาณ-ญาเณศฺวร | ज्ञान-ज्ञानेश्वर ![]() | ![]() Gñān-Gñāneśvar (Hindi) | ญาณ-ญาเณศวร เป็นสมญาสำหรับอาตมา และ บรมาตมา สมญานี้สำหรับอาตมาที่อยู่ในร่างชาย หมายถึง เป็นผู้ที่ได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับอาตมา บรมาตมา รวมทั้งประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ที่ไม่มีขีดจำกัดของโลก สมญานี้สำหรับบรมาตมา หมายถึง อิศวร ผู้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาตมา บรมาตมา รวมทั้งประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ที่ไม่มีขีดจำกัดของโลก ญาเณศวร มาจากคำว่า ญาณ และ อิศวร ซึ่งเป็นสมญาของอาตมาในร่างชาย อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
143 | ญาณ-ญาเณศวรี (บาลี) | ญาณ-ญาเณศฺวรี | ज्ञान-ज्ञानेश्वरी ![]() | Gyāñ-Gyāñeśvarī (Hindi) | ญาณ-ญาเณศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง ที่ได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับอาตมา บรมาตมา รวมทั้ง ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ที่ไม่มีขีดจำกัดของโลกจากอิศวร ญาเณศวรี มาจากคำว่า ญาณ และ อิศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
144 | ญาเณศวร (บาลี) | ญาเณศฺวร | ज्ञानेश्वर ![]() | Gñāneśvar (Hindi) | ญาเณศวร มาจากคำว่า ญาณ และ อิศวร นั่นคือ อิศวรแห่งญาณ ที่รวมของญาณทั้งหมด ซึ่งเป็นสมญาที่ให้กับบรมบิดา บรมาตมา อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
145 | ฌเมลา | ฌเมลา | झमेला ![]() | ![]() jhamelā | ความปั่นป่วน ยุ่งเหยิง |
146 | โฌลี | โฌลี | झोली ![]() | ![]() jholī | ผ้าสำหรับห่อเก็บรวบรวมสิ่งของ และยังหมายถึง ผ้าที่มีการเย็บเป็นกระเป๋า ในบางครั้งก็อาจใช้ปลายผ้าส่าหรี หรือ ชายผ้าที่ห่อเก็บของได้ พาพาได้กล่าวว่าในหนทางภักดี ภักตะจะมีการกล่าวร้องขอต่อศังกรเพื่อทำให้โฌลีของตนเต็มเปี่ยม แท้จริงแล้ว ในสังคมยุคนี้ ที่ศิวพาพามาทำให้พุทธิของลูกเต็มเปี่ยมไปด้วยญาณ |
147 | โฏลี | โฏลี | टोली ![]() | ![]() ṭolī | ในภาษาสินธี โฏลี หมายถึง ขนมหวาน ในภาษาฮินดี โฏลี หมายถึง กลุ่ม พาพาให้ลูกรับประทานโฏลี หมายถึง ทำให้ปากของลูกหวาน มีแต่คำพูดที่หวานออกมา และ ชีวิตก็จะเต็มไปด้วยความหวานชื่นดีงาม |
148 | ตตฺ ตฺวมฺ | ตตฺ ตฺวมฺ | तत् त्वम् ![]() | ![]() tat tvam | สิ่งนั้นหมายถึงท่าน ก็คือ ท่านเป็นสิ่งนั้นด้วย |
149 | ตปัสยา | ตปสฺยา | तपस्या ![]() | tapasyā | ตปัสยา หมายถึง การทำตบะ ฝึกฝนเพ่งเพียรของอาตมาด้วยความมุ่งมั่นและจริงจัง เพื่อขจัดกิเลสและเผาบาปออกไป คำว่า ตปัสยา มีรากศัพท์มาจากคำว่า ตป นั่นคือ ตบะ |
150 | ตปัสวี | ตปสฺวี | तपस्वी ![]() | ![]() tapasvī | ตปัสวี หมายถึง ผู้ที่ทำตบะ ฝึกฝนเพ่งเพียรของอาตมาด้วยความมุ่งมั่นและจริงจัง คำว่า ตปัสยา มีรากศัพท์มาจากคำว่า ตป นั่นคือ ตบะ |
151 | ตโมคุณี | ตโมคุณี | तमोगुणी ![]() | tamoguṇī | ผู้ที่มีคุณสมบัติตโม หมายถึง สภาพของอาตมาที่อยู่ในความมืด ความเศร้าหมอง ความเขลา นั่นคือ ความตกต่ำ และไม่บริสุทธิ์ ตโมคุณี มาจากคำว่า ตโม หมายถึง ความมืด ความเศร้าหมอง ความเขลา กับคำว่า คุณี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติ |
152 | ตโมประธาน | ตโมปฺรธาน | तमोप्रधान ![]() | tamopradhān | ตโมประธาน คือ สภาพของอาตมาที่อยู่ในความมืด ความเศร้าหมอง ความเขลา นั่นคือ ความตกต่ำ และ ไม่บริสุทธิ์ เป็นหลักเหนือสภาพ รโช และ สโต ตโม แปลว่า ความมืด ความเศร้าหมอง ความเขลา และ ประธาน แปลว่า เป็นหลักหรือใหญ่ในหมู่หรือกลุ่ม |
153 | ดิลก | ติลก | तिलक ![]() | ![]() tilak | ในฮินดูธรรม ดิลกเป็นรอยแต้มหรือเจิมทำพิธิที่หน้าผากเพื่อเป็นมงคล พาพาบอกลูกว่า แต้มดิลกให้กับตนเอง นั่นคือ การรู้ว่าตนเองเป็นอาตมา และกลับมามีอำนาจในการปกครองตนเอง ดังนั้นดิลกจึงเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ |
154 | ตุลสีทาสะ/ตุลสีทาส | ตุลสีทาส | तुलसीदास ![]() | Tulasīdās | ตุลสีทาส เป็นนักกวีที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย ที่ได้เขียน เรื่องรามจริตมานัส หรือ รามเกียรติ์ ซึ่งพาพาได้ยกคำกล่าวจากรามจริตมานัสว่า "ราม คโย ราพณ์ คโย" หมายถึง ในที่สุดแล้ว ราม ก็คือ พาพาได้กลับไปบรมธามะ และ ราพณ์ก็จากไป จบสิ้นไป ไม่มีพาพาและราพณ์ในสวรรค์ นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวถึง "ตุลสีทาส จันทน์ ฆิเส" ว่า ตุลสีทาสได้แต้มดิลกให้กับรามจากการถูไม้จันทน์ด้วยตนเอง เพื่อทำเป็นดิลก แท้จริงแล้ว ราม หมายถึง พาพาได้แต้มราชดิลกให้กับลูก ทำให้กลายเป็นราชาผู้มีอำนาจในการปกครองตนเองและโลก ลูกของพาพาที่เฝ้าแต่ไตร่ตรองความรู้และเพียรพยายามด้วยความรักและศรัทธาในหนทางของพาพาในสังคมยุค เปรียบกับการถูไม้จันทน์ด้วยตนเอง ก็จะได้รับผลรางวัลในสัตยุค (ยุคทอง) และ เตรตายุค (ยุคเงิน) ราพณ์ หรือ ราวณะ เป็นชื่อเรียกทศกัณฐ์ |
155 | ตรีกาลทรรศี | ตฺริกาลทรฺศี | त्रिकालदर्शी ![]() | Trikāladarshī | ตรีกาลทรรศี เป็นสมญาของพาพา หมายถึง ผู้เห็นกาลเวลาทั้งสาม ได้แก่ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ตรีกาลทรรศี มาจาก 3 คำ ได้แก่ ตรี แปลว่า สาม กาล แปลว่า เวลา และ ทรรศี แปลว่า ผู้เห็น ในสังคมยุคนี้ พาพามาให้ความรู้แก่ลูกและทำให้ลูกเป็นตรีกาลทรรศี |
156 | ตริเนตรี/ตรีเนตรี | ตริเนตรี | त्रिनेत्री ![]() | Trinetrī | ในสังคมยุค พาพาได้มาให้ญาณแก่ลูก ทำให้ดวงตาที่สาม นั่นคือ ญาณจักษุ หรือ ทิพยจักษุ เปิดขึ้นมา หมายถึง การได้รับดวงตาแห่งปัญญาที่ทำให้ลูก มีความเข้าใจและหยั่งรู้ในอาตมา ดังนั้นลูกจึงได้รับสมญาว่า ตรีเนตรี หมายถึง ผู้ที่มีสามตา โดยในหนทางภักดีได้แสดงดวงตาที่สาม (ตีสราเนตร) ไว้ที่กึ่งกลางหน้าผากระหว่างคิ้ว นอกเหนือจากดวงตาทั้งสองของร่างกายให้กับเหล่าเทพ ตริ หรือ ตรี แปลว่า สาม เนตรี แปลว่า ผู้ที่มีเนตร (ดวงตา) และ ตีสรา แปลว่า ที่สาม |
157 | ตริมูรติ/ตรีมูรติ | ตฺริมูรฺติ | त्रिमूर्ति ![]() | ![]() Trimūrti | ตรีมูรติ เป็นบทบาททั้งสาม ที่เกิดขึ้นในสังคมยุค เมื่อศิวพาพาเป็นผู้สร้างได้อวตารลงมา ได้แก่ 1. พรหมา บทบาทของสถาปนา 2. วิษณุ บทบาทของปาลนา (บำรุงรักษา) และ 3. ศังกร บทบาทของวินาศ ศิวพาพาเป็นผู้สร้าง ได้อวตารลงมาในร่างของพรหมาที่ทำให้เกิดการสถาปนาด้วยการมาให้ญาณแก่ลูก จึงทำให้เกิดวินาศของกิเลสและสิ่งที่ไม่ดีงามในอาตมา ทำให้ส่งผลถึงวินาศในระดับวัตถุด้วย จากการที่ลูกกลับมาอยู่อย่างปราศจากร่าง (อสรีรี) และทำตปัสยา (ตบะ) ที่แสดงในรูปของศังกร หลังจากนั้น ลูกจะกลายเป็นเทวีและเทวดา แสดงในรูปของวิษณุที่เต็มพร้อม (สัมปันน) ด้วยคุณบัติที่ดีงามทั้งหมด (สรรพคุณ) สมบูรณ์ 16 องศา ปราศจากกิเลส (นิรพิการ) อย่างสมบูรณ์ ปราศจากความก้าวร้าวรุนแรง (นิรหิงสา) ทั้งร่างกายและอาตมา ที่ให้ปาลนาของความบริสุทธิ์ถึงครึ่งหนึ่งของจักรในสัตยุคและเตรตายุค ในหนทางภักดี ได้แสดงตรีมูรติในรูปเทวดาของพรหมา วิษณุ และ ศังกร โดยไม่ได้กล่าวถึงศิวะว่าเป็นผู้สร้าง แต่กล่าวว่าศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน ปาลนา เป็นรากศัพท์ของคำว่า บาล หมายถึง หล่อเลี้ยง รักษา |
158 | ตริโลกีนาถ/ตรีโลกนาถ | ตฺริโลกีนาถ | त्रिलोकीनाथ ![]() | ![]() Trilokīnāth | ตรีโลกนาถ เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่มีญาณเกี่ยวกับทั้งสามโลก และพาพาได้ให้ญาณทั้งสามโลกนั้นแก่ลูก และสมญานี้จึงมีการให้แก่ลูกด้วย ตรีโลกนาถ มาจากคำว่า ตรี แปลว่า สาม โลก คือ สถานที่ และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ตรีโลก หรือ สามโลก ได้แก่ 1. บ้าน โลกของอาตมา ที่บรมาตมาและอาตมาอาศัยอยู่ เป็นสถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ ซึ่งเป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ มูลวตนะ นิราการีทุนิยา บรมธามะ ปรโลก นฤพานธามะ หรือ นิพพานธามะ มุกติธามะ สันติธามะ พรหมาณฑ์ พรหมโลก 2. บ้าน ดินแดน สถานที่ โลกแห่งสีขาวที่ละเอียดอ่อน โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สูกษมโลก สูกษมวตนะ 3. บ้าน โลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ ที่ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) โดยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถูลวตนะ สาการีมนุษยทุนิยา กรรมเกษตร สูกษมะ แปลว่า ละเอียดอ่อน สุขุม สถูละ แปลว่า วัตถุที่หยาบ จับต้องได้ และ ทุนิยา แปลว่า โลก |
159 | ตริเวณี/ตรีเวณี | ตฺริเวณี | त्रिवेणी ![]() | ![]() triveṇī | ตรีเวณีสังคม อยู่ที่เมืองประยาค (อัลลอฮาบาด) ของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในหนทางภักดี มีความเชื่อว่า ตรีเวณีสังคม เป็นจุดที่แม่น้ำทั้งสามสาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสรัสวดี (ซึ่งเชื่อกันว่าแม่น้ำสรัสวดีเป็นแม่น้ำที่มองไม่เห็นหรือแฝงตัว) มาบรรจบกัน ที่เรียกว่า "ตรีเวณีสังคม" หรือ "จุฬาตรีคูณ" และเป็นสถานที่ที่หยดของน้ำทิพย์ได้หล่นลงมาจากกุมภ์ ซึ่งอยู่ในมือของเทวดา และเมื่อดำลงไปที่ตรีเวณีสังคม แล้วจะเป็นการชำระล้างบาปให้หมดไป และมีการจัดกุมภเมลา ทุกๆ 12 ปี โดยภักตะของฮินดูธรรมทั่วทั้งอินเดีย ได้มายังสถานที่จาริกแสวงบุญที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ พาพาได้กล่าวว่า ในทางโลกเป็น กุมภเมลา ที่มาบรรจบกันของสองแม่น้ำเท่านั้น ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา โดยไม่ได้มีแม่น้ำสรัสวดีตามที่เชื่อกัน และในความเป็นจริงแล้ว บรมบิดา บรมาตมาได้ลงมาในปุรุโษตตมสังคมยุค นี่คือ การบรรจบพบกันระหว่างอาตมา (นที) กับบรมาตมา (สาคร) เกิดขึ้น จึงเป็นกุมภเมลาที่แท้จริง ในเวลาของสังคมยุคนี้ บรมบิดา บรมาตมา ผู้ทำให้บริสุทธิ์ ได้มาและทำให้อาตมาที่ไม่บริสุทธิ์กลับมาบริสุทธิ์ พร้อมทั้งนำกลับไปยังบรมธามะ นที หมายถึง แม่น้ำ และ สาคร หมายถึง มหาสมุทร |
160 | ทักษะประชาปติ/ประชาบดี | ทกฺษ ปฺรชาปติ | दक्ष प्रजापति ![]() | ![]() Dakṣ Prajāpati | ทักษะประชาบดี ได้รับการกล่าวไว้ในคัมภีร์ว่าเป็นหัวหน้าของเหล่าเทพ ผู้สร้างยัญและนำอัศว (ม้า) มาสังเวยลงไปในยัญ แท้จริงแล้ว อัศว เปรียบกับร่างกาย นั่นคือ เราต้องสังเวยความรู้สึก นึกคิด และความหลงทะนงตนทางร่าง จากการเข้าใจว่าตนเองเป็นร่างกายและถือตัวว่าเป็นร่าง ศิวพาพา ได้อวตารลงมาใช้ร่างของประชาบิดา พรหมา เพื่อสร้างยัญในสังคมยุค โดย ยัญ หมายถึง ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย |
161 | ฤษี/ฤาษีทธีจิ | ทธีจิ ฤษิ | दधीचि ऋषि ![]() | ![]() Dadhīci ṛṣi | ฤษีทธีจิ เป็นฤษีที่ได้รับการจดจำว่าเป็นผู้สังเวยทั้งชีวิตและกระดูก เพื่อรับใช้ผู้อื่น จึงได้เป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศตนและการสละละทิ้ง โดยมีเรื่องเล่าว่า ได้มีสงครามระหว่างเทวดากับอสูร และเทวดาได้ไปขอความช่วยเหลือจากฤษีทธีจิ ซึ่งท่านได้สังเวยชีวิตจนเหลือแค่กระดูก กระนั้นก็ตาม เทวดายังนำกระดูกของฤษีทธีจิมาใช้เป็นอาวุธสู้รบกับอสูร จนได้รับชัยชนะ นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ ลูกของพาพาต้องทำงานหนักและอุทิศตนเองในงานรับใช้ของพาพา โดยเราจะได้รับผลอะไรก็ตามที่เราให้ เช่นเดียวกับฤษีทธีจิ ได้ชีวิตใหม่กลับคืนมา เป็นวรทานจากภควาน |
162 | ทยา | ทยา | दया ![]() | Dayā | ความเมตา ความกรุณา ความสง่างาม |
163 | ทรรศนะ/ทัศนะ | ทรฺศน | दर्शन ![]() | ![]() darśan | ทรรศนะ/ทัศนะ เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การเห็น การมองเห็นในทางธรรม นั่นคือ การเห็นรูปเคารพหรือภาพของเทวี เทวดา เหล่าเทพ หรือผู้ที่อยูในหนทางธรรมที่บริสุทธิ์ และยึดเก็บสิ่งนั้นไว้ในจิตใจ |
164 | ทศหรา | ทศหรา | दशहरा ![]() | ![]() Daśaharā | ทศหรา เป็นเทศกาลที่สำคัญของฮินดูธรรม และมีการเรียกกันว่า วิชัยทศมี โดยตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ ของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี และก่อนเทศกาลทิวาลีประมาณ 19-20 วัน ทศหรา และ วิชัยทศมี มาจากคำว่า ทศ แปลว่า สิบ กับคำว่า วิชัย หมายถึง ชัยชนะ และ หรา หมายถึง ทำให้แพ้ การขจัด ทศหรา เป็นวันที่รามเอาชนะราพณ์ (ทศกัณฐ์) ซึ่งเป็นวันที่ถัดมาจากเทศกาลนวราตรีที่มีการบูชาเทวี 9 วันอย่างต่อเนื่อง และวันที่ 10 เป็นวันทศหรา ที่เฉลิมฉลองด้วยการเผาหุ่นจำลองของราพณ์ อินทรชิต (เมฆนาท) และ กุมภกรรณ โดยมีการทำหุ่นจำลองของราพณ์ 10 หัว ที่แสดงถึงกิเลสทั้ง 5 ของหญิงและชาย แท้จริงแล้ว ทศหรา เป็นอนุสรณ์การเฉลิมฉลองของพาพาและลูกของท่านที่เอาชนะราพณ์ นั่นคือ กิเลส นวราตรี มาจากคำว่า นว หมายถึง เก้า และ ราตรี หมายถึง กลางคืน ราพณ์ หรือ ราวณะ เป็นชื่อเรียกทศกัณฐ์ |
165 | ทาทา | ทาทา | दादा ![]() | ![]() dādā | สำหรับ ราชโยคะ คำว่า ทาทา ในภาษาฮินดี หมายถึง ปู่ คือ ศิวพาพา ไม่ใช่ พรหมาพาพา ในภาษาสินธี คำว่า ทาทา หมายถึง พี่ชายผู้อาวุโส คือ พรหมาพาพา หรือ ใช้เรียกภาย (พี่น้องชาย) อาวุโส ผู้ที่ร่วมยัญนี้ตั้งแต่เริ่มต้น |
166 | ทาที | ทาที | दादी ![]() | ![]() dādī | ในภาษาฮินดี ทาที หมายถึง ยาย แต่ในภาษาสินธี หมายถึง พี่สาว คำว่า ทาที ใช้เรียกพหินะ (พี่น้องหญิง) อาวุโส ผู้ที่ร่วมยัญนี้ตั้งแต่เริ่มต้น |
167 | ทิลาราม | ทิลาราม | दिलाराम ![]() | ![]() Dilārām | ทิลาราม เป็นสมญาของศิวพาพา หมายถึง ผู้ทำให้หัวใจผ่อนคลายสบาย ทิล แปลว่า หัวใจ และ อาราม แปลว่า ความสบาย ความรื่นรมย์ ความเพลิดเพลิน |
168 | ดิลลี/เดลี | ดิลฺลี | दिल्ली ![]() | ![]() Dillī | เดลี คือ ราชธานีของโลกใหม่ในสัตยุค และปัจจุบัน เดลีก็เป็นเมืองหลวงของประเทศอินเดียด้วย |
169 | ทิวาลี | ทิวาลี | दिवाली ![]() | ![]() Divālī | ทิวาลี เป็นเทศกาลแห่งแสงของฮินดูธรรมที่ฉลองในอมาวสี คืนแรม 15 ค่ำ ซึ่งดวงจันทร์มืดสนิทของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และหลังเทศกาลทศหราประมาณ 19-20 วัน ทิวาลี เป็นคำที่กร่อนมาจากคำว่า ทีปาวลี ที่หมายถึง แถวหรือแนวของตะเกียงหรือแสงไฟ มาจากคำว่าทีป คือ ตะเกียงหรือแสงไฟกับ วลี คือ แถว แนว ทิวาลี เป็นสัญลักษณ์ของเอาชนะปีศาจ (กิเลส) โดยได้มีการจดจำว่าเป็นการอวตารลงมาของศิวพาพาในเวลาสุดท้ายของกลียุค ที่เป็นความมืดของความไม่รู้ และเป็นการเฉลิมฉลองการขึ้นครองบัลลังก์ของลักษมีและนารายณ์ในสัตยุคด้วย |
170 | ทิพยทฤษฎี | ทิวฺยทฺฤษฺฏิ | दिव्यदृष्टि ![]() | ![]() divyadṛṣṭi | ทิพยทฤษฎี คือ การเห็นสากษาตการ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นอาการหรือสภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อนอยู่ข้างหน้า ไม่ใช่วัตถุที่จับต้องได้ โดยศิวพาพามีกุญแจที่ให้ทิพยทฤษฎีแก่ลูกและภักตะที่เต็มไปด้วยภาวนาอย่างแรงกล้า ทั้งนี้ ลูกของพาพาก็สามารถได้รับทิพยทฤษฎีด้วยดวงตาที่สาม นั่นคือ ทิพยจักษุจากพุทธิที่มีญาณเป็นพื้นฐาน ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น ทิพย์ หมายถึง สิ่งที่ได้รับจากศิวพาพาเป็นอาการ หรือ สภาพอวยักตะทีละเอียดอ่อน สากษาตการ มาจากคำว่า สากษาต หมายถึง ปรากฏอยู่ข้างหน้า กับ อาการ หมายถึง สภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อน |
171 | ทีที | ทีที | दीदी ![]() | ![]() dīdī | พี่สาว |
172 | ทีปกะ | ทีปก | दीपक ![]() | ![]() dīpak | ตะเกียง ประทีป แสง |
173 | ทีปมาลา | ทีปมาลา | दीपमाला ![]() | ![]() Dīpamālā | ทีปมาลา เป็นอีกนามหนึ่งของเทศกาลทิวาลีและทีปาวลี ทีปมาลา คือ เทศกาลแห่งมาลาของแสงหรือตะเกียงของฮินดูธรรม ตามตัวอักษรแล้ว มาลา หมายถึง สิ่งที่ร้อยเรียงเป็นวง และ ทีป หมายถึง ตะเกียงหรือแสงไฟ ทีปมาลา เป็นเทศกาลแห่งแสงของฮินดูธรรมที่ฉลองในอมาวสี คืนแรม 15 ค่ำ ซึ่งดวงจันทร์มืดสนิทของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และหลังเทศกาลทศหรา ประมาณ 19-20 วัน นั่นคือ สัญลักษณ์ของการเอาชนะปีศาจ (กิเลส) โดยได้มีการจดจำว่าเป็นการอวตารลงมาของศิวพาพาในเวลาสุดท้ายของกลียุคที่เป็นความมืดของความไม่รู้ และเป็นการเฉลิมฉลองการขึ้นครองบัลลังก์ของลักษมีและนารายณ์ในสัตยุคด้วย |
174 | ทีปราช | ทีปราช | दीपराज ![]() | ![]() Dīparāj | ทีปราช เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง บรม(สูงสุด) ของแสงหรือตะเกียง และเป็นสมญาของอาตมาด้วย หมายถึง ราชาแห่งแสงหรือตะเกียง ทีปราช มาจากคำว่า ทีป หมายถึง แสง ตะเกียง และ ราช หมายถึง ผู้มีอำนาจในการปกครอง ผู้เป็นราชา ดังนั้น ตามตัวอักษรแล้ว ทีปราช หมายถึง ราชาแห่งแสงหรือตะเกียง |
175 | ทีปรานี | ทีปรานี | दीपरानी ![]() | ![]() Dīparānī | ทีปรานี เป็นสมญาของลูกสาวของพาพา นั่นคือ อาตมาในร่างหญิง ที่หมายถึง รานีแห่งแสงหรือตะเกียง ทีปรานี มาจากคำว่า ทีป หมายถึง แสง ตะเกียง และ รานี หมายถึง ราชินี ดังนั้นตามตัวอักษรแล้ว ทีปรานี หมายถึง รานีแห่งแสงหรือตะเกียง |
176 | ทีปาวลี | ทีปาวลี | दीपावली ![]() | ![]() Dīpāvalī | เป็นอีกนามหนึ่งของเทศกาลทิวาลี และ ทีปาวลี ทิวาลี เป็นคำที่กร่อนมาจากคำว่า ทีปาวลี หมายถึง แถวหรือแนวของตะเกียงหรือแสงไฟ มาจากคำว่าทีป คือ ตะเกียงหรือแสงไฟ กับ วลี คือ แถว แนว ทิวาลี เป็นเทศกาลแห่งแสงของฮินดูธรรม ที่ฉลองในอมาวสี คืนแรม 15 ค่ำ ซึ่งดวงจันทร์มืดสนิทของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และหลังเทศกาลทศหรา ประมาณ 19-20 วัน นั่นคือ สัญลักษณ์ของการเอาชนะปีศาจ (กิเลส) โดยได้มีการจดจำว่าเป็นการอวตารลงมาของศิวพาพาในเวลาสุดท้ายของกลียุคที่เป็นความมืดของความไม่รู้ และเป็นการเฉลิมฉลองการขึ้นครองบัลลังก์ของลักษมีและนารายณ์ในสัตยุคด้วย |
177 | ทุรคา | ทุรฺคา | दुर्गा ![]() | ![]() Durgā | ทุรคา เทวีแห่งศักดิ์และความแข็งแกร่ง และเป็นที่รู้จักกันในนามว่า เทวีนักรบ ทุรคาได้รับการเรียกว่า แม่ที่เต็มพร้อมไปด้วยทิพยคุณ และให้การหล่อเลี้ยงทำให้ทุกอาตมาสมปรารถนาในทุกสิ่ง และให้การปกป้องมวลมนุษย์จากความชั่วร้ายและความทุกข์ยาก ด้วยการทำลายกำลังชั่วร้ายและให้โทษเช่น ความเห็นแก่ตัว ความอิจฉาริษยา ความอคติ ความเกลียดชัง ความโกรธ ความหลงทะนงตน เป็นต้น ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา |
178 | ทุรโยธนะ/ทุรโยธน์ | ทุรฺโยธน | दुर्योधन ![]() | ![]() Duryodhan | ทุรโยธน์ คือ ตัวละครจาก "มหาภารตะ" ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตของพี่น้องเการพทั้งหมด 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์กับนางคานธารี โดย ทุรโยธน์เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยาปาณฑพอย่างยิ่ง จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา ในราชโยคะ พาพาได้กล่าวยกตัวอย่างทุรโยธน์กับเรื่องราวมฤคตัณหา ที่หมายถึง กวาง ผู้กระหายน้ำ และเข้าใจผิดเห็นภาพลวงตาว่าเป็นแหล่งน้ำอยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ ทุรโยธน์ไม่เข้าใจในความจริงแท้ จึงติดกับและถูกหลอกลวงด้วยกิเลส ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนเองต้องการ ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ต่อธรรมและสัตย์ เหมือนกับผู้คนที่เข้าใจว่าโลกทุกวันนี้เป็นสวรรค์ ที่มีทุกอย่างและทำทุกสิ่งภายใต้กิเลสเพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่รู้ว่าสวรรค์คืออะไร ใน "มหาภารตะ" ได้มีการแสดงเรื่องราวระหว่างนางเทราปทีชายาของเหล่าปาณฑพกับทุรโยธน์ไว้ เนื่องจากเการพและปาณฑพเป็นพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพระราชวังเดียวกัน ที่ได้ออกแบบสร้างสระน้ำไว้ในห้องโถงของพระราชวัง และวันหนึ่ง ทุรโยธน์ได้เดินตกลงไปในสระน้ำ ด้วยการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพื้นทางเดิน นั่นก็เปรียบเทียบกับมฤคตัณหา โดยนางเทราปทีได้เห็นเหตุการณ์และหัวเราะขบขัน พร้อมกับกล่าวว่า พ่อตาบอด ลูกก็ตาบอดด้วย เพราะว่าทุรโยธน์เป็นลูกของท้าวธฤตราษฏร์ ผู้ตาบอด นั่นหมายถึง ผู้ที่พุทธิไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่สามารถแยกแยะธรรมกับอธรรม ความจริงกับความหลอกลวงได้ จึงเป็นต้นเหตุของความโกรธแค้นทำให้ทุรโยธน์สั่งทุหศาสันเปลื้องผ้านางเทราปที เมื่อครั้งที่ปาณฑพได้แพ้การพนันต่อและต้องยกนางเทราปทีให้เการพ มฤค แปลว่า กวาง และ ตฤษณา คำไทยคือ ตัณหา ในความหมายนี้แปลว่า ความอยาก ความกระหายต่อน้ำ ในภาษาไทยใช้คำว่า พยับแดด หมายถึง เงาแดดที่ทำให้เกิดภาพลวงตา |
179 | ทุรวาสา | ทุรวาสา | दुर्वासा ![]() | ![]() Durvāsā | ทุรวาสา เป็นฤษีโบราณ ที่รู้จักกันว่ามีอารมณ์ร้อน โกรธง่าย พาพาได้เตือนลูกว่า ต้องไม่มีความโกรธเช่นทุรวาสา ฤษี |
180 | ทฤษฎี | ทฺฤษฺฏิ | दृष्टि ![]() | ![]() dṛṣṭi | ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น นั่นคือ การแลกเปลี่ยนคลื่นกระแสผ่านดวงตา |
181 | เทลวารา/ทิลวาลา | เทลวารา/ทิลวาลา | देलवाड़ा/दिलवाला ![]() | ![]() Delavāṛā/Dilavālā | พาพาได้กล่าวว่า วัดเทลวารา/ทิลวาลา เป็นอนุสรณ์ของศิวพาพา อาทิเทพ อาทิเทวี พรหมากุมารและกุมารี ในวัดได้มีการแกะสลักรูปสวรรค์ไว้ที่เพดาน และที่พื้นเป็นรูปโยคีทำตปัสยา (ตบะ) เปิดตา ซึ่งแสดงถึงลูกที่ทำตปัสยาในสังคมยุค และได้รับผลรางวัลของสวรรค์ในอนาคต วัดเทลวารา/ทิลวาลาเป็นวัดที่สร้างโดยชาวเชนของเชนธรรม ที่มีสถาปัตยกรรมการแกะสลักหินอ่อนสีขาวอันงดงาม ในวัดได้มีรูปเคารพหลักของอาทินาถ ศาสดาองค์แรก และมหาวีระ ศาสดาองค์ที่ 24 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายของเชนธรรม โดยวัดนี้สร้างเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว แท้จริงแล้ว อาทินาถ และ มหาวีระ คือ อนุสรณ์ของพรหมา |
182 | เทวี เทวดา | เทวี เทวดา | देवी देवता ![]() | ![]() Devī Devtā | เหล่าเทพ ชาวสวรรค์ ทั้งหญิงและชาย |
183 | เทหอภิมานะ (อ่านว่า เท-หะ-อะ-พิ-มา-นะ) | เทห อภิมาน | देह अभिमान ![]() | ![]() deh abhimān | เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน พาพาให้ลูกกลับมาอยู่อย่างอาตมอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนที่บริสุทธิ์จากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นอาตมาแทนการเป็นร่างกาย ซึ่งตรงกันข้ามกับเทหอภิมานะ |
184 | เทฮีอภิมานะ | เทฮี อภิมาน | देही अभिमान ![]() | ![]() dehī abhimān | เทฮีอภิมานะ หมายถึง ความเข้าใจและยึดถือว่าตนเองเป็นอาตมาขณะที่อยู่ในร่างกาย เทฮี หมายถึง อาตมาขณะที่อยู่ในเทห์ (ร่างกาย) |
185 | เทราปที (อ่านว่า ทะ-เรา-ปะ-ที)/หรือ เทราปตี (อ่านว่า ทะ-เรา-ปะ-ตี) | เทฺราปที | द्रौपदी ![]() | ![]() Draupadī | เทราปที เป็นชายาของปาณฑพทั้ง 5 และได้เข้าใจกันว่า เทราปทีเป็นเด็กบริสุทธิ์ที่กำเนิดมาจากยัญ และได้มีการแสดงว่าเทราปที ร้องเรียกหากฤษณะเพื่อให้ปกป้องเกียรติของเธอจากการถูกเปลื้องผ้าโดยทุหศาสัน ฝ่ายเการพ และเป็นกฤษณะเท่านั้นสามารถปกป้องเธอได้ พาพาได้กล่าวถึงลูกสาวของพาพาทั้งหมด ว่าเป็นเทราปทีที่ได้รับการปกป้องจากพาพาในสังคมยุคนี้ ในหนทางภักดีได้กล่าวว่า ภควานนวดเท้าให้กับเทราปที นั่นหมายถึง ในสังคมยุคที่พาพาให้การหล่อเลี้ยงดูแลลูก โดยเฉพาะผู้เป็นแม่และกุมารีที่อยู่ในพันธนะ |
186 | ทวาริกา | ทฺวาริกา | द्वारिका ![]() | ![]() Dvārikā | ทวาริกา เป็นเมืองโบราณในรัฐคุชราต ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ประเทศอินเดีย ที่ติดกับทะเลอาหรับ ซึ่งเป็นบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ในหนทางภักดีได้มีการกล่าวว่า ทวาริกาเป็นเมืองหลวงของกฤษณะ ผู้ที่ได้รับการเรียกว่า ทวาริกาธีศ (ราชาของทวาริกา) และเชื่อกันว่าทวาริกาได้จมไปอยู่ใต้ทะเลและจะปรากฏขึ้นมาอีก แต่พาพากล่าวว่า สิ่งที่ได้จมลงไปอยู่ข้างใต้ ก็จบสิ้นและถูกทำลายไปแล้ว |
187 | ธรรม | ธรฺม | धर्म ![]() | dharm | ในราชโยคะ ธรรม หมายถึง ธารณา นั่นคือ เราต้องมีการกระทำ พฤติกรรม ที่ยึดมั่นตามคำสอนของพาพา เป็นหลักในการดำเนินชีวิต หรือนำไปฝึกฝนจนเป็นรูปในทางปฏิบัติ ที่มาจากพื้นฐานจากคุณสมบัติดั้งเดิมของอาตมา และความถูกต้องดีงาม ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือ พิธีกรรมภายนอก พาพาใช้คำว่า ธรรม ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า ศาสนา ที่มาจากภาษาฮินดีว่า ศาสนะ หมายถึง กฎเกณฑ์ การปกครอง พาพาให้ลูกคงอยู่ในธรรมของอาตมา และละทิ้งธรรมทางร่างกาย หรือที่มากับร่างกาย นั่นคือ เทหอภิมานะ ธรรม มีความหมายโดยทั่วไปในทางโลกว่า คุณความดี ความชอบ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา มรรคผล นิพพาน ปัญญา ความรู้ของจริง ความจริง เหตุบุญกุศล ความถูกต้อง ความประพฤติ หน้าที่ทางประพฤติ ข้อบังคับ กฎหมาย เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
188 | ธรรมราช | ธรฺมราช | धर्मराज ![]() | Dharmarāj | ธรรมราช หมายถึง ราชาแห่งธรรม เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองที่มีความถูกต้อง ยุติธรรม นั่นคือ ผู้พิพากษาสูงสุด แต่ละอาตมาได้มีบันทึกการกระทำของตนที่ซ่อนอยู่ในอาตมา โดยบันทึกที่ซ่อนอยู่นี้เองจะเป็นเหมือนธรรมราชที่ตัดสินผลของการกระทำเหล่านั้น และทำให้อาตมาชำระสะสางบัญชีกรรมทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง พาพาไม่ได้ลงโทษใครจากการกระทำใดๆ ของอาตมา แต่ท่านทำผ่านธรรมราช ดังนั้นพาพากล่าวว่า ธรรมราช คือ มือขวาของท่าน |
189 | ธรรมศาลา | ธรฺมศาลา | धर्मशाला ![]() | ![]() Dharmśālā | ธรรมศาลา เป็นสถานที่อันพึงเคารพและเป็นที่พักสำหรับผู้เดินทางไปจาริกแสวงบุญ สมัยก่อนธรรมศาลาสร้างขึ้นเพื่อผู้จาริกแสวงบุญ เหมือนกับบริจาคให้ทางธรรม |
190 | ธรรมาตมา | ธรฺมาตฺมา | धर्मात्मा ![]() | Dharmātmā | อาตมาที่มีธรรม หมายถึง อาตมาที่มีการกระทำ พฤติกรรม ยึดมั่นตามคำสอนของพาพาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต หรือนำไปฝึกฝนจนเป็นรูปในทางปฏิบัติ ที่มาจากพื้นฐานจากคุณสมบัติดั้งเดิมของอาตมา และความถูกต้องดีงาม ความยุติธรรม ทั้งนี้ พาพากล่าวว่า เทวี เทวดา ผู้มีความบริสุทธิ์ทั้งอาตมาและร่างกาย คือ ธรรมาตมาที่แท้จริง |
191 | ธารณา | ธารณา | धारणा ![]() | dhāraṇā | ธารณา เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การทรงไว้ การยึดไว้ในจิตใจ นั่นคือ การยึดมั่นคำสอนของพาพาไว้ เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต หรือนำไปฝึกฝนจนเป็นรูปในทางปฏิบัติ และกลายเป็นธรรมของตนเอง ธารณา เป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ ที่แสดงด้วยเครื่องประดับ กมล หรือ ปัทม์ ในหัตถ์ซ้ายล่างของวิษณุในหนทางภักดี หมายถึง การใช้ชีวิตอยู่ในโลกอย่างบริสุทธิ์ ด้วยความรักและละวาง แม้ขณะอยู่ในโลกที่ตกต่ำและไม่บริสุทธิ์นี้ วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน นั่นหมายถึง รูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาของราชโยคะ จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน กมล หรือ ปัทม์ หมายถึง ดอกบัว |
192 | ธุริยา | ธุริยา | धुरिया ![]() | ![]() Dhuriyā | โหลี เป็นเทศกาลสาดสีของฮินดูธรรมที่มีการเฉลิมฉลองกันสองวัน โดยธุริยาเป็นวันที่สองของเทศกาลนี้ ซึ่งผู้คนเล่นสาดสีใส่กันด้วยผงสีและน้ำสี ธุริยา เป็นคำสินธี และในภาษาฮินดี เรียกว่า รงควาลีโหลี (รงค์ หมายถึง สี) ธุเลฏี ธุลัณทิ หรือ ธุลิวันทนะ ในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) หรือ โฉฏีโหลี ที่ผู้คนมารวมกัน และทำพิธีของธรรมเบื้องหน้ากองไฟที่จุดขึ้นมากลางแจ้ง ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งพร่ำสวดเพื่อให้ความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีภายในถูกขจัดออกไป ขณะที่ก่อกองไฟเผาไหม้กลางแจ้ง โดยจะเฉลิมฉลองในวันพระจันทร์เต็มดวง โหลี จะเริ่มต้นเฉลิมฉลองในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) เรียกว่าวัน ‘โหลิกาทหนะ’ และวันถัดมา เรียกว่า วันธุริยา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) โดยทั้งสองวันนี้ จะอยู่ราวเดือนมีนาคมของทุกปี |
193 | ธฤตราษฏร์ | ธฺฤตราษฺฏฺระ | धृतराष्ट्र ![]() | ![]() Dhṛtarāṣṭra | ธฤตราษฏร์ คือ บิดาของเการพ และเป็นผู้ที่ตาบอดตั้งแต่เกิด ในมหากาพย์ "มหาภารตะ" ผู้ที่ตาบอด หมายถึง ผู้ที่พุทธิไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่สามารถแยกแยะธรรมกับอธรรม ความจริงกับความหลอกลวงได้ |
194 | ฌาน (บาลี)/ธยานะ/ธยาน (สันสกฤต, ฮินดี) | ธฺยาน | ध्यान ![]() | dhyān | ในความหมายของพาพา คือ การตั้งใจ ใส่ใจ และ การเข้าฌาน แต่ในทางโลก หมายถึง การเพ่งรวม การจดจ่อ การทำสมาธิ |
195 | นนทิคณะ | นนฺทีคณ | नंदीगण ![]() | ![]() Nandīgaṇ | ในหนทางภักดี วัดของศิวะ ในฮินดูธรรม มีรูปปฏิมาของโคนนทิ (นนทิเป็นนามของไพละ โดย ไพละ หมายถึง วัวเพศผู้) ที่วางไว้ด้านหน้าศิวลึงค์ โดยเชื่อว่าโคนนทิ เป็นพาหนะของศิวะ แท้จริงแล้ว ศิวพาพาได้อวตารลงมาในร่างชายของพรหมาในสังคมยุค ทั้งนี้ ศิวพาพาใช้คำว่า 'นนทิคณะ' (กลุ่มของนนทิ) |
196 | นารทะ | นารท | नारद ![]() | ![]() Nārad | นารทะ คือ ฤษี นักบวช นักบุญ เป็นที่รู้จักกันอย่างยิ่ง และได้รับการกล่าวว่าเป็นบุตรชายที่เกิดจากหน้าผากของพรหมา ที่สามารถเดินทางได้ทั้งสามโลก ในเวลาใดก็ตาม พร้อมกับเล่นเครื่องดนตรีทัมปูรา ได้มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับนารทะในทางภักดี เช่น นารทะต้องการแต่งงานกับลักษมี จึงไปขอพรจากวิษณุ เพื่อให้มีรูปร่างที่สวยงามเช่นวิษณุ แต่วิษณุมีอีกชื่อหนึ่งว่า หริ ซึ่งแปลว่า สวยงาม และ ลิง จึงทำให้นารทะมีรูปร่างสวยงาม แต่ใบหน้าเป็นเช่นลิง เมื่อนารทะไปขอลักษมีแต่งงาน จึงได้รับการบอกให้ไปดูใบหน้าตนเองในกระจก หมายถึง พาพาต้องการให้ลูกตรวจสภาพภายในตนเองว่ายังมีกิเลสอยู่หรือไม่ นั่นคือ มีค่าต่อการได้รับสถานภาพในสวรรค์หรือไม่ นอกจากนี้ พาพาให้ลูกถามผู้คนทั้งหลายว่าต้องการไปไวกูณฐ์หรือไม่ และพาพาได้ยกตัวอย่างถึงเรื่องราวของนารทะ โดยภควานได้บอกนารทะว่ามีที่ว่างหนึ่งที่ในไวกูณฐ์ และให้นารทะลงมาถามผู้คนยังโลกมนุษย์ว่าใครต้องการไปไวกูณฐ์บ้าง โดยผู้คนบอกนารทะว่า ถ้าหากมีสิ่งใดในโลกนรกนี้ที่พวกเขายังต้องการอยู่ในไวกูณฐ์ แล้วพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะไป นั่นหมายถึง หากผู้ที่ยังผูกพันยึดมั่นกับโลกนรกนี้และไม่ต้องการกลับมาอยู่อย่างบริสุทธิ์ ก็ไม่สามารถไปไวกูณฐ์ได้ พาพากล่าวว่า นารทะเป็นภักตะชายอันดับหนึ่ง |
197 | นิราการ | นิราการ | निराकार ![]() | ![]() Nirākār | นิราการ หมายถึง ปราศจากร่าง ไม่มีทั้งสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) และอาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) นั่นคือ อาตมาอยู่ในรูปดั้งเดิมที่บรมธามะ นิราการ มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี รวมกับคำว่า สาการ และ อาการ |
198 | นิรมลศานต์ | นิรฺมลศานตา | निर्मलशान्ता ![]() | ![]() Nirmalaśāntā | นิรมลศานต์ เป็นลูกสาวทางโลกของพรหมาพาพา และเป็นหนึ่งในทาที ผู้อาวุโสของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย นิรมลศานต์ มาจากคำว่า นิรมล โดย นิร แปลว่า ไม่มี และ มล แปลว่า ความมัวหมอง ความสกปรก ความไม่บริสุทธิ์ ดังนั้น นิรมล หมายถึง บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน ไม่มัวหมอง ไม่สกปรก กับ ศานต์ แปลว่า ความสงบ |
199 | นิรมลา/นิรมล | นิรฺมลา | निर्मला ![]() | ![]() Nirmalā | แพทย์หญิง พรหมากุมารีนิรมล กชาริยา เป็นผู้อำนวยการ "พรหมากุมารี สถาบันวิทยาการเพื่อโลกใหม่ที่ดีขึ้น" และผู้อำนวยการศูนย์การทำสมาธิแบบราชโยคะของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย สำหรับประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ท่านเป็นที่รู้จักกันในนาม ทีทีนิรมล (ทีที หมายถึง พี่สาว) โดยคำว่า นิรมล มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี และ มล แปลว่า ความมัวหมอง ความสกปรก ความไม่บริสุทธิ์ ดังนั้น นิรมล หมายถึง บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน ไม่มัวหมอง ไม่สกปรก |
200 | นิรมาณ | นิรฺมาณ | निर्माण ![]() | nirmāṇ | นิรมาณ หมายถึง การสร้าง งานสร้าง ผลิตผล พาพา ใช้คำ นิรมาน พ้องกับคำ นิรมาณ หมายถึง พาพาให้ลูกอยู่อย่าง ถ่อมตนในงานเสวาของพาพา เพื่อการสร้างโลกใหม่ นิรมาน หมายถึง ความถ่อมตน ปราศจากการถือรั้น ไม่มีความดื้อดึง ไม่ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ ไม่เย่อหยิ่งจองหอง มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี และ มานะ แปลว่า เคารพ ชื่อเสียง ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ เย่อหยิ่งจองหอง พาพากล่าวว่า ลูกจะได้รับความเคารพเมื่ออยู่อย่างนิรมาน นั่นคือ ไม่มีความปรารถนาที่จะได้รับเคารพ ชื่อเสียง เกียรติ ใดๆ ไม่ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ เย่อหยิ่งจองหอง |
201 | นิรมาน | นิรฺมาน | निर्मान ![]() | nirmān | นิรมาน หมายถึง ความถ่อมตน ปราศจากการถือรั้น ไม่มีความดื้อดึง ไม่ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ ไม่เย่อหยิ่งจองหอง มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี และ มานะ แปลว่า เคารพ ชื่อเสียง ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ เย่อหยิ่งจองหอง พาพากล่าวว่า ลูก จะได้รับความเคารพ เมื่ออยู่อย่างนิรมาน นั่นคือ ไม่มีความปรารถนาที่จะได้รับเคารพ ชื่อเสียง เกียรติ ใดๆ ไม่ถือตัวว่ายิ่งใหญ่ เย่อหยิ่งจองหอง พาพาใช้คำ นิรมาน พ้องกับคำ นิรมาณ นั่นหมายถึง พาพาให้ลูกอยู่อย่างถ่อมตนในงานเสวาของพาพา เพื่อการสร้างโลกใหม่ นิรมาณ หมายถึง การสร้าง งานสร้าง ผลิตผล |
202 | นฤพาน (สันสกฤต)/นิพพาน (บาลี) | นิรฺวาณ (สันสกฤต)/นิพฺพาน (บาลี) | निर्वाण ![]() | ![]() nirvāṇ | นิรฺวาณ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง การอยู่เหนือเสียง มาจากคำว่า นิร แปลว่า ไม่มี หมดไป และ วาณี แปลว่า เสียง การ พูด นั่นหมายถึง สภาพของบรมธามะ บ้านของอาตมา ในภาษาไทยมีการเขียนคำนิรฺวาณว่า นฤพาน หรือ นิพพาน ที่หมายถึงการหลุดพ้นตลอดไป โดยไม่ต้องกลับมาเล่นบทบาทในวงจรละครโลก พาพากล่าวว่า ทุกอาตมามีบทบาทที่บันทึกอยู่ในอาตมา และต้องลงมาเล่นบทบาทตามเวลาของตนเองในวงจรละครโลกนี้ |
203 | นิพฤติมรรค (อ่านว่า นิ-พฺรึด/นิ-พฺรึด-ติ-มัก) | นิวฺฤตฺติ มารฺค | निवृत्ति मार्ग ![]() | nivṛtti mārg | นิพฤติมรรค หมายถึง หนทางที่ไม่มีการประพฤติร่วมกับผู้อื่น ในราชโยคะ นิพฤติมรรค หมายถึง สันนยาสี ผู้อยู่ในหนทางการใช้ชีวิตสันโดษ ที่แยกตนเองออกไปอยู่โดยลำพังและสละละทิ้งทางโลก ซึ่งตรงข้ามกับที่พาพาให้ลูกอยู่ในประพฤติมรรค นั่นคือ หนทางการใช้ชีวิตในครอบครัวที่ต้องประพฤติในความสัมพันธ์ต่างๆ กับคนในครอบครัว แต่อยู่อย่างบริสุทธิ์และละวางเช่นดอกบัว นิพฤติ หมายถึง สันโดษ การเกษียณอายุ ประพฤติ หมายถึง ปฏิบัติ วางตน กระทำ ดำเนินตน และ มรรค หมายถึง หนทาง สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ |
204 | เนษฐา | เนษฺฐา | नेष्ठा ![]() | neṣṭhā | ในราชโยคะ เนษฐา คือ การทำสมาธิที่มีผู้นำอยู่ข้างหน้าให้ทฤษฎีและกระแสศักดิ์ ทำให้เชื่อมโยงและจดจำอยู่กับบรมบิดา บรมาตมา ผู้เดียว |
205 | ปัญชาพ/ปัญจาบ | ปัญชาพ | पंजाब ![]() | ![]() Pañjāb | ปัญจาบ คือ รัฐหนึ่งทางเหนือของอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ จัณฑีครห์ และรัฐนี้เป็นศูนย์กลางของชาวสิกข์ โดยมีสถานที่สำคัญ คือ หริมันทิระ สาหิพ หรือ สุวรรณวิหาร สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ และได้มีการสร้าง อกาลตัขตะ (บัลลังก์ที่อกาล) ไว้ที่วิหารนี้ด้วย ดั้งเดิมแล้ว ภูมิภาคปัญจาบ ประกอบด้วยดินแดนทางตะวันออกของประเทศปากีสถานและทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเป็นดินแดนแห่งแม่น้ำห้าสาย (ปัญจนที) ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเฌลัม, แม่น้ำจนาพ, แม่น้ำราวี, แม่น้ำสตลุช และแม่น้ำบีอัส ทั้งนี้ แม่น้ำห้าสายนี้ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสินธุ ปัญจ แปลว่า ห้า และ นที แปลว่า แม่น้ำ |
206 | ปัณฑา | ปณฺฑา | पण्डा ![]() | Paṇḍā | ปัณฑา คือ พราหมณ์ของฮินดูธรรม ที่นำทางให้กับผู้ไปจาริกแสวงบุญ หรือ ทำพิธีภักดีให้ภักตะในสถานที่จาริกแสวงบุญ โดยเฉพาะกุมภเมลา ริมฝั่งแม่น้ำทั้งหลาย พาพากล่าวว่า ลูก คือ ปาณฑพ ที่เป็นปัณฑา ผู้นำทางที่เป็นสัจเช่นเดียวกับพาพา โดยลูกเป็นผู้ช่วยพาพา ในการนำอาตมาไปจาริกแสวงบุญ นั่นคือ กลับไปยังมุกติธามะและชีวันมุกติธามะ ในหนทางภักดี ปัณฑา คือ พราหมณ์ ผู้เป็นนำคนไปจาริกแสวงบุญและประกอบพิธีทางภักดี เพื่อให้ได้พบกับภควาน หรือ ให้ได้รับคติเพื่อกลับไปยังมุกติธามะ "ปาณฑพ" มาจากคำว่า "ปัณฑา" |
207 | ปัทมาปัทม์ | ปทมาปทม | पदमापदम ![]() | Padmāpadm | ปัทม์ เป็นมาตรานับในอินเดียโบราณ โดย 1 ปัทม์เท่ากับ 10 โกฎิโกฎิ (1 โกฎิเท่ากับ 10 ล้าน) หรือในทางสากลเรียกว่า พันล้านล้าน (1,000,000,000,000,000 หมายถึงเลข 1 ซึ่งเติม 0 อีก 15 ตัว) ศิวพาพากล่าวว่า ทุกย่างก้าวของลูกในสังคมยุคนั้น มีค่าเป็นปัทม์ของปัทม นั่นคือ ปัทมาปัทม์ หมายถึง มากมายจนไม่สามารถนับได้ ปัทม์ ยังหมายถึง บัวหลวง ซึ่งเปรียบกับการใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์ ขณะที่อยู่อย่างมีความรักและละวาง โดยส่วนใหญ่แล้ว พาพาใช้คำว่า กมล หมายถึง ดอกบัว |
208 | ปัทม์ | ปทฺม | पद्म ![]() | ![]() padm | ปัทม์ เป็นมาตรานับในอินเดียโบราณ โดย 1 ปัทม์เท่ากับ 10 โกฎิโกฎิ (1 โกฎิเท่ากับ 10 ล้าน) หรือในทางสากลเรียกว่า พันล้านล้าน (1,000,000,000,000,000 หมายถึงเลข 1 ซึ่งเติม 0 อีก 15 ตัว) ศิวพาพากล่าวว่า ทุกย่างก้าวของลูกในสังคมยุคนั้น มีค่าเป็นปัทม์ นั่นคือมากมายจนไม่สามารถนับได้ ปัทม์ ยังหมายถึง บัวหลวง ซึ่งเปรียบกับการใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์ ขณะที่อยู่อย่างมีความรักและละวาง โดยส่วนใหญ่แล้ว พาพาใช้คำว่า กมล หมายถึง ดอกบัว |
209 | ปรจินตนะ | ปรจินฺตน | परचिंतन ![]() | paracintan | การคิดเกี่ยวกับผู้อื่น ปรจินตนะ มาจากคำว่า ปร แปลว่า อื่น กับ จินตนะ แปลว่า ความคิด เกี่ยวกับความคิด ปร อ่านว่า ปะระ/ปอระ |
210 | ปรมตะ/ปรมัต | ปรมต | परमत ![]() | paramat | การทำตามความคิด การกำหนด และหนทางของผู้อื่น ปรมัต มาจากคำว่า ปร หมายถึง อื่น กับ มัต มาจากรากศัพท์คำว่า มติ หมายถึง ความคิด การกำหนด หนทาง |
211 | บรมธามะ (อ่านว่า บอ-รม-มะ-ธา-มะ) | ปรมธาม | परमधाम ![]() | ![]() Paramadhām | บรมธามะ เป็นสถานที่อยู่อาศัยสูงสุดของอาตมาและบรมาตมาที่นิราการ หรือที่เรียกกันว่า พรหมโลก พรหมาณฑ์ สถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ ที่เป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) ปรม ในภาษาไทย คือ บรม แปลว่า สูงสุด ธามะ หมายถึง สถานที่อยู่อาศัย มห แปลว่า ยิ่ง ใหญ่ และ ตัตวะ แปลว่า ธาตุ |
212 | บรมบิดา | ปรมปิตา | परमपिता ![]() | ![]() Paramapitā | บรมบิดา คือ บิดาสูงสุดของอาตมาทั้งหมด นั่นหมายถึง ศิวพาพา คำว่า ปรม ในภาษาไทย คือ บรม แปลว่า สูงสุด |
213 | บรมาตมา (อ่านว่า บอ-ระ-มาตฺ-มา) | ปรมาตฺมา | परमात्मा ![]() | ![]() Paramātmā | บรมาตมา คือ อาตมาที่สูงสุด นั่นหมายถึง ศิวพาพา บรมาตมา มาจากคำว่า ปรม กับ อาตมา และ ปรม ในภาษาไทย คือ บรม แปลว่า สูงสุด |
214 | ปรัมปรา (อ่านว่า ปะ-รํา-ปะ-รา) | ปรมฺปรา | परम्परा ![]() | Paramparā | ในหนทางภักดีได้กล่าวกันไว้ว่า การทำภักดี เวทย์ คัมภีร์ ฯลฯ คงอยู่มาตั้งแต่ปรัมปรา ทั้งนี้ พาพาได้กล่าวว่า ทุกสิ่งของหนทางภักดีนั้น คงอยู่มาตั้งแต่ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) ของจักร (วงจร) และมนุษย์ไม่รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ได้แก่ สัตยุค (ยุคทอง) เตรตายุค (ยุคเงิน) ปรัมปรา หมายถึง สืบๆ กันมา ก่อนเก่า โบราณนาน |
215 | ปรโลก (อ่านว่า ปะ-ระ/ปอ-ระ โลก) | ปรโลก | परलोक ![]() | ![]() Paralok | ในราชโยคะ ปรโลก หมายถึง บรมธามะ นั้นคือ สถานที่อยู่สูงสุด บ้านของอาตมาที่ไกลโพ้น เหนือขึ้นไปจากโลกนี้ คำว่า ปร แปลว่า อื่น บางครั้งในทางโลก หมายถึง โลกอื่น โลกหลังความตาย |
216 | ปรศุราม (อ่านว่า ปะ-ระ-สุ-ราม) | ปรศุราม | परशुराम ![]() | Paraśurām | ปรศุราม มาจาก 2 คำ คือ “ปรศุ” หมายถึง ขวาน และ “ราม” เมื่อรวมกัน หมายถึง รามผู้มีขวาน ปรศุราม เป็นการอวตารครั้งที่ 6 ของวิษณุในฮินดูธรรม และในรามเกียรติ์กล่าวว่าเป็นยักษ์เรียกว่า รามสูร |
217 | ปริสตาน/ปริสถาน (อ่านว่า ปฺริ-สฺถาน) | ปริสฺตาน | परिस्तान ![]() | ![]() Paristān | ปริสถาน มาจากคำว่า ปรี หมายถึง ปรี กับ สถาน หมายถึง สถานที่ นั่นหมายถึง สถานที่ของปรี ก็คือ สวรรค์ ในหนทางภักดี ได้มีการกล่าวถึง ชุมนุมของปรี ที่ท้องพระโรงของอินทรปรัสถ์ ซึ่งเป็นพระราชฐานแห่งพระอินทร์ และได้มีการให้นามของอัญมณีที่มีค่าแก่ปรีทั้งหลาย เช่น ปุขราช ปรี นีลมะ ปรี มาณิกะ ปรี เป็นต้น เพราะว่าลูกของพาพามีแต่ญาณในรูปของเพชร ไข่มุกที่ออกจากปากให้แก่ผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีการกล่าวว่า หากใครนำผู้ที่ไม่บริสุทธิ์มายังท้องพระโรงนี้ ก็จะถูกสาปให้กลายเป็นหิน นั่นคือ พุทธิที่กลายเป็นหิน ไม่สามารถเข้าใจญาณได้ แท้จริงแล้ว เป็นท้องพระโรงของพาพา ผู้เป็นสาครแห่งญาณในสังคมยุค และลูก คือ ผู้อยู่อย่างบริสุทธิ์ เป็นปรีที่ร่ายรำในญาณ ปุขราช คือ บุษราคัม นีลมะ คือ ไพลิน มาณิกะ คือ ทับทิม สาคร หมายถึง มหาสมุทร ปรี (ภาษาฮินดี) เหมือนกับผริศตา (ภาษาอูรดู) หมายถึงสภาพแสงและเบาที่บริสุทธิ์ |
218 | ปวนบุตร (อ่านว่า ปะ-วะ-นะ-บุด/บุด-ตฺระ) | ปวนปุตฺระ | पवनपुत्र ![]() | ![]() Pavanaputra | หนุมาน ได้รับการเรียกว่าปวนบุตร หมายถึง บุตรของปวน หนุมาน คือ ราชาของบรรดาลิงทั้งหลายในรามายณะ วรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย หนุมาน เป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีต่อรามเพียงผู้เดียว (มีรามเท่านั้นอยู่ในหัวใจ) และมีความเบาสบาย (เป็นลูกชายของปวนบุตร หรือ พระพาย และสามารถโบยบินได้) มีความกล้าหาญ และถ่อมตน ปวน หมายถึง ลม |
219 | ปาฐศาลา (อ่านว่า ปา-ถะ-สา-ลา) | ปาฐศาลา | पाठशाला ![]() | pāṭhaśālā | ปาฐศาลา หมายถึง ศาลา สถานที่ หรือ โรงเรียนสำหรับศึกษาเล่าเรียน ปาฐ หมายถึง บทเรียน ชั้นเรียน การบรรยาย (เหมือน ปาฐะ) และ ศาลา หมายถึง บ้าน ห้อง ห้องโถง ห้องใหญ่ |
220 | ปาณฑพ | ปาณฺฑว | पाण्डव ![]() | ![]() Pāṇḍav | ในราชโยคะ ปาณฑพ หมายถึง ลูกของพาพา ผู้เป็นพราหมณ์ของสังคมยุคที่พุทธิมีความรักเชื่อมต่อกับพาพา (ปรีตพุทธิ โดย ปรีตะ แปลว่า ความรัก) พาพา คือ ปัณฑา ผู้นำทางที่เป็นสัจ โดยคำว่าปาณฑพ มาจากคำว่า ปัณฑา หมายถึง ผู้นำทางให้อาตมากลับไปยังสันติธามะและสุขธามะ และลูกก็เป็นปัณฑาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ใน "มหาภารตะ" ได้แสดงไว้ว่า ปาณฑพ คือ พี่น้องชายทั้งห้า ได้แก่ ยุทธิษฐิระ อรชุน ภีมะ นกุล และ สหเทพ ตามลำดับ โดย ปาณฑพได้เลือกกฤษณะมาอยู่ฝ่ายตน และเป็นผู้มีชัยชนะสงครามอันยิ่งใหญ่เหนือเการพที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ยุทธิษฐิระ คือ พี่ชายคนโตของปาณฑพทั้งห้า เป็นผู้ดลใจให้อยู่อย่างไม่ไหวหวั่นในสนามรบ มีความซื่อสัตย์ มั่นคงในธรรม และได้รับการกล่าวว่าเป็นธรรมราช อรชุน คือ ผู้ที่ริเริ่ม เต็มไปด้วยมุ่งมั่นจดจ่อกับเป้าหมายของตน และมีความปรารถนาต้องการที่จะเรียนรู้ ภีมะ คือ ผู้เป็นสวรูปของพลัง มีความมุ่งมั่นและแน่วแน่ นกุล คือ นักการทูตที่มีความสามารถ ผู้มีสมดุลระหว่างความรักและกฏเกณฑ์ สหเทพ คือ ผู้ที่ให้ความร่วมมือโดยไม่คาดหวังสิ่งใดและมีทิพยพุทธิที่เข้าใจและรับสัญญาณล่วงหน้าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น |
221 | ปาณฑพภวนะ | ปาณฺฑว ภวน | पाण्डव भवन ![]() | ![]() Pāṇḍav bhavan | ปาณฑพภวนะ คือ สำนักงานใหญ่แห่งแรก และเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน สถานที่พักอาศัยด้วย ของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 โดยตั้งอยู่ที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ในราชโยคะ ปาณฑพ หมายถึง ลูกของพาพา ผู้เป็นพราหมณ์ของสังคมยุคที่พุทธิมีความรักเชื่อมต่อกับพาพา (ปรีตพุทธิ โดย ปรีตะ แปลว่า ความรัก) ภวนะ หมายถึง อาคาร สถานที่ |
222 | ปารเลากิก | ปารเลากิก | पारलौकिक ![]() | pārlaukik | อยู่เหนือ ไกลโพ้นจากโลกวัตถุ โลกของร่างกาย สิ่งชั่วคราว ปารเลากิก มาจากคำว่า ปาร หมายถึง อยู่เหนือ ไกลโพ้น กับ เลากิก หมายถึง โลก ทางโลก สิ่งชั่วคราว |
223 | ปารสพุทธิ (อ่านว่า ปา-ระ-สะ-พุด-ทิ) | ปารสพุทฺธิ | पारसबुद्धि ![]() | Pārasabuddhi | บรมบิดา บรมาตมา ได้รับสมญาว่า ปารสนาถ ท่านได้มาเปลี่ยนลูกจาก ปัตถรพุทธิ (พุทธิที่เป็นหิน) ให้กลายเป็นปารสพุทธิ (ทิพยพุทธิ) ในตำนานของฮินดูธรรมได้กล่าวว่า ปารสะ คือ หินวิเศษที่ไปแตะสิ่งใดก็ตาม จะทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นทองคำ หมายถึง ความบริสุทธิ์ แท้จริงแล้ว ปารสะ หมายถึง ญาณที่บรมบิดา บรมาตมามาให้แก่ลูก แล้วทำให้ลูกกลับมาบริสุทธิ์ นั่นคือ ลูกกลายเป็นปารสะที่มีปารสพุทธิ เช่นเดียวกับท่าน และลูกก็สามารถให้ญาณนี้ เพื่อทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ได้ด้วยเช่นกัน |
224 | บุณย์ | ปุณฺย | पुण्य ![]() | puṇya | บุณย์ หมายถึง บุญ การกระทําดี ความดี คุณงามความดี |
225 | ปุรุโษตตมะ/บุรุโษตตมะ | ปุรุโษตฺตม | पुरुषोत्तम ![]() | ![]() puruṣottam | คำว่า ปุรุโษตตมะ มาจากคำว่า ปุรุษ นั่นคือ บุรุษในภาษาไทย แต่ในราชโยคะ หมายถึง อาตมา และ ผู้ชาย (เมื่ออาตมาอยู่ในร่างกาย) กับคำว่า อุตตมะ แปลว่า สูงสุด ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ดังนั้น ปุรุโษตตมะ หมายถึง อาตมา หรือ มนุษย์ที่สูงสุด พาพาได้ลงมาที่โลกนี้ในสังคมยุค และทำให้มนุษย์กลับมาปุรุโษตตมะ จึงเรียกยุคนี้ว่า ปุรุโษตตมสังคมยุค |
226 | ปูตนา | ปูตนา | पूतना ![]() | ![]() Pūtanā | ในตำนานฮินดูธรรม ปูตนา เป็นอสูรหญิงที่กงส์ส่งมาฆ่ากฤษณะที่เป็นทารก ด้วยการปลอมตัวเป็นหญิงชาวบ้านมาหาและเลี้ยงดูกฤษณะที่เป็นทารก โดยปูตนา ได้ให้น้ำนมกฤษณะที่มียาพิษ แต่ไม่สามารถทำอะไรกฤษณะได้ และในที่สุดถูกฆ่าโดยกฤษณะ กงส์ คือ ปีศาจ ตัวละครจากภาควัต เป็นลูกพี่ลูกน้องกับนางเทวกี มารดาของกฤษณะ ปูตนา เป็นนามที่พาพา กล่าวถึงผู้หญิงที่มีกิเลสและอสุรีคุณ |
227 | ไปสา | ไปสา | पैसा ![]() | ![]() paisa | ไปสา หมายถึง เงิน และเป็นสกุลเงินที่ใช้ในประเทศอินเดีย โดย 100 ไปสา เท่ากับ 1 รูปี |
228 | ประกาศมณี | ปฺรกาศมณิ | प्रकाशमणि ![]() | ![]() Prakāśamaṇi | ประกาศมณี คือ ทาทีที่เป็นอดีตผู้บริหารสูงสุดของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย หลังจากพรหมาพาพาได้จากร่างสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) และเข้าสู่สภาพสัมปันนและสมบูรณ์ของผริศตาที่อวยักตะ หรือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) เมื่อปี พ.ศ. 2512 จนกระทั่งทาที ได้จากร่างสาการ เมื่อปี พ.ศ. 2550 ประกาศมณี หมายถึง มณีแห่งแสง มาจากคำว่า ประกาศ ที่แปลว่า แสง กับ มณี สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
229 | ปรกติปติ/ปรกติบดี (อ่านว่า ปฺรก-กะ-ติ-ปะ-ติ/ปฺรก-กะ-ติ-บอ-ดี) | ปฺรกฤติปติ | प्रकृतिपति ![]() | Prakṛtipati | ปรกติบดี เป็นหนึ่งในสมญาของบรมบิดา บรมาตมา ปรกติบดี มาจากคำว่า ปรกติ แปลว่า ธรรมชาติ วัตถุธาตุ กับ บดี แปลว่า ผู้สร้าง เจ้าของ นาย สามี ดังนั้น ปรกติบดี หมายถึง บดีของธรรมชาติ วัตถุธาตุ |
230 | ประชาปิตา/ประชาบิดา | ปฺรชาปิตา | प्रजापिता ![]() | ![]() Prajāpitā | ประชาปิตา มาจากคำว่า ประชา หมายถึง ประชาชน มวลมนุษย์ กับ ปิตา หมายถึง บิดา พ่อ ในสังคมยุค เมื่อศิวพาพาได้อวตารลงมาในร่างของ ทาทาเลขราช กฤปลานี เมื่อปี พ.ศ. 2479 ขณะที่ท่านมีอายุ 60 ปี และได้ให้ชื่อใหม่แก่ท่านว่า พรหมา เพื่อทำงานของการสถาปนาโลกใหม่ ยุคใหม่ โดยท่านได้เป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา ขณะเดียวกัน ท่านก็เพียรพยายามฝึกฝนปฏิบัติเป็นเวลา 33 ปี จนเข้าสู่สภาพสัมปันนและสมบูรณ์ของผริศตาที่อวยักตะ หรือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) จากสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) ในปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ พรหมา ได้อุทิศตนทั้งอาตมาและร่างกายของท่าน เพื่อเป็นเครื่องมือในการยกระดับมวลมนุษย์ ท่านจึงได้รับสมญาว่า ประชาบิดา นอกจากนี้ ศิวพาพาได้เรียก ประชาบิดา พรหมา ว่าเป็น อเลากิก บิดา ผู้เป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา ในการรับลูกมาเป็นบุตรบุญธรรมและให้การหล่อเลี้ยง ในประเทศไทย ได้มีอนุสรณ์ของ "พรหมา" ทั่วทุกหนแห่ง โดยรู้จักในนามว่า "พระพรหม" สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
231 | ประภุ/ประภู | ปฺรภุ | प्रभु ![]() | ![]() Prabhu | เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา ประภู แปลว่า ผู้มีอำนาจ ผู้มีความสามารถ |
232 | ประพฤติมรรค (อ่านว่า ปฺระ-พฺรึด /ปฺระ-พฺรึด-ติ-มัก) | ประวฺฤตฺติ มารฺค | प्रवृत्ति मार्ग ![]() | pravṛtti mārg | ประพฤติมรรค หมายถึง หนทางที่มีการประพฤติร่วมกับผู้อื่น ในราชโยคะ พาพาให้ลูกอยู่ในประพฤติมรรค ด้วยการใช้ชีวิตในครอบครัวที่มีการประพฤติในความสัมพันธ์ต่างๆ กับคนในครอบครัว แต่อยู่อย่างบริสุทธิ์และละวางเช่นดอกบัว ซึ่งตรงข้ามกับนิพฤติมรรค หมายถึง สันนยาสี ผู้อยู่ในหนทางการใช้ชีวิตสันโดษ ที่แยกตนเองออกไปอยู่โดยลำพังและสละละทิ้งทางโลก อนุสรณ์ของประพฤติมรรคในหนทางภักดี คือ วิษณุ และ มหาลักษมี ที่แสดงรูปรวมที่มีสี่แขน หมายถึง สองแขนของลักษมีกับสองแขนของนารายณ์ ประพฤติ หมายถึง ปฏิบัติ วางตน กระทำ ดำเนินตน นิพฤติ หมายถึง สันโดษ การเกษียณอายุ และ มรรค หมายถึง หนทาง สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ |
233 | ประสาท | ปฺรสาท | प्रसाद ![]() | ![]() prasād | ในหนทางภักดี ประสาท หรือ ประภูประสาท โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงอาหาร ที่ถวายให้กับประภู แล้วเชื่อกันว่าอาหารนั้นเต็มไปด้วยกระแสศักดิ์จากประภู เหมือนเป็นของทิพย์ แท้จริงแล้ว ทุกสิ่งที่เราจดจำเสมอว่าเป็นของที่เราได้รับจากประภู นั่นคือ ประสาท ประภู เป็นอีกนามหนึ่งของบรมบิดา บรมาตมา ประสาท หมายถึง โปรดให้ ยินดีให้ |
234 | ประหลาทะ/ประหลาท (อ่านว่า ปฺระ-หฺลาด) | ปฺรหฺลาท | प्रह्लाद ![]() | ![]() Prahlād | จากคัมภีร์ปุราณะของฮินดูธรรม หิรัณยกัศยปะ คือ ราชาที่เป็นอสูร ผู้เป็นภักตะของศิวะที่เพ่งเพียรปฏิบัติและทำตปัสยา (ตบะ) จนศิวะตกลงให้พรตามที่หิรัณยกัศยปะขอว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน หลังจากได้รับพร หิรัณยกัศยปะ ก็เลิกทำภักดีและให้ทุกคนมากราบไหว้ตนเอง ทั้งนี้ ประหลาท ลูกชายของหิรัณยกัศยปะ เป็นภักตะของวิษณุ หิรัณยกัศยปะจึงให้โหลิกา พี่สาวของตนพยายามฆ่าประหลาท จนโหลิกาถูกเผาจนตายเอง จึงเป็นที่มาในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) หลังจากนั้น ประหลาทได้ตอบด้วยความมั่นใจต่อหิรัณยกัศยปะที่ได้ท้าทายประหลาทว่า ถ้าวิษณุมีอยู่จริงขอให้ปรากฏออกมาจากเสาตรงทางเข้าออก และไปเตะเสา ทันใดนั้น วิษณุก็ได้อวตารและปรากฏออกมาจากเสาในรูปของนรสิงห์ (ร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต) ที่ไม่ใช่ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ ได้สังหารหิรัณยกัศยปะ ในเวลาพลบค่ำ ที่ไม่ใช่ทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ กิเลสทั้งห้าในรูปของอสูรถูกทำลายในสังคมยุค ที่ไม่ใช่ทั้งสัตยุค และ กลียุค นรสิงห์ หมายถึง พาพา ผู้ขจัดความทุกข์และกิเลสในโลกนี้ ประหลาท หมายถึง ลูกของพาพาที่มีศรัทธาต่อพาพา โดยไม่ถูกกระทบจากสิ่งที่ไม่ดีของญาติพี่น้องในครอบครัว และไม่ยอมจำนนต่อกิเลสใดๆ |
235 | ผายทา | ผายทา | फायदा ![]() | phāyadā | พาพาใช้คำ ผายทา พ้องกับคำ กายทา หมายถึง เมื่อลูกทำตามระเบียบ กฎเกณฑ์ที่พาพาให้ลูกในการดำเนินชีวิตของการเป็นพรหมากุมารและกุมารี ในสังคมยุค ลูกก็จะได้รับคุณประโยชน์ กายทา หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และ ผายทา หมายถึง คุณประโยชน์ กำไร |
236 | พกาสุระ/พกาสูร | พกาสุร | बकासुर ![]() | ![]() Bakāsur | ตามคัมภึร์ พกาสูร เป็นอสูรที่ร้ายกาจมาก และถูกฆ่าโดยกฤษณะ อกาสูร และพกาสูร เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีอสุรีคุณและสร้างอุปสรรคในการสถาปนาของบรมบิดา บรมอาตมา โดยกฤษณะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีทิพยคุณ พาพากล่าวว่า ผู้ที่มีอสุรีคุณพ่ายแพ้ต่อผู้ที่มีทิพยคุณ พกาสุระ/พกาสูร มาจากรากศัพท์คำว่า อสุร หรือ อสุระ แปลว่า ยักษ์ ปีศาจ ที่ภาษาไทยใช้คำว่า อสูร ทั้งนี้ สุร หรือ สุระ แปลว่า เทวดา ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา |
237 | พทรีนาถ (อ่านว่า พะ-ทรี-นาด) | พทฺรีนาถ | बद्रीनाथ ![]() | Badrināth | พทรีนาถ หมายถึง นาถผู้ที่มาและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ ศิวพาพา โดย นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ในหนทางภักดี ได้มีวัดพทรีนาถ ที่สร้างให้กับวิษณุ บนเขาหิมาลัยของรัฐอุตตราขัณฑ์ ตอนเหนือของประเทศอินเดีย และเป็นหนึ่งในสี่สถานที่จาริกแสวงบุญหลักของฮินดูธรรม แท้จริงแล้วนั่นคือวัดที่เป็นอนุสรณ์ของศิวะ |
238 | พพูล | พพูล | बबूल ![]() | ![]() Babūl | ต้นพพูละ คือ ต้นกระถินเทศของไทย ที่มีหนามแหลมคมมากทั่วทั้งต้น โดยหนามเปรียบกับกิเลส ที่มนุษย์ใช้ทิ่มแทงกันและกัน |
239 | พพูลนาถ | พพูลนาถ | बबूलनाथ ![]() | ![]() Babūlanāth | ในบางครั้ง พาพาจะกล่าวถึงพพูลนาถ ว่า พพุรีนาถ ด้วยเช่นกัน พพูลนาถ เป็นหนึ่งในสมญาที่เรียกบรมบิดา บรมอาตมา ที่หมายถึง นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ที่เปลี่ยนหนามให้กลายเป็นดอกไม้ นั่นคือเปลี่ยนป่าหนามของนรกให้กลายเป็นสวนดอกไม้ของสวรรค์ พพูลนาถ มาจากคำว่า ต้นพพูละ คือ ต้นกระถินเทศของไทย ที่มีหนามแหลมคมมากทั่วทั้งต้น โดยหนามเปรียบกับกิเลส ที่มนุษย์ใช้ทิ่มแทงกันและกัน กับคำว่า นาถ คือ นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
240 | พหินะ/พหนะ | พหิน/พหน | बहिन/बहन ![]() | ![]() bahin/bahan | พี่น้องหญิง |
241 | บหิศตะ | บหิศฺต | बहिश्त ![]() | ![]() bahiśt | บหิศตะ เป็นคำในภาษาอูรดู หมายถึง สวรรค์ |
242 | พาปะ | พาป | बाप ![]() | Bāp | พาปะ หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็น บรมบิดาสูงสุด บรมาตมาของอาตมาทั้งหมด พาปะ เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
243 | พาปทาทา | พาปทาทา | बापदादा ![]() | ![]() Bāpdādā | ศิวพาพา และ พรหมาพาพา อยู่รวมกัน จึงเรียกว่า พาปทาทา นั่นคือ พาปะ หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็น บรมบิดา บรมาตมา และทาทา หมายถึง พรหมาพาพา ผู้เป็นพี่ชายที่อาวุโส โดยคำว่า ทาทา ในภาษาสินธี แปลว่า พี่ชายที่อาวุโส ทั้งนี้ คำว่า ทาทา ในภาษาฮินดี หมายถึง ปู่ นั่นคือ ศิวพาพา ไม่ใช่ พรหมาพาพา พาพาและพาปะ เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
244 | พาปู | พาปู | बापू ![]() | ![]() Bāpū | พาปู หมายถึง พ่อ โดยทั่วไปจะเป็นการกล่าวถึง มหาตมะ คานธี ที่ได้รับเกียรติว่าเป็นพาปู ของประเทศอินเดีย แท้จริงแล้ว พาพา คือ พาปูของโลก หมายถึงพาปูของอาตมาทั้งหมด ไม่เพียงพาปูของประเทศอินเดียเท่านั้น |
245 | พาพา | พาพา | बाबा ![]() | Bābā | เป็นคำที่แสนหวานที่เรียกหรือกล่าวถึงศิวะ ผู้เป็นพ่อ ด้วยความรักและใกล้ชิด ดังนั้น เราเรียกท่านว่า ศิวพาพา ศิวะ เป็นชื่อที่แท้จริงและดังเดิมของบรมบิดา บรมาตมา พาพา เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
246 | พาพุรีนาถ | พาพุรีนาถ | बाबुरीनाथ ![]() | ![]() Bāburīnāth | ในบางครั้ง พาพาจะกล่าวถึงพพูลนาถ ว่า พพุรีนาถ ด้วยเช่นกัน พพูลนาถ เป็นหนึ่งในสมญาที่เรียกบรมบิดา บรมอาตมา ที่หมายถึง นาย ผู้เป็นที่พึ่ง ที่เปลี่ยนหนามให้กลายเป็นดอกไม้ นั่นคือเปลี่ยนป่าหนามของนรกให้กลายเป็นสวนดอกไม้ของสวรรค์ พพูลนาถ มาจากคำว่า ต้นพพูละ คือ ต้นกระถินเทศของไทย ที่มีหนามแหลมคมมากทั่วทั้งต้น โดยหนามเปรียบกับกิเลส ที่มนุษย์ใช้ทิ่มแทงกันและกัน กับคำว่า นาถ คือ นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
247 | พาหรยามี/พาเหียรยามี | พาหรยามี | बाहरयामी ![]() | bāharayāmī | พาเหียรยามี หมายถึง ผู้ที่รู้หรือสนใจสิ่งภายนอก นอกตนเอง พาเหียรยามี มาจากรากฐานคำว่า พาหระ หรือ พาหิระ แปลว่า ภายนอก พาพาบอกว่า ลูกไม่ควรเป็นพาเหียรยามี และใช้เปรียบเทียบกับคำว่าพาเหียรยามี ที่มีความหมายตรงกันข้ามกับอันตรยามีในแง่ของ พาพา คือ อันตรยามี ผู้ที่ล่วงรู้ทุกสิ่งข้างในตนเองทั้งหมด นั่นคือ ผู้ที่รู้ญาณทั้งหมด รวมถึงสิ่งที่ลูกทำอย่างซ่อนเร้นไว้ และ พรหมา คือ พาเหียรยามี ผู้ที่รู้สิ่งที่เกิดขึ้นในยัญ แต่ในหนทางภักดีเข้าใจว่า พาพาเป็นผู้ล่วงรู้ความลับภายในของทุกคน อันตร แปลว่า ภายใน |
248 | พินทุ | พินฺทุ | बिन्दु ![]() | ![]() Bindu | พินทุ แปลว่า จุด ศิวพาพากล่าวว่า อาตมา คือ ชโยติพินทุ (จุดแห่งแสง) ที่ละเอียดอ่อน ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถรับรู้และเกิดเป็นประสบการณ์ได้ ชโยติ แปลว่า แสง |
249 | พิรลา | พิรลา | बिड़ला ![]() | ![]() Biṛlā | พิรลา เป็นตระกูลครอบครัวนักธุรกิจของอินเดียที่ได้สร้างวัดพิรลา อุทิศให้กับลักษมี นารายณ์ ในตามเมืองต่างๆ ทั่วอินเดีย เช่น เดลี ชัยปุระ ราชสถาน เป็นต้น ด้วยภาวนาที่ลึกล้ำ โดยที่ไม่รู้และเข้าใจถึงหน้าที่ บทบาทของลักษมี นารายณ์ อย่างแท้จริง |
250 | พุทธิ | พุทธิ | बुद्धि ![]() | ![]() budhi | พุทธิ เป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบของอาตมา ที่ทำหน้าที่รับรู้ เข้าใจ แสดงเหตุผล แยกแยะ และตัดสิน |
251 | พุทธู | พุทฺธู | बुद्धू ![]() | ![]() buddhū | โง่เขลา |
252 | เบ | เบ | बे ![]() | ![]() be | พยัญชนะตัวที่สองของภาษาสินธี ในญาณพาพาได้กล่าวถึง เบ หมายถึง บาดชาฮี นั่นคือ อาณาจักร หรือ อำนาจการปกครองในสวรรค์ |
253 | พรหม | พฺรหฺม | ब्रह्म ![]() | ![]() Brahm | พรหม เป็นธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ พรหม เป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) ของพรหมาณฑ์ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่ของอาตมาและบรมาตมาที่นิราการ พรหมาณฑ์ เป็นอีกชื่อหนึ่งของบรมธามะ ประกอบด้วยคำว่า พรหม กับคำว่า อัณฑะ หมายถึง ไข่ เนื่องจากอาตมามีรูปเป็นจุดแห่งแสงที่รัศมีเป็นรูปไข่วงรี โลกมนุษย์ โลกวัตถุ หรือ โลกที่มีร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) |
254 | พรหมสมาชี | พฺรหฺม สมาชี | ब्रह्म समाजी ![]() | ![]() Brahm Samājī | พรหมสมาชี หมายถึง ผู้ที่บูชาพรหมว่าเป็นสิ่งที่จริงแท้สูงสุด พรหมสมาช เป็นนิกายที่เชื่อว่าพรหม คือ แสงที่ยิ่งใหญ่ เป็นบรมบิดา บรมาต มา |
255 | พรหมจารี | พฺรหฺมจารี | ब्रह्मचारी ![]() | ![]() Brahmacārī | ผู้ที่ถือพรหมจรรย์ หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ข้องแวะในกาม หรือ ละเว้นกาม โดยปรกติ จะหมายถึงการถือพรหมจรรย์ทางร่างกายตั้งแต่เกิด |
256 | พรหมโลก (อ่านว่า พฺรม-มะ-โลก) | ฺพฺรหฺมโลก | ब्रह्मलोक ![]() | ![]() Brahmlok | พรหมโลก หมายถึง พรหมาณฑ์ ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของบรมธามะ พรหมาณฑ์ คือ สถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) พรหมธาตุ คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ เป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) นั่นคือ ที่อยู่ของอาตมาและบรมาตมาที่นิราการ พรหมาณฑ์ ประกอบด้วยคำว่า พรหม กับคำว่า อัณฑะ หมายถึง ไข่ เนื่องด้วยอาตมามีรูปเป็นจุดแห่งแสงที่รัศมีเป็นรูปไข่วงรีอาศัยอยู่ในพรหมธาตุ โลกมนุษย์ โลกวัตถุ หรือ โลกที่มีร่างกาย ที่ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) |
257 | พรหมา (อ่านว่า พฺรม-มา) | พฺรหฺมา | ब्रह्मा ![]() | ![]() Brahmā | พรหมา คือ ภาคีรถของศิวพาพา โดยภาคีรถ มาจากคำว่า ภาคย์ แปลว่า มีโชค โชคดี รวมกับคำว่า รถ (พาหนะ) หมายถึง ร่างของพรหมา ดังนั้นพรหมา คือ รถที่โชคดีที่ศิวพาพามาใช้ทำงานของการสถาปนาสัตยุค โลกใหม่ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ พรหมาจึงเป็นนามหนึ่งในตรีมูรติ พรหมา ในหนทางภักดีและตำนาน รู้จักว่าเป็นเทวดาที่ละเอียดอ่อน เป็นผู้สร้าง ผู้เป็นพ่อและคู่ครองของสรัสวดี (เทวีของความรู้) และมีพาหนะเป็นหงส์ โดยพรหมา ได้รับนามเรียกต่างๆว่า พระพรหม พรหมธาดา ประชาบดี หงสรถ หรือ หงสวาหน จตุรพักตร์ และ ปรเมษฐ์ เป็นต้น ในราชโยคะ พรหมา คือ ผู้ที่ได้กลายมาเป็นบุตรบุญธรรมของศิวพาพา ซึ่งพรหมาเป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา จึงได้รับนามใหม่ว่า พรหมา จากนามเดิม ทาทาเลขราช กฤปลานี ได้มีอนุสรณ์หลักของพรหมา คือ วัดพรหมา ตั้งอยู่ที่ตำบลปุศกระ เมืองอัชเมระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และมีอยู่ทั่วทุกหนแห่งในประเทศไทย โดยรู้จักในนามว่า "พระพรหม" |
258 | พรหมาเทวดา | พฺรหฺมา เทวตา | ब्रह्मा देवता ![]() | ![]() Brahmā Devatā | พรหมาเทวดา ได้รับการจดจำว่าเป็นหนึ่งในบทบาทของตรีมูรติ (พรหมา วิษณุ และศังกร) |
259 | พรหมาโภชนะ (อ่านว่า พฺรม-มา-โพด-ชะ-นะ) | พฺรหฺมา โภชน | ब्रह्मा भोजन ![]() | ![]() Brahmā bhojan | พรหมาโภชนะ คือ อาหารสาตวิก (บริสุทธิ์) เป็นมังสวิรัติ ที่ไม่มีเนื้อสัตว์ หัวหอม กระเทียม ใดๆ ซึ่งทำขณะที่อยู่ในการจดจำระลึกถึงศิวพาพา และถวายให้กับศิวพาพาผ่านพรหมา ผู้เป็นสื่อกลาง โภชนะ แปลว่า อาหาร |
260 | พรหมามุขวงศาวลี/พงศาวลี | พฺรหฺมา มุข วงฺศาวลี | ब्रह्मा मुख वंशावली ![]() | ![]() Brahmā mukh vaṃśāvalī | พรหมากุมารและกุมารี เกิดจากความรู้ที่อาตมาได้รับจากศิวพาพาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พาพากล่าวว่า พราหมณ์ทางโลก คือ กุขพงศาวลี หมายถึง ผู้ที่เกิดจากกาม (ตัณหา ราคะ) ผ่านครรภ์ มุข หมายถึง ปาก พงศาวลี หมายถึง ลำดับเครือญาติที่เกิดตามกันมา โดย พงศ์ หรือ วงศ์ หมายถึง ตระกูล เหล่ากอ และ วลี หมายถึง เกิดเรียงตามกันมา |
261 | พรหมากุมาร (อ่านว่า พฺรม-มา-กุ-มาน) | พฺรหฺมา กุมาร | ब्रह्माकुमार ![]() | ![]() Brahmākumār | กุมารของพรหมา ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พรหมากุมาร คือ ผู้ทำตามทั้งศรีมัตของศิวพาพา และพรหมา ผู้เป็นเครื่องมือให้กับศิวพาพา กุมาร หมายถึง ลูกชาย และ มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปากของพรหมา |
262 | พรหมากุมารี (อ่านว่า พฺรม-มา-กุ-มา-รี) | พฺรหฺมา กุมารี | ब्रह्माकुमारी ![]() | ![]() Brahmākumārī | กุมารีของพรหมา ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พรหมากุมารี คือ ผู้ทำตามทั้งศรีมัตของศิวพาพา และพรหมา ผู้เป็นเครื่องมือให้กับศิวพาพา กุมารี หมายถึง ลูกสาว และ มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปาก ของพรหมา |
263 | พรหมาจารี (อ่านว่า พฺรม-มา-จา-รี) | พฺรหฺมาจารี | ब्रह्माचारी ![]() | ![]() Brahmācārī | ผู้ที่ทำตามพรหมาทุกย่างก้าว นั่นหมายถึง อยู่อย่างบริสุทธิ์ ทั้งความคิด คำพูด การกระทำ และ ความฝัน ไม่เพียงแค่ถือพรหมจรรย์ทางร่างกายเท่านั้น พรหมาจารี มาจากคำว่า พรหมา คือ ผู้ที่ได้กลายมาเป็นบุตรบุญธรรม เป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา กับ อาจารี หมายถึง ผู้ทำตาม ผู้มีจรรยา |
264 | พรหมาณฑ์ (อ่านว่า พฺรม-มาน) | พฺรหฺมาณฺฑ | ब्रह्माण्ड ![]() | ![]() Brahmāṇḍ | พรหมาณฑ์ เป็นอีกชื่อหนึ่งของบรมธามะ พรหมาณฑ์ คือ สถานที่ของพรหมธาตุที่ยิ่งใหญ่ (มหตัตวะ) พรหมธาตุ คือ ธาตุที่หก นอกเหนือจากธาตุทั้งห้าของโลกมนุษย์ เป็นแสงทิพย์ (แสงสีแดงทอง) นั่นคือ ที่อยู่ของอาตมาและบรมาตมาที่นิราการ พรหมาณฑ์ ประกอบด้วยคำว่า พรหม กับคำว่า อัณฑะ หมายถึง ไข่ เนื่องด้วยอาตมามีรูปเป็นจุดแห่งแสงที่รัศมีเป็นรูปไข่วงรีอาศัยอยู่ในพรหมธาตุ โลกมนุษย์ โลกวัตถุ หรือ โลกที่มีร่างกาย ที่ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า ได้แก่ ปฐพี หรือ ปฐวี (ธาตุดิน) ชล (ธาตุน้ำ) วายุ (ธาตุลม) อัคนี (ธาตุไฟ) และ อากาศ (อากาศธาตุ ที่ว่างเปล่า) |
265 | พราหมณ์ | พฺราหฺมณ | ब्राह्मण ![]() | ![]() Brāhman | พราหมณ์ คือ พรหมามุขพงศาวลี ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากขอพรหมา พราหมณ์ เป็นวรรณะสูงสุดในอินเดีย ที่เปรียบกับโจฏี (สูงสุด หรือ จุกที่เป็นจุดสูงสุดของร่างกาย) และเป็นอนุสรณ์ของพราหมณ์ทางโลกที่ไว้จุกกัน มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปาก ของพรหมา ในบางครั้ง พาพาใช้คำว่า พราหมณ์ หมายถึง พราหมณ์ชาย และ พราหมณี หมายถึง พราหมณ์หญิง |
266 | พราหมณ์ เทวดา กษัตริย์ แพศย์ (ไวศยะ) ศูทร | พฺราหฺมณ เทวตา กฺษตฺริย ไวศฺย ศูทฺร | ब्राह्मण देवता क्षत्रिय वैश्य शूद्र ![]() | Brāhman Devatā Kṣatriya Vaiśya Śūdra | อาตมาได้ผ่าน 5 วรรณะ หมายถึง สภาพของความบริสุทธิ์และคุณสมบัติต่างๆ ในวงจรของ 5 ยุค ได้แก่ 1. พราหมณ์ (สังคมยุค) คือ สภาพจรตีกลา ของการไต่ขึ้นสูง แสดงด้วยจุก สูงสุดของร่างกาย 2. เทวดา (สัตยุค) คือ สภาพสโตประธาน แสดงด้วยหน้าผาก ใบหน้าของร่างกาย 3. กษัตริย์ (เตรตายุค) คือ สภาพสโต แสดงด้วยไหล่ อกของร่างกาย 4. แพศย์ (ทวาปรยุค) คือ สภาพรโช แสดงด้วยท้องของร่างกาย 5. ศุูทร (กลียุค) คือ สภาพตโมประธาน แสดงด้วยเท้าของร่างกาย โดยทางโลกได้อธิบายและจัดแบ่งชนเป็น 4 วรรณะ มีลักษณะหน้าที่ต่างกัน ดังนี้ 1. วรรณะพราหมณ์ มีหน้าที่ กล่าวมนตร์ ให้คำปรึกษาแก่พระเจ้าแผ่นดิน ส่วนพวกนักบวชทำหน้าที่สอนศาสนา 2. วรรณะกษัตริย์ หมายถึง นักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันอาณาจักร รวมทั้งพระเจ้าแผ่นดิน นักปกครอง 3. วรรณะแพศย์ มีหน้าที่เป็น พ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร 4. วรรณะศูทร มีหน้าที่เป็น ผู้ใช้แรงงาน กรรมกร ลูกจ้าง แต่จะไม่กล่าวถึง เทวดา เพราะมนุษย์เข้าใจกันว่า เทวดา อยู่บนท้องฟ้า ไม่ได้อยู่ที่โลกนี้ อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้เป็นการสืบทอดวรรณะในทางสายเลือด ไม่ได้ตามหน้าที่ใดๆ จรตีกลา มีความหมายว่า สภาพของการไต่ขึ้นสูง ตรงข้ามกลับ อุตรตีกลา ที่หมายถึง สภาพของการตกต่ำลงมา วรรณะ เป็นคำสันสกฤตที่หมายถึง สี ผิว ชนิด เพศ |
267 | บร/บระ | บร | बड़ ![]() | ![]() baṛ | บระ เป็นคำภาษาสินธี หมายถึง ต้นบันยัน หรือ ต้นไทรของประเทศไทย บันยันมีลักษณะส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอิงอาศัย มีรากอากาศมีความยาวลงถึงพื้นจนดูเหมือนกับมีลำต้นมากมายเกิดขึ้นมาเต็มไปหมด กิ่งก้านสาขาแผ่กว้างจนนับได้ว่าเป็นต้นไม้ที่แผ่กว้างมากที่สุดในโลก พาพาได้กล่าวถึง ต้นบันยันที่ลำต้นเดิมได้หายไป และมีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างออกไป โดยลำต้นเปรียบเทียบกับอาทิ สนาตน เทวี เทวดาธรรม ในสัตยุค (ยุคทอง) และเตรตายุค (ยุคเงิน) ที่ได้หายไป เหลือเพียงร่องรอยหรืออนุสรณ์ในหนทางภักดีเท่านั้น และกิ่งก้านเปรียบเทียบธรรมอื่นๆ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) เป็นต้นมา บันยัน เป็นต้นไม้ประจำชาติอินเดีย อาทิ แปลว่า ต้น แรก และ สนาตน แปลว่า เป็นนิตย์ คือ ไม่สิ้นสุด ไม่รู้จักตาย |
268 | ภักดี | ภกฺติ | भक्ति ![]() | bhakti | ภักดี คือ ระบบและขนบธรรมเนียมที่อยู่บนพื้นฐานของพิธีกรรม การกราบไหว้บูชา ด้วยความรัก ศรัทธาที่งมงายต่อบรมบิดา บรมาตมา โดยไม่ได้มีญาณที่แท้จริงและถูกต้อง ทั้งนี้ ภักดี เป็นการกราบไหว้บูชา วัตถุธาตุ และ ผู้ที่มีร่างกาย เช่น เทวี เทวดา เป็นต้น ซึ่งได้มีการเริ่มทำภักดีตั้งแต่ทวาปรยุค ให้กับศิวะที่ในรูปของศิวลึงค์ |
269 | ภคตะ/ภักตะ (อ่านว่า พะ-คะ-ตะ/พัก-ตะ) | ภคต/ภกฺต | भगत/भक्त ![]() | bhagat/bhakt | ภคตะ/ภักตะ คือ ผู้ทำภักดี ผู้กราบไหว้บูชา |
270 | ภควาน (อ่านว่า พะ-คะ-วาน) | ภควาน | भगवान ![]() | Bhagavān | ภควาน เป็นอีกนามหนึ่งของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่เปิดโชค ผู้ที่สร้างโชค ภควาน มาจากรากศัพท์ของคำว่า ภาคย์ แปลว่า มีโชค โชคดี |
271 | ภควาน ภควตี/ภควดี (อ่านว่า พะ-คะ-วาน พะ-คะ-วะ-ตี/พะ-คะ-วะ-ดี) | ภควาน ภควตี | भगवान भगवती ![]() | ![]() Bhagavān Bhagavatī | ภควาน มีเพียงผู้เดียวเท่านั้น และภควานมาทำให้ลูกทัดเทียมกับท่าน ในสังคมยุค โดยในภารตะได้มีการกล่าวเรียก ภควดี ลักษมี และ ภควาน นารายณ์ นั่นคือ สมญาของผู้ปกครองในโลกใหม่ แต่ไม่ใช่ว่าราชาเป็นเช่นไร แล้วประชาจะเป็นเช่นนั้นในแง่ที่ว่า ประชาจะไม่ได้รับสมญาว่า ภควาน ภควดี อย่างไรก็ตามทั้งราชาและประชา ก็ได้รับการเรียกว่า เทวี เทวดา ในหนทางภักดีได้ กล่าวว่า มีเทวี เทวดา ถึง 33 โกฏิ เท่ากับ 330 ล้าน ซึ่งเท่ากับจำนวน เทวดา เทวี ในปลายเตรตายุค (ยุคเงิน ) 1 โกฏิ เท่ากับ 10 ล้าน |
272 | ภัฏฐี | ภฏฺฐี | भट्ठी ![]() | bhaṭṭhī | ภัฏฐี คือ เตาเผาที่ร้อนแรง ที่สามารถแยกโลหะหรือสิ่งเจือปนออกจากทองคำ นั่นคือ ทำให้บางสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากของเดิมเมื่อใส่ลงไปในภัฏฐี พาพากล่าวว่า เมื่อลูกนั่งอยู่ในภัฏฐีที่เปรียบกับอัคนีของโยคะ ลูกก็สามารถขจัดบาปในอาตมาออกไป เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับมาบริสุทธิ์ และมีสภาพที่ขึ้นสูงได้ |
273 | ภัณฑารา | ภณฺฑารา | भण्डारा ![]() | ![]() bhaṇḍārā | ภัณฑารา หมายถึง ครัว หรือ คลังสมบัติ พาพาให้ลูกเป็นผู้อุทิศตน ด้วยการเข้าใจว่าทุกสิ่งเป็นของพาพา ที่ได้ยกมอบให้ลูกด้วยความไว้วางใจ และลูกก็คือขอทานที่ไม่มีอะไรเป็นของตนเอง นั่นคือ เป็นดูแลผลประโยชน์ให้กับภัณฑาราของพาพา แม้กระทั่ง ลูกอาศัยอยู่ที่บ้านกับครอบครัวก็ตาม แล้วลูกจะได้รับการหล่อเลี้ยงตอบแทนจากพาพาถึง 21 ชาติเกิด ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ เครื่องใช้ และ ภัณฑารา หมายถึง ครัว หรือ คลังที่เก็บ |
274 | ภัณฑารี | ภณฺฑารี | भण्डारी ![]() | ![]() bhaṇḍārī | ในราชโยคะ ภัณฑารี หมายถึง กล่องสร้างโชค สำหรับลูกใส่เงินที่นำมาใช้ในยัญ เพื่อเป็นการสร้างโชคให้กับตนเอง โดยทั่วไปแล้ว ภัณฑารี หมายถึง ผู้ดูแลสมบัติ สินค้า หรือ พัสดุ ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ เครื่องใช้ |
275 | ภรตมิลาปะ (อ่านว่า พะ-ระ-ตะ-มิ-ลา-ปะ) | ภรต มิลาป | भरत मिलाप ![]() | ![]() Bharat milāp | เทศกาลภรตมิลาปะ เป็นวันที่ถัดมาจากวันทศหรา โดยตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ ของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี เทศกาลภรตมิลาปะ มีการฉลองเพื่อระลึกถึงการเดินทางกลับอโยธยาของพระราม หลังจากถูกเนรเทศเป็นเวลา 14 ปี และกลับมาพบกันอีกกับพระภรต (พระพรต ในภาษาไทย) ผู้เป็นน้องชาย สาระของเทศกาลนี้คือ ชัยชนะของสัตย์เหนือสิ่งหลอกลวง สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย |
276 | ภวนะ | ภวน | भवन ![]() | ![]() bhavan | อาคาร สถานที่ ในยัญของพาพา ก็มีการให้นามของอาคาร สถานที่ต่างๆ เข่น ปาณฑพภวนะ โอม สันติภวนะ และ ศักดิ์ภวนะ เป็นต้น |
277 | ภัสมาสุระ/ภัสมาสูร | ภสฺมาสุร | भस्मासुर ![]() | ![]() Bhasmāsur | ในตำนานของฮินดูธรรม ภัสมาสูร เป็นอสูรผู้ได้รับวรทาน (พรสูงสุด) จากศิวะ เนื่องจากทำตปัสยา (ตบะ) อย่างแรงกล้า ที่ว่าเมื่อมือของเขาไปสัมผัสศีรษะของใครก็ตาม จะทำให้ผู้นั้นถูกเผาไหม้จนกลายเป็นเถ้าถ่าน และต่อมาภัสมาสูร ต้องการแต่งงานกับปารวตี ชายาของศิวะ ดังนั้น วิษณุจึงเข้ามาช่วยศิวะ ด้วยการอวตารเป็นผู้หญิงที่สวยงามและชักชวนให้ภัสมาสูรร่ายรำตาม จนมีท่าหนึ่งที่ต้องวางมือไว้บนศีรษะตนเอง ทำให้ภัสมาสูรถูกเผาไหม้กลายเป็นเถ้าถ่าน นัยสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ วรทานที่ได้รับจากพาพา จะต้องนำไปใช้อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นจะเป็นการสาปแช่งตนเอง ภัสมาสุระ/ภัสมาสูร มาจากคำว่า ภัสมะ แปลว่า เถ้า ธุลี กับคำว่า อสุร หรือ อสุระ แปลว่า ยักษ์ ปีศาจ ที่ภาษาไทยใช้คำว่า อสูร ทั้งนี้ สุร หรือ สุระ แปลว่า เทวดา |
278 | ภาย | ภาย | भाई ![]() | ![]() bhāī | พี่น้องชาย |
279 | ภาควตะ/ภาควัต | ภาควต | भागवत ![]() | ![]() bhāgavat | ภาควัต เป็นคัมภีร์ฮินดูที่รวมเรื่องราวทิพยลีลา หรือ ทิพยจริต ต่างๆ ของกฤษณะ ผู้เป็นภควานของหนทางภักดี ลีลา หมายถึง การกระทำ ท่าทางอันงามสง่า และ จริต หมายถึง การดำเนิน การทำ การประพฤติ |
280 | ภาคีรถ | ภาคีรถ | भागीरथ ![]() | ![]() Bhāgīrath | ภาคีรถ มาจากคำว่า ภาคย์ แปลว่า มีโชค โชคดี รวมกับคำว่า รถ (พาหนะ) หมายถึง ร่างของพรหมา ดังนั้น พรหมา คือ รถที่โชคดี ที่ศิวพาพาเข้ามาใช้ในสังคมยุค เพื่อทำงานของการสถาปนาสัตยุคโลกใหม่ที่สมบูรณ์ ในหนทางภักดีกล่าวว่า ราชาภาคีรถ ได้ออกบำเพ็ญตบะขอพร เพื่อให้ เทวีคงคาปล่อยน้ำลงจากสวรรค์ ไหลผ่านกองกระดูกของบรรดาบรรพบุรุษของตนที่ถูกสาปไว้ จึงจะพ้นบาปได้ แต่พื้นดินจะต้านพลังและกำลังน้ำไม่ไหว ต่อมาภาคีรถจึงได้ขอให้ศังกร (ซึ่งเชื่อกันว่าศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน) ช่วยเหลือ ด้วยการให้เทวีคงคาที่ประทานน้ำให้ตกลงมาที่ที่มวยผมของศังกร ก่อนที่จะไหลลงสู่แผ่นดินในโลกมนุษย์ โดยมีนัยสำคัญว่า ศังกร ก็คือ ศิวพาพา ผู้ที่ใช้มวยผมรองรับแม่น้ำคงคา หมายถึง เป็นผู้ที่มีพุทธิเต็มไปด้วยญาณ ซึ่งเปรียบกับแม่น้ำคงคาอันทรงพลัง โดยมีภาคีรถ คือ พรหมา เป็นเครื่องมือที่ศิวพาพาให้ญาณแก่มวลมนุษย์ ผ่านมุข (ปาก) ของพรหมา ในหนทางภักดียังกล่าวว่า ต้นกำเนิดบรรพบุรุษของภาคีรถมีนามว่า สคร แท้จริงแล้ว หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็นสาครแห่งญาณ เมื่อลูกของท่านตกเข้าไปสู่กิเลส จึงถูกสาปแช่งกลายเป็นกระดูกและเถ้าถ่าน ดังกล่าวข้างต้น |
281 | ภารตะ | ภารต | भारत ![]() | ![]() bhārat | สถานที่เกิดของศิวะ และเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับโลกใหม่ จะมีการสถาปนาขึ้นมา "ภารตะ" คือ ชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐอินเดีย และระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของอินเดีย มาตราแรกว่า "อินเดีย คือ ภารตะเป็นสาธารณรัฐ" ดังนั้นชื่อเรียกประเทศว่า อินเดียและภารตะ จึงใช้อย่างเป็นทางการ เท่าเทียมกัน |
282 | ภีละ | ภีล | भील ![]() | Bhīl | เอกัลวยะ เป็นตัวละครจาก "มหาภารตะ" เอกัลวยะ เป็นภีละ หมายถึง เด็กชนเผ่าพื้นเมือง ได้แอบเรียนรู้การยิงธนูจากโทรณาจารย์ ครูสอนยิงธนู ขณะที่สอนให้แก่ปาณฑพและเการพ ถึงกระนั้นก็ตาม เอกัลวยะก็มีความเชี่ยวชาญในการยิงธนูได้ดีกว่าปาณฑพและเการพ พาพา ได้กล่าวว่าลูกบางคนไม่ได้อาศัยอยู่กับพาพา แต่สามารถก้าวหน้ากว่าผู้ที่อยู่กับพาพาเสียอีก |
283 | ภีษมะ ปิตามหะ (มีการเขียนว่า ปิตามะห์ ด้วย) | ภีษฺม ปิตามห | भीष्म पितामह ![]() | Bhīṣma pitāmah | ภีษมะ ปิตามหะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ โดยมีศักดิ์เป็นปู่ของเการพและปาณฑพใน "มหาภารตะ" ภีษมะ ปิตามหะ ได้สาบานเพื่อทำให้พ่อของตนเองผู้เป็นราชาได้มีความสุข ว่าจะถือพรหมจรรย์ตลอดชีวิต และให้การสนับสนุน หรือ อยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ที่ขึ้นครองบัลลังก์ ดังนั้นภีษมะจึงเป็นนักรบอยู่ฝ่ายเการพที่ไม่มีใครเทียบได้ในการรบ และไม่มีใครสามารถเอาชนะได้แม้แต่อรชุนก็ตาม แต่ให้คำสาบานว่าจะไม่รบกับเพศตรงข้าม และได้วางลูกศรและคันธนูลงเมื่อต้องรบกับสตรีที่อยู่ข้างหน้า จึงเป็นเหตุให้ภีษมะต้องพ่ายแพ้ในที่สุด นั่นหมายถึง ภีษมะ เป็นสัญลักษณ์ของนักบวช นักบุญ บัณฑิต หรือ ผู้รู้ทั้งหลาย ที่ในเวลาสุดท้ายก็ต้องมายอมรับความรู้จากพรหมากุมารี ที่หมายถึง แม่และกุมารี พาพาได้กล่าวถึงภีษมะในมุรลีเพื่อทำให้แม่ และ กุมารีทั้งหลายจดจำและนึกได้ว่าตนเองแข็งแกร่งพอที่จะมีชัยชนะเหนือผู้อื่นได้ ปิตามหะ หมายถึง ปู่ |
284 | โภค | โภค | भोग ![]() | ![]() bhog | โภค หมายถึง การถวายอาหาร สิ่งที่รับประทานหรือดื่มได้ให้กับบรมบิดา บรมาตมา นอกจากนี้ โภค ยังใช้ประกอบกับคำอื่นที่ หมายถึง การได้รับความทุกข์ทรมานที่ได้รับ เช่น กรรมโภค คือ ความทุกข์ทรมานที่ได้รับจากกรรมที่ทำ |
285 | โภคี | โภคี | भोगी ![]() | bhogī | โภคี หมายถึง ผู้ที่หมกมุ่นอยู่กับความสุขจากประสาทสัมผัสทางร่าง เป็นคำที่ตรงข้ามกับโยคี โยคี หมายถึง ผู้มีโยคะกับบรมบิดา บรมาตมา และมีความสุขเหนือประสาทสัมผัส |
286 | ภระมรี (อ่านว่า พฺระ-มะ-รี) | ภฺรมรี | भ्रमरी ![]() | ![]() Bhramarī | ภระมรี เป็นผึ้งตัวเมียที่ส่งเสียงร้องภูงๆ สามารถให้การหล่อเลี้ยงแก่แมลงอื่น เพื่อทำให้แมลงอื่นส่งเสียง และมีประพฤติกรรม การกระทำ เป็นเช่นเดียวกับตนเอง ทั้งนี้ พาพาให้ลูกเป็นเช่น ภระมรี ที่ส่งเสียงร้องภูงๆ นั่นคือ ให้ความรู้แก่ผู้อื่นและทำให้ผู้อื่นทัดเทียมกับลูก ภระมรี หมายถึง ภมรี ผึ้งตัวเมีย |
287 | ภรัษฏาจารี (อ่านว่า พฺรัดฺ-ตา-จา-รี) | ภฺรษฺฏาจารี | भ्रष्टाचारी ![]() | bhraṣṭācārī | ภรัษฏาจารี หมายถึง ผู้ที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดผ่านครรภ์ด้วยกิเลสของกาม (ตัณหา ราคะ) และมีพฤติกรรม การกระทำที่มีกิเลส ตกต่ำ ไม่เพียงแค่คดโกง ทุจริต ติดสินบนเท่านั้น ในสังคมยุค พาพามาเปลี่ยนลูกจากภรัษฏาจารี ชาวนรก ให้เป็น เศรษฐาจารี ชาวสวรรค์ เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ ภรัษฏะ แปลว่า ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และ จารี แปลว่า ผู้ประพฤติ |
288 | มนตร์ (สันสกฤต)/มนต์ (บาลี) | มนฺตฺระ | मंत्र ![]() | mantra | ในหนทางภักดี มนตร์ คือ คําศักดิ์สิทธิ์ สําหรับท่องสวดเพื่อเป็นสิริมงคล และทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับคำนั้นๆ พาพา ได้ให้มนตร์หลักแก่ลูก คือ มนมนาภวะ และ มัธยาชีภวะ ที่จดจำด้วยพุทธิ ไม่ต้องท่องสวดใดๆ |
289 | มธุพน (อ่านว่า มะ-ทุ-พน หรือ มะ-ทุ-พะ-นะ) | มธุพน | मधुबन ![]() | ![]() Madhuban | มธุพน เป็นนามใช้เรียกสถานที่ตั้งของ ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ณ ภูเขาอาพู มธุพน แปลว่า ป่าน้ำผึ้ง โดย ดั้งเดิมนั้นเรียกว่า มธุวน แต่ต่อมาได้กลายเป็น มธุพน อย่างไรก็ตามก็มีความหมายเดียวกัน มธุพน มาจากคำว่า มธุ แปลว่า นํ้าผึ้ง และ วน หรือ พน แปลว่า ป่า |
290 | มัธยาชีภวะ (อ่านว่า มัด-ทะ-ยา-ชี-พะ-วะ) | มธฺยาชี ภว | मध्याजी भव ![]() | madhyājī bhav | มัธยาชีภวะ มาจากพื้นฐานคำว่า มัธยะ แปลว่า กลาง ระหว่างกลาง นั่นหมายถึง วิษณุผู้ที่อยู่ตรงกลางของภาพตรีมูรติ พาพาให้ลูกจดจำวิษณุเป็นเป้าหมายที่ลูกต้องเพียรพยายาม เพื่อจะกลายเป็นเช่นนั้นในอนาคต |
291 | มน (อ่านว่า มะ-นะ หรือ มน) | มน | मन ![]() | ![]() man | ใจ หรือ จิตใจ เป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบของอาตมา |
292 | มนมตะ/มนมัต | มนมต | मनमत ![]() | manamat | การทำตามความคิด การกำหนดหรือหนทางของจิตใจตนเอง มนมัต มาจากคำว่า มน หมายถึง ใจ จิตใจ กับ มัต มาจากรากศัพท์คำว่า มติ หมายถึง ความคิด การกำหนด หนทาง |
293 | มนรส | มนรส | मनरस ![]() | manaras | พาพากล่าวว่า ในหนทางของญาณ ลูกรับฟังญาณที่เป็นสัตย์ด้วยมนรส นั่นคือ ความไพเราะ ความสุข และความซาบซึ้งจากข้างในอาตมาด้วยความเข้าใจ โดยพาพาเปรียบเทียบมนรสกับสิ่งที่ลูกรับฟังด้วยกันรสจากหนทางภักดี นั่นคือ ฟังรื่นหู เพลิดเพลินเท่านั้น มน หมายถึง ใจ จิตใจ รส หมายถึง ความไพเราะ ความสุข ความเบิกบานใจ และ กาน หมายถึง หู |
294 | มโนหระ | มโนหร | मनोहर ![]() | ![]() Manohar | เป็นนามของหนึ่งในบรรดาทาที ที่เป็นเพชรพลอยเริ่มแรกในยัญของพาพา คำว่า มโนหระ หมายถึง ผู้ที่ดึงดูดและเอาชนะหัวใจ |
295 | มนมนาภวะ (อ่านว่า มน-มะ-นา-พะ-วะ) | มนฺมนาภว | मन्मनाभव ![]() | manmanābhav | มนมนาภวะ หมายถึง การคงจิตใจของลูกไว้กับฉัน (พาพา) ด้วยการหันเหจิตใจของลูกอยู่กับฉัน จดจำฉัน มนมนาภวะ มาจากคำว่า มน หมายถึง จิตใจ มนา หมายถึง กับ (ฉัน) หรือ ใน (ฉัน) และภวะ หมายถึง การคงไว้ |
296 | มัมมา | มมฺมา | मम्मा ![]() | ![]() mammā | มัมมา คือ แม่ของยัญ ผู้เล่นบทบาทที่สำคัญยิ่งในการดูแลยัญตั้งแต่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2479 จนถึง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ที่เข้าสู่สภาพกรรมาดีต และได้ละร่างไปเล่นบทบาทของการทำเสวาที่ละเอียดอ่อน ทั้งนี้ มัมมาได้รับสมญาว่า สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น มัมมาจะกลายเป็นราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ คำว่า มัมมา แปลว่า แม่ |
297 | มรรยาท/มารยาท | มรฺยาทา | मर्यादा ![]() | ![]() maryādā | ตามตัวอักษรคำว่า มรรยาท/มารยาท หมายถึง ขอบเขต กำหนด หรือ เส้นเขตแดน ในราชโยคะ มรรยาท/มารยาท หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตของพรหมากุมารและกุมารี ผู้เป็นพราหมณ์ที่แท้จริง พาพากล่าวว่า ลูก คือ มรรยาท/มารยาท ปุรุโษตตมะ หมายถึง อาตมา หรือ มนุษย์ที่สูงสุด ผู้ทำตามมรรยาท/มารยาทในหนทางของพาพา |
298 | มหาตมา/มหาตมะ | มหาตฺมา | महात्मा ![]() | mahātmā | มหาตมะ หมายถึง อาตมาที่ยิ่งใหญ่ โดยมาจากคำว่า มห แปลว่า ยิ่ง ใหญ่ กับ อาตมา ในราชโยคะ มหาตมะ เป็นอาตมาที่รู้แจ้งและอยู่อย่างบริสุทธิ์ |
299 | มหาน | มหานฺ | महान् ![]() | mahān | ใหญ่ ยิ่งใหญ่ |
300 | มหารถี | มหารถี | महारथी ![]() | ![]() mahārathī | มหารถี หมายถึง ผู้ขี่ช้าง นักรบที่ยิ่งใหญ่ และเป็นอาตมาที่กล้าหาญ และมีชัยชนะ มหารถี มาจากคำว่า มหา แปลว่า ใหญ่ ยิ่งใหญ่ กับ รถี แปลว่า ผู้ขับขี่รถ หรือ พาหนะ |
301 | มหาราษฏระ | มหาราษฺฏฺระ | महाराष्ट्र ![]() | Mahārāṣṭra | มหาราษฏระ เป็นหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ ติดต่อกับกับทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อ มุมไบ พาพากล่าวว่า มหาราษฏระ เป็นดินแดนที่ยิ่งใหญ่ มหาราษฏระ มาจากคำว่า มหา แปลว่า ยิ่งใหญ่ กับ ราษฏระ แปลว่า ดินแดน แคว้น คำไทยเขียนว่า ราษฎร์ หรือ ราษฎร |
302 | มหาวีระ | มหาวีร | महावीर ![]() | Mahāvīr | วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นนักรบที่กล้าหาญ ไม่ไหวหวั่น สั่นคลอนใดๆ นั้นหมายถึง ลูกของพาพา แต่ในหนทางภักดี ส่วนใหญ่จะให้สมญานี้กับหนุมาน มหาวีระ มาจากคำว่า มหา หมายถึง ยิ่งใหญ่ กับ วีระ หมายถึง กล้าหาญ |
303 | มาเตศวรี | มาเตศฺวรี | मातेश्वरी ![]() | ![]() Māteśvarī | มาเตศวรี เป็นสมญาของมัมมา ผู้ดูแลยัญของพาพา มาเตศวรี มาจากคำว่า มาตา หมายถึง มารดา กับ อิศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง |
304 | มานสโรวระ | มานสโรวร | मानसरोवर ![]() | Mānsarovar | มานสโรวระ ทะเลสาบน้ำจืด อยู่บนเขาไกรลาส เทือกเขาหิมาลัย ประเทศจีน ในตำนานได้มีการกล่าวว่า ผู้ที่ดำลงไปในมานสโรวระจะได้รับการชำระล้างบาป ทำให้กลับมาบริสุทธิ์ นั่นคือ กลายเป็นปรี และผู้ที่ดื่มน้ำจากสระนี้ เมื่อตายแล้วจะได้ไปยังศิวาลัย พาพากล่าวว่า แท้จริงแล้ว เมื่อลูกดำลงไปในญาณสโรวระ ทะเลสาบของญาณ แล้วจะกลายเป็นปรี นั่นหมายถึง ญาณของพาพา ไม่ใช่น้ำจากทะเลสาบ นอกจากนี้ในตำนานฮินดู เชื่อกันว่า ทะเลสาบได้ถูกสร้างขึ้นมาในจิตใจของพรหมาเทวดาก่อน แล้วจึงปรากฏเป็นมานสโรวระ บนโลกนี้ มานสโรวระ เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต ประกอบด้วยคำว่า มาน หมายถึง มน แปลว่า ใจ จิตใจ กับ สโรวระ แปลว่า ทะเลสาบ ปรี (ภาษาฮินดี) เหมือนกับผริศตา (ภาษาอูรดู) หมายถึงสภาพแสงและเบาที่บริสุทธิ์ |
305 | มาเมกมฺ | มาเมกมฺ | मामेकम् ![]() | ![]() māmekam | มาเมกมฺ หมายถึง ฉันผู้เดียวเท่านั้น มาเมกมฺ มาจากคำว่า มามฺ คือ ฉัน และ เอกมฺ คือ ผู้เดียว พาพา บอกลูกว่า จดจำ "มาเมกมฺ" หมายถึง จดจำฉันผู้เดียวเท่านั้น |
306 | มาสเตอร์ ญาณสุริยะ | มาสเตอร์ ญาณ สูรฺย | मास्टर ज्ञान सूर्य ![]() | master gñān sūrya | มาสเตอร์ ญาณสุริยะ หมายถึง ลูกของญาณสุริยะ มาสเตอร์ ญาณสุริยะ เป็นสมญาของลูกที่ได้รับมรดกของคุณสมบัติจาก พาพา ผู้ได้รับสมญาว่าเป็นญาณสุริยะ นั่นคือ พาพามาทำให้ลูกเป็นญาณสุริยะที่ทัดเทียมกับท่าน ญาณ หมายถึง ความรู้ และ สุริยะ หมายถึง พระอาทิตย์ พาพาใช้คำว่า มาสเตอร์ ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยคำว่า นาย ในภาษาฮินดี คือ มาลิกะ |
307 | มาสเตอร์ สรรพศักดิ์มาน | มาสเตอร์ สรฺวศกฺติมานฺ | मास्टर सर्वशक्तिमान् ![]() | master sarvaśaktimān | มาสเตอร์ สรรพศักดิ์มาน หมายถึง ลูกของสรรพศักดิ์มาน มาสเตอร์ สรรพศักดิ์มาน เป็นสมญาของลูกที่ได้รับมรดกของคุณสมบัติจากพาพา ผู้ได้รับสมญาว่าเป็นสรรพศักดิ์มาน นั่นคือ พาพามาทำให้ลูกเป็นสรรพศักดิ์มานที่ทัดเทียมกับท่าน โดยสามารถใช้สรรพศักดิ์ในเวลาที่ถูกต้อง ทุกสถานการณ์ตามที่ต้องการ ด้วยการมีพุทธิที่เชื่อมต่อกับพาพาตลอดเวลา สรรพศักดิ์มาน มาจากคำว่า "สรรพ" ที่แปลว่า ทุกสิ่ง ทั้งปวง ทั้งหมด กับคำว่า "ศักดิ์" แปลว่า กำลัง พลังอำนาจ ความสามารถ นั่นหมายถึง ผู้ที่มีศักดิ์ทั้งหมด พาพาใช้คำว่า มาสเตอร์ ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยคำว่า นาย ในภาษาฮินดี คือ มาลิกะ |
308 | มิลนะ | มิลน | मिलन ![]() | ![]() milan | มิลนะ หมายถึง การพบปะ สังคมยุค คือ มิลนะที่แท้จริงระหว่างอาตมาและบรมาตมา |
309 | มีรา | มีรา | मीरा ![]() | ![]() Mīrā (Meerā) | เรื่องราวของมีรา มีชื่อเสียงในรัฐราชสถาน ว่าเป็นภักตะที่แท้จริงของกฤษณะ โดยมีราคิดว่าตนเองแต่งงานกับกฤษณะ ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จึงเฝ้าแต่ทำภักดี ร้องเพลงและร่ายรำกับกฤษณะ ด้วยความรักที่ลึกล้ำ ทั้งวันและคืน ถึงแม้ว่าพ่อแม่ให้แต่งงานไปอยู่กับสามีก็ตาม แต่ต้องการอยู่อย่างบริสุทธิ์ จึงก็ไม่สนใจขนบธรรมเนียม หรือ กฎเกณฑ์ในทางโลกที่ตนเองต้องปฏิบัติตาม จนกระทั่ง บ้านฝ่ายสามีบังคับให้เธอต้องดื่มยาพิษ แต่เมื่อดื่มแล้ว ยาพิษก็กลายเป็นน้ำทิพย์ อันเนื่องจากความรักที่มีต่อกฤษณะ พาพากล่าวว่า เรื่องราวของมีราเกิดขึ้นเมื่อ 500-700 ปีที่แล้ว โดยมีราเป็นภักตะหญิงอันดับหนึ่ง แต่ไม่ได้ไปยังสวรรค์ในขณะนั้น เนื่องจากมีแต่ความภักดี แต่ไม่ได้รับความรู้ใดๆ ของพาพา |
310 | มุรลี (อ่านว่า มุ-ระ-ลี) | มุรลี | मुरली ![]() | ![]() muralī | มุรลี แปลว่า ขลุ่ย คำพูดของศิวพาพา ได้เปรียบกับเสียงขลุ่ยอันไพเราะ นั่นหมายถึง ความรู้ที่ศิวพาพา ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา มาให้ในสังคมยุค ในหนทางภักดีได้เข้าใจกันว่า กฤษณะเป็นภควานของคีตา หมายถึง เป็นผู้พูดและสอนคีตา และได้แสดงรูปของกฤษณะเป่าขลุ่ย และมีขลุ่ยอยู่ในมือเสมอ |
311 | มุรลีธร (อ่านว่า มุ-ระ-ลี-ทอน) | มุรลีธร | मुरलीधर ![]() | ![]() Muralīdhar | ในหนทางภักดี มุรลีธร เป็นอีกนามหนึ่งของกฤษณะ ที่ได้แสดงว่ากฤษณะเป็นผู้ที่ถือขลุ่ยไว้ในมือเสมอ และเป่าขลุ่ย ร่ายรำกับโคปะและโคปี แท้จริงแล้ว ศิวพาพาได้อวตารลงมาในร่างของพรหมา เป็นผู้เป่าขลุ่ยในรูปญาณ นั่นหมายถึงท่านมาให้ญาณแก่ลูกในสังคมยุค ผ่านร่างของพรหมา และพรหมา คือ ผู้ที่จะกลายเป็นกฤษณะในสัตยุค มุรลี แปลว่า ขลุ่ย และ ธร แปลว่า ผู้รักษาไว้ ผู้ทรงไว้ และผู้ที่ยึดไว้ |
312 | มุฮัมมัด/โมฮัมมัด คัซนวี (ไทยออกเสียงเป็น มะหะหมัด) | มุฮมฺมด/โมฮมฺมด คซนวี | मुहम्मद/मोहम्मद ग़ज़नवी ![]() | Muhammad/Mohammad Gazanavī | มุฮัมมัด คัซนวี เป็นมุสลิมชาวตุรกี ผู้มีชัยชนะในการรุกรานอินเดียถึง 17 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ.1514-1543 โดยมารูดปล้นและขนทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายจากอินเดีย รวมทั้งจากวัดโสมนาถ ซึ่งเป็นวัดแรกที่สร้างเป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพาในหนทางภักดีด้วย ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา |
313 | มฤคตฤษณา/มฤคตัณหา (อ่านว่า มะ-รึก-คะ-ตฺริด-สะ-หฺนา/ มะ-รึก-คะ-ตัน-หา) | มฺฤคตฺฤษณา | मृगतृष्णा ![]() | ![]() mṛgatṛṣṇā | ในราชโยคะ พาพาได้กล่าวยกตัวอย่างทุรโยธน์กับเรื่องราวมฤคตัณหา ที่หมายถึง กวาง ผู้กระหายน้ำ และเข้าใจผิดเห็นภาพลวงตาว่าเป็นแหล่งน้ำอยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ ทุรโยธน์ไม่เข้าใจในความจริงแท้ จึงติดกับและถูกหลอกลวงด้วยกิเลส ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนเองต้องการ ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ต่อธรรมและสัตย์ เหมือนกับผู้คนที่เข้าใจว่าโลกทุกวันนี้เป็นสวรรค์ ที่มีทุกอย่างและทำทุกสิ่งภายใต้กิเลสเพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่รู้ว่าสวรรค์คืออะไร นอกจากนี้ พาพายังกล่าวโยงถึงเรื่องราวใน "มหาภารตะ" ระหว่างนางเทราปทีชายาของเหล่าปาณฑพกับทุรโยธน์ไว้ เนื่องจากเการพและปาณฑพเป็นพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพระราชวังเดียวกัน ที่ได้ออกแบบสร้างสระน้ำไว้ในห้องโถงของพระราชวัง และวันหนึ่ง ทุรโยธน์ได้เดินตกลงไปในสระน้ำ ด้วยการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพื้นทางเดิน นั่นก็เปรียบเทียบกับมฤคตัณหา โดยนางเทราปทีได้เห็นเหตุการณ์และหัวเราะขบขัน พร้อมกับกล่าวว่า พ่อตาบอด ลูกก็ตาบอดด้วย เพราะว่าทุรโยธน์เป็นลูกของท้าวธฤตราษฏร์ ผู้ตาบอด นั่นหมายถึง ผู้ที่พุทธิไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่สามารถแยกแยะธรรมกับอธรรม ความจริงกับความหลอกลวงได้ จึงเป็นต้นเหตุของความโกรธแค้นทำให้ทุรโยธน์สั่งทุหศาสันเปลื้องผ้านางเทราปที เมื่อครั้งที่ปาณฑพได้แพ้การพนันต่อและต้องยกนางเทราปทีให้เการพ มฤค แปลว่า กวาง และ ตฤษณา คำไทยคือ ตัณหา ในความหมายนี้แปลว่า ความอยาก ความกระหายต่อน้ำ ในภาษาไทยใช้คำว่า พยับแดด หมายถึง เงาแดดที่ทำให้เกิดภาพลวงตา |
314 | เมลา | เมลา | मेला ![]() | ![]() melā | เทศกาล การชุมนุมที่มีกลุ่มคนเข้าร่วม |
315 | เมหันตะ | เมหนต | मेहनत ![]() | mehanat | เมหันตะ หมายถึง ความเพียรพยายาม ความลำบากตรากตรำ และ มุหพัพตะ หมายถึง ความรัก พาพาใช้คำ เมหันตะ พ้องกับคำ มุหพัพตะ นั่นหมายถึง เมื่อลูกมีความรักต่อพาพา แล้วลูกจะไม่มีความลำบากตรากตรำใดๆ |
316 | เมหมานะ | เมหมาน | मेहमान ![]() | mehamān | เมหมานะ หมายถึง แขก ผู้มาเยือน พาพาให้ลูกเข้าใจและอยู่ในการจดจำเสมอว่า ลูก เป็นแขกของโลกนี้ นั่นคือ ลูกมาเล่นบทบาทที่โลกนี้เพียงชั่วคราว และต้องกลับไปยังบรมธามะ บ้านของอาตมา |
317 | โมกษะ (อ่านว่า โมก-สะ) | โมกฺษ | मोक्ष ![]() | ![]() mokṣ | การหลุดพ้นตลอดไป โดยไม่ต้องกลับมาเล่นบทบาทในวงจรละครโลก ซึ่งเป็นความเชื่อในหนทางภักดี ที่เพ่งเพียรปฏิบัติเพื่อให้ได้รับโมกษะ พาพากล่าวว่า ทุกอาตมามีบทบาทที่บันทึกอยู่ในอาตมา และต้องลงมาจากบรมธามะ เพื่อเล่นบทบาทตามเวลาของตนเองในวงจรละครโลกนี้ |
318 | โมหนะ | โมหน | मोहन ![]() | ![]() Mohan | เป็นอีกนามหนึ่งของกฤษณะ ในหนทางภักดี โมหนะ หมายถึง มีเสน่ห์ น่าหลงใหล |
319 | ยัคญะ (ฮินดี)/ยัชญะ (สันสกฤต)/ยัญ (บาลี) | ยคฺญ/ยชฺญ/ยญ | यज्ञ ![]() | ![]() yagña/yajña/yañ | คำว่า ยัญ หมายถึง ไฟบูชายัญ การเซ่น การบูชา โดยทั่วไปแล้ว มีการก่อยัญเพื่อป้องกันหรือให้ยุติลงในการเกิดภัยพิบัติ สงคราม หรือการขอฝน เป็นต้น ในมุรลี คำว่า ยัญ หมายถึง ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ที่สร้างโดย ศิวพาพา (อิศวร) ในสังคมยุค ที่มีระบบของการให้ญาณและการหล่อเลี้ยงโดยอิศวร นอกจากนี้ ทุกสถานที่ทำเสวา (งานรับใช้) ของ อิศวร นั่นหมายถึง ยัญ ทั้งนี้ มธุพน ก็คือ มหายัญ (ยัญที่ยิ่งใหญ่) พาพากล่าวว่า นี่คือ รุทระ ญาณ ยัญ ที่แท้จริง โดยพาพามาให้ญาณแก่ลูก ทำให้ลูกสังเวยกิเลสและสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด ส่งผลให้ทั้งโลกก็ถูกสังเวยตามมา นั่นคือทำให้ทั้งอาตมาและวัตถุธาตุกลับมาบริสุทธิ์ การเขียนตามภาษาบาลี คือ ยัญ ภาษาฮินดี คือ ยัคญะ และภาษาสันสกฤต คือ ยัชญะ อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
320 | ยโศทา/ชโศทา | ยโศทา/ชโศทา | यशोदा/जशोदा ![]() | ![]() Yśodā/Jśodā | ยโศทา เป็นนามของภรรยาทางโลกของทาทาเลขราช กฤปลานี ก่อนที่ท่านเล่นบทบาทเป็นพรหมาพาพา นอกจากนี้ ในภาควัต คัมภีร์ของฮินดูธรรม มารดาของกฤษณะ มีนามว่า ยโศทา ในภาษาสินธีเขียนว่า ชโศทา |
321 | ยาทะ | ยาทะ | याद ![]() | ![]() yād | ในราชโยคะ พาพากล่าวว่า โยคะ หมายถึง ยาทะ นั่นคือ การจดจำระลึกถึง โยคะเป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ โดยหนทางภักดี ได้แสดงด้วยคทา เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ในหัตถ์ขวาบนของวิษณุ คทา เป็นสิ่งบ่งบอกถึง ศักดิ์ และ อำนาจ ที่ได้รับจากการโยคะกับพาพา ที่ทำให้ได้รับชัยชนะเหนือมายา นั่นคือ กิเลสทั้งห้า วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน ซึ่งเป็นรูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาในราชโยคะ จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน |
322 | ยาทพ | ยาทว | यादव ![]() | ![]() Yadav | ในราชโยคะ ยาทพเป็นการกล่าวถึงชาวยุโรป ผู้ที่มีเทหอภิมานะ และหลงทะนงตนในวิทยาศาสตร์ ที่พวกเขาได้หมกมุ่นในการสร้างอาวุธเพื่อทำให้เกิดการทำลายล้าง เช่น ระเบิดปรมาณู ขีปนาวุธ เป็นต้น ในคัมภีร์ได้มีการกล่าวว่า ยาทพถูกสาปแช่งจากฤษีให้ยาทพกำเนิดมูสละที่เป็นโลหะออกมาจากท้อง โดยมูสละนี้จะทำให้เกิดการสู้รบของยาทพกันเองและทำลายเผ่าพันธ์ของตนเอง ซึ่งมูสละก็ไม่สามารถจะถูกทำลายได้ด้วย พาพาได้กล่าวว่า มูสละไม่ได้ออกมาจากท้อง แต่ออกมาจากพุทธิของยาทพที่คิดค้นสร้างขีปนาวุธขึ้นมา ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงที่ทำให้เกิดการทำลายล้างโลกในที่สุด มูสละ แปลว่า สาก เครื่องมือสําหรับตําอย่างหนึ่งคู่กับครก ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ นั่นเป็นการอ้างอิงถึง มิสเซิลหรือมิสไซล์ (Missile) ซึ่งแปลว่าขีปนาวุธ ทั้งนี้ มูสละออกเสียงใกล้เคียงกับมิสเซิลหรือมิสไซล์ (Missile) เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
323 | ยุกติยุกต์ | ยุกฺติยุกฺต | युक्तियुक्त ![]() | yuktiyukt | การนำวิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ มาใช้อย่างถูกต้องตามเวลา สถานที่ บุคคล สถานการณ์ เป็นต้น ยุกติยุกต์ มาจากคำว่า ยุกติ แปลว่า วิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ การผสมรวม และ ยุกต์ แปลว่า รวม ผสมผสาน ถูกต้อง เหมาะสม |
324 | ยุทธิษฐิระ/ยุธิษฐิระ | ยุทฺธิษฺฐิร/ยุธิษฺฐิร | युद्धिष्ठिर/युधिष्ठिर ![]() | ![]() Yuddhiṣṭhir/Yudhiṣṭhir | ยุทธิษฐิระ คือ พี่ชายคนโตของปาณฑพทั้งห้า เป็นผู้ดลใจให้อยู่อย่างไม่ไหวหวั่นในสนามรบ มีความซื่อสัตย์ มั่นคงในธรรม และได้รับการกล่าวว่าเป็น ธรรมราช ในราชโยคะ ยุทธิษฐิระ มาจากคำว่า ยุทธ หมายถึง การสู้รบ และ ษฐิระ หมายถึง มั่นคง ดังนั้น ยุทธิษฐิระ คือ ผู้ที่มั่นคงในการรบ ในคีตาทางโลก เขียนว่า ยุธิษฐิระ |
325 | โยคยุกต์ | โยคยุกฺต | योगयुक्त ![]() | Yogayukt | ผู้ที่มีโยคะเชื่อมต่อกับบรมบิดา บรมาตมาอย่างถูกต้องในทุกขณะ โยคยุกต์ มาจากคำว่า โยคะ หมายถึง การรวมกัน การเชื่อมต่อ และ ยุกต์ แปลว่า รวม ผสมผสาน ถูกต้อง เหมาะสม |
326 | โยเคศวร | โยเคศฺวร | योगेश्वर ![]() | ![]() Yogeśvar | โยเคศวร เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา ผู้สอนโยคะให้กับลูก โดยท่านเองไม่ได้ศึกษาโยคะ และมีโยคะใดๆ ท่านมาทำให้ลูกเป็น โยเคศวร (อาตมาที่อยู่ในร่างชาย) และ โยเคศวรี (อาตมาที่อยู่ในร่างหญิง) ผู้ที่มีโยคะกับอิศวรด้วย โยเคศวร มาจากคำว่า โยคะ กับ อิศวร อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
327 | รักษาพันธนะ | รกฺษาพนฺธน | रक्षाबंधन ![]() | ![]() Rakṣābandhan | รักษาพันธนะ เป็นเทศกาลที่ ลูกของพาพาให้คำมั่นสัญญาที่จะอยู่อย่างบริสุทธิ์ แสดงด้วยการผูกราขี คือ สายสร้อยผูกประดับข้อมือทำด้วยฝ้าย ไหม และทำให้ได้รับการปกป้องคุ้มครอง ความรัก และการดูแลจากพาพา ในหนทางภักดี เทศกาลรักษาพันธนะนั้น เฉลิมฉลองโดยพหินะ (พี่น้องหญิง) ผูกราขีให้กับภาย (พี่น้องชาย) แสดงสัญลักษณ์ของความรักและพันธนะให้ภาย (พี่น้องชาย) ที่จะปกป้องเธอ เทศกาลนี้ มีการเฉลิมฉลองในวันพระจันทร์เพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำของเดือนศราวนะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนสิงหาคมของทุกปี รักษาพันธนะ มาจากคำว่า รักษา แปลว่า ปกป้อง ดูแล และ พันธนะ แปลว่า การผูก การมัด |
328 | รฆุปติ ราฆวะ ราชาราม/รฆุบดี ราฆพ ราชาราม | รฆุปติ ราฆว ราชา ราม | रघुपति राघव राजा राम ![]() | Raghupati Rāghav Raja Ram | รฆุบดี ราฆพ ราชาราม เป็นนามหนึ่งที่ยกย่องสรรเสริญรามของสีดาในเตรตายุค (ยุคเงิน) ซึ่งไม่ใช่รามผู้เป็นภควาน เช่นที่ในหนทางภักดีเข้าใจกัน รฆุบดี ราฆพ ราชาราม หมายถึง ราชาราม ผู้เป็นเชื้อสายของรฆุกุล หรือ รฆุวงศ์ (ราฆพ) โดย รามเป็นบดี หรือ ผู้นำ ผู้ปกครองของรฆุกุล (รฆุบดี) บดี แปลว่า ผู้ปกครอง ผู้สร้าง นาย สามี และ วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล |
329 | รโช | รโช | रजो ![]() | ![]() rajo | รโช หมายถึง สภาพกึ่งบริสุทธิ์ของอาตมา ที่เริ่มมี เทหอภิมานะ ความอยาก ปรารถนาจากพื้นฐานของกิเลส รโช แปลว่า ความอยาก ปรารถนา เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
330 | รโชคุณี | รโชคุณี | रजोगुणी ![]() | rajoguṇī | ผู้ที่มีคุณสมบัติรโช รโชคุณี มาจากคำว่า รโช หมายถึง สภาพกึ่งบริสุทธิ์ของอาตมา ที่เริ่มมี เทหอภิมานะ ความอยาก ปรารถนาจากพื้นฐานของกิเลส รโช แปลว่า ความอยาก ปรารถนา กับคำว่า คุณี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติ เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
331 | รโชประธาน | รโชปฺรธาน | रजोप्रधान ![]() | rajopradhān | สภาพกึ่งบริสุทธิ์ของอาตมา ที่เริ่มมี เทหอภิมานะ ความอยาก ปรารถนาจากพื้นฐานของกิเลส ที่เป็นหลักเหนือสภาพสโตและตโม รโช แปลว่า ความอยาก ปรารถนา ประธาน แปลว่า เป็นหลักหรือใหญ่ในหมู่หรือกลุ่ม เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
332 | รตนโชต | รตนโชต | रतनजोत ![]() | ![]() Ratanajot | ไม้ดอกที่เป็นสมุนไพรเติบโตในแคว้นรัฐชัมมูและกัศมีร์ ตอนเหนือของอินเดีย รตนโชตส่งกลิ่นหอมและมีสีน้ำเงิน ได้มีการสกัดสีจากดอกไม้นี้เพื่อใช้เพิ่มสีอาหารตามประเพณีที่สืบทอดกันมาในอินเดียด้วย พาพาเปรียบลูกที่มีคุณสมบัติดีงามและน่าดึงดูดกับรตนโชต ที่แต้มสีสัน (คุณสมบัติดีงาม) ให้กับผู้ที่อยู่ด้วย |
333 | ราย | ราย | राई ![]() | ![]() rāī | ราย คือ เมล็ดมัสตาร์ดที่มีขนาดเล็กๆ พาพากล่าวว่า ลูกต้องเปลี่ยนสิ่งที่ใหญ่โตในรูปของปัญหาสถานการณ์ ธรรมชาติ เป็นต้น ให้กลายเป็นสิ่งเล็กๆ เช่น เมล็ดมัสตาร์ด และเวลาสุดท้ายทุกสิ่งจะถูกบดขยี้เหมือนเมล็ดมัสตาร์ด เช่นที่ถูกบดเพื่อกลั่นเป็นน้ำมัน นั่นหมายถึง จะเหลือเพียงอาตมาเท่านั้น |
334 | ราขี | ราขี | राखी ![]() | ![]() rākhī | ราขี คือ สายสร้อยผูกประดับข้อมือ ทำด้วยฝ้าย ไหม ซึ่งเป็นการแสดงถึง ลูกของพาพาให้คำมั่นสัญญาที่จะอยู่อย่างบริสุทธิ์ และทำให้ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากพาพา ในหนทางภักดี เทศกาลรักษาพันธนะ เฉลิมฉลองโดยพหินะ (พี่น้องหญิง) ผูกราขีให้กับภาย (พี่น้องชาย) เป็นสัญลักษณ์ของความรักและพันธนะให้ภาย (พี่น้องชาย) ปกป้องเธอ เทศกาลนี้ มีการเฉลิมฉลอง ในวันพระจันทร์เพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำของเดือนศราวนะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนสิงหาคมของทุกปี |
335 | ราช-ราเชศวร | ราช-ราเชศฺวร | राज-राजेश्वर ![]() | ![]() Rāj-rājeśvar | ราช-ราเชศวร เป็นสมญาของอาตมาที่อยู่ในร่างชาย ผู้ได้รับราชจากอิศวร นั่นคือ อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลก เป็นมหาราชาของราชาทั้งหมด ราเชศวร มาจากคำว่า ราช หมายถึง อำนาจในการปกครอง กับ อิศวร ผู้กลายเป็นมหาราชา อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
336 | ราช-ราเชศวรี | ราช-ราเชศฺวรี | राज-राजेश्वरी ![]() | ![]() Rāj-rājeśvarī | ราช-ราเชศวรี เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นอาตมาในร่างหญิง หมายถึง ผู้ได้รับราชจากอิศวร นั่นคือ อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลก เป็นมหารานีของรานีทั้งหมด ราเชศวรี มาจากคำว่า ราช หมายถึง อำนาจในการปกครอง และ อิศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง หมายถึง ผู้กลายเป็นมหารานี อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
337 | ราชฤษี/ราชฤาษี | ราชฤษิ | राजऋषि ![]() | Rājaṛṣi | ราชฤษี เป็นสมญาที่ศิวพาพาให้กับลูก ราชฤษี มาจากคำว่า ราช หมายถึง ผู้เป็นราชา ผู้เป็นนาย ที่มีอำนาจในการปกครองตนเอง และ ฤษี หมายถึง ผู้ที่อยู่อย่างบริสุทธิ์ สละละทิ้ง ไวราคยะที่ไม่มีขีดจำกัด นั่นหมายถึง เป็นอิสระจากความผูกพันยึดมั่นและความปรารถนาบนฐานของเทหอภิมานะ และ ทางโลกที่มีขีดจำกัด เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
338 | ราชโยคะ | ราชโยค | राजयोग ![]() | ![]() rājayog | โยคะ หมายถึง การเชื่อมต่อกับบรมปิตา บรมาตมา ทำให้กลายเป็นราชา ผู้ที่มีราช หมายถึง อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลกในอนาคต ดังที่มีการเขียนไว้ในศรีมัทภควัตคีตาว่า ภควานลงมาสอนราชโยคะทุก 5,000 ปี เมื่อมนุษย์มีการประณามธรรมให้ตกต่ำ กลายเป็นสภาพอธรรม เพื่อทำให้มนุษย์กลายเป็นเทวี เทวดาที่สัมปันนและสมบูรณ์ สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม |
339 | ราชโยคี | ราชโยคี | राजयोगी ![]() | ![]() Rājayogī | ผู้ที่ฝึกฝนราชโยคะ ในการเชื่อมต่อกับบรมปิตา บรมาตมา ทำให้กลายเป็นราชา ผู้ที่มีราช หมายถึง อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลกในอนาคต |
340 | ราชสถาน | ราชสฺถาน | राजस्थान ![]() | Rājasthān | ราชสถาน เป็นรัฐที่อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มีเขตแดนทางทิศตะวันตกติดกับประเทศปากีสถาน และเป็นที่ตั้งของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 หลังจากย้ายจากเมืองกราจี รัฐสินธ์ มาที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ทั้งนี้ ตามความหมายของคำ ราชสถาน คือ สถานที่ของราชา จึงได้มีปราสาท พระราชวัง ป้อม ต่างๆ มากมายเป็นจนกระทั่งทุกวันนี้ และที่สำคัญ คือ วัดเทลวารา/ทิลวาลา ที่เป็นอนุสรณ์ศิวพาพา อาทิเทพ อาทิเทวี พรหมากุมารและกุมารี โดยในวัดได้มีการแกะสลักรูปสวรรค์ไว้ที่เพดาน และที่พื้นเป็นรูปโยคีทำตปัสยา (ตบะ) เปิดตา ที่แสดงถึงลูกของพาพาทำตปัสยาในสังคมยุคและจะได้รับผลรางวัลของสวรรค์ในอนาคต |
341 | ราเชศวร | ราเชศฺวร | राजेश्वर ![]() | Rājeśvar | ราเชศวร มาจากคำว่า ราช และ อิศวร ราเชศวร หมายถึง อิศวร ผู้เป็นราชา ผู้เป็นนาย ที่มีอำนาจในการปกครอง ซึ่งเป็นสมญาที่ให้กับบรมบิดา บรมาตมา |
342 | ราต กี รานี | ราต กี รานี | रात की रानी ![]() | ![]() Rāt kī rānī | ราต กี รานี คือ รานีของราต นั่นคือ ดอกราตรี หรือ หอมดึก ของประเทศไทย ราต กี รานี เป็นดอกไม้ที่บานตอนกลางคืน กลิ่นหอมแรง มักส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ที่เปรียบกับ พาพาให้ลูก ส่งกลิ่นหอมของทิพยคุณในอาตมา ในเวลากลางคืน นั่นคือ ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยอญาณ และกิเลส ราต หมายถึง ราตรี กลางคืน และ รานี หมายถึง ราชินี ทิพยคุณ หมายถึง คุณสมบัติที่ดีงามของเทวีและเทวดา |
343 | ราเธ | ราเธ | राधे ![]() | ![]() rādhe | มัมมา คือ แม่ของยัญ ผู้เล่นบทบาทที่สำคัญยิ่ง ตั้งแต่เริ่มต้นยัญ ในปี พ.ศ. 2479 จนถึง พ.ศ. 2508 ทั้งนี้ มัมมาได้รับสมญาว่า สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น ซึ่งจะกลายเป็น ราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ |
344 | ราเธศยามะ | ราเธศฺยาม | राधेश्याम ![]() | ![]() Rādheśyām | ราเธศยามะ เป็นอีกนามหนึ่งของกฤษณะ ศยามะ แปลว่า น่าเกลียด และ ราเธศยามะ หมายถึง กฤษณะที่ศยามะ ผู้เป็นของราเธ พาพา อธิบายว่ากฤษณะคงอยู่ในยุคทองเท่านั้น และมีความสวยงาม (บริสุทธิ์) ต่อมาเมื่ออาตมาเดียวกันนั้นได้เวียนว่ายตายเกิดจนกระทั่งการสิ้นสุดของจักรก็กลับมาน่าเกลียด (ไม่บริสุทธิ์) |
345 | รานี | รานี | रानी ![]() | ![]() Rānī | รานี เป็นคำในภาษาฮินดี หมายถึง ราชินี พาพา ใช้คำว่า รานี มหารานี คู่กับคำว่า ราชา มหาราชา |
346 | รามจันทร์ | รามจนฺทฺระ | रामचन्द्र ![]() | ![]() Rāmacandra | ราชารามของเตรตายุค (ยุคเงิน) |
347 | รามายณะ | รามายณ | रामायण ![]() | ![]() Rāmāyaṇ | รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย โดย ฤๅษีวาลมีกิ ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายราม กับ ฝ่าย ทศกัณฐ์ (ยักษ์ ที่มีอีกนามว่า ราวณะ/ราพณ์) โดยรามจะมาชิงตัวสีดา (มเหสีของราม) ซึ่งถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมา ทางฝ่ายรามมีน้องชาย ชื่อ ลักษมัณ มีหนุมานและองคต เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายยักษ์ก็ปราชัย แท้จริงแล้ว รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมยุค ที่ศิวพาพาได้ลงมาเล่นบทบาทในการเปลี่ยนมนุษย์ให้กลายเป็นเทพ และ กลียุคให้กลายเป็นสัตยุค ราม คือ พระราชสวามีของสีดา เป็นตัวละครเอกในรามายณะ ทั้งนี้ ในมุรลี พาพาได้กล่าวถึง ราม มีความหมายสองอย่าง ได้แก่ 1. บรมบิดา ศิวพาพา ผู้เอาชนะราพณ์ และปลดปลดปล่อยอาตมา หมายถึง สีดา ออกจากกรงขังของกิเลส 2. ราชาของเตรตายุค (ยุคเงิน) คือ ผู้ที่มีลูกศรและคันธนู เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่รบรากับมายาจนกระทั่งเวลาสุดท้ายของสังคมยุคและสอบตก จึงเข้ามาอยู่ในเตรตายุค แทนที่จะได้รับผลรางวัลของความสุขเป็นเวลาที่ยาวนานของทั้งสัตยุคและเตรตายุค สีดา คือ คู่สมรสของราม ในมุรลี พาพาได้กล่าวว่า ลูกทั้งหมด คือ สีดา ผู้เป็นเจ้าสาวของฉัน ลูกเคยตกเป็นทาสของราพณ์ หมายถึง กิเลสทั้งห้า และ ฉัน คือ ราม มาที่นี่เพื่อปลดปล่อยลูกเพื่อนำลูกกลับบ้าน และไปยังอาณาจักรของลูก สีดา เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ สวามิภักดิ์ต่อรามเพียงผู้เดียว และความบริสุทธิ์ ในอีกด้านหนึ่ง สีดา ยังเตือนเราถึงการอยู่อย่างไม่เชื่อฟังศรีมัตของบรมบิดา ที่ทำให้อาตมาถูกนำไปสู่โศก วาฏิกา (สวนแห่งความทุกข์) และในสังคมยุค พาพามานำลูกไปยังอโศก วาฏิกา (สวนที่ไม่มีความทุกข์) นั่นคือ สวรรค์ ลักษมัณ เป็นน้องชายของราม ที่มีความจงรักภักดีต่อรามเพียงผู้เดียว มีความมุ่งมั่นที่จะไปบรรลุถึงเป้าหมาย และเป็นผู้ที่อยู่กับรามเสมอ โดย ลักษยะ แปลว่า เป้าหมาย หนุมาน คือ สัญลักษณ์ของความจงรักภักดีต่อรามเพียงผู้เดียว (มีรามเท่านั้นอยู่ในหัวใจ) และมีความเบาสบาย (เป็นลูกชายของปวนบุตร หรือ พระพาย และสามารถโบยบินได้) มีความกล้าหาญ และถ่อมตน องคต คือ นักรบทหารเอกของรามที่มีความกล้าหาญ และเป็นสัญลักษณ์ของความไม่ไหวหวั่นสั่นคลอน โดยทหารของราพณ์ไม่สามารถแม้จะขยับเท้าข้างหนึ่งขององคตได้ กุมภกรรณ คือ น้องชายของราพณ์ เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตนหนึ่ง มีอาวุธร้ายประจำกาย คือ หอกโมกขศักดิ์ และมีชื่อเสียงในการนอนหลับยาว 6 เดือน โดยตื่นขึ้นมาเพียงวันเดียวเพื่อรับประทาน ในมุรลี พาพา ได้กล่าวว่า กุมภกรรณเป็นสัญลักษณ์ของอาตมา (โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่ง สถานภาพ ฐานะทางสังคมที่สูง) ที่กำลังนอนหลับสนิทในความไม่รู้ ในความเป็นจริงแล้ว เวลาที่วิกฤตกำลังจะมาถึง ดังนั้น การปลุกให้กุมภกรรณตื่นขึ้นมา หมายถึง การทำให้อาตมาเหล่านั้นหยั่งรู้ว่า บรมบิดา บรมาตมา ได้มาแล้ว และโลกนี้กำลังได้รับเปลี่ยนแปลง |
348 | ราวณะ/ราพณ์ | ราวณ | रावण ![]() | ![]() Rāvaṇ | ราพณ์ หรือ ราวณะ เป็นชื่อเรียกทศกัณฐ์ ราพณ์ คือ ตัวละครยักษ์ที่เป็นศัตรูหลักในรามายณะ มหากาพย์ของอินเดีย ราพณ์ แสดงถึงกิเลสของมนุษย์ในรูปของยักษ์ ที่มี 10 หัว นั่นหมายถึง กิเลสทั้ง 5 ของหญิง และ กิเลสทั้ง 5 ของชาย พาพากล่าวว่า ลูกต้องเผากิเลสทั้งหมดของลูก และสิ่งนี้ได้มีการจดจำในหนทางภักดีด้วยการเผาหุ่นจำลองของราพณ์ในเทศกาลทศหรา หรือ วิชัยทศมี ซึ่งเป็นวันที่ 10 ถัดมาจากเทศกาลนวราตรีที่มีการบูชาเทวี 9 วันอย่างต่อเนื่อง โดยตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ ของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวเดือนปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี และก่อนเทศกาลทิวาลีประมาณ 19-20 วัน ทศหรา เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะของความดีงามเหนือปีศาจ (กิเลส) นวราตรี มาจากคำว่า นว หมายถึง เก้า และ ราตรี หมายถึง กลางคืน ทศกัณฐ์ หมายถึง ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบศีรษะ มาจากคำว่า ทศ แปลว่า สิบ และ กัณฐ์ แปลว่า คอ |
349 | ราษฏรปติ/ราษฏรบดีภวนะ (อ่านว่า ราด-สะ-ตฺระ-ปะ-ติ/ราด-สะ-ดอน-บอ-ดี -พะ-วะ-นะ) | ราษฺฏฺรปติ ภวน | राष्ट्रपति भवन ![]() | ![]() Rāṣṭrapati bhavan | ทำเนียบประธานาธิบดี ราษฏฺร แปลว่า บ้านเมือง พลเมือง (คำไทยเขียนว่า ราษฎร์ หรือ ราษฎร) ปติ/บดี แปลว่า ผู้สร้าง เจ้าของ นาย สามี และ ภวนะ หมายถึง อาคาร สถานที่ |
350 | ราสลีลา และ รามลีลา | ราสลีลา และ รามลีลา | रासलीला और रामलीला ![]() | ![]() Rāsalīlā and Rāmalīlā | รามลีลา หมายถึง ลีลาของราม โดย รามลีลา เป็นละครเวทีพื้นบ้านที่มีการร้องเพลงประกอบการแสดงเกี่ยวกับชีวิตของราม ซึ่งแสดงต่อเนื่องจบภายใน 10 วันของการสู้รบระหว่างรามและราพณ์ ตามที่ได้มีการบรรยายไว้ในมหากาพย์ "รามายณะ" ของฮินดูธรรม ราสลีลา หมายถึง ลีลาการร่ายรำด้วยทิพยรัก ที่ละเอียดอ่อนและบริสุทธิ์ระหว่างกฤษณะกับโคปี ลีลา หมายถึง การกระทำ ท่าทางอันงามสง่า |
351 | รุณฑะ | รุณฺฑ | रुण्ड ![]() | ruṇḍ | รุณฑะ หมายถึง ศีรษะส่วนบนของร่างกาย ที่ได้แสดงเป็นรูปกระโหลกที่มีโครงใบหน้า เช่น ดวงตา จมูก ปาก รุณฑะ เป็นลูกปัดในมาลา (สายลูกประคำ) รอบคอศังกร หรือ กาลีเทวี นั่นหมายถึง สภาพสุดท้ายของการละวางและสละละทิ้ง เหลือเพียงกะโหลกทางร่างที่โลกวัตถุนี้ และอาตมาเท่านั้นที่กลับไปยังบรมธามะ รุณฑะ มาลา คือ อนุสรณ์ของศิวพาพา ผู้ที่นิราการ ที่มาใช้ร่างของพรหมาพาพา ที่ทำให้ลูกได้เห็นใบหน้าที่มหัศจรรย์ผ่านใบหน้าของพรหมาพาพา นอกจากนี้ รุณฑะ มาลา (วิษณุ มาลา) แสดงถึงอาตมาทั้งหมด ที่กลับมาบริสุทธิ์ด้วยศรีมัต และลงมารับร่างกายในสัตยุค |
352 | รุทระ | รุทฺร | रुद्र ![]() | Rudra | รุทระ เป็นอีกนามหนึ่งของศิวพาพา รุทระ คือ ผู้สร้างรุทระ ญาณ ยัญ ซึ่งหมายถึง ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ในสังคมยุค และด้วยญาณที่ศิวพาพามาให้แก่ลูก ทำให้ลูกสังเวยกิเลสและสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด ที่ส่งผลให้ทั้งโลกก็ถูกสังเวยตามมา นั่นคือ ทำให้ทั้งอาตมาและวัตถุธาตุกลับมาบริสุทธิ์ รุทระ หมายถึง ศักดิ์ที่รุนแรงของการทำลายล้าง รุทระ มาลา หมายถึง อาตมาทั้งหมดที่นิราการในบรมธามะที่แสดงในรูปของมาลา นอกจากนี้ พาพาได้กล่าวถึง ไวชยันตี มาลา และ รุณฑะ มาลา (วิษณุ มาลา) ไวชยันตี มาลา ประกอบไปด้วยอาตมาทั้งแปด (หรือหนึ่งร้อยแปด) ผู้เอาชนะมายา (กิเลสทั้งห้า) จนหมดสิ้นในสังคมยุค และกลายเป็นผู้ปกครอง หรือ ราชนิกุลของสัตยุค รุณฑะ มาลา (วิษณุ มาลา) ประกอบด้วยอาตมาทั้งหมด ที่กลับมาบริสุทธิ์ด้วยศรีมัต และเข้าไปอยู่ในสัตยุค มาลา หมายถึง สายลูกประคำ |
353 | รุทรักษะ | รุทฺรากฺษ | रुद्राक्ष ![]() | rudrākṣ | รุทรักษะ เป็นเมล็ดพืชมงคลของต้นรุทรักษะที่ใช้เป็นลูกปัดของมาลาในฮินดูธรรม นั่นคือ อนุสรณ์ของลูกที่ได้ทำตามศรีมัตและกลายเป็นผู้ช่วยของพ่อในสังคมยุคนี้ ในหนทางภักดียังกล่าวถึงเมล็ดรุทรักษะหรือน้ำตาศิวะ ว่าเป็นเมล็ดผลไม้ที่ทรงโปรดของศิวะ โดยถือว่าเป็นเครื่องราง สิ่งที่นำความศักดิ์สิทธิ์มา ซึ่งสามารถขับไล่บาปทั้งหมดด้วยการได้เห็น สัมผัส และท่องสวดมาลานี้ มาลา หมายถึง สายลูกประคำ |
354 | รูอี | รูอี | रूई ![]() | rūī | ปุยฝ้าย สำลี พาพากล่าวว่า ชีวิตของลูก ผู้เป็นพราหมณ์ที่มีความเบาสบาย เช่น ปุยฝ้าย สำลี |
355 | รูป วสันต์ | รูป พสนฺต | रूप बसन्त ![]() | Rūp Basant | พาพา คือ รูป วสันต์ และทำให้ลูกเป็นรูป วสันต์ ด้วยเช่นกัน รูป หมายถึง สภาพที่อาตมาเต็มไปด้วยศักดิ์ ในสวรูปของโยคะ และ วสันต์ หมายถึงญาณในรูปของฝนที่ตกลงมาให้กับผู้อื่น นอกจากนี้ วสันต์หมายถึง ฤดูใบไม้ผลิ นั่นคือ ญาณในรูปของฝนทำให้เกิดความสดชื่นและเขียวชอุ่มดังเช่นฤดูใบไม้ผลิ สวรูป หมายถึง อาตมาได้มีคุณสมบัติและเกิดเป็นประสบการณ์ในทางปฏิบัติของรูปนั้น |
356 | รูหะ รูหานะ/รูหะ ริหานะ | รูห รูหาน/รูห ริหาน | रूह रूहान/रूह रिहान ![]() | rūha rūhān/rūha rihān | รูหะ หมายถึง อาตมา ดังนั้น รูหะ รูหานะ หรือ รูหะ ริหานะ หมายถึง การสนทนาขณะอยู่ในอาตม อภิมานะ |
357 | รูหานิยตะ (อ่านว่า รู-หา-นิ-ยะ-ตะ) | รูหานิยต | रूहानियत ![]() | rūhāniyat | รูหะ หมายถึง อาตมา ดังนั้น รูหานิยตะ หมายถึง การอยู่ในสภาพอาตมอภิมานะ ที่ก่อให้เกิดการส่งกระแสของความบริสุทธิ์และคุณสมบัติดั้งเดิมของอาตมาออกไป |
358 | รูหานี พัจเจ | รูหานี พจฺเจ | रूहानी बच्चे ![]() | ![]() Rūhānī bacce | รูหานี พัจเจ หมายถึง อาตมา ผู้เป็นลูกของบรมบิดา บรมาตมา รูหานี พัจเจ มาจากคำว่า รูหานี เป็นภาษาอูรดู ที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า รูหะ หมายถึง อาตมา และ พัจเจ หมายถึง ลูก ชิสมานี เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับรูหานี หมายถึง ทางร่าง ทางวัตถุภายนอก โดย ชิสมะ หมายถึง ร่างกาย |
359 | ลักษมณะ/ลักษมัณ | ลกฺษฺมณ | लक्ष्मण ![]() | ![]() Lakṣmaṇ | ในรามายณะ มหากาพย์ของอินเดีย ลักษมัณ เป็นตัวละครที่เป็นน้องชายของราม ที่มีความจงรักภักดีต่อรามเพียงผู้เดียว มีความมุ่งมั่นที่จะไปบรรลุถึงเป้าหมาย และเป็นผู้ที่อยู่กับรามเสมอ แท้จริงแล้ว ราม หมายถึง ศิวพาพา และลักษมัณ หมายถึง พรหมาและลูกของพาพา ลักษมัณ มีรากศัพท์มาจากคำว่า ลักษยะ แปลว่า เป้าหมาย วัตถุประสงค์ |
360 | ลักษยะ (สาพุนะ) | ลกฺษฺย (สาพุน) | लक्ष्य (साबुन) ![]() | ![]() lakṣya (sābun) | ลักส์ เป็นสบู่อาบน้ำที่มีชื่อเสียงในประเทศอินเดีย พาพาเปรียบเทียบคำ ลักส์ กับ ลักษยะ ที่แปลว่า เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ที่ลูกต้องทำตามพาพาเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ สาพุนะ หมายถึง สบู่ |
361 | ลพ กุศะ | ลว กุศ | लव कुश ![]() | Lav Kuś | ลพและกุศ คือ ลูกชายแฝดของรามและสีดาในรามายณะ มหากาพย์ของอินเดีย ซึ่งได้มีกล่าวหารามว่าได้ส่งสีดาไปอาศัยอยู่กับฤษีวาลมีกิในกลางป่า เนื่องจากมีคนครหาถึงความบริสุทธิ์ของนาง ขณะนั้นรามไม่รู้ว่าสีดาได้ตั้งครรภ์และนางได้คลอดลูกชายแฝด คือ ลพและกุศ ซึ่งทั้งคู่ได้รับการดูแลและเรียนรู้การยิงธนูจากฤษีวาลมี โดยไม่รู้ถึงรามผู้เป็นพ่อและฐานะของสีดา ในที่สุดฤษีวาลมีก็ได้ทำให้รามได้พบกับสีดา ลพและกุศ ขณะเดียวกันก็มีการกล่าวยกย่องรามว่า "รามราชา รามประชา ธรรม กา อุปการะ" แท้จริงแล้วเป็นการยกย่องศิวพาพาไม่ใช่รามของสีดาว่า ด้วยการอุปการะของศิวพาพาที่มาให้ญาณในสังคมยุค เมื่อลูกได้ธารณาญาณนั้นและกลายเป็นธรรมของลูก ก็ส่งผลให้ทั้งราชาและประชาในสัตยุคมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับศิวพาพา นั่นคือ กลายเป็นเทวี เทวดาที่เต็มพร้อม (สัมปันน) ด้วยคุณบัติที่ดีงามทั้งหมด (สรรพคุณ) สมบูรณ์ 16 องศา ปราศจากกิเลส (นิรพิการ) อย่างสมบูรณ์ ปราศจากความก้าวร้าวรุนแรง (นิรหิงสา) ทั้งร่างกายและอาตมา |
362 | ไลลา มัชนู | ไลลา มชนู | लैला मजनू ![]() | ![]() Lailā Majanū | พาพาได้กล่าวถึง เรื่องราวความรักของคู่รักไลลา (หญิง) และ มัชนู (ชาย) เพียงแค่ได้เห็นใบหน้าของกัน ก็ตกหลุมรักกัน แต่เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ได้มาจากพื้นฐานของกิเลส โดยขณะที่ใช้ชีวิตและทำงาน ก็เฝ้าแต่เห็นกันและกันมาปรากฏอยู่ข้างหน้า เช่นเดียวกับมีราที่เห็นกฤษณะปรากฏอยู่ข้างหน้าตนเองตลอดเวลา ทั้งนี้เรื่องราวความรักของไลลา และ มัชนู ไม่ได้มีการกล่าวถึงการแต่งงานกันใดๆ เช่นเดียวกัน บรมบิดา บรมอาตมา คือ ผู้เป็นที่รัก (มาชูกะ) หนึ่งเดียว และ ลูกก็คือ อาตมา ผู้เป็นคู่รัก (อาชิกะ) ที่เฝ้าแต่จดจำบรมบิดา บรมอาตมา ผู้เป็นที่รัก นี่คือ ความรักที่บริสุทธิ์ระหว่างอาตมา |
363 | เลากิก | เลากิก | लौकिक ![]() | laukik | เกี่ยวกับโลกวัตถุ ร่างกายภายนอก สิ่งชั่วคราว |
364 | วรทาน | วรทาน | वरदान ![]() | ![]() varadān | วรทาน คือ การให้ทานหรือพรที่สูงสุด โดยพ่อศิวะผู้เป็นสัตคุรุเท่านั้นที่ให้ได้ ทั้งนี้ลูกไม่ต้องลำบากตรากตรำเพื่อที่จะทำให้วรทานนั้นเกิดขึ้นในทางปฏิบัติ เพียงแต่ทำตามศรีมัตของพ่อ ทั้งนี้ ท้ายมุรลีทุกวัน พ่อศิวะผู้เป็นสัตคุรุมาให้วรทานแก่ลูกทุกวัน วร เป็นคำนำหน้าศัพท์ให้หมายความว่า ดี วิเศษ ยอดเยี่ยม มีค่า ประเสริฐ และยังหมายถึง พร ด้วย |
365 | วัลลภาจารี | วลฺลภาจารี | वल्लभाचारी ![]() | Vallabhācārī | วัลลภาจารย์ เป็นคุรุและนักปรัชญาในพุทธศตวรรษที่ 20 โดยได้ก่อตั้งลัทธิหนึ่งของพราหมณ์ ซึ่งสาวกและผู้ที่ทำตามลัทธินี้ เรียกว่า วัลลภาจารี |
366 | วานปรัสถ์ | วานปรสฺถ | वानप्रस्थ ![]() | vānaprasth | ในราชโยคะ พาพากล่าวว่า วานปรัสถ์ หมายถึง สภาพของการอยู่เหนือเสียง ซึ่งขณะนี้เป็นเวลาสิ้นสุดของวงจร (กัลป์) ทุกอาตมาอยู่ในสภาพวานปรัสถ์ที่ต้องกลับไปยังนฤพานธามะ หรือ นิพพานธามะ นั่นคือ บ้านของอาตมา ในฮินดูธรรม เป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่า วานปรัสถ์ เป็นช่วงเวลาหลักของชีวิต (หลังจากอายุ 60 ปี) เมื่อผู้ที่ครองเรือน ได้ผ่านช่วงเวลาคฤหัสถ์ หมายถึง การสร้างครอบครัวเป็นหลักฐานแล้ว ก็หันไปสู่การแสวงบุญกุศล เข้าป่าจำศีลถือพรตบำเพ็ญตบะ และอุทิศชีวิตให้กับภควาน วาณี แปลว่า เสียง |
367 | วาหะ วาหะ | วาห วาห | वाह वाह ![]() | vāh vāh | มหัศจรรย์ ยอดเยี่ยม |
368 | วิกรรมาชีตราชา | วิกรรมาชีตะ ราชา | विकर्माजीत राजा ![]() | ![]() Vikārmajīt Rājā | พาพา ได้กล่าวถึง วิกรรมาชีตสังวัต กับ วิกรมสังวัต วิกรรมาชีตสังวัต หมายถึง ยุคของการเอาชนะการกระทำบาป ได้แก่ ช่วงเวลาของสัตยุค (ยุคทอง) เตรตายุค (ยุคเงิน) ที่มีการกระทำเป็นอกรรม ซึ่งราชาผู้ปกครองมีนามว่า วิกรรมาชีตราชา วิกรมสังวัต หมายถึง ยุคของการกระทำที่เป็นบาป เริ่มตั้งแต่ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) เป็นต้นมา และกลียุค (ยุคเหล็ก) ซึ่งราชาผู้ปกครองมีนามว่า วิกรมราชา (ผู้ที่มีศักดิ์ อำนาจ กำลังทางร่าง) ในทางโลก ได้ระบุว่าวิกรมสังวัต เริ่มเมื่อ 57 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือ พุทธศักราชที่ 486 ในยุคของราชาวิกรมาทิตย์ของอินเดียโบราณ ได้ชื่อว่าเป็นราชาที่กล้าหาญและมีหัวใจที่กว้างใหญ่ จึงเป็นแบบอย่างและสมญาของราชาทั้งหลายในเวลาต่อมา ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา วิกรรมาชีตะ มาจากคำว่า วิกรรม หมายถึง การกระทำที่เป็นบาป ชีตะ หมายถึง ชัยชนะ สังวัต หมายถึง ยุค สมัย วิกรม หมายถึง ศักดิ์ อำนาจ กำลัง และ โคอินัวร์ (โคอินูร์) มีความหมายตามตัวอักษรในภาษาเปอร์เซียว่า "ภูเขาแห่งแสง" |
369 | วิการ/พิการ | วิการ | विकार ![]() | ![]() vikār | ในราชโยคะ วิการ/พิการ หมายถึง กิเลส ที่ทำให้ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ ความผิดปกติ ความไม่สมประกอบในอาตมา ความหมายทางโลกทั่วไปใช้กับร่างกาย ที่ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ ความผิดปกติ ความไม่สมประกอบ |
370 | วิกรมราชา | วิกรมี ราชา | विक्रमी राजा ![]() | ![]() Vikramī Rājā | พาพา ได้กล่าวถึง วิกรรมาชีตสังวัต กับ วิกรมสังวัต วิกรรมาชีตสังวัต หมายถึง ยุคของการเอาชนะการกระทำบาป ได้แก่ ช่วงเวลาของสัตยุค (ยุคทอง) เตรตายุค (ยุคเงิน) ที่มีการกระทำเป็นอกรรม ซึ่งราชาผู้ปกครองมีนามว่า วิกรรมาชีตราชา วิกรมสังวัต หมายถึง ยุคของการกระทำที่เป็นบาป เริ่มตั้งแต่ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) เป็นต้นมา และกลียุค (ยุคเหล็ก) ซึ่งราชาผู้ปกครองมีนามว่า วิกรมราชา (ผู้ที่มีศักดิ์ อำนาจ กำลังทางร่าง) ในทางโลก ได้ระบุว่าวิกรมสังวัต เริ่มเมื่อ 57 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือ พุทธศักราชที่ 486 ในยุคของราชาวิกรมาทิตย์ของอินเดียโบราณ ได้ชื่อว่าเป็นราชาที่กล้าหาญและมีหัวใจที่กว้างใหญ่ จึงเป็นแบบอย่างและสมญาของราชาทั้งหลายในเวลาต่อมา ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา วิกรรมาชีตะ มาจากคำว่า วิกรรม หมายถึง การกระทำที่เป็นบาป ชีตะ หมายถึง ชัยชนะ สังวัต หมายถึง ยุค สมัย วิกรม หมายถึง ศักดิ์ อำนาจ กำลัง และ โคอินัวร์ (โคอินูร์) มีความหมายตามตัวอักษรในภาษาเปอร์เซียว่า "ภูเขาแห่งแสง" |
371 | วิจาร สาครมันถนะ | วิจาร สาคร มนฺถน | विचार सागर मंथन ![]() | ![]() vicār sāgar manthan | วิจาร สาครมันถนะ หมายถึง กวนเกษียรสมุทรด้วยการคิดไตร่ตรองญาณ ในหนทางภักดีได้มีตำนานการกวนเกษียรสมุทรในภควัตปุราณะ ที่กล่าวว่าพระนารายณ์แนะนำให้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทร เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่ม ทำให้ชีวิตมีศักดิ์และไม่มีวันตาย แต่การจะกวนเกษียรสมุทรได้ จะใช้แค่ฝ่ายเทพก็ไม่พอเพราะต้องใช้กำลังพลเยอะมาก พระอินทร์เลยออกอุบายทำสัญญาสงบศึกกับพวกอสูรและชักชวนกันมาทำการกวนเกษียรสมุทร ได้น้ำอมฤตมาแบ่งกัน โดยนาควาสุกรีมาช่วยใช้ลำตัวเป็นเชือกเพื่อใช้ในการชัก ใช้ภูเขามันทรคีรีมาตั้งบนเกษียรสมุทร ที่อยู่ในไวกูณฐ์ แท้จริงแล้ว พาพาให้ลูกวิจาร สาครมันถนะ เพื่อให้เข้าถึงตนเองและญาณที่ลึกล้ำ เปรียบกับ น้ำอมฤต น้ำทิพย์ ที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ และเปรียบกับ การกวนน้ำนมเพื่อให้ได้เนย นั่นคือ แก่นสารของญาณ เกษียรสมุทร หมายถึง ญาณ ภูเขามันทรคีรี หมายถึง จิตใจ นาควาสุกรี คือ เชือกที่ขับเคลื่อนจิตใจ หมายถึง พุทธิ ดังนั้น ผู้ที่วิจาร สาครมันถนะ ต้องมีจิตใจที่มั่นคงไม่ไหวหวั่นเช่นภูเขา โดยพุทธิต้องมีความบริสุทธิ์และศักดิ์ของการแยกแยะ ทั้งนี้ จิตใจและพุทธิต้องทำงานด้วยกันในหลายด้านของญาณ และต้องธารณาญาณได้ อสูร หมายถึง กิเลสทั้งห้า เทพ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความสงบ ความพอใจ การละวาง ความรัก และ สัตย์ นั่นคือ พุทธิจะถูกดึงดูดไปทั้งด้านเทพและด้านอสูร วิจาร หมายถึง การคิดไตร่ตรอง มันถนะ หมายถึง กวน ปั่น และกษีระ/เกษียร หมายถึง น้ำนม สาคร หมายถึง เกษียรสมุทร มหาสมุทรของน้ำนม |
372 | วิจิตร | วิจิตฺร | विचित्र ![]() | ![]() vicitra | มหัศจรรย์ พิเศษสุด ไม่เหมือนใคร ในราชโยคะ ยังหมายถึง ไม่มีร่างกาย หรือ ปราศจากร่างด้วย ทั้งนี้ พาพา คือ ผู้ที่วิจิตร |
373 | วิชัยทศมี/วิชยาทศมี | วิชยทศมี/วิชยาทศมี | विजयदशमी/विजयादशमी ![]() | ![]() Vijayadaśamī/Vijayādaśamī | วิชัยทศมี เป็นเทศกาลที่สำคัญของฮินดู และรู้จักกันในนาม ทศหรา โดยตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ ของเดือนอาศวินะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ราวปลายเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี และก่อนเทศกาลทิวาลีประมาณ 19-20 วัน วิชัยทศมี คือ รูปของการเอาชนะราพณ์ (ทศกัณฐ์) ที่มี 10 หัว ในเทศกาลนี้จะมีการเผาหุ่นจำลองของราพณ์ ที่มี 10 หัว ที่หมายถึงกิเลสทั้ง 5 ของ ชายและหญิงรวมกัน เทศกาลนี้เป็นการปิดท้ายหลังจากเทศกาลนวราตรีที่มีการบูชาเทวี 9 วันอย่างต่อเนื่อง และเป็นอนุสรณ์ของราม (ศิวพาพา) และลูกที่เอาชนะเหนือราพณ์ นั่นหมายถึง กิเลส นวราตรี มาจากคำว่า นว หมายถึง เก้า และ ราตรี หมายถึง กลางคืน ราพณ์ หรือ ราวณะ เป็นชื่อเรียกทศกัณฐ์ |
374 | วิคญาน (ฮินดี)/วิชญาน (สันสกฤต)/วิญาณ (บาลี) | วิคฺญาน (ฮินดี)/วิชฺญาน (สันสฤต)/วิญาณ (บาลี) | विज्ञान ![]() | vigñān (Hindi)/vijñān (Sanskrit)/viñāṇ (Pali) | ในราชโยคะ วิญาณ หมายถึง เหนือญาณ นั่นคือ โยคะ หรือ ความสงบ ในทางทั่วไป วิญาณ หมายถึง วิทยาศาสตร์ |
375 | วิเทฮี | วิเทฮี | विदेही ![]() | ![]() videhī | อาตมาขณะที่อยู่ในร่างกายอย่างเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ ไม่ได้ผูกพันยึดติดกับร่างกาย ดังนั้นพ่อศิวะจีงกล่าวว่าท่านเป็นวิเทฮีขณะที่อยู่ในร่างของพรหมา และในภักดีมรรคก็กล่าวถึงราชาชนกว่าได้รับประสบการณ์ของวิเทฮี เทห์ หมายถึง ร่างกาย |
376 | วิราฏรูป | วิราฏ รูป | विराट रूप ![]() | ![]() Viiāṭ rūp | ในราชโยคะ วิราฏรูป คือ การบรรยายถึงสภาพของความบริสุทธิ์และคุณสมบัติต่างๆ ของอาตมาทั้งจักร (วงจร) ผ่าน 5 วรรณะ นั่นคือ 5 ยุค ที่แสดงผ่านส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ใหญ่โตของของวิษณุ ได้แก่ 1. พราหมณ์ (สังคมยุค) คือ สภาพจรตีกลา ของการไต่ขึ้นสูง แสดงด้วยจุก สูงสุดของร่างกาย 2. เทวดา (สัตยุค) คือ สภาพสโตประธาน แสดงด้วยหน้าผาก ใบหน้าของร่างกาย 3. กษัตริย์ (เตรตายุค) คือ สภาพสโต แสดงด้วยไหล่ อกของร่างกาย 4. แพศย์ (ทวาปรยุค) คือ สภาพรโช แสดงด้วยท้องของร่างกาย 5. ศุูทร (กลียุค) คือ สภาพตโมประธาน แสดงด้วยเท้าของร่างกาย พาพากล่าวว่า วิราฏรูป ของหนทางภักดี ไม่ได้แสดงจุก หมายถึง พราหมณ์ ของสังคมยุค และ ศิวพาพา ผู้เปลี่ยนพราหมณ์ให้เป็นเทวดาของสัตยุค ใน "มหาภารตะ" ได้กล่าวว่า กฤษณะให้สากษาตการแก่อรชุน เห็นวิราฏรูป ของวิษณุที่ใหญ่โต เพื่อให้อรชุนได้รู้ถึงเรื่องราวทั้งจักรผ่านวิราฏรูป และยอมรับว่ากฤษณะ คือ ภควาน จรตีกลา มีความหมายตรงข้ามกลับ อุตรตีกลา ที่หมายถึง สภาพของการตกต่ำลงมา วิราฏะ แปลว่า ใหญ่โต |
377 | วิเวก | วิเวก | विवेक ![]() | ![]() vivek | ปัญญาที่หยั่งรู้ หรือ รู้แจ้ง ทำให้สามารถเข้าใจถึงเหตุและผลบนพื้นฐานของญาณ ที่นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ในทางปฏิบัติ |
378 | นาภีของวิษณุ | นาภิของวิษณุ | विष्णु की नाभि ![]() | ![]() Viṣṇu kī nābhi | ในหนทางภักดี ได้แสดงว่า พรหมาออกมาจากนาภีของวิษณุ และวิษณุออกมาจากนาภีของพรหมา พาพาได้อธิบายความหมายว่า ในสังคมยุค พรหมา รวมทั้ง พรหมากุมารและกุมารี จะกลายเป็นวิษณุในสัตยุค นั่นคือ เทวี เทวดา จากการที่พาพามาสอนญาณและราชโยคะทำให้ลูกกลับมาบริสุทธิ์ ต่อมาหลังจากที่ลูกได้ใช้ 84 ชาติเกิด ก็กลายเป็นพรหมา รวมทั้ง พรหมากุมารและกุมารี ที่กลับมาตกต่ำ ไม่บริสุทธิ์ และต้องกลายเป็นวิษณุอีก นั่นหมายถึง อาตมาเล่นบทบาทในจักรของ 84 ชาติเกิด ได้เปลี่ยนจากพรหมา กลายเป็นวิษณุ และวิษณุกลายเป็นพรหมา จึงได้แสดงไว้ถึงการเกี่ยวข้องกันระหว่างวิษณุกับพรหมาด้วยการออกมาจากนาภีในหนทางภักดึ นาภี หมายถึง สะดือ |
379 | พฤกษปติ/พฤกษบดี (อ่านว่า พฺรึก-สะ-ปะ-ติ/พฺรึก-สะ-บอ-ดี) | วฺฤกฺษบดี | वृक्षपति ![]() | Vṛkṣapati | พฤกษบดี เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้สร้าง เจ้าของ นายของต้นไม้ ที่พาพาเปรียบต้นไม้กับโลกมนุษย์ โดยพาพามาสร้างต้นไม้ใหม่ โลกใหม่ ด้วยการมาให้ญาณ และทำให้โลกเก่าเปลี่ยนเป็นโลกใหม่ สวรรค์ พาพาใช้คำว่า พฤกษบดี คู่กับคำว่า พฤหัสบดี ซี่งเป็นสมญาของพาพาเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ พฤหัสบดี หมายถึง พาพา ผู้เป็นคุรุของเทวดา ที่มาให้ญาณแก่ลูก และทำให้ได้รับมุกติ และ ชีวันมุกติ กลายเป็น เทวี เทวดา บดี แปลว่า ผู้สร้าง เจ้าของ นาย สามี และ พฤกษ แปลว่า ต้นไม้ ดังนั้น วันพฤหัสบดี จึงได้ชื่อว่าเป็นวันคุรุ หรือ วันครู แท้จริงแล้ว คือ พาพา ผู้เป็นสัตคุรุ |
380 | พฤติ (อ่านว่า พฺรึด/พฺรึด-ติ) | วฺฤตฺติ | वृत्ति ![]() | ![]() vṛtti | พฤติหมายถึงความคิดต่อเนื่องที่ส่งคลื่นกระแสหมุนเวียนโดยรอบออกมา และเมื่อส่งผ่านออกมาทางทฤษฎี ทางคำพูด หรือทางการกระทำก็จะกลายเป็นพฤติกรรมของผู้นั้น ดังนั้นพาพามาเปลี่ยนพฤติของลูกด้วยคำสอนผ่านมุรลีทุกวัน พฤติ มาจากรากศัพท์ของคำว่า พฤต หมายถึง วนเวียน และ ทฤษฎี หมายถึง การเห็น การมองเห็น นั้นคือ การแลกเปลี่ยนคลื่นกระแสผ่านดวงตา |
381 | พฤนทาวน (อ่านว่า พรึน-ทา-วะ-นะ)/พฤนทาพน (อ่านว่า พรึน-ทา-พะ-นะ) | วฺฤนฺทาวน | वृन्दावन ![]() | ![]() Vṛndāvan | พฤนทาวน เป็นตำบลในเมืองมธุรา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในฮินดูธรรมได้กล่าวว่า กฤษณะใช้ชีวิตวัยเด็ก และร่ายรำกับโคปะและโคปีที่พฤนทาวน อยู่ห่างประมาณ 11 กิโลเมตร จากเมืองมธุรา ซึ่งเป็นสถานที่เกิดของกฤษณะ พฤนทาวน หมายถึง วนอุทยาน พื้นที่ป่าสวนดอกไม้ |
382 | แพศยาลัย (อ่านว่า แพด-สะ-หฺยา-ลัย) | เวศฺยาลย | वेश्यालय ![]() | veśyālay | สถานการค้าประเวณี หรือ ซ่องโสเภณี พาพามาเปลี่ยนโลกจากแพศยาลัยที่เต็มไปด้วยกิเลส โดยเฉพาะกาม (ตัณหา ราคะ) ของนรก ให้กลายเป็นศิวาลัยแห่งสวรรค์ แพศยาลัย มาจากคำว่า แพศยา หมายถึง โสเภณี หญิงสำส่อน กับอาลัย หมายถึง ที่อยู่ ที่พัก และ ศิวาลัย มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาลัย หมายถึง ที่อยู่ ที่พัก |
383 | ไวกูณฐ์ | ไวกุณฐ | वैकुण्ठ ![]() | ![]() Vaikuṇṭh | ไวกูณฐ์ คือ สวรรค์ ที่เชื่อกันว่ามีพื้นแผ่นดินเป็นทอง |
384 | ไวราคยะ (อ่านว่า ไว-รา-คฺยะ) | ไวราคฺย | वैराग्य ![]() | vairāgya | ไวราคยะ คือ สภาพของอาตมาที่เป็นอิสระจากความผูกพันยึดมั่นและความปรารถนาบนฐานของเทหอภิมานะ ไวราคยะ มาจากรากศัพท์คำว่า ราคะ ที่แปลว่า ความยึดมั่นผูกพัน รู้สึกชอบใจ พอใจ ดังนั้น ไวราคยะ คือ การไม่มีราคะ ไม่มีความยึดมั่นผูกพัน เทหอภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตนจากการเข้าใจและรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นร่างกาย โดยมาจากคำว่า เทห์ หมายถึง ร่างกาย และ อภิมานะ หมายถึง ความหลงทะนงตน |
385 | ไวษณพ (อ่านว่า ไว-สะ-นบ) | ไวษฺณว | वैष्णव ![]() | Vaiṣṇav | ชื่อนิกายหนึ่งในฮินดูธรรมของผู้ที่นับถือพระวิษณุ และเข้าใจว่าตนเองมาจากวิษณุกุล ทั้งนี้ ไวษณพจะเคร่งครัดเรื่องอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ หัวหอม และกระเทียม รวมทั้งข้อปฎิบัติในการละเว้นสิ่งที่ไม่ดีและสกปรกภายนอก พาพากล่าวว่า ลูก คือ ไวษณพ ที่แท้จริง ที่ทำตามศรีมัต และใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์ทั้งอาตมาและร่างกาย |
386 | วยักตะ (อ่านว่า วะ-ยัก-ตะ) | วฺยกฺต | व्यक्त ![]() | vyakt | วยักตะ หมายถึง สาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) วัตถุ ซึ่งตรงข้ามกับอวยักตะ หมายถึง อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) หรือ ผริศตา สาการพรหมา คือ วยักตพรหมา และ อาการพรหมา คือ อวยักตพรหมา ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
387 | วยภิจารี (อ่านว่า วฺยะ-พิ-จา-รี) | วฺยภิจารี | व्यभिचारी ![]() | ![]() vyabhicārī | วยภิจารี หมายถึง การนอกใจ เป็นชู้ การมีหลายสิ่ง หลายอย่าง และ อวยภิจารี หมายถึง มีเพียงผู้เดียว ไม่มีผู้อื่นใด ซึ่งตรงข้ามกับวยภิจารี ศิวพาพากล่าวว่า เมื่อลูกเริ่มทำอวยภิจารี ภักดี ในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) ลูกทำให้กับศิวะเพียงผู้เดียว ด้วยความรักและศรัทธาและใช้ทรัพย์สมบัติที่ พาพาทำให้ลูกมั่งคั่ง จากสังคมยุค เพราะว่าลูกมีญาณ การจดจำระลึกถึง เสวา ธารณา และทุกสิ่งเป็นอวยภิจารีกับพาพาเท่านั้น แต่ในเวลาต่อมา ลูกก็ทำภักดีให้กับสิ่งอื่นนอกเหนือจากศิวะ เช่น ลักษมี นารายณ์ เหล่าเทพ จนกระทั่ง ทำให้กับมนุษย์และวัตถุธาตุ นั่นเรียกว่า วยภิจารี ภักดี ลูกจึงกลับมามีธรรมและกรรมที่ภรัษฏะ หมายถึง ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และยากจนข้นแค้น ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา |
388 | วยาสะ/วยาส | วฺยาส | व्यास ![]() | ![]() Vyās | ในหนทางภักดี วยาส คือ ผู้เขียนเวทและคัมภีร์อื่นๆ และเข้าใจกันว่าเป็นผู้ที่เขียนมหาภารตะด้วย ศิวพาพา คือ วยาสที่แท้จริง เป็นผู้สอนคีตาที่แท้จริงในสังคมยุคให้แก่ลูก และลูกเป็นลูกของวยาส แต่เพื่อไม่ให้ผู้คนสับสับ พ่อจึงกล่าวว่าลูกเป็นลูกของศิวะ วยาส เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผู้อธิบาย ผู้รวบรวม |
389 | พรต (อ่านว่า พฺรด) | วฺรต | व्रत ![]() | ![]() vrat | พรต หมายถึง การละเว้น งด สาบาน คำมั่นสัญญา กิจวัตร การจำศีล เช่น การเว้นบริโภค และข้อกำหนดการปฏิบัติ แท้จริงแล้ว พาพาให้ลูกถือพรต (คำมั่นสัญญา หรือ การยึดมั่นในศรีมัตหรือข้อปฏิบัติ) ว่าจะอยู่อย่างบริสุทธิ์ โดยละเว้นกิเลส และสิ่งที่ไม่ดีงามทั้งหลาย ไม่ใช่การอดอาหาร หรือ นัำ เช่นที่ทำกันในหนทางภักดี |
390 | ศังกร | ศงฺกร | शंकर ![]() | ![]() Śaṅkar | ศังกร เป็นหนึ่งในสามของเทวดาที่ละเอียดอ่อนที่แสดงไว้ในตรีมูรติ ศังกร เป็นสัญลักษณ์แสดงสภาพที่สมบูรณ์ของพรหมาในการสละละทิ้ง (ตยาค) และตปัสยา (ตบะ) ด้วยเหตุนี้เองในหนทางภักดีได้แสดงว่าศังกรอยู่ในท่านั่งของการทำสมาธิที่มีโยคะอย่างมั่นคงกับศิวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้กิเลสทั้งห้า เกิดวินาศไป ดังนั้น จึงได้มีการแสดงว่า ศิวะ ตรีมูรติ ทำให้โลกที่มีกิเลสเกิดวินาศด้วยศังกร |
391 | ศังกราจารย์ | ศงฺกราจารย | शंकराचार्य ![]() | ![]() Śaṅkarācārya | อาทิศังกราจารย์ หรือ อาทิศังกระ คือ นักปราชญ์ชาวอินเดียใต้ของฮินดูธรรม มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1331-1363 และเป็นผู้ที่สถาปนาสันนยาสธรรม อาทิ แปลว่า ต้น แรก และ ศังกราจารย์ มาจากคำว่า ศังกร กับ อาจารย์ นั่นหมายถึง ศังกรผู้เป็นอาจารย์แรก |
392 | ศักดิ์ | ศกฺติ | शक्ति ![]() | ![]() Śakti | ศักดิ์ คือ พรหมากุมารี ผู้เป็น ลูกสาวของศิวพาพา นั่นคือ ศักดิ์ของผู้หญิง ที่ได้รับหล่อเลี้ยงจากศิวะ ทำให้เกิดศักดิ์ในตนเองและผู้อื่น จึงได้มีการจดจำถึง ศิวศักดิ์เสนา (กองทัพ) ในหนทางภักดี ตามตำนานของอินเดีย ศักดิ์ ก็คือ เทวี เป็นผู้ให้ศักดิ์ทั้งแปดของอาตมา และได้รับการเรียกว่า แม่ เช่น ทุรคา กาลี อัมพา สรัสวดี ศักดิ์ แปลว่า กำลัง พลัง อำนาจ ความสามารถ |
393 | ศักดิ์ภวนะ | ศกฺติ ภวน | शक्ति भवन ![]() | ![]() Śakti bhavan | นามของอาคาร สถานที่ สถานที่พักของทาทีชานกีและทาทีคุลซาร ในสันติวน รู้จักกันในนามว่า ศักดิ์ภวนะ ศักดิ์ หมายถึง พรหมากุมารี ผู้เป็นลูกสาวของศิวพาพา และ ภวนะ หมายถึง อาคาร สถานที่ ศักดิ์ แปลว่า กำลัง พลัง อำนาจ ความสามารถ |
394 | ศักดิ์สวรูป | ศกฺติ สฺวรูป | शक्ति स्वरूप ![]() | ![]() Śakti svarūp | อาตมาได้มีคุณสมบัติและเกิดเป็นประสบการณ์ในทางปฏิบัติของศักดิ์นั้น ศักดิ์ แปลว่า กำลัง พลัง อำนาจ ความสามารถ สวรูป หมายถึง อาตมาได้มีคุณสมบัติและเกิดเป็นประสบการณ์ในทางปฏิบัติของรูปนั้น |
395 | ศรณาคติ/สรณาคติ | ศรณาคติ | शरणागति ![]() | Śaraṇāgati | ศรณะ แปลว่า ที่พึ่ง ที่อาศัย ที่ปกป้อง ในภาษาไทยใช้คำว่า สรณะ ศรณาคติ/สรณาคติ หมายถึง การเข้าไปอาศัยหลบภัยจากอันตราย หรือ ปัญหา เพื่ออยู่ภายใต้การปกป้องจากพาพา |
396 | สรีระ | ศรีร | शरीर ![]() | ![]() śarīr | ร่างกาย |
397 | สรีรี | ศรีรี | शरीरी ![]() | Śarīrī | อาตมาที่อยู่ในร่างกาย หรืออาตมาที่มีร่างกาย |
398 | ศานติ (สันสกฤต)/สันติ (บาลี) | ศานฺติ | शान्ति ![]() | ![]() śānti | ความสงบ ความนิ่ง เงียบ |
399 | ศานติกุณฑ์ (สันสกฤต)/สันติกุณฑ์ (บาลี) | ศานฺติ กุณฺฑ | शान्ति कुण्ड ![]() | ![]() śānti kuṇḍ | กุณฑ์ คือ ถังบรรจุน้ำ แหล่งน้ำเล็กๆ หรือ สระ หวนกุณฑ์ คือ แท่นรูปสี่เหลี่ยมที่ใช้สำหรับก่อไฟบูชายัญ สันติกุณฑ์ หมายถึง แหล่ง หรือ ภาชนะของความสงบ พาพากล่าวว่า จงทำให้ศูนย์ หรือ สถานที่ของพาพาเป็นสันติกุณฑ์ หมายถึง เป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดประสบการณ์ของสันติ ศานติ และ สันติ แปลว่า ความสงบ ความนิ่ง เงียบ |
400 | ศิวะ | ศิว | शिव ![]() | ![]() Śiv | นามดั้งเดิมและตลอดไปของบรมบิดา บรมอาตมา มีความหมายว่า จุด เมล็ด และผู้ให้กัลยาณ กัลยาณ หมายถึง ดีงาม ประเสริฐ คุณประโยชน์ |
401 | ศิวกุมาร | ศิว กุมาร | शिव कुमार ![]() | Śiva Kumār | กุมาร (ลูกชาย) ของศิวะ พาพาทำให้เราจดจำว่า เราคือ พรหมากุมารและกุมารี ไม่ใช่ ศิวกุมาร หรือ ศิวกุมารี โดยที่ ศิวพาพา เป็นบิดาที่นิราการของอาตมาที่นิราการ แต่พรหมาเป็นประชาบิดาที่สาการในสาการีโลก |
402 | ศิวกุมารี | ศิว กุมารี | शिव कुमारी ![]() | Śiva Kumārī | กุมารี (ลูกสาว) ของศิวะ พาพาทำให้เราจดจำว่า เราคือ พรหมากุมารและกุมารี ไม่ใช่ ศิวกุมาร หรือ ศิวกุมารี โดยที่ ศิวพาพา เป็นบิดาที่นิราการของอาตมาที่นิราการ แต่พรหมาเป็นประชาบิดาที่สาการในสาการีโลก |
403 | ศิวชยันตี | ศิวะ ชยนฺตี | शिव जयन्ती ![]() | ![]() Śiva Jayantī | ศิวชยันตี คือ วันเกิดของศิวะ ในหนทางภักดี เรียกว่า ศิวราตรี คือ ราตรี หรือ กลางคืนที่มืดมิดของศิวะ นั่นคือ สภาพของความไม่รู้ ปาป และ กิเลสที่เกิดขึ้นในเวลาสุดท้ายของวงจรโลก ดังนั้นศิวะจึงได้อวตารลงมาในเวลานี้ ศิวราตรี เป็นเทศกาลของฮินดูธรรม ที่เฉลิมฉลองในวันแรม 14 ค่ำ เดือนมาฆะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ซึ่งจะเป็นช่วงที่เรียกว่า ปักษ์ขาด หมายถึงจะไม่มีแรม 15 ค่ำ ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ชยันตี หมายถึง วันเกิด วันครบรอบวันเกิด ผู้มีที่สุดแห่งชัยชนะ |
404 | ศิวปุราณะ | ศิวะ ปุราณ | शिव पुराण ![]() | ![]() Śiva Purāṇ | หนึ่งใน 18 ตำราหลักของสันสกฤต ที่แสดงถึงเรื่องราวเกี่ยวกับศิวะและปารวตี |
405 | ศิวศักดิ์ | ศิว ศกฺติ | शिव शक्ति ![]() | ![]() Śiva Śakti | ศักดิ์ หมายถึง ลูกสาวของศิวะ นั่นคือ ศักดิ์ของเพศหญิงที่ได้รับจากศิวะ และทำให้เกิดศักดิ์ในผู้อื่นด้วย จึงได้มีการจดจำถึง ศิวศักดิ์เสนา (กองทัพ) ในหนทางภักดี ศิวศักดิ์ มาจากคำว่า ศิวะรวมกับศักดิ์ นั้นหมายถึง อาตมาคงอยู่ในรูปรวมและเชื่อมโยงกับศิวะด้วยโยคะที่สม่ำเสมอและได้รับศักดิ์จากศิวะ ตามตำนานของอินเดีย ศักดิ์ ก็คือ เทวี เป็นผู้ให้ศักดิ์ทั้งแปดของอาตมา และได้รับการเรียกว่า แม่ เช่น ทุรคา กาลี อัมพา สรัสวดี ศักดิ์ หมายถึง กำลัง พลัง อำนาจ ความสามารถ |
406 | ศิวพาพา | ศิวพาพา | शिवबाबा ![]() | ![]() Śivabābā | ศิวะ คือ นามของบรมบิดา บรมอาตมา และ พาพา เป็นคำที่แสนหวานที่เรียกหรือกล่าวถึงศิวะ ผู้เป็นพ่อ ด้วยความรักและใกล้ชิด ดังนั้น เราจึงเรียกท่านว่า ศิวพาพา พาพา เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
407 | ศิวราตรี | ศิวราตฺริ | शिवरात्रि ![]() | ![]() Śiva Rātri | ศิวราตรี คือ ราตรี หรือ กลางคืนที่มืดมิดของศิวะ ซึ่งหมายถึง สภาพของความไม่รู้ บาป และกิเลสที่เกิดขึ้นในเวลาสุดท้ายของวงจรโลก ดังนั้นศิวะ จึงได้อวตารลงมาในเวลานี้ ทั้งนี้ ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ได้มีการฉลองศิวราตรี ว่าเป็น ศิวชยันตี นั่นคือ วันเกิดของศิวะ หรือ ทิพยชนม์ของศิวะ ศิวราตรี เป็นเทศกาลของฮินดูธรรม ที่เฉลิมฉลองในวันแรม 14 ค่ำ เดือนมาฆะ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) ซึ่งจะเป็นช่วงที่เรียกว่า ปักษ์ขาด หมายถึงจะไม่มีแรม 15 ค่ำ ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ราตรี หมายถึง กลางคืนที่มืดมิด และ ชยันตี หมายถึง วันเกิด วันครบรอบวันเกิด ผู้มีที่สุดแห่งชัยชนะ |
408 | ศิวลิงค์/ศิวลึงค์ | ศิวลิงฺค | शिवलिंग ![]() | ![]() Śivaliṅg | ลิงค์/ลึงค์ ในภาษาฮินดี หมายถึง สัญลักษณ์ หรือ เพศ ในหนทางภักดีได้แสดง ศิวะ ผู้ที่นิราการ เป็นชโยติพินทุ (จุดแห่งแสง) ในรูปของชโยติลึงค์ หรือเรียกว่า ศิวลึงค์ แต่เนื่องจากไม่สามารถทำภักดีให้กับจุดแห่งแสงได้ จึงทำเป็นรูปรัศมีแสงที่เป็นไข่วงรีที่ทำด้วยเพชร ทองคำ หรือ หิน แสดงเป็นสัญลักษณ์ของศิวะ พินทุ หมายถึง จุด และ ชโยติ หมายถึง แสง |
409 | ศิวาจารย์ | ศิวาจารยะ | शिवाचार्य ![]() | ![]() Śivācārya | ศิวาจารย์ เป็นสมญาที่ให้ไว้กับศิวพาพา ที่หมายถึง ศิวะ ผู้เป็นอาจารย์ อาจารย์ เป็นคำสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่สอนด้วยการประพฤติ ปฏิบัติของตนเอง หรือ ครูผู้ที่ใช้การดำเนินชีวิตเป็นตัวอย่าง ศิวพาพา คือ สาครของญาณ และดังนั้น ท่าน คือ ศิวาจารย์ ผู้ให้ญาณแก่ลูก ศิวาจารย์ มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาจารย์ สาคร หมายถึง มหาสมุทร |
410 | ศิวนนท์/ศิวนันท์ | ศิวานนฺท | शिवानन्द ![]() | ![]() Śivānand | นามของคุรุ ผู้นำทางอาตมาของหนทางภักดี |
411 | ศิวาลัย | ศิวาลย | शिवालय ![]() | ![]() Śivālay | ศิวาลัย มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาลัย ที่หมายถึง ที่อยู่ ที่พัก ศิวาลัย มีหลายความหมาย ได้แก่ 1. วัดที่มีการสร้างศิวลึงค์ 2. สถานที่ที่ศิวะอาศัยอยู่ นั่นคือ บรมธามะ นิราการีโลก หรือศิวบุรี 3. สวรรค์ที่สร้างโดยศิวะ 4. รถ (ร่าง) ของพรหมาที่ศิวะมาใช้ นั่นหมายถึง ศิวาลัยที่มีชีวิต |
412 | ศิโวหมฺ | ศิโวหมฺ | शिवोहम् ![]() | ![]() Śivohaṃ | เป็นการรวมกันของคำว่าศิวะ กับ อหมฺ ที่แปลว่า ฉัน ศิโวหมฺ หมายถึง ฉัน คือ ศิวะ ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา สันนยาสี กล่าวคำว่า ศิโวหมฺ สำหรับตนเองว่าเป็นศิวะ สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ |
413 | ศิศุปาล | ศิศุปาล | शिशुपाल ![]() | ![]() Śiśupāl | ศิศุปาล เป็นลูกพี่ลูกน้องของกฤษณะ ที่แสดงไว้ใน"มหาภารตะ" โดยแม่ของศิศุปาลได้ให้กฤษณะสาบานว่า กฤษณะจะให้อภัยลูกของนาง 100 ครั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจฆ่า ต่อมาศิศุปาลได้กล่าวร้ายต่อกฤษณะ 100 ครั้ง ในที่สุดศิศุปาลก็ถูกฆ่าโดยกฤษณะด้วยสวทัศนจักร แท้จริงแล้ว สวทัศนจักร เป็นสัญลักษณ์ของการฆ่าสิ่งที่ไม่ดีในอาตมา นั่นคือ เมื่ออาตมามีญาณทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ ทำให้มองเห็นและหยั่งรู้ถึงเรื่องราวของตนเองทั้งจักร จึงสามารถเอาชนะกิเลสได้ สวทัศน จักร มาจาก 3 คำ ได้แก่ 1. สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา 2. ทรรศนะ/ทัศนะ หมายถึง มองเห็น 3. จักร หมายถึง จักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ |
414 | ศุภ | ศุภ | शुभ ![]() | ![]() śubh | สิริมงคล ดีงาม |
415 | ศูพีรส | ศูพีรส | शूबीरस ![]() | śūbīras | ศูพีรส เป็นน้ำผลไม้คล้ายมะม่วง พาพาให้ลูกได้รับสากษาตการของศูพีรส และเกิดประสบการณ์ในอาณาเขตที่ละเอียดอ่อน เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในสวรรค์ ศูพีรส มาจากคำว่า ศูพี คือ ผลไม้คล้ายมะม่วง และ รส คือ น้ำผลไม้ |
416 | ศยามะ สุนทร | ศฺยาม สุนฺทร | श्याम सुन्दर ![]() | ![]() śyām sundar | ศยามะ สุนทร เป็นหนึ่งในนามของกฤษณะ หมายถึง ผู้ที่น่าเกลียดและสวยงาม โดย ศยามะ แปลว่า น่าเกลียด และ สุนทร แปลว่า ดี สวยงาม พาพาอธิบายว่า กฤษณะคงอยู่ในยุคทองเท่านั้น และมีความสวยงาม (บริสุทธิ์) ต่อมาเมื่ออาตมาเดียวกันนั้นได้เวียนว่ายตายเกิดจนถึงการสิ้นสุดของจักร ก็กลับมาน่าเกลียด (ไม่บริสุทธิ์) ด้วยเหตุนี้เอง ศยามะ สุนทร จึงเป็นนามหนึ่งของกฤษณะ และลูกก็คือ ศยามะ สุนทร ด้วยเช่นกัน พาพาใช้คำว่า ศยามะ สุนทร คู่กับ โครา สางวรา หรือ กาลา เสมอ โดย โครา หมายถึง ผิวขาว สวยงาม และ สางวรา หมายถึง สีแทน หรือ กาลา หมายถึง สีดำ |
417 | ศรีมตะ/ศรีมัต | ศฺรีมต | श्रीमत ![]() | śrīmat | หนทาง การกำหนด ที่เป็นสิริมงคล ดีงาม ของบรมบิดา บรมาตมา ที่ให้ลูกทำตามทุกย่างก้าว ตั้งแต่อมฤตเวลา จนเข้านอน และทุกขณะ สำหรับ ความคิด คำพูด การกระทำ และ สายใย ความสัมพันธ์ ศรีมัต มาจากคำว่า ศรี หมายถึง สิริมงคล ดีงาม กับ มัต หมายถึง หนทาง การกำหนด พาพากล่าวว่า ศรีมัต หมายถึง เศรษฐมัต โดย เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ |
418 | ศรีมัทภควัทคีตา | ศรีมทฺภควทฺคีตา | श्रीमद्भगवद्गीता ![]() | ![]() Śrīmadbhagavadgītā | ศรีมัทภควัทคีตา เป็นชื่อเต็มของคีตา คีตา คือ คัมภีร์หลักที่เปรียบกับเป็นเพชรพลอยที่สูงสุดของคัมภีร์ทั้งหมด ซึ่งในหนทางภักดี เชื่อกันว่าคีตาพูดโดย กฤษณะ ผู้เป็นภควาน แท้จริงแล้ว เป็นอนุสรณ์ของศิวพาพา ผู้เป็นภควานที่มาให้ญาณผ่านร่างของพรหมาในสังคมยุค และทำให้มนุษย์กลายเป็นเทพ คีต หมายถึง เพลงขับ การขับร้อง และ คีตา หมายถึง เพลงอันไพเราะ นั่นคือ ญาณของราชโยคะ |
419 | เศรษฐาจารี | เศฺรษฺฐาจารี | श्रेष्ठाचारी ![]() | śreṣṭhācārī | เศรษฐาจารี หมายถึง ผู้ที่ดีเลิศ ดีที่สุด ที่มีพฤติกรรม การกระทำที่บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสใด และไม่ได้เกิดผ่านครรภ์จากกิเลส ในสังคมยุค พาพามาเปลี่ยนลูกจากภรัษฏาจารี ชาวนรก ให้เป็น เศรษฐาจารี ชาวสวรรค์ เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ ภรัษฏะ แปลว่า ไม่บริสุทธิ์ คดโกง ทุจริต และ จารี แปลว่า ผู้ประพฤติ |
420 | สังคมยุค | สงฺคมยุค | संगमयुग ![]() | ![]() Saṅgamayug | สังคมยุค เป็นการบรรจบพบกันของสองยุค ระหว่างกลียุคที่กำลังจะจบสิ้นลงกับสัตยุคที่จะเริ่มขึ้น ศิวพาพา ได้ลงมาในสังคมยุค และทำให้เกิดสภาพการไต่ขึ้นสูง (จรตีกลา) ของอาตมา และเป็นยุคแห่งบุณย์ (บุญ) ที่เป็นคุณประโยชน์และดีงาม จรตีกลา มีความหมายตรงข้ามกลับ อุตรตีกลา ที่หมายถึง สภาพของการตกต่ำลงมา สังคม หมายถึง การพบกัน บรรจบกัน เชื่อมโยงกัน |
421 | สันนยาสี | สนฺนฺยาสี | संन्यासी ![]() | ![]() sannyāsī | สันนยาสี หมายถึง ฤษี นักบวช นักบุญ ผู้อยู่ในหนทางการใช้ชีวิตสันโดษ ที่แยกตนเองออกไปอยู่โดยลำพังและสละละทิ้งทางโลก พาพากล่าวว่า ลูก คือ สันนยาสี ที่แท้จริงและไม่มีขีดจำกัด ขณะที่อยู่ท่ามกลางโลกนี้ แต่อยู่อย่างบริสุทธิ์และละวางเช่นดอกบัว สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ คนมักนิยมเขียนว่า สันยาสี |
422 | สังสการ (มีการใช้คำว่า ส่งสการ ด้วย) | สงฺสการ | संस्कार ![]() | ![]() saṃsakar | ในราชโยคะ สังสการ หมายถึง รอยประทับ สันดาน นิสัย ลักษณะบุคลิกภาพ โดยทั่วไปแล้ว สังสการ ยังหมายถึง พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ |
423 | สกาศ | สกาศ | सकाश ![]() | ![]() sakāś | สกาศ มาจากคำว่า สศตฺก และ ประกาศ สกาศ คือ พลัง กำลัง อำนาจ และแสง ที่ลูกได้รับเป็นวรทานจากพ่อศิวะ และสามารถส่งผ่านสกาศไปยังผู้อื่นได้ สศตฺก หมายถึง พลัง กำลัง อำนาจ และ ประกาศ หมายถึง แสง |
424 | สัต/สัจ/สัตย์ | สตฺ/สจ/สตฺย | सच/सत्य ![]() | sac/satya | สัต/สัจ/สัตย์ หมายถึง ความจริง ความจริงแท้ |
425 | สัตคุรุประสาท | สตคุรุ ปฺรสาท | सतगुरु प्रसाद ![]() | ![]() Sataguru prasād | สัตคุรุประสาท เป็นคำที่บันทึกไว้ในคุรุครันถ์ สาหิพของสิกข์ธรรม สัตคุรุประสาท หมายถึง การได้รับประสาทจากสัตคุรุ ทั้งนี้ ศิวพาพา คือ คุรุ ผู้เป็นสัตย์ มาบอกสัตย์ที่ทำให้ลูกได้รับอานนท์ (อานันท์) มุกติ ชีวันมุกติ ประสาท หมายถึง โปรดให้ ยินดีให้ อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย |
426 | สัตคุรุ/สัทคุรุ | สตคุรุ/สทฺคุรุ | सतगुरु/सद्गुरु ![]() | ![]() Sataguru/Sadguru | พาพา คือ สัตคุรุ/สัทคุรุ ผู้เป็นสัตย์ที่นำทางอาตมากลับบรมธามะ บ้านของอาตมา นั่นคือ ได้รับมุกติ ชีวันมุกติ คุรุ เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่เป็นครู ผู้นำทาง ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ หรือ สาขาใดๆ คุรุ คือ ผู้นำทางให้กับอาตมา และยังหมายถึง ผู้ขจัดความมืด (ความไม่รู้) และนำไปสู่แสงสว่าง (ความรู้) |
427 | สโตคุณี | สโตคุณี | सतोगुणी ![]() | satoguṇī | ผู้ที่มีคุณสมบัติสโต หมายถึง สภาพของอาตมาที่เต็มไปด้วยคุณสมบัติดั้งเดิมเจ็ดอย่าง ได้แก่ ความรู้ ความบริสุทธิ์ ความสงบ ความรัก ความสุข อานนท์ (อานันท์) และ ศักดิ์ สโตคุณี มาจากคำว่า สัต แปลว่า เจ็ด กับคำว่า คุณี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติ อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย |
428 | สโตประธาน | สโตปฺรธาน | सतोप्रधान ![]() | satopradhān | สโตประธาน หมายถึง สภาพของอาตมาที่เต็มไปด้วยคุณสมบัติดั้งเดิมเจ็ดอย่าง ได้แก่ ความรู้ ความบริสุทธิ์ ความสงบ ความรัก ความสุข อานนท์ (อานันท์) และ ศักดิ์ เป็นหลักเหนือสภาพ รโช และ ตโม สโตประธาน มาจากคำว่า สัต แปลว่า เจ็ด และ ประธาน แปลว่า เป็นหลักหรือใหญ่ในหมู่หรือกลุ่ม อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย |
429 | สัต จิต อานนท์/สัจจิทานนท์ | สตฺ จิตฺ อานนฺท/สจฺจิทานนฺท | सत् चित् आनन्द/सच्चिदानन्द ![]() | Sat Cit Ānand/Saccidānand | บรมบิดา บรมาตมา คือ สัต จิต อานนท์ โดยมีความหมาย ดังนี้ 1) สัต หมายถึง สัตย์ สัจ ความจริง 2) จิต หมายถึง มีชีวิต (มาจากคำว่า ไจตนยะ/ไจตนย์) 3) อานนท์ (อานันท์) หมายถึง อตีนทริยสุข เป็นความสุขเหนืออวัยวะและประสาทสัมผัสของร่างกาย |
430 | สัต ศรี อกาล | สตฺ ศฺรี อกาล | सत् श्री अकाल ![]() | ![]() Sat Śrī Akāl | คุรุนานัก ผู้สถาปนาสิกข์ธรรม ได้กล่าวถึง บรมบิดา บรมาตมา ว่าเป็น สัต ศรี อกาล โดยมีความหมาย ดังนี้ 1) สัต หมายถึง สัตย์ สัจ ความจริง 2) ศรี หมายถึง สิริมงคล ความสูงส่ง ความรุ่งเรือง ความงาม ความเจริญ 3) อกาล หมายถึง ไม่ตาย เหนือความตาย (กาล แปลว่า เวลา ความตาย) ต่อมา ในผู้ทำตามสิกข์ธรรม ได้ใช้คำ สัต ศรี อกาล สำหรับการทักทายกันในภาษาปัญจาบี หรือ ปัญชาพี โดยไม่ได้เข้าใจความหมายดั้งเดิม |
431 | สัตสงค์ | สตฺสงฺค | सत्संग ![]() | ![]() satsaṅg | ในราชโยคะ สัตสงค์ หมายถึง การอยู่กับผู้ที่เป็นสัตย์ สัตสงค์ เป็นคำภาษาสันสกฤต มาจาก 2 คำ นั่นคือ สัตย์ และสงค์ โดย สงค์ แปลว่า การอยู่ด้วยกัน การเกี่ยวข้อง สังคมยุค คือ สัตสงค์ที่แท้จริง ที่มีเราอยู่กับพาพาผู้เป็นสัตย์ นอกจากนี้ สัตสงค์ หมายถึง ชุมนุมของหนทางภักดีที่มีคุรุ พระ นักบวช เป็นผู้สอน |
432 | สัทคติ | สทฺคติ | सद्गति ![]() | ![]() sadgati | ในราชโยคะ สัทคติ หมายถึง ชีวันมุกติ (การหลุดพ้นในชีวิต) ที่ชีวิตเข้าไปสู่หนทางและสภาพของสัตย์ ชีวันมุกติ หมายถึง การได้รับผลรางวัลในสัตยุค (ยุคทอง) และ เตรตายุค (ยุคเงิน) ซึ่งเป็นชีวิตที่สุขสันต์ ทั้งสุขภาพที่ดี ความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรือง และเป็นอิสระจากพันธะของกรรม พาพาได้กล่าวถึง ทุรคติ หมายถึง ชีวันพันธะ (พันธะในชีวิต) นั่นคือ ชีวิตที่ตกต่ำและเลวร้ายภายใตักิเลสทั้งห้าในทวาปรยุค (ยุคทองแดง) และ กลียุค (ยุคเหล็ก) ซึ่งตรงข้ามกับสัทคติ ทุร เป็นคำประกอบหน้าคําศัพท์หมายความว่า ชั่วร้าย ไม่ดี และ คติ แปลว่า ความเร็ว การเคลื่อนไปสู่ ผลลัพธ์ |
433 | สมัย | สมย | समय ![]() | ![]() samay | เวลา ยุค โอกาส คราว |
434 | สรัสวดี | สรสฺวตี | सरस्वती ![]() | ![]() Sarasvatī | เทวีแห่งวิทยา ดนตรี และ ศิลปวิทยาของฮินดูธรรม แท้จริงแล้ว สรัสวดี คือ พรหมากุมารี ลูกสาวของพรหมาในสังคมยุค ในหนทางภักดี ได้มีการแสดงวีณาไว้กับสรัสวดี ผู้เป็นเทวีแห่งวิทยา นั่นคือ บทบาทของมัมมา ที่ให้ความรู้ของพาพาแก่ผู้อื่น และได้รับสมญาว่าสรัสวดี ส่งเสียงดนตรีที่เปรียบกับความรู้ ในมุรลีพาพากล่าวว่า ได้มีการแสดงสิตารไว้กับสรัสวดี เนื่องด้วย มัมมาเล่นสิตารในชีวิตจริง สิตาร เป็นเครื่องดนตรีของฮินดูสถานประเภทเครื่องสาย สำหรับดนตรีคลาสสิก ที่อยู่ในกลุ่มด้วยกับวีณา (คล้ายพิณใหญ่ของไทย) สรัสวดี ภาษาไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี |
435 | สรรโวทยา | สรฺโวทยา | सर्वोदया ![]() | Sarvodayā | สรรโวทยา เป็นสมญาของบรมบิดา บรมาตมา หมายถึง ผู้ที่มีความเมตตาต่อทุกคน ท่านยกระดับไม่ว่าจะเป็นนักบวช นักบุญ คนพิการ โสเภณี เป็นต้น และทำให้ลูก กลับมาสัมปันนและสมบูรณ์ สรรโวทยา มาจากคำว่า สรรพ แปลว่า ทุกสิ่ง ทั้งปวง ทั้งหมด กับ ทยา แปลว่า ความเมตตา ความกรุณา สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม |
436 | สาการ | สาการ | साकार ![]() | sākār | ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ วัตถุ วยักตะ สถูละ |
437 | สาการ มุรลี | สาการ มุรลี | साकार मुरली ![]() | ![]() sākār murlī | สาการมุรลี คือ วยักตมุรลี เป็นมหาวกยะ คำพูด คำสอนที่ยิ่งใหญ่และล้ำค่า โดย ศิวพาพา พูดผ่านร่างของพรหมาที่เป็นสื่อกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 - 18 มกราคม พ.ศ. 2512 มหาวกยะ มาจากคำว่า มหา แปลว่า ใหญ่ ยิ่งใหญ่ และ วากยะ แปลว่า คําพูด คํากล่าว ถ้อยคํา |
438 | สากษาตการะ/สากษาตการ (อ่านว่า สาก-สาต-กาน) | สากฺษาตฺการ | साक्षात्कार ![]() | ![]() sākṣātkār | สากษาตการ หมายถึง สิ่งที่ปรากฏเห็นเป็นอาการหรือสภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อนอยู่ข้างหน้า ไม่ใช่วัตถุที่จับต้องได้ ศิวพาพามีกุญแจที่ให้ทิพยทฤษฎีแก่ลูกและภักตะ เพื่อได้รับสากษาตการ ทั้งนี้ ลูกก็สามารถเห็นได้ด้วยดวงตาที่สาม นั่นคือ ทิพยจักษุจากพุทธิที่มีญาณเป็นพื้นฐาน สากษาตการ มาจากคำว่า สากษาต หมายถึง ปรากฏอยู่ข้างหน้า กับ อาการ หมายถึง สภาพอวยักตะที่ละเอียดอ่อน |
439 | สาธนะ | สาธน | साधन ![]() | sādhan | พาพากล่าวคำว่า สาธนะ คู่กับ สาธนา โดยลูกสามารถใช้สาธนะเพื่อทำสาธนาได้ แต่ต้องอยู่เหนือการถูกดึงรั้งและไม่ยึดติดกับสาธนะ สาธนะ หมายถึง วิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สาธนา หมายถึง อาตมาเพ่งเพียรปฏิบัติขณะที่อยู่ในร่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย |
440 | สาธนา | สาธนา | साधना ![]() | sādhanā | พาพากล่าวคำว่า สาธนะ คู่กับ สาธนา โดยลูกสามารถใช้สาธนะเพื่อทำสาธนาได้ แต่ต้องอยู่เหนือการถูกดึงรั้งและไม่ยึดติดกับสาธนะ สาธนา หมายถึง อาตมาเพ่งเพียรปฏิบัติขณะที่อยู่ในร่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สาธนะ หมายถึง วิธีการ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ |
441 | สาลิคราม/ศาลิคราม | สาลิคฺราม/ศาลิคฺราม | सालिग्राम/शालिग्राम ![]() | ![]() sāligrām/śāligrām | ได้มีความเชื่อกันว่า ศาลิคราม เป็นหินศักดิ์สิทธิ์ที่สุด โดยทั่วไปจะเป็นหินรูปไข่สีดำ ในหนทางภักดี ศิวพาพาได้รับการบูชาในนิราการรูป คือ ศิวลึงค์ เท่านั้น ขณะที่ลูกได้รับการบูชาทั้งสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) คือ รูปเคารพเทวีและเทวดา และนิราการ (อาตมา) คือ ศาลิครามด้วย แท้จริงแล้ว ศาลิครามเป็นอนุสรณ์ของพรหมากุมารและกุมารีที่เป็นผู้ช่วยพาพาในสังคมยุค ที่วัดรฆุนาถ เมืองชัมมู ของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ในอินเดีย ได้มีศาลิคราม 330 ล้านรูป ที่เป็นอนุสรณ์ของอาตมาที่เป็นเทวีและเทวดา 330 ล้านองค์ |
442 | สิกข์/ซิกข์ | สิกฺข | सिक्ख ![]() | ![]() Sikkh | สิกข์ธรรม เป็นธรรมที่ใหญ่เป็นอันดับห้าขององค์การศาสนาในโลก โดยมีคุรุนานัก ผู้ก่อตั้งสิกข์ธรรม ชาวสิกข์ คือ ผู้ที่ทำตามหนทางของสิกข์ธรรม |
443 | สิตาระ | สิตาร์ | सितार ![]() | sitār | สิตาร์ เป็นเครื่องดนตรีของฮินดูสถานประเภทเครื่องสาย สำหรับดนตรีคลาสสิก ที่อยู่ในกลุ่มด้วยกับวีณา (คล้ายพิณใหญ่ของไทย) ในหนทางภักดีได้มีการแสดงวีณาไว้กับสรัสวดี ผู้เป็นเทวีแห่งวิทยา แท้จริงแล้ว เป็นบทบาทของมัมมาของสังคมยุคนี้ ที่ให้ความรู้ของพาพาแก่ผู้อื่น และได้รับสมญาว่าสรัสวดี ผู้เล่นวีณา ส่งเสียงดนตรีที่เปรียบกับความรู้ แต่ในมุรลี พาพากล่าวว่าได้มีการแสดงสิตาร์ไว้กับสรัสวดี เนื่องด้วย มัมมาเล่นสิตาร์ในชีวิตจริง |
444 | สินธ์ | สินฺธ | सिन्ध ![]() | ![]() Sindh | สินธ์ เป็นหนึ่งในสี่รัฐของประเทศปากีสถาน ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย ได้มีการวางรากฐานจุดเริ่มต้นที่เมืองไฮเดอราบาด ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในรัฐสินธ์ ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2479-2480 และในปีเดียวกัน ก็ได้ย้ายมาตั้งที่เมืองกราจี ระยะทางประมาณ 160 กม. จากเมืองไฮเดอราบาด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2493 ได้ย้ายจากเมืองกราจี มาที่ภูเขาอาพู รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย |
445 | สุทามา | สุทามา | सुदामा ![]() | ![]() Sudāmā | สุทามา เป็นเพื่อนเล่นของกฤษณะในวัยเด็ก และเป็นอนุสรณ์ของผู้ที่นำข้าวหนึ่งกำมือมาให้กฤษณะด้วยความรัก แม้เป็นสิ่งเล็กน้อยที่ตนเองมี จึงได้รับปราสาทราชวังเป็นการตอบแทน นั่นหมายถึง หากเราใช้ทุกอย่างที่เรามีเพื่องานของพาพาในสังคมยุคนี้ แล้วเราจะได้รับตอบแทนกลับคืนมาอย่างมากมาย |
446 | สุหาคะ | สุหาค | सुहाग ![]() | suhāg | สุหาคะ หมายถึง สามี สิ่งชี้บอกถึงภรรยาว่าเป็นผู้โชคดี คือ สามียังมีชีวิตอยู่และได้รับการดูแลจากสามี พาพา คือ สุหาคะที่แท้จริง ดังนั้นลูกจึงเป็นผู้ที่มีโชคที่แต่งงานกับพาพา สามีที่อมร ไม่ตาย อวินาศ คงอยู่ตลอดไป ผู้ให้การดูแลและทำให้ลูกได้รับทุกสิ่งที่ไม่มีขึดจำกัด ในทางโลก หนึ่งในสัญลักษณ์ของสุหาคะ คือ ดิลกหรือสินทูระที่หน้าผากของภรรยา |
447 | สูรทาสะ/สูรทาส | สูรทาส | सूरदास ![]() | ![]() Sūradās | สูรทาส เป็นนักบุญช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 และเป็นภักตะของกฤษณะ โดย สูรทาสทำให้ตนเองตาบอด เพื่อจะได้ไม่ต้องมีทฤษฎีหรือสายตาที่ไม่บริสุทธิ์และตกภายใต้กิเลสจากภายนอก |
448 | ศูรปนขา | สูรฺปนขา | सूर्पनखा ![]() | ![]() Sūrpanakhā | นางศูรปนขา หรือ นางสำมนักขา เป็นน้องสาวสุดท้องของทศกัณฐ์ โดยนางเป็นชายาของชิวหา เมื่อสามีถึงแก่ความตาย วันหนึ่งนางไปเที่ยวป่าจนได้พบพระรามจึงเกิดหลงรักขึ้นและได้เข้าไปเกี้ยวพาราสี แต่พระรามไม่สนใจ นางได้ตามพระรามไปที่อาศรม เมื่อเห็นนางสีดา ก็คิดว่าถ้าหากตนกำจัดนางสีดาได้ พระรามคงจะหันมาสนใจตน ดังนั้นนางจึงเข้าไปทำร้ายนางสีดาแต่ถูกพระรามจับได้ พระลักษมณ์ได้ลงโทษนางด้วยการตัดหูและจมูก ในที่สุดก็ปล่อยตัวไป ต่อมานางไปบิดเบือนความจริงต่อทศกัณฐ์ พร้อมทั้งยอโฉมนางสีดาจนทศกัณฐ์หลงเชื่อคำยุยงของนางและมาลักพานางสีดา จึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างฝ่ายทศกัณฐ์กับฝ่ายพระราม ทั้งนี้ พาพาได้กล่าวถึงความบริสุทธิ์ว่า แม้แต่ผู้หญิงบางคนก็ไม่สามารถ อยู่โดยปราศจากกิเลสได้เช่นนางศูรปนขา และพาพาให้ลูกมีชัยชนะและอยู่เหนืออิทธิพลของมายาซึ่งเปรียบกับนางศูรปนขาที่ถูกตัดหูและจมูก |
449 | สุริยวงศี | สูรฺยวงฺศี | सूर्यवंशी ![]() | ![]() sūryavaṃśī | ผู้ที่เป็นของสุริยวงศ์ โดยสุริยวงศ์มีสภาพเศรษฐ์ที่สุดในสัตยุค (ยุคทอง) วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล และ เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ |
450 | เสวา | เสวา | सेवा ![]() | sevā | เสวา หมายถึง งานรับใช้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่วิชาของราชโยคะ โดยหนทางภักดีได้แสดงด้วยสังข์ เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ในหัตถ์ขวาบนของวิษณุ หมายถึง การส่งเสียงเพื่อรับใช้ทั้งโลกด้วยการเป่าสังข์ของญาณ (ศังขธวนิ/สังขธวนิ) นั่นคือ ให้ญาณของพาพาแก่ผู้อื่น ทั้งนี้ เสวา สามารถทำได้ด้วย ร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สมบัติ ความคิด คำพูด และ การกระทำ วิษณุ ได้รับการเรียกว่า จตุรภุช หมายถึง ผู้ที่มีสี่แขน นั่นหมายถึง รูปรวมของลักษมีและนารายณ์ ที่แสดงถึงหนทางครอบครัวที่บริสุทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของสี่วิชาของราชโยคะ จตุรภุช มาจากคำว่า จตุร หมายถึง สี่ และ ภุช หมายถึง แขน |
451 | สมฤติ/สมฤดี | สฺมฺฤติ | स्मृति ![]() | smṛti | การระลึกถึง การจดจำ ในราชโยคะ สมฤดีหมายถึงการอยู่ในความทรงจำที่ได้มีการบันทึกเก็บไว้และจดจำนึกถึงได้ตลอด แล้วทำให้อาตมาเต็มไปด้วยศักดิ์ (กำลัง พลัง อำนาจ) ภายใน |
452 | สวจินตนะ | สฺวจินฺตน | स्वचिंतन ![]() | ![]() svacintan | การคิดเกี่ยวกับตนเอง นั่นคือ อาตมา สวจินตนะ มาจากคำว่า สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา กับ จินตนะ แปลว่า ความคิด เกี่ยวกับความคิด |
453 | สวทัศนจักรธารี | สฺวทรฺศน จกฺรธารี | स्वदर्शन चक्रधारी ![]() | Svadarśan Cakradhārī | สวทัศนจักรธารี เป็นสมญาพรหมากุมารและกุมารี ผู้เป็นพราหมณ์ในสังคมยุค หมายถึง อาตมาที่มีญาณทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ ทำให้มองเห็นและหยั่งรู้ถึงเรื่องราวของตนเองทั้งจักร สวทัศนจักรธารี มาจาก 3 คำ ได้แก่ 1. สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา 2. ทัศนะ หมายถึง มองเห็น 3. จักรธารี หมายถึง ผู้หยั่งรู้ทั้งจักร (วงจร) ของละครโลก ตั้งแต่ตอนต้น ตอนกลาง จนถึงตอนจบ พาพาทำให้ลูกเป็นสวทัศนจักรธารี เพื่อเอาชนะกิเลสด้วยญาณ แต่ในหนทางภักดีได้แสดงจักร เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ของวิษณุ และกฤษณะ ผู้ควงสุทัศนจักร หรือ สวทัศนจักร ด้วยนิ้วมือของตนเพื่อใช้ฆ่าอสูร สุทัศนะ หมายถึง การเห็นสิ่งที่ดีงาม สิริมงคล |
454 | สวมานะ/สวามาน | สฺวมาน | स्वमान ![]() | ![]() svamān | สวมานะ/สวามาน หมายถึง การเคารพตนเองในคุณสมบัติดั้งเดิมของอาตมา สวมานะ/สวามาน มาจากคำว่า สว หมายถึง ตนเอง คือ อาตมา และ มานะ แปลว่า เคารพ ชื่อเสียง เกียรติ |
455 | สวยม (อ่านว่า สะ-วะ-หฺยม) | สฺวยม | स्वयं ![]() | svayaṁ | สวยม แปลว่า ด้วยตนเอง ของตัวเอง สว แปลว่า ตัวเอง ตนเอง นั่นคือ อาตมา |
456 | สวรรค์ | สฺวรฺค | स्वर्ग ![]() | ![]() svarg | สวรรค์ นอกจากนี้ในมุรลี มีการกล่าวถึงสวรรค์ในชื่อต่างๆ ด้วย เช่น สุวรรณภูมิ สวรรณิมยุค อมรโลก สุุุขธามะ วิษณุบุรี ไวกูณฐ์ และ บหิศตะ เป็นต้น |
457 | สวารถะ | สฺวารฺถ | स्वार्थ ![]() | svārth | สวารถะ หมายถึง การเห็นแก่ตนเอง ทั้งนี้ ลูกของพาพา ทำสิ่งใดควรมีความมุ่งหมาย ความประสงค์เพื่อตนเอง และให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย สวารถะ มาจากคำว่า สว คือ ตนเอง กับ อรรถ คือ ความมุ่งหมาย ความประสงค์ |
458 | หฐโยคะ | หฐโยค | हठयोग ![]() | ![]() haṭhayog | โยคะด้วยการบังคับ บากบั่น พากเพียร ในทางร่างกายภายนอก ส่วนใหญ่ พาพาจะกล่าวถึงสันนยาสีว่าเป็นหฐโยคี ที่ละทิ้งครอบครัวไปเพ่งเพียรปฏิบัติ ด้วยวิธีของการมีโยคะกับพรหมธาตุ ที่เข้าใจว่าเป็นบรมบิดา บรมาตมา และต้องการหลอมรวมเข้าไปกับพรหมธาตุ หรือ การฝึกฝนท่าทางต่างๆ ของร่างกาย หฐ หมายถึง การบังคับ บากบั่น พากเพียร และ โยคะ หมายถึง การเชื่อมโยง การติดต่อ สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ |
459 | หฐโยคี | หฐโยคี | हठयोगी ![]() | ![]() haṭhayogī | หฐโยคี คือ ผู้ฝึกฝนหฐโยคะ หฐโยคะ หมายถึง โยคะด้วยการบังคับ บากบั่น พากเพียร ในทางร่างกายภายนอก ส่วนใหญ่ พาพาจะกล่าวถึงสันนยาสีว่าเป็นหฐโยคี ที่ละทิ้งครอบครัวไปเพ่งเพียรปฏิบัติ ด้วยวิธีของการมีโยคะกับพรหมธาตุ ที่เข้าใจว่าเป็นบรมบิดา บรมาตมา และต้องการหลอมรวมเข้าไปกับพรหมธาตุ หรือ การฝึกฝนท่าทางต่างๆ ของร่างกาย หฐ หมายถึง การบังคับ บากบั่น พากเพียร และ โยคะ หมายถึง การเชื่อมโยง การติดต่อ สันนยาส แปลว่า การสละละทิ้ง และ สันนยาสี คือ ผู้สละละทิ้ง ได้แก่ ฤษี นักบวช นักบุญ |
460 | หมะ โส โส หมะ | หม โส โส หม | हम सो, सो हम ![]() | ham so so ham | เรากลายเป็นสิ่งที่เราเคยเป็น นั่นคือ เราเคยเป็นอะไร เราก็จะกลายเป็นเช่นนั้นอีก หมายถึง ในจักร (วงจร) ฉันผู้เป็นอาตมา ได้ผ่านสภาพต่างๆ หรือที่เรียกว่าวรรณะ จากสังคมยุคจนตลอดทั้งจักร ได้แก่ พราหมณ์ เทวดา กษัตริย์ แพศย์ ศูทร และเวลานี้ก็ต้องกลับมาสู่สภาพเดิมอีก |
461 | หริ | หริ | हरि ![]() | ![]() Hari | หริ หมายถึง ผู้ขจัดความทุกข์ โดยในหนทางภักดี หริ เป็นอีกนามของกฤษณะและวิษณุ แท้จริงแล้วเป็นศิวพาพา ผู้ขจัดความทุกข์ให้ลูกในสังคมยุค |
462 | หริทวาร | หริทฺวาร | हरिद्वार ![]() | ![]() Haridvār | หริทวาร หมายถึง ประตูไปสู่หริ ในราชโยคะ หริทวาร มาจากคำว่า หริ แปลว่า ผู้ขจัดความทุกข์ ซึ่งหมายถึง ศิวะ กับ ทวาร แปลว่า ประตู ดังนั้นหริทวาร ก็คือ มธุพน และ บรมธามะ ในหนทางภักดี หริ เป็นนามที่เรียกกฤษณะ จึงหมายถึง พาพาเป็นผู้เปิดทวารของกฤษณะ นั่นคือ ไวกูณฐ์ที่กฤษณะอาศัยอยู่ หริทวาร เป็นเมืองโบราณและสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญของฮินดูธรรม ตั้งอยู่ที่รัฐอุตตราขัณฑ์ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และเป็นเมืองตีนเขาของหิมาลัยที่แม่น้ำคงคาไหลลงมา |
463 | หริศจันทร์ | หริศฺจนฺทฺร | हरिश्चन्द्र ![]() | ![]() Hariścandra | ในเรื่องราวของหนทางภักดี หริศจันทร์ คือ ราชาที่รู้จักกันว่ามีความซื่อสัตย์ พูดสัจ ความจริงเสมอ ไม่เคยนำสิ่งที่ได้รับมาด้วยความไว้วางใจไปใช้ในทางที่ผิด และรักษาคำมั่นสัญญา ถึงแม้ตัวเองจะต้องตายก็ตาม แต่ในที่สุดแล้ว ภควานก็ให้ชีวิตและทุกสิ่งกลับคืนมา แท้จริงแล้ว นั่นคือ อนุสรณ์ของคุณสมบัติของลูกของพาพา ที่อยู่อย่างซื่อสัตย์เสมอ และเมื่อให้สิ่งใดกับพาพาแล้ว ก็อย่าคิดจะเอากลับคืนมา |
464 | หลุอา | หลุอา | हलुआ ![]() | ![]() haluā | หลุอา เป็นขนมหวานที่มีส่วนประกอบของแป้ง ฆี น้ำตาล และน้ำ ที่ผสมกันแล้วกวนจนแห้งก็จะร่อนไม่ติดก้นกระทะ นั่นหมายถึง การไม่ผูกพันยึดมั่นกับใคร หรือ สิ่งใดของโลกนี้ พาพาได้กล่าวว่า เมื่อแม่ สามี หรือ ภรรยาตาย ก็ให้รับประทานหลุอา |
465 | หเวลี | หเวลี | हवेली ![]() | ![]() havelī | คฤหาสถ์ขนาดใหญ่ที่มีลานตรงกลางของครอบครัวใหญ่อาศัยอยู่ด้วยกัน พาพาได้เปรียบเทียบว่า ลูกของพาพาก็ต้องอยู่อย่างเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยความรักอย่างยิ่ง เช่นน้ำนมและน้ำตาล |
466 | หาง ชี | หาง ชี | हाँ जी ![]() | ![]() hāṁ jī | ใช่ ครับ/ค่ะ (เห็นด้วย) |
467 | หาตัมตาย/หาติมตาย | หาตมตาย/หาติมตาย | हातमताई/हातिमताई ![]() | Hātamatai/Hātimatai | หาตัมตาย เป็นคุรุที่ได้แนะนำผู้อาศัยอยู่กับครอบครัวให้ใส่ลูกปัดไว้ในปาก เมื่อใครอยู่รอบตัวมีความโกรธ เพื่อทำให้เกิดความสงบในบ้าน พาพาได้ยกตัวอย่างเรื่องนี้ เป็นอุบายทำให้ผู้มีลูกปัดอยู่ในปาก ก็ไม่สามารถที่จะมีปฏิกริยาโต้ตอบกับผู้อื่นได้ จึงป้องกันการทะเลาะเบาะแว้งที่จะเกิดขี้น หากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้โต้ตอบ นอกจากนี้ ลูกปัดอยู่ในปาก ยังหมายถึง การจดจำพาพาเพียงผู้เดียว แล้วมายาจะไม่สามารถเข้ามาหาลูกได้ |
468 | หาซีรา หชูระ | หาซีรา หชูร | हाज़िरा हजूर ![]() | hāzirā hajūr | หชูระ หมายถึง ผู้เป็นนาย นั่นคือ ศิวพาพา และ หาซีรา หมายถึง การมาปรากฏ หาซีรา หชูระ คือ การมาปรากฏของศิวพาพา ผู้เป็นนาย และพาพาให้ลูกพิสูจน์ความรักที่มีต่อท่านด้วย ชี หาซีระ นั่นคือ ตอบรับและพร้อมปรากฏอยู่ในงานรับใช้เสมอ |
469 | ฮินดุสถาน/ฮินดูสถาน | ฮินฺดุสตาน | हिन्दुस्तान ![]() | ![]() Hindustān | ภารตะ คือ ชื่อดั้งเดิมที่ใช้เรียกดินแดนสวรรค์ และต่อมาก็มีการเรียกว่า ฮินดุสถาน ซึ่งมาจากชื่อแม่น้ำสินธุ กับคำว่า สตาน นั่นคือ สถาน พาพากล่าวว่า ภารตวาสีได้ใช้ชื่อฮินดุสถาน มาเรียกเป็นธรรมของตนเองว่าฮินดูธรรมด้วย คนมักนิยมเขียนว่า ฮินดูสถาน วาสี แปลว่า ผู้อยู่ ผู้ครอง |
470 | หิรัณยกัศยปะ | หิรณฺยกศฺยป | हिरण्यकश्यप ![]() | ![]() Hiraṇyakaśyap | จากคัมภีร์ปุราณะของฮินดูธรรม หิรัณยกัศยปะ คือ ราชาที่เป็นอสูร เป็นภักตะของศิวะ ที่เพ่งเพียรปฏิบัติและทำตปัสยา (ตบะ) จนศิวะตกลงให้พรตามที่หิรัณยกัศยปะขอว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน หลังจากได้รับพร หิรัณยกัศยปะ ก็เลิกทำภักดี และให้ทุกคนมากราบไหว้ตนเอง ทั้งนี้ ประหลาท ลูกชายของหิรัณยกัศยปะ เป็นภักตะของวิษณุ หิรัณยกัศยปะจึงให้โหลิกา พี่สาวของตนพยายามฆ่าประหลาท จนโหลิกาถูกเผาจนตายเอง จึงเป็นที่มาในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) หลังจากนั้น ประหลาทได้ตอบด้วยความมั่นใจต่อหิรัณยกัศยปะที่ได้ท้าทายประหลาทว่า ถ้าวิษณุมีอยู่จริงขอให้ปรากฏออกมาจากเสาตรงทางเข้าออกและไปเตะเสา ทันใดนั้น วิษณุก็ได้อวตารและปรากฏออกมาจากเสาในรูปของนรสิงห์ (ร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต) ที่ไม่ใช่ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ ได้สังหารหิรัณยกัศยปะ ในเวลาพลบค่ำ ที่ไม่ใช่ทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน นัยสำคัญของเรื่องนี้ คือ กิเลสทั้งห้าในรูปของอสูรถูกทำลายในสังคมยุค ที่ไม่ใช่ทั้งสัตยุคและกลียุค นรสิงห์ หมายถึง พาพา ผู้ขจัดความทุกข์และกิเลสในโลกนี้ ประหลาท หมายถึง ลูกที่มีศรัทธาต่อพาพา โดยไม่ถูกกระทบจากสิ่งที่ไม่ดีของญาติพี่น้องในครอบครัว และไม่ยอมจำนนต่อกิเลสใดๆ |
471 | หุไสนะ/หุแสน | หุไสน/หุแสน | हुसैन ![]() | ![]() Husain | หุแสน เป็นหนึ่งในผู้นำสารจากอัลลาห์ของมุสลิม ที่พาพาได้กล่าวว่า ได้มีการตกแต่งม้าของหุแสน ในเทศกาลครบรอบวันจากร่างของหุแสน แท้จริงแล้ว ม้า หมายถึง พรหมา ซึ่งเป็นร่างที่ศิวพาพามาใช้ |
472 | โหลิกา | โหลิกา | होलिका ![]() | ![]() Holkā | จากคัมภีร์ปุราณะของฮินดูธรรม หิรัณยกัศยปะ คือ ราชาที่เป็นอสูร ผู้เป็นภักตะของศิวะ ที่เพ่งเพียรปฏิบัติและทำตปัสยา (ตบะ) จนศิวะตกลงให้พรตามที่หิรัณยกัศยปะขอว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งในเรือนและนอกเรือน หลังจากได้รับพร หิรัณยกัศยปะ ก็เลิกทำภักดี และให้ทุกคนมากราบไหว้ตนเอง ทั้งนี้ ประหลาท ลูกชายของหิรัณยกัศยปะ เป็นภักตะของวิษณุ หิรัณยกัศยปะจึงให้โหลิกา พี่สาวของตนพยายามฆ่าประหลาท โหลิกานั้นเป็นอสุรีที่เป็นภักตะของศิวะ และได้รับพรจากศิวะ ว่าจะไม่ถูกทำลายด้วยไฟเมื่อสวมเชือกพิเศษ จึงได้นำประหลาทมานั่งบนตักของเธอ แล้วหิรัณยกัศยจุดไฟเผาทั้งสอง ทันใดนั้น เชือกก็หลุดออกจากตัวโหลิกา และมาพันตัว ประหลาทแทน ทำให้โหลิกาถูกเผาจนตายเอง เรื่องราวของโหลิกา จึงเป็นที่มาในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) เกี่ยวข้องกับกองไฟที่จุดขึ้นมากลางแจ้งประจำปีในวันแรกของโหลีที่เป็น เทศกาลสาดสีของฮินดูธรรม เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า โหลิกา หมายถึง สิ่งที่ไม่ดี เลวร้าย ทั้งหมดของโลกเก่าต้องถูกทำลาย และ ประหลาท หมายถึง เชือก นั่นคือ อาตมา ที่จะคงอยู่ตลอดไป |
473 | โหลี | โหลี | होली ![]() | ![]() Holī | โหลี เป็นเทศกาลสาดสีของฮินดูธรรม ในวันแรกของเทศกาลโหลีนั้น เรียกกันว่า โหลิกาทหนะ (วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา) หรือ โฉฏีโหลี ที่ผู้คนมารวมกัน และทำพิธีของธรรมเบื้องหน้ากองไฟที่จุดขึ้นมากลางแจ้ง ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งพร่ำสวดเพื่อให้ความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีภายในถูกขจัดออกไป ขณะที่ก่อกองไฟเผาไหม้กลางแจ้ง โดยจะเฉลิมฉลองในวันพระจันทร์เต็มดวง นั่นคือ อนุสรณ์ของอาตมาที่เอาชนะกิเลส ธุริยา เป็นวันที่สองของเทศกาลนี้ โดยผู้คนเล่นสาดสีใส่กันด้วยผงสีและน้ำสี ทั้งนี้ ธุริยา เป็นคำสินธี และในภาษาฮินดี เรียกว่า รงควาลีโหลี (รงค์ หมายถึง สี) ธุเลฏี ธุลัณทิ ธุลิวันทนะ นั่นคือ อนุสรณ์ของอาตมา ที่ได้รับการแต่งแต้มสีสันด้วยสีของการใช้ชีวิตร่วมกับบรมบิดา บรมาตมา ในสังคมยุค โหลี จะเริ่มต้นเฉลิมฉลองในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) เรียกว่าวัน ‘โหลิกาทหนะ’ และวันถัดมา เรียกว่า วันธุริยา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ (ตามปฏิทินจันทรคติของฮินดู) โดยทั้งสองวันนี้ จะอยู่ราวเดือนมีนาคมของทุกปี |
474 | ฟกีระ | ฟกีร | फ़कीर ![]() | ![]() fakīr | ในภาษาอูรดู ฟกีระ หมายถึง นักบวช ผู้ที่ทำสาธนา ร้องหาและยกย่องสรรเสริญภควาน ใช้ชีวิตเร่ร่อนตามลำพัง โดยร้องขออาหารเป็นทานจากผู้อื่น ไม่มีสมบัติ วัตถุสิ่งของใด ในภาษาสินธี ฟกีระ หมายถึง ขอทาน |
475 | อมรกถา | อมรกถา | अमरकथा ![]() | Amarkathā | อมรกถา เป็นหนึ่งในสามเรื่องเล่าหลักของหนทางภักดี ได้แก่ อมรกถา ตีชรี กี กถา และสัตยนารายณ์ กี กถา ในหนทางภักดีกล่าวว่า อมรนาถ คือ ศิวะ (โดยเชื่อกันว่า ศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน) ได้เล่าอมรกถาให้แก่ปารวตี ผู้เป็นชายา ที่เขาไกรลาส ซึ่งเป็นประทับของพระศิวะ เหนือขึ้นไปบนท้องฟ้า และผู้คนก็คิดว่าเป็นถ้ำอมรนาถที่หิมะละลายแล้วเกาะตัวเป็นน้ำแข็งรูปศิวลึงค์ ตั้งอยู่บนเขาหิมาลัยของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียด้วย จึงกลายเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญและมีชื่อเสียงของฮินดูธรรม พาพากล่าวว่า "ลูกทั้งหมด คือ ปารวตี และ ฉัน ผู้เป็นอมรนาถ กำลังให้ญาณ (อมรกถา) แก่ลูก และจะนำลูกกลับไปยังอมรโลก (อมรบุรี)" อมรนาถ เป็นสมญาที่ให้กับศิวพาพา อมรนาถ มาจากคำว่า อมร หมายถึง ไม่ตาย กับคำว่า นาถ หมายถึง ผู้เป็นนาย ผู้เป็นที่พึ่ง และ กถา แปลว่า เรื่อง ถ้อยคํา |